10 เครื่องปั่นไฟ ยี่ห้อไหนดี 2024 ใช้ดี เสียงเงียบ ทนทาน วัตต์เต็ม

เครื่องปั่นไฟ

สารบัญ

เครื่องปั่นไฟเป็นเครื่องผลิตไฟฟ้าเอาไว้ใช้เองในหลายกรณีที่ระบบไฟฟ้าเข้าไม่ถึง กรณีขัดข้อง ทำกิจกรรมนอกสถานที่ หรือในกรณีจำเป็นอื่นๆ ทั้งที่ในบ้าน หรือ นอกสถานที่สำหรับใครที่สนใจกิจกรรมเดินป่า ปีนเข้า ค้างแรมนอกสถานที่ สามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์เลยจ้า เต็นท์ , ไฟฉุกเฉิน , เก้าอี้สนาม , เตียงพับ , ถุงนอน , กางเกงเดินป่า

หรือสำหรับหมวดหมู่เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่น่าสนใจอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์เช็ดกระจก ,หุ่นยนต์ดูดฝุ่น , android box , ปลั๊กไฟอัจฉริยะ , ถังขยะอัจฉริยะ , เครื่องฟอกอากาศ , เครื่องดูดไรฝุ่น , เครื่องดูดความชื้น , เครื่องซักผ้าฝาหน้า , เครื่องซีลสูญญากาศ , เตารีดไอน้ำแบบยืน , เครื่องทำน้ำอุ่น , พัดลมเล็ก , เครื่องทำลายเอกสาร , พัดลมติดผนัง , ตู้เย็น 5 คิว , เครื่องปั่นไฟ , ไมโครเวฟ , แอร์เคลื่อนที่ , เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย , รางปลั๊กไฟ , พัดลมดูดอากาศ , ตู้แช่ไวน์ , จักรยานไฟฟ้าพับได้ , จักรเย็บผ้าไฟฟ้า , พัดลมไอเย็น , ไดร์เป่าผม , พัดลมทาวเวอร์ , เครื่องซักผ้าอบผ้าในตัว , เครื่องรีดผ้าไอน้ำ , แอร์เพดาน , แก้วปั่นพกพา , เครื่องนวดไฟฟ้า , เครื่องปั่นสมูทตี้ , ซาวด์บาร์ ถ้าท่านผู้อ่านสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม 10 อันดับ สามารถกดดูได้ที่ลิ้งค์สีชมพูได้เลยจ้า

เครื่องปั่นไฟ คืออะไร

ชนิดของเครื่องปั่นไฟ

หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกล ให้กลายมาเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้หลักการของไมเคิล ฟาราเดย์ คือการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก โดยเมื่อมีการเคลื่อนที่ของขดลวดตัวนำผ่านสนามแม่เหล็ก หรือ การเคลื่อนที่ของแม่เหล็กผ่านขดลวดตัวนำผ่านสนามแม่เหล็ก หรือ มีการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กผ่านขดลวดตัวนำ ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น

หลักการทำงานของเครื่อง (Generator Set)

การเปลี่ยนแปลงพลังงานกลมาเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องกลที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า อาศัยการหมุนของขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก หรือ การหมุนสนามแม่เหล็กตัดขดลวด หรือตามหลักการที่ว่า การเคลื่อนที่ของขดลวดตัวนำผ่านสนามแม่เหล็ก หรือ การเคลื่อนที่แม่เหล็กผ่านขดลวดตัวนำจะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นในขดลวดตัวนำนั้น

เครื่องปั่นไฟมีกี่ประเภท

1.ประเภทกระแสตรง (Dc Generator)

มีหลักการทำงานคือ การนำขดลวดอาร์เมเจอร์ และขดลวดสนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ตัดผ่านกัน เพื่อจะได้พลังงานไฟฟ้าออกมานั่นหมายถึง จะต้องมีขดลวดชุดหนึ่งอยู่กับที่และมีขดลวดอีกชุดหนึ่งที่หมุนเคลื่อนที่

ปกติแล้วเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงจะถูกออกแบบให้กำเนิดไฟฟ้าในลักษณะให้ขดลวดอาร์เมเจอร์เป็นส่วนที่หมุนส่วนที่อยู่กับที่ ซึ่งคือขดลวดสนามแม่เหล็กเมื่อพลังงานกลจากต้นกำลังหมุนขับเพลาส่งกำลังไปยังแกนขดลวดอาร์เมเจอร์ แรงหมุนของแกนอาร์เมเจอร์จะมีการเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็กที่ถูกปล่อยออกมาจากขดลวดแม่เหล็ก

โครงสร้างและส่วนประกอบของเครื่องกระแสตรง

แกนเหล็กขดลวดอาร์เมเจอร์จะเป็นส่วนที่เคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก ขดลวดแม่เหล็กจึงจะเป็นส่วนที่อยู่กับที่ จะยึดติดอยู่กับโครงเครื่องส่วนประกอบที่สำคัญซึ่งมีอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ 1 ส่วนที่อยู่กับที่ (Stator Part) และ 2 ส่วนที่เคลื่อนที่ (Rotor Part)

1.ส่วนที่อยู่กับที่

1.1 เปลือกหรือโครง (Frame or Yoke) – ทำด้วยเหล็กหล่อ หรือ สารแม่เหล็กทำหน้าที่คือ ยึดขั้วแม่เหล็ก ส่วนประกอบทั้งหมดเป็นทางเดินของเส้นแรงแม่เหล็ก

1.2 ขั้วแม่เหล็ก (Pote-Shoes)  – ทำจากแผ่นแม่เหล็กบาง ๆ วางอัดซ้อนเข้าด้วยกัน โดยแต่ละแผ่นจะเคลือบด้วยฉนวน ขั้วแม่เหล็กนี้จะนำไปยึดเข้ากับโครง

1.3 ขดลวดสนามแม่เหล็ก (Field Coil) – ขดลวดฟิลด์คอยล์ เป็นลวดตัวนำพันไว้รอบขั้วแม่เหล็ก ทำหน้าที่สร้างเส้นแรงแม่เหล็ก ขดลวดสนามแม่เหล็กมีสองชนิดคือ

  • ขดลวดขั้นฟิลด์ (Shut field of Shunt Winding) จะพันด้วยลวดเส้นเหล็กความต้านทานจะสูง
  • ขดลวดซีรีส์ฟิลด์ (Series field or Series winding) พันด้วยลวดเส้นโต ความต้านทานจะต่ำ ขดลวดทั้งสองชุดจะต้องพันไปในทิศทางเดียวกัน

1.4 แปรงถ่านและแบริ่ง (Brushes and Bearing) – ทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าจากคอมมิวเตเตอร์ไปยังวงจรภายนอก โดยการแปรงถ่านทำมาจากผงคาร์บอนอัดแน่น มีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า

บรรจุในซองถ่านและถูกกดด้วยสปริงให้สัมผัสกับคอมมิวเตเตอร์ตลอดเวลา ซองถ่านจะถูกยึดกับฝาครอบ ส่วนแบริ่งกับลูกปืนนั้นจะเป็นตัวรับน้ำหนักทั้งหมดที่ได้รับจากตัวหมุน ช่วยลดแรงเสียดทานที่เพลาขณะที่อาร์เมเจอร์หมุน โดยปกติแบริ่งจะยึดติดกับฝาครอบทั้งสองด้านของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง

1.5 ฝาปิดหัวท้ายหรือฝาครอบ (End plate) – ทำจากเหล็กหล่อเช่นเดียวกับโครง ทำหน้าที่รองรับเพลาของส่วนหมุนและยึดซองถ่าน

2.ส่วนที่เคลื่อนที่ ประกอบด้วย

2.1 แกนเหล็กอาร์เมเจอร์ (Armature core)  – สำหรับบรรจุขดลวดอาร์เมเจอร์ ทำจากแผ่นเหล็กบาง ๆ ที่ด้านหนึ่งฉาบด้วนฉนวนอัดซ้อนเข้าด้วยกันเป็นรูปทรงกระบอก และทำเป็นช่อง Slot ไว้ และที่แกนเหล็กอาร์เมเจอร์จะเจาะรูไว้ด้วยเพื่อช่วยในการระบายความร้อน

2.2 ขดลวดอาร์เมเจอร์ (Armature winding) – คือขดลวดที่บรรจุลงในช่องสลอตของแกนเหล็กอาร์เมเจอร์ จะมีการพันเป็นแบบแลป Lap หรือ เวฟ Wave ปลายของขดลวดจะถูกนำปต่อกับคอมมิวเตเตอร์

2.3 คอมมิวเตเตอร์ (Commutator) – ทำหน้าที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับที่เกิดในขดลวดอาร์เมเจอร์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง โดยคอมมิวเตเตอร์จะประกอบด้วยซี่ทองแดงหลาย ๆ ซี่ อัดเข้าด้วยกันเป็นรูปทรงกระบอก ระหว่างซี่ทองแดงแต่ละซี่จะคั่นไว้ด้วยฉนวน และยึดติดไว้บนเพลาอันเดียวกับอาร์เมเจอร์

2.ประเภทกระแสสลับ (AC Generator)

เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ

สามารถผลิตไฟฟ้ากระแสสลับด้วยการรับพลังงานกลจากต้นกำลังเพื่อหมุนขับเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หลักการทำงานจะเหมือนกับเครื่องกระแสตรง แต่มีความต่างกันในเรื่องของการตัดผ่านสนามแม่เหล็ก หมายถึง เครื่อกระแสสลับจะอาศัยหลักการตัวนำในอาร์เมเจอร์หมุนตัดสนามตำที่ขั้วแม่เหล็ก หรือ สนามแม่เหล็กที่ขั้วแม่เหล็กหมุนตัดตัวนำในอาร์เมเจอร์

ส่วนเครื่องกระแสตรงนั้น ขดลวดอาร์เมเจอร์เป็นส่วนหมุนและขดลวดสนามแม่เหล็กอยู่กับที่ นอกจากนี้เครื่องกระแสสลับสามารถทำให้ขดลวดอาร์เมเจอร์หมุนหรืออยู่กับที่ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดกำลังไฟใช้งาน

โดยปกติแล้วเครื่องกระแสสลับขนาดใหญ่จะมีลักษณะการทำงานแบบสนามแม่เหล็กหมุน ขั้วแม่เหล็กหมุน หรือ Rotating Field เพื่อให้ได้คุณสมบัติดังนี้

1.เนื่องจากขดลวดตัวนำอาร์เมเจอร์เป็นส่วนที่อยู่กับที่ จึงทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องฉนวนกั้นระหว่างสลิปริงที่อยู่ใกล้กัน ส่งผลให้เครื่องสามารถผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้สูง

2.กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ และ จ่ายออกไปยังโหลด จะสามารถส่งต่อได้โดยตรงจากขั้วสายของขดลวดอาร์เมเจอร์ไปยังโหลดโดยไม่ต้องแปรงถ่าน

3.แรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรงจากภายนอกที่จ่ายให้กับขดลวดสนามแม่เหล็กประมาณ 100-250 โวลต์ และกระแสฟิลด์มีค่าต่ำ ทำให้การอาร์ทที่เกดิดขึ้นระหว่างหน้าสัมผัสของแปรงถ่านกับสลิปริงลดลง

4.สามารถพันขดลวดได้หลายรอบ ใช้ลวดเส้นโตเบอร์ใหญ่ได้

5.ไม่จำเป็นต้องกังวลถึงแรงเหวี่ยงศูนย์กลางจากการหมุนเคลื่อนที่ เนื่องจากขดลวดอาร์เมเจอร์เป็นส่วนที่อยู่กับที่ สามารถยึดให้แข็งแรงได้

โครงสร้างและส่วนประกอบของเครื่องปั่นไฟกระแสสลับ

แกนเหล็กสเตเตอร์ (Stator Core)

คือชิ้นส่วนที่ใช้พันขดลวดอาร์เมเจอร์ โดยแกนเหล็กสเตเตอร์จะผลิตจากแผ่นเหล็กบาง ๆ วางอัดซ้อนกัน ด้วยลักษณะการออกแบบแกนเหล็กสเตเตอร์ให้มีลักษณะเข่นนี้ก็เพื่อลดการสูญเสียเนื่องจากฮีส เตอร์ซิส Hysteresis Loss

หรือการสูญเสียของเส้นแรงแม่เหล็กที่ถูกสร้างขึ้นจากขดลวดที่มีกระแสไหลวนในแกนเหล็ก อีกทั้งแกนแผ่นเหล็กยังเป็นเหล้กอ่อน ซึ่งมีส่วนผสมของสารซิลิคอน เมื่อนำมาอัดซ้อนกันจะทำให้ได้แกนเหล็กที่มีความแข็งแรงมากขึ้น นอกจากนี้แผ่นเหล็กแต่ละแผ่นจะมีร่องอากาศเพื่อระบายความร้อน โดยลักษณะของรองแก่นเหล็กสเตเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ

1.ร่องแบบเปิดกว้าง (Wide-Open Type Slot)

2.ร่องแบบกึ่งปิด (Semi-Closed Type Slot)

3.ร่องแบบปิด (Wholly Closed Type Slot)

ขดลวดแดมเปอร์ (Damper Winding)

มีลักษณะเป็นแท่งทองแดง ซึ่งฝั่งอยู่ที่บริเวณผิวด้านหน้าของขั้วแม่เหล็กหมุน โดยจะต้องลัดวงจรเข้ากับวงแหวานทองแดงทั้งสองด้านของโรเตอร์ ขดลวดแคมเปอร์จะช่วยไม่ให้เกิดการสั่นหรือแกว่ง เมื่อความเร็วรอบของเครื่องไม่สม่ำเสมอ

โครงสเตเตอร์ (Stator Frame)

เป็นโครงโลหะ หุ้มภายนอกผลิตจากเหล็กหล่อ โดยโครงสเตเตอร์เป็นส่วนประกอบที่รองรับส่วนประกอบอื่น ๆ ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำหน้าที่ยึดแกนเหล็กที่บรรจุขดลวดอาร์เมเจอร์ ทั้งนี้ได้มีการออกแบบโครงสเตเตอร์ให้มีช่องลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อน

โรเตอร์ (Rotor)

เป็นทุ่นหมุนซึ่งมีขดลวดฝั่งอยู่รอบแกนโรเตอร์ โดยโรเตอร์จะผลิตจากผ่นซิลิคอนอัดแน่นเป็นชั้นพร้อมกับมือฉนวนกั้น เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าไหล วน ซึ่งกระแสไฟฟ้าจะได้จากเอ็กไซเตอร์ โรเตอร์แบ่งออกได้อีก 2 ชนิดด้วยกัน

  • โรเตอร์ชนิดขั้วแม่เหล็กยืน (Salient-Pole Type) – นำมาใช้กับเครื่องที่มีความเร็วรอบต่ำ หรือ ปานกลาง
  • โรเตอร์ชนิดขั้วแม่เหล็กเรียบ (Smooth -Cylindrical Type) นำมาใช้กับเครื่องที่ใช้พลังงานต้นกำลังจากกังหันไอน้ำ หรือ กังหัสแก๊สที่มีความเร็วรอบสูงประมาณ 1500 รอบต่อนาที และ 3000 รอบต่อนาที

โดยลักษณะของโรเตอร์จะเป็นแท่งเหล็กแผ่นอัดซ้อนกันเป็นรูปทรงกระบอกยาว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าดรเตอร์ชนิดขั้วแม่เหล็กยืน โรเตอร์ชนิดชั้วแม่เหล็กเรียบจะทำให้เกิดการสมดุลมากว่าชนิดขั้วแม่เหล็กยื่นและลดการสูญเสียกำลัง ด้วยแรงเสียดทานของลมและแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง ขณะที่หมุนถูกซับด้วยความเร็วนั่นเอง

เอ็กไซเตอร์ (Exciter)

ทำหน้าที่ในการผลิตและจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงให้กับขดลวดสนามแม่เหล็กของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ โดยเอ็กไซเตอร์จะถูกติดตั้งในตำแหน่งเพลาเดียวกันกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

เครื่องขนาดใหญ่จะใช้เอ็กไซเตอร์แบบไร้แปลงถ่าน หรือ Brushless Generator เพื่อความสะดวกในการบำรุงรักษา หากเทียบกับการใช้สลิปริงและแปรงถ่าน  ด้วยระบบการกระตุ้นขดลวดสนามแม่เหล็กที่สมบูรณ์ยังไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าจากภายนอกมากระตุ้น

ขนาดของเครื่องปั่นไฟ

ขนาดของเครื่องปั่นไฟ

1.ขนาดเล็ก

ขนาดเล็กอยู่ในปริมาณ 1kVA-20kVA ลักษณะคล้ายกับปั๊มลม เหมาะสำหรับการใช้งานภายในบ้านเรือน หรือ การสำรองไฟที่ใช้ไฟไม่มากนัก โดยมาในรูปแบบของระบบไฟฟ้าเฟสเดียวและระบบไฟฟ้าสามเฟส จะใช้เป็นพลังงานกลจากภายนอก

มีให้เลือกทั้งแบบใช้กับน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซิน เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้งานมากทั้งภายในบ้านเรือนและงานด้านเกษตรกรรมที่ใช้ไฟไม่สูงมาก โดยมีทั้งแบบกระแสไฟตรงและกระแสไฟสลับให้เลือก เป็นเครื่องที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด

พกพาหรือเคลื่อนย้ายได้ง่าย และบางรุ่นอาจมีการใส่ล้อเลื่อนเพื่อเพิ่มความสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้รถบ้านในการออกไปเที่ยวตามต่างจังหวัด ตั้งแคมป์กางเต็นท์ภายในป่า

2.ขนาดกลาง

ขนาดกลาง อยู่ในปริมาณ 50kVA-2500kVA  มาในรูปแบบของเครื่องสามเฟสที่ให้แรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 220/380 โวลต์ขึ้นไป ใช้สำหรับการสำรองไฟฟ้าในธุรกิจขนาดกลาง โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงแรม ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า รวมถึงอาคารที่พักอาศัย และสถานที่ทำงานที่ต้องใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเกิดปัญหาก็สามารถเชื่อมต่อเพื่อทำงานได้ราบรื่น ซึ่งระบบการเดินเครื่องจะมีทั้งแบบอัตโนมัติและแบบ Manual สำหรับการใช้งานระบบอัตโนมัติจะเป็นการใช้ Transfer Switch ที่เป็นตัวถ่ายโอนระบบไฟฟ้าสู่เครื่อง ที่ให้ระบบแบบจ่ายไฟฟ้าสำรองเข้ากับตัวโหลด ซึ่งการใช้เครื่องขนาดกลางจำเป็นต้องมีพื้นที่เฉพาะและต้องดูแลอย่างดี

3.ขนาดใหญ่

มีปริมาณ 4000 kVA ขึ้นไป สำหรับใช้ทดแทนไฟกำลังหลักที่ดับของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โรงผลิตไฟฟ้าต้นกำลัง โรงงานพลังงานความร้อน พลังน้ำ หรือกังหันแก๊ส

รวมถึงการใข้งานร่วมกับสายส่งแรงสูงของไฟฟ้า ใช้งานในระดับประเทศ เพราะจะผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้มาก พร้อมการเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยตรง

การเลือกซื้อ เครื่องปั่นไฟ

การเลือกซื้อเครื่องปั่นไฟ

1.เลือกขนาด

จะเลือกจากการคำนวณ Output หรือพลังงานที่ออกมาโดยมีคำเป็น วัตต์ ตัวเลขที่เป็นวัตต์ที่แสดงออกมาจะเป็นตัวชี้วัดว่าเราจะสามารถใช่ร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้มากน้อยเพียงใด

โดยทั่วไปกำลังวัตต์อาจจะเขียนกำลังการออกเป็นวัตต์ บางรุ่นเป็น kw กิโลวัตต์และ 1000 วัตต์เท่ากับ 1 กิโลวัตต์ 750 วัตต์เท่ากับ 1 HP หรือแรงม้า สิ่งที่เป็น basic ที่สุดสำหรับการเลือกคเรื่องปั่นไฟคือ พลังงานมอเตอร์ที่นับเป็นวัตต์จากเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมกันแล้วต้องไม่เกินพลังงานวัดที่ออกมาสูงสุดโดยกำหนดขนาดดังนี้

  • ขนาดเล็กมาก เหมาะกับการใช้ไฟร่วมไม่เกิน 800 W.
  • ขนาดเล็ก เหมาะกับการใช้ไฟร่วมไม่เกิน 1500 ถึง 2500 W.
  • ขนาดกลาง เหมาะกับการใช้ไฟร่วมไม่เกิน 3500 ถึง 5000 W.
  • ขนาดใหญ่ เหมาะกับการใช้ไฟร่วมไม่เกิน 5000 ถึง 9000 W.

2.เลือกชนิดเครื่อง

  • เครื่องเบนซิน – ต้องใช้น้ำมันเบนซินในการขับเคลื่อน จะให้การคลายของเสียที่ต่ำ แต่ก็มีเสียงแล้วปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นที่นิยมอย่างสูงในเครื่องขนาดเล็ก มีราคาไม่สูงมากนัก
  • เครื่องดีเซล – เป็นเครื่องแบบ Inverter ที่พัฒนามาจากเครื่องเบนซิน หรือ Inverter มีอัตราการบริโภคน้ำมันที่ต่ำมลพิษก็ขายต่ำเช่นกัน และสเยงรบกวนค่อนข้างเงียบอีกด้วย แต่มีราคาสูงกว่าทั่วไป

3.เลือกความสามารถพิเศษ

มีหลายรูปแบบ หลายยี่ห้อ และขนาดที่แตกต่างกันไป เมื่อเราทำการเลือกขนาด เลือกรูปแบบแล้ว สุดท้ายเราจะเลือกคือฟังก์ชัน เพราะทุกฟังก์ชันการใช้งานอาจจะไม่เหมือนกัน บางเครื่องจัดมาเต็ม ๆ เด็ด ๆ ซ่อนอยู่ มีอะไรบ้าง

  • ระบบ Electronic Start  – คือ ไดนาโมที่ติดกับเครื่องยนต์ การที่จะสตาร์ทเครื่องปั่นไฟนั้น เราจำเป็นต้องสตาร์ทเครื่องยนต์ก่อนรีสตาร์ทเครื่องยนต์แบบเบสิคที่สุด คือการดึงเชือก ระบบ electronic start ได้ผลิตมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่นี้ โดยระบบนี้ถ้ามีสัญลักษณ์ที่ตัวเครื่องหมายถึง เราสามารถใช้กุญแจบิดไปที่เครื่องและจำเป็นที่จะต้องมีแบตเตอรี่ด้วย
  • ระบบ Automatic Start – ระบบที่สามารถเดินเครื่องเองอัตโนมัติจากที่พลังงานภายในบ้านหมด หรือ ไฟดับ มีประโยชน์มาก ๆ หากคุณสแตนบายไว้เป็นการใช้พลังงานสำรองในบ้าน
  • แถบดูน้ำมัน – เครื่องจะมีตัวแถบดูน้ำมัน สามารถเช็ดระดับน้ำมันได้ว่าจะหมดหรือเปล่า
  • แก๊สโซฮอล์ ready – ระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้งาน เนื่องจากแก๊สโซฮอล์มีคุณสมบัติจัดซีนยางให้ขาดได้มีฤทธ์เป็นแอลกอฮอล์ หากคุณเห็นสัญลักษณ์นี้คือ ทางผู้ผลิตทำการเปลี่ยนพวกซีนยางต่าง ๆ ภายในให้มีลักษณะการทนการกัดกร่อนของแก๊สโซฮอล์

การเลือกเครื่องปั่นไฟอย่างไรให้ตรงกับการใช้งาน

ขอบคุณช่องยูทูป iTOOLMART

สรุป

เครื่องปั่นไฟถ้สมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดีไม่ขาดจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น เพื่อส่งผลให้เครื่องมีสภาพพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คงทนและปลอดภัยในการใช้งานสูง ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือซื้อเครื่องใหม่โดยไม่จำเป็น

ลาซาด้า9บาท

ยี่ห้อ Ingco

อิงโก้
-แรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ เครื่องปั่นไฟ 800 วัตต์
-น้ำหนักของสินค้า 16.5 กิโลกรัม
-แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน

ยี่ห้อ Total

โททอล
-เหมาะสำหรับการใช้งานนอกสถานที่ เคลื่อนย้ายสะดวก
-เครื่องปั่นไฟ 800 วัตต์ ความเร็วรอบ 3000 RPM
-สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนาน 10 ชั่วโมง
-ลักษณะการใช้งานเชือกดึงมือสตาร์ท

ยี่ห้อ Kanto

คันโต
-2000 วัตต์ เสียงรบกวน 75 เดซิเบล
-ขนาดของสินค้า 60.5 ซม. x 44.5 ซม. x 45 ซม.
-สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนาน 11 ชั่วโมง

ยี่ห้อ JUPITER

จูปีเตอร์
-เครื่องปั่นไฟ 1000 วัตต์
-ควบคุมด้วยระบบ AVR กระแสไฟเสถียร
-วัสดุทำมาจากโลหะพิเศษ แข็งแรง ทนทาน
-สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนาน 18 – 9 ชั่วโมง

ยี่ห้อ Tazawa

ทาซาว่า
-แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน
-ลักษณะการใช้งานดึงมือและสตาร์ทไฟฟ้า
-ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ระบายความร้อนได้ดี
-ขนาดกำลังดี ไม่เทอะทะ ประหยัดพื้นที่การใช้งาน

ยี่ห้อ Tiger รุ่น TG-950 MD

ไทเกอร์ รุ่น TG-950 MD
-800 วัตต์ เครื่องเบนซิน 2 จังหวะ
-ความจุถังเชื้อเพลิงสามารถเติมได้ถึง 4 ลิตร
-มีระบบ Curcuit Breaker ปลอดภัย

ยี่ห้อ VALU

-น้ำหนักสินค้า 19 กิโลกรัม เครื่องเบนซิน 2 จังหวะ
-ขนาดของสินค้า 360 มม. x 505 มม. x 440 มม.
-ความจุถังเชื้อเพลิงสามารถเติมได้ถึง 2.5 ลิตร
-มีระบบระบายความร้อนแบบพัดลมดูดอากาศ

ยี่ห้อ DEDEE

-2,800 วัตต์ ระบบควบคุมโวลต์อัตโนมัติ
-สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนานสูงสุด 13 ชั่วโมง
-เหมาะสำหรับงานที่ใช้ไฟฟ้าปานกลาง
-มีระบบป้องกัน Switch Reset

ยี่ห้อ Sumo

ซูโม่
-650 วัตต์ ความจุถังเชื้อเพลิง 4 ลิตร
-สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนานสูงสุด 5 ชั่วโมง
-ขนาดกะทัดรัด พกพาสะดวก น้ำหนักกำลังดี

ยี่ห้อ POLO

โปโล
-น้ำหนักของสินค้า 19 กิโลกรัม กำลังไฟสูงสุด 4.0 กิโลวัตต์
-นำหนักเบา ขนาดกะทัดรัด เสียงเงียบ ไม่รบกวน
-ความจุถังเชื้อเพลิงสามารถเติมได้ถึง 12 ลิตร

Best Choice ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า