ชี้เป้า 9 เก้าอี้ ergonomic ยี่ห้อไหนดี 2024 ใช้ดี นั่งได้ยาว ไม่ปวดหลัง

เก้าอี้ ergonomic

สารบัญ

เก้าอี้ ergonomic ช่วยลดอาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดคอบ่าไหล่ได้อย่างดีทีเดียว หาซื้อได้ในราคาหลักพันจนถึงหลักหมื่น ที่สำคัญควรเลือกซื้อจากบริษัทชั้นนำที่จำหน่ายแต่วัสดุที่มีคุณภาพและการรับประกันสินค้าให้ด้วย

การนั่งทำงานนาน ๆ ก็จะเป็นปัญหาต่อสุขภาพได้เช่นกัน อย่างโรคออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อยในคนที่ต้องนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน การนั่งเรียนออนไลน์ โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ก็จะทำให้เกิดปัญหาปวดหลัง คอบ่าไหล่ได้

ว่าแล้ววันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กันว่าคืออะไร รวมถึงเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยว่าคืออะไร สาเหตุและอาการการรักษากัน และแน่นอนต้องไม่ลืมเรื่องของการเลือกเก้าอี้นี้ มาใช้กันว่าต้องเลือกอย่างไรอย่างละเอียดในบทความนี้

ยังมีเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ ยกตัวเอย่างเช่น ประตูบานเลื่อน , ชั้นวางทีวี , เก้าอี้พับนอน , เก้าอี้โยก , เตียงพับ , Bean bag , เก้าอี้สำนักงาน , โซฟาเดี่ยวปรับนอน , โต๊ะข้างเตียง , โต๊ะกลางโซฟา , โต๊ะรับแขก , โต๊ะญี่ปุ่น , โต๊ะหมู่บูชา , ผ้าคลุมโซฟา , ตู้ยา

สำหรับหมวดหมู่เพื่อสุขภาพที่เราคัดมา ได้แก่ เชือกกระโดด ,เก้าอี้โยก , เครื่องนวดเท้า , เทียนหอม , เครื่องดื่มชูกำลัง , เครื่องฟอกอากาศ , สปอร์ต บรา , ดัมเบล , ไบโอติน , วิตามินซี , ขิงผง , หมอนขนเป็ด , หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ , วิตามินบำรุงสายตา , น้ำมันมะพร้าว , นมผึ้ง , แผ่นลดไข้ , โสมเกาหลี , คอลลาเจน , grape seed , แมสเกาหลี , ยาสีฟันฟันขาว , face shield , หมอนรองคอ , เข็มขัดพยุงหลัง

เวย์โปรตีน , สบู่เหลวล้างมือ , วิตามินบำรุงผิว , คอลลาเจนแบบเม็ด , เก้าอี้สำนักงาน , กระเป๋าคาดเอววิ่ง , ครีมทาส้นเท้าแตก , เครื่องกรองน้ำ , ชุดซาวน่า , เครื่องบริหารหน้าท้อง , เครื่องวัดน้ำตาล , เจลล้างมือ , เตียงผู้ป่วย , เสื่อโยคะ , เอนชัวร์ , ขี้ผึ้งทาแผล , เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล ถ้าท่านผู้อ่านสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม 10 อันดับ สามารถกดดูได้ที่ลิ้งค์สีชมพูได้เลยจ้า

โรคออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

โรคออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด เนื่องจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานานต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะบริเวณ คอ บ่า หลัง ไหล่ แขน ข้อมือ  ซึ่งเกิดจากบุคคลที่มีลักษณะการทำงานที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำ ๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

จนส่งผลให้เกิดโรคและความผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุหลัก ๆ คือ การใช้งานกล้ามเนื้อและข้อต่อที่ผิดไปจากภาวะปกติ เกิดจากการทำงานในพื้นที่จำกัดและขาดการเคลื่อนไหวร่างกายในส่วนของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ซึ่งได้แก่ การนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานาน การนั่งหลังงอ หลังค่อม การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่ต้มก้น การยืนแอ่นพุง ยืนหลังค่อม และสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว

เก้าอี้ ergonomic คืออะไร

เก้าอี้ ergonomic chair

คือเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่ถูกออกแบบมาตามหลักสรีระศาสตร์ ที่จะช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งผิดท่า เช่น นั่งหลังค่อม นั่งไม่เต็มก้น ไม่กระจายน้ำหนัก ทำให้น้ำหนักลงที่ส่วนใดส่วนหนึ่งนานเกินไป

อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ เป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้ รวมถึงปัญหากระดูกสันหลังเสื่อมสภาพ โดยเก้าอี้ ergonomic จะช่วยจัดสรีระตอนนั่งทำงานให้ถูกต้อง ทำให้สุขภาพหลังสามารถนั่งสบายได้อย่างต่อเนื่อง รู้สึกสบายตัวเวลานั่งทำงานเป็นเวลานาน

แก้ออฟฟิศซินโดรมได้ด้วยการใช้เก้าอี้ Ergonomic ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง

ท่าทางการนั่งที่ถูกต้อง

1.ศีรษะ

ศีรษะควรตั้งตรงเสมอ ไม่ยื่นไปข้างหน้าหรือเงยไปด้านหลัง ปรับโต๊ะที่เราทำงานควรอยู่ในระดับพอดีกับตัว หากต่ำเกินไปจะทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อในการก้มคอมากกว่าปกติ โดยทั่วไปคนเรามักจะติดก้มคอในการมองจอคอมพิวเตอร์

หรือมองโทรศัพท์มือถือ ในทุก ๆ 15 องศาของการก้มคอน้ำหนักของศีรษะจะตกลงตามแนวกระดูกสันหลังคอแบบก้าวกระโดด หากเราก้มคอเป็นเวลานาน อาจเกิดอาการบาดเจ็บต่อโครงสร้างบริเวณคอได้ ส่งผลให้เกิดอาการปวดคอ ปวดหลังตามมาได้

2.หัวไหล่

วางหัวไหล่ตรงพนักแขนต้องพอดีกับโต๊ะทำงาน หากเก้าอี้สูงไม่พอดีกับโต๊ะ บนโต๊ะควรมีพื้นที่พอให้วางแขน หากมีที่พักแขนเตี้ยกว่าทำให้ต้องยกไหล่ ส่งผลให้เกิดอาการเกร็งกล้ามเนื้อไหล่ กล้ามเนื้อคอ หลังส่วนบนได้

3.ข้อมือ และแขน

ควรวางแขน ข้อมือให้อยู่ในประเภทเดียวกับแป้นพิมพ์ และเม้าส์ เพราะปกติมุมของข้อศอกควรอยู่ในมุมเปิด 100 องศา ระดับข้อมือต่ำกว่าแขนเล็กน้อย จะสามารถป้องกันการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือหรือแขนได้ ป้องกันการเกร็งกล้ามเนื้อไหล่ได้

4.หลัง

ควรนั่งหลังตรง ไม่ควรโน้มตัวมาข้างหน้าหรือเอนไปข้างหลัง หรือจะนั่งพิงหลังกับพนักพิงของเก้าอี้ที่มุม 90 องศาหากรู้สึกว่าหลังไม่ได้รับการรองรับที่ดีจากพนักพิง ท่านั่งจะไม่อยู่ในท่าที่ถูกต้อง จึงควรหา เบาะรองหลัง มาเพื่อช่วยปรับหลังให้ตั้งอยู่ในแนวปกติ เพื่อลดการกดทับของหมอนรองกระดูกสันหลัง

5.เข่า และสะโพก

การนั่งที่ถูกต้องสะโพกควรอยู่ที่ 90 องศา หรือ ระดับเข่าพอดีกับสะโพก หรือต่ำกว่าสะโพกเล็กน้อย ควรนั่งออกมาจากเก้าอี้ 2-3 นิ้ว เพื่อลดการกดทับใต้ข้อพับเข่า การนั่งนาน ๆ จะรู้สึกปวดขาหรือขาชาได้ เพราะใต้ข้อพับเข่ามีหลอดเลือดและเส้นประสาทอยู่ หากโดนกดทับนาน ๆ จะเกิดอาการปวดได้

6.บริเวณก้น

การนั่งทำงานมักจะเกิดแรงกดทับลงที่กระดูกก้นกบเสมอ เนื่องจากการนั่งไม่เต็มก้น นั่งแค่ครึ่งก้น บริเวณนั้นจะป็นปุ่มกระดูกของร่างกาย ทำให้มีอาการปวดที่บริเวณนั้นได้ หากร้ายแรงอาจะทำให้เกิดอาการชาร้าวลงมาได้ จึงควรมีเบาะรองนั่งเพื่อกระจายน้ำหนักตัวให้พอดี ไม่ให้เกิดการกดทับที่ปุ่มกระดูกเพียงอย่างเดียว

7.ข้อเท้า

ควรวางเท้าราบไปกับพื้น กรณีที่เราปรับเก้าอี้ให้สูงการทำงานแต่ดันขาลอยขึ้น ก็ควรหาที่วางเท้าเพื่อป้องกันการกดทับบริเวณใต้ข้อพับเข่าได้

คุณสมบัติของเก้าอี้ ergonomic ที่ดี

อุปกรณ์ที่ถูกดัดแปลงมาเพื่อช่วยปรับและซัพพอร์ตสรีระร่างกายให้เหมาะกับการทำงาน เพื่อความสะดวกสบาย ลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บ จึงเป็นเก้าอี้เพื่อสุขภาพของคนทำงานที่ถูกเพิ่มเติมฟังก์ชันการทำงานให้เก้าอี้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

รองรับสรีระอย่างถูกต้อง –  การเลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพมานั่งทำงานที่มีพนักพิงศีรษะในการช่วยซัพพอร์ตกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อได้ให้ไม่เกร็ง และลดอาการปวดที่อาจเกิดตามมาได้

นั่งสบาย ได้ยาวนาน ไม่ปวดหลัง

การรองรับหลังของก้าอี้ ergonomic

ต้องมีการออกแบบมาให้ปรับมุมองศาได้เพื่อช่วยซัพพอร์ตหลังให้ได้มุมที่เหมาะกับช่วงเวลาการทำงานที่ควรปรับให้หลังตั้งตรง หรือให้อยู่ในแนวที่เหมาะสมประมาณองศาที่ 90-100 เป็นท่าที่ทำให้หลังตรงได้ ลดการเกิดหลังค่อมได้ ช่วยทำให้เราได้นั่งสบายได้ยาวนานไม่ปวดหลัง

ทนทาน

ทนทาน

ควรเป็นเก้าอี้ที่มีโครงสร้างแข็งแรง ทำจากเหล็กคุณภาพดี รองรับน้ำหนักได้มาก

ฟังก์ชั่นการใช้งานต่าง ๆ การปรับระดับต่าง ๆ  – ต้องถูกออกแบบมาให้มีการปรับขึ้นลงของเก้าอี้ได้ เพื่อการปรับที่นั่งสูงต่ำให้เข้ากับสรีระร่างกายของเรา ช่วยลดอาการการเกร็งบ่าไหล่ได้ ปรับให้เท้าวางราบกับพื้นได้ แต่หากเท้าลอยจะเป็นการกดทับข้อพับเข่า เป็นสาเหตุของอาการปวดขา ขาชา  และเป็นตะคริวได้

ปรับเอนนอน – ควรปรับเอนพนักพิงหลังให้สามารถเอนนอนได้ที่สามารถเป็นช่วงเวลาผ่อนคลายของกล้ามเนื้อหลังไปได้ในตัว

ปรับที่เท้าแขน

การปรับที่วางแขนของ ergonomic

การมีที่วางแขนจะช่วยให้แขนและมือไม่ต้องยกเกร็งเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้บ่าและไหล่ต้องเกร็งตลอดเวลา เก้าอี้ ergonomic มีฟังก์ชันที่เพิ่มขึ้นมาคือการปรับระดับความสูงต่ำของที่วางแขนได้ ยังปรับความกว้าง หรือเฉียงได้ เพื่อรองรับแขนได้หลากหลายมุม ระดับที่เหมาะสมของแขนและมือคือ มุมข้อศอกควรอยู่ที่ 90-120 องศา ควรวางให้เสมอเท่ากับเมาส์และแป้นพิมพ์

ทริคในการเลือกซื้อเก้าอี้ Ergonomic

  1. ไปลองนั่งดูแล้วให้เช็คฟังก์ชั่นต่อไปนี้
    • ปรับความสูง – ต่ำของเก้าอี้ได้มั้ย ถ้าปรับได้ ที่เท้าแขนสามารถสูงพอดีๆกับโต๊ะทำงานเราหรือไม่
    • ที่พักแขน – เลือนเข้าเลื่อนออก ปรับสูงต่ำได้มั้ย ปรับมุมของที่เท้าแขนได้มั้ยให้เอียงไป เอียงมา
    • ปรับเอนนอน – สามารถล็อคการปรับเอนนอนได้หรือไม่
    • ที่รองศรีษะ – สามารถปรับสูงต่ำ หรือ ปรับยื่นเข้า ยื่นออกให้รองรับหัวเราได้มั้ย
  2. เมื่อซื้อมาแล้วลองปรับให้เข้ากับโต๊ะทำงานเราดู ถ้าโต๊ะเราปรับสูงต่ำไม่ได้ ให้ซื้อที่วางโน๊ตบุคมาช่วยเพื่อให้ท่าทางการนั่งของเราเป็นท่าทางที่ถูกต้องตั้งตรง

รีวิวเก้าอี้ทำงาน Bewell Ergonomic Chair นั่งสบาย ไม่ปวดหลัง หมดปัญหาออฟฟิศซินโดรม

ขอบคุณช่องยูทูป Extreme IT

สรุป

เก้าอี้ Ergonomic ดี ๆ สักตัวควรพิจารณาจากคุณสมบัติที่สามารถช่วยรองรับสรีระของเราขณะนั่งทำงานได้อย่างดี ช่วยอำนวยความสะดวก ช่วยลดอาการปวดเมื่อย ปวดหลัง คอบ่าไหล่ได้

เพราะการทำงานที่ยาวนาน บางทีอาจจะลืมที่จะลุกเดินไปไหนต่อไหนได้เหมือนกัน  ที่สำคัญคุณควรเลือกดูจากวัสดุของแท้จากบริษัทชั้นนำที่มีการรับประกันให้ด้วย และเลือกเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระร่างกายของเรา

เพื่อลดอาการปวดหลัง ปวดเมื่อย อาการออฟฟิศซินโดรม ได้อย่างดีเยี่ยมเพื่อที่จะได้นั่งทำงานได้เป็นเวลานาน แต่คุณก็ควรที่จะหาเวลาพักเบรคสัก 5-10 นาทีเพื่อผ่อนคลายความเครียดลงบ้าง ออกไปเดินเล่นบ้าง ดื่มชากาแฟเพื่อให้ร่างกายได้กระปรี่กระเปร่าพร้อมที่จะกลับเข้ามาทำงานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

อ้างอิง

Preventing Office Syndrome While Working From Home : BangkokHospital

ออฟฟิศซินโดรม ดูแล ป้องกัน รักษา อย่างไร ? : โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

ลาซาด้าลดแรง

ยี่ห้อ Siam Steel รุ่น Viper High Back

สยาม สตีล รุ่น Viper High Back
-พนักพิงศรีษะสามารถปรับระดับความสูงและองศาได้
-เบาะนั่งฟองน้ำโพลียูรีเทนหุ้มด้วยผ้าอย่างดีนั่งนุ่มสบาย
-แข็งแรงด้วยขาNylon5แฉกรองรับน้ำหนัก136กิโลกรัม

ยี่ห้อ Bewell รุ่น Embrace

บีเวล รุ่น Embrace
-วัสดุทำมาจาก TPEE ดีไซน์แบบโครงตาข่าย3มิติ
-ที่รองศรีษะและช่วงคอปรับระดับให้เข้ากับสรีระได้
-ที่รองแขนแบบ4Dปรับไดทั้งสูง-ต่ำ,กว้าง-แคบ,หน้า-หลัง

ยี่ห้อ Elife

อีไลฟ์
-ดีไซน์S curveเข้ากับสรีระมีพนักพิงช่วยพยุงด้านหลัง
-โช๊คระบบแก๊สไฮดรอลิก ที่ได้รับการรองรับปลอดภัย
-ล้อเลื่อนหมุนได้360องศาวัสดุNylonแข็งแรง

ยี่ห้อ PANDO รุ่น Extreme

แพนโด รุ่น Extreme
-พนักพิงแบบตาข่ายระบายอากาศได้ดี เบาะนุ่มนั่งสบาย
-พนักพิงศรีษะปรับได้ตามความสูงของผู้ใช้งาน
-รองรับน้ำหนักสูงสุดได้ 150 กิโลกรัม

ยี่ห้อ Fennix

เฟนนิกซ์
-โครงขาวัสดุNylon5ก้านสามารถปรับระดับความสูงได้
-พนักพิงสามารถปรับเอนได้ถึง135องศา
-ที่พักแขนโค้งรับสรีระตามพนักพิงปรับเอน

ยี่ห้อ Xiaomi

-รูปทรงออกแบบมาให้พอดีกับส่วนโค้งของกระดูกสันหลัง
-รองรับแรงกดทับที่กระดูกสันหลังส่วนเอวได้อย่างมีดี
-ขาตังผลิตจากโลหะผสมอลูมิเนียม5ล้อ รองรับน้ำหนักได้ดี

ยี่ห้อ OKAMURA

โอกามูระ
-พนักพิงสามารถปรับให้กระชับแผ่นหลังได้ทุกรูปแบบ
-ปรับความสูงของเบาะได้130มม.ปรับความลึกได้50มม.
-ปรับเก้าอี้ให้โน้มหน้าได้10องศาสำหรับเวลาเขียนหนังสือ

ยี่ห้อ ERGONOMATE รุ่น Jefferson

เออร์โกโนเมท รุ่น Jefferson
-การออกแบบตามสรีระศาสตร์นั่งทำงานได้ทั้งวัน
-ที่พักแขนพลาสติก PU สามารถปรับได้ 4 ทิศทาง
-มี LumbarSupport แผ่นหลังลดอการออฟฟิศซินโดรม

ยี่ห้อ InnHome รุ่น Iconic

อินน์โฮม รุ่น Iconic
-ออกแบบตามสรีระศาสตร์เบาะบุฟองน้ำนุ่ม ไม่ปวดหลัง
-มาพร้อมแผ่นรองหลังรองรับส่วนล่างช่วยลดการปวดเมื่อย
-เก้าอี้ปรับเอนได้135องศาและปรับความได้35-45ซม.

Best Choice ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า