แนะนำ 10 จักรเย็บผ้าไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี 2024 ใช้งานง่าย เบา พกพาสะดวก

จักรเย็บผ้าไฟฟ้า

สารบัญ

จักรเย็บผ้าไฟฟ้าเครื่องเดียวสามารถซ่อมแซมเสื้อผ้า หรือดัดแปลงเสื้อผ้าจากแขนยาวให้เป็นแขน 3 ส่วน ที่รูดขึ้นเหมือนผู้ทำงานคล่องตัว หรือ การหัดตัดเย็บของใช้เล็กๆ น้อยๆ ก่อนไม่ว่าจะเป็นจานรองแก้ว ที่เน้นไอเดียสร้างสรรค์ หรือกระเป๋าใส่เหรียญ ที่มีหลายคนทำไปทำมา กลายเป็นอาชีพเสริมที่ทำเงินได้มากกว่าอาชีพหลักอีกด้วย ที่เรียกว่า สินค้าแฮนด์เมด กับความสามารถในด้านการเย็บปักถักร้อยที่เพิ่มขึ้นมา

สำหรับหมวดหมู่เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่น่าสนใจอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์เช็ดกระจก ,หุ่นยนต์ดูดฝุ่น , android box , ปลั๊กไฟอัจฉริยะ , ถังขยะอัจฉริยะ , เครื่องฟอกอากาศ , เครื่องดูดไรฝุ่น , เครื่องดูดความชื้น , เครื่องซักผ้าฝาหน้า , เครื่องซีลสูญญากาศ , เตารีดไอน้ำแบบยืน , เครื่องทำน้ำอุ่น , พัดลมเล็ก , เครื่องทำลายเอกสาร , ไฟฉุกเฉิน , พัดลมติดผนัง , ตู้เย็น 5 คิว , เครื่องปั่นไฟ , ไมโครเวฟ , แอร์เคลื่อนที่ , เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย , รางปลั๊กไฟ , พัดลมดูดอากาศ , ตู้แช่ไวน์ , จักรยานไฟฟ้าพับได้ , พัดลมไอเย็น , ไดร์เป่าผม , พัดลมทาวเวอร์ , เครื่องซักผ้าอบผ้าในตัว , เครื่องรีดผ้าไอน้ำ , แอร์เพดาน , แก้วปั่นพกพา , เครื่องนวดไฟฟ้า , เครื่องปั่นสมูทตี้ , ซาวด์บาร์ ถ้าท่านผู้อ่านสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม 10 อันดับ สามารถกดดูได้ที่ลิ้งค์สีชมพูได้เลยจ้า

จักรเย็บผ้าไฟฟ้าคืออะไร

ข้อดีของจักรเย็บผ้าไฟฟ้า

คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเย็บผ้าโดยใช้ไฟฟ้าเหมาะสำหรับมือใหม่หัดตัดเย็บจนกระทั่งช่างตัดเสื้อผ้าเป็นอาชีพ หรือช่างปะแก้เสื้อผ้า ช่วยทุ่นแรง ฝีเข็มเนี้ยบสม่ำเสมอ มีหลายแบบ หลายขนาด ให้เลือกซื้อเลือกใช้ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมมากกว่าจักรเย็บผ้าตีนถีบ เนื่องจากใช้ง่าย ด้ายไม่พันกัน

ข้อดีของจักรเย็บผ้าไฟฟ้า

1.จัดรูปแบบของตะเข็บ และฝีเข็มได้ด้วยตัวเอง ด้วยการปรับตัวหมุน หรือวอลุ่มไปที่ตัวเลข ที่กำหนดลักษณะรูปแบบของตะเข็บเท่านั้น

2.ทำให้งานตัดเย็บ หรือซ่อมแซมเสื้อผ้าเล็กๆ น้อยๆ เสร็จได้รวดเร็ว ไม่ต้องอาศัยความชำนาญมาก

3.การติดกระดุม, เย็บซิป หรือทำรังดุม จะมีโปรแกรมอัตโนมัติที่ช่วยให้ง่ายตัดเย็บง่ายขึ้น

4.น้ำหนักเบากว่าจักรเย็บผ้ารุ่นเก่า

5.ความแม่นยำในฝีเข็มสำหรับการเย็บที่เท่ากัน ช่วยเรื่องความประณีตของการตัดเย็บเสื้อ

วิธีเลือกซื้อจักรเย็บผ้าไฟฟ้า

วิธีเลือกซื้อจักรเย็บผ้าไฟฟ้า

1.การนำไปใช้งาน

  • การซ่อมแซมเสื้อผ้า หรืองานตัดเย็บง่ายๆ

เราอาจจะต้องมองภาพรวมคร่าวๆ ว่าต้องการใช้งานตัดเย็บรูปแบบไหน อย่างเช่น การซ่อมแซมเสื้อผ้าธรรมดา ไม่ได้ใช้ในการตัดเย็บเสื้อเป็นตัวๆ ควรที่จะเลือกซื้อจักรเย็บผ้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือจักรเย็บผ้าแบบไฟฟ้า  ที่ไม่มีวิธีการใช้ หรือขั้นตอนที่ยุ่งยาก หรือแม้แต่สามารถที่จะตัดเย็บเสื้อผ้าในแบบง่ายๆ ได้อีกด้วย แต่ฟังค์ชั่นการใช้งาน เรื่องการเย็บลายตะเข็บ ก็จะมีตัวเลือกลายที่น้อยกว่า จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม

  • เน้นงานปัก

งานปักถือว่าเป็นจุดเด่นของจักรเย็บผ้าแบบคอมพิวเตอร์ ที่ง่ายต่องานปักในอดีต ที่ต้องใช้สะดึงในการขึงผ้า และปักด้วยมือ จักรเย็บผ้ารูปแบบคอมพิวเตอร์นี้นั้น จะมีการสแกนลายผ่านการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ต เพื่อวัดขนาดลาย และเลือกสีเส้นไหม การทำงานง่ายที่ผ่านหน้าจอ LCD ของจักรเย็บผ้า แต่ฟังค์ชั่นการปัก ก็มีอยู่ในการใช้งานจักรเย็บผ้าแบบไฟฟ้าเช่นกัน

  • งานเน้นเย็บเสื้อผ้าจำนวนมาก

ตรงนี้อย่างที่เราเข้าใจกันว่า ควรที่จะเลือกใช้จักรเย็บผ้าแบบอุตสาหกรรม หรือจักรที่มีฟังค์ชั่นการเย็บที่แยกย่อยออกเป็นลักษณะการเย็บ อย่างเช่น งานเย็บริมผ้ากันลุ่ย ที่จักรเย็บผ้าแบบไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีฟังค์ชั่นในการเย็บกันลุ่ยแบบจักรเย็บอุตสาหกรรม หรือจะเรียกอีกอย่างก็คือ การโพ้ง ดังนั้นควรที่จะเลือกใช้งานเป็นจักรเย็บโพ้งแบบอุตสาหกรรม

 แต่หากใครต้องการฟังค์ชั่นการใช้งานรูปแบบทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเย็บ, การเย็บโพ้ง, การเย็บปัก ในแบบที่รวมในเครื่องเดียว จักรเย็บผ้าแบบไฟฟ้า ที่ผลิตออกมาในรุ่นใหม่ มีการนำมาใส่เป็นตัวเลือก เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้ได้มากขึ้น เพียงแต่ไม่สามารถที่รองรับการเย็บผ้าในจำนวนที่มากได้

2.ขนาดจักรเย็บผ้า

จะมีขนาดตัวเครื่องตั้งแต่รุ่นเล็ก ไปจนถึงรุ่นกลาง ที่มีความเบากว่าจักรเย็บแบบอุตสาหกรรม ด้วยการใช้วัสดุที่เป็นโลหะภายในตัวเครื่อง แต่ภายนอกที่เน้นน้ำหนักที่เบา และมีความสวยงามในเรื่องความมัน, เงา และทำความสะอาดง่าย วัสดุที่เป็นส่วนประกอบภายนอกจึงเป็นพลาสติกแบบ ABS น้ำหนักมีตั้งแต่ 2.5 กิโลกรัมที่เป็นขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางที่ใหญ่ขึ้นมา อย่างเช่น 5 กิโลกกรัม หรือ 6.4 กิโลกรัม

3.ราคา

ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาร่วมกันในเรื่องราคานั้น อาจจะต้องมีทั้งฟังค์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายหรือไม่ กับราคาที่เราสามารถซื้อได้ ซึ่งก็มีราคาตั้งแต่หลัก 4 พันบาทขึ้นไป จนถึงหลักหมื่นขึ้นไป

4.ศูนย์บริการ

นอกจากที่เราเลือกได้จากข้อมูลข้างต้นแล้ว สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยคือ เมื่อจักรเย็บผ้าแบบไฟฟ้าเกิดชำรุด หรือใช้งานไม่ได้ ศูนย์บริการที่ควรมีสาขาทั่วถึง และใกล้บ้านเรา 

5.ค้นหาข้อมูลส่วนตัว

ไม่ว่าจะเป็นในการเลือกซื้อ จักรเย็บผ้าแบบไฟฟ้าแบบหน้าร้าน หรือตามร้านค้าออนไลน์ เราควรที่จะหาข้อมูล สำหรับยี่ห้อ, รุ่น และการใช้งานที่เราต้องการไว้ก่อนว่า มีตัวเลือกไหนที่น่าสนใจ แล้วค่อยๆ หาจุดดี และจุดเสีย รวมถึงหาการใช้งาน จากผู้ที่ซื้อก่อนหน้าทั้งรุ่น และยี่ห้อที่อยู่ในใจเรา ข้อมูลตรงนี้จะเป็นส่วนสำคัญหนึ่ง ที่ช่วยเราได้ในการพิจารณาเลือกซื้อ

วิธีใช้ จักรเย็บผ้าไฟฟ้า

วิธีใช้จักรเย็บผ้าไฟฟ้า

1.เปิดสวิตซ์ตัวเครื่อง จากนั้นดูที่มุมบนด้านขวา จะมีที่ใส่หลอดด้าย มีตัวแกนที่ใส่หลอดด้ายด้านบน สามารถดึงขึ้น เพื่อให้สามารถใส่หลอดด้ายได้สะดวกมากขึ้น

2.ร้อยด้ายด้านบนจากบนตัวเครื่องจักรเย็บผ้าไฟฟ้า ลงมาที่ตีนผีแล้วร้อยเข้าฝีเข็มที่เราใส่ไว้ที่เครื่อง เมื่อด้ายเข้าไปในรูเข็มเย็บผ้าเรียบร้อยแล้ว

3.สำหรับใครที่ยังไม่ได้กรอด้ายเข้ากระสวย เตรียมไว้ก่อนล่วงหน้า ให้นำกระสวยเปล่าใส่แกนที่ให้ไว้สำหรับตัวกระสวย ส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้กับแกนที่ใส่หลอดด้ายใหญ่

4.นำกระสวยเปล่าเข้าใส่ ก่อนใส่ให้ดึงแกนที่ใส่ออกมา เมื่อใส่กระสวยเปล่าแล้ว ให้ล็อกแกนนั้น แล้วนำด้ายจากหลอดใหญ่แนบไว้ที่แกนกระสวย เผื่อปลายไว้เล็กน้อย จากนั้นเหยียบแป้นเหยียบจักร ให้ด้ายที่หลอดใหญ่กรอมาที่กระสวย ให้ดูเมื่อกระสวยเต็มแล้วให้หยุด และทำการตัดปลายด้าย

5.ดึงกระสวยที่กรอด้ายจนเต็มแล้ว นำไปใส่ที่ใส่กระสวยตรงด้านล่าง จะอยู่ตำแหน่งตรงตีนผีที่เย็บผ้า

6.เมื่อใส่กระสวยในช่องใส่เรียบร้อยแล้ว สังเกตว่าตัวปลายด้ายที่ออกมาด้านนอก ต้องอยู่ทางด้านซ้ายมือของเรา สอดด้ายตามร่องที่ให้สอด เมื่อเรียบร้อยแล้วอย่าลืมที่จะปิดฝาช่องที่ใส่กระสวย เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดระหว่างเย็บผ้า

7.ปรับฟังค์ชั่นการใช้งานว่า เราต้องการให้ฝีเข็มเป็นแบบเส้นตรง, ซิกแซ็ก หรือแบบไหนที่ส่วนใหญ่แล้ว จักรเย็บผ้าไฟฟ้าจะมีรูปแบบให้เลือกกว่า 10 รูปแบบเลยทีเดียว เมื่อปรับวอลุ่มที่ตัวเลขของแบบฝีเข็มได้แล้ว สอดปลายผ้าเข้าไปในร่องตีผีจักรเย็บผ้า มือซ้ายจับผ้าด้านซ้ายบน มือขวาจับผ้าด้านขวาล่าง เพื่อเป็นการตึงเนื้อผ้า และจัดตำแหน่งให้ตรงตลอดการเย็บ

8.ในการเริ่มต้นการเย็บทุกครั้ง ควรที่จะมีการกดย้ำตะเข็บเมื่อเริ่มต้นเดินฝีเข็มไปได้เล็กน้อย เพื่อให้การเย็บในครั้งนั้น มีความแน่นหนาของตัวฝีเข็ม ไม่ลุ่ย หรือด้ายที่เย็บไม่หลุดตอนที่ซักเสื้อหลายรอบ

9.เมื่อใช้งานจักรไฟฟ้าเสร็จทุกครั้ง เราควรที่จะดูแลความสะอาด หรือเศษเส้นด้ายภายในตัวใส่กระสวย ตรงตีนผีที่ใช้ในการเย็บ การนำประแจมาไขตรงส่วนที่เป็นแผ่นเสริมช่องที่ใส่กระสวย หรือเรียกว่า แผ่นเทมเพลตออก เพื่อใช้แปรงในการปัดเศษเส้นด้ายต่างๆ ออกไป

10.จากนั้นให้ปิดสวิตซ์เครื่อง กดปิดรางปลั๊กไฟ แล้วหยอดน้ำมันจักรเย็บผ้า ที่ร่องของกระสวย รอบวงกลมของตัวร่อง 3-5 หยด จากนั้นเปิดสวิตซ์เครื่อง เปิดสวิตซ์รางปลั๊กไฟ แล้ววอร์มเครื่อง โดยการเหยียบแป้นเหยียบจักร แล้วเอาเศษผ้ามาลองเย็บ ดูความลื่นของฝีเข็ม

รีวิว POWER SMART จักรเย็บผ้าไฟฟ้า มือใหม่ก็ใช้ได้

ขอบคุณช่องยูทูป TV Direct Public Company Limited

สรุป

จักรเย็บผ้าไฟฟ้าเป็นตัวช่วยในการซ่อมแซมเสื้อผ้า หรือในบางคนที่ต้องการตัดเย็บเสื้อผ้าใส่เอง กับการออกแบบในความชอบของตัวเองโดยเฉพาะสามารถกำหนดรูปแบบตะเข็บได้ด้วยมีให้เลือกมากกว่า 10 รูปแบบ และมีการใช้งานที่ง่ายเพียงแค่ปรับตัวหมุนตามหมายเลขเท่านั้น

การใช้งานไม่ได้ยากเหมือนจักรเย็บผ้าในอดีต การลงทุนเพื่อให้ได้เสื้อผ้า ที่เราจะใช้ในการแต่งตัว เพื่อเสริมบุคลิกภาพส่วนตัว ให้ดูน่าเชื่อถือ และดูดีในแบบที่ซ้ำใคร ถือว่าเป็นการลงทุนแบบรุ่นต่อรุ่นเลยทีเดียว

ลาซาด้าโมเม้นท์

ยี่ห้อ Singer รุ่น 3223R

ซิงเกอร์ รุ่น 3223R
-วัสดุคุณภาพดี เกรด A
-น้ำหนักของสินค้า 5.9 กิโลกรัม
-สามารถเย็บลวดลายได้ถึง 23 ลาย
-ขนาดกะทัดรัด เตลื่อนย้ายสะดวก

ยี่ห้อ Brother รุ่น GS2700

บราเดอร์ รุ่น GS2700
-สามารถเย็บลวดลายได้ถึง 27 ลาย
-น้ำหนักของสินค้า 5.6 กิโลกรัม
-สนเข็มอัตโนมัติ ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก
-ขนาด กว้าง 37 ซม. x ยาว 44.5 ซม. x สูง 19.5 ซม.

ยี่ห้อ Viomithai

-สามารถเย็บลวดลายได้ถึง 12 ลาย
-รูปทรงสวยงาม จับใช้งานถนัดมือ
-มีตัวเหยีบเท้า สลับได้กับการใช้มือ
-สามารถเย็บเดินหน้า-ถอยหลัง กรอด้ายเข้ากระสวยเอง

ยี่ห้อ HOMEBU

โฮมบู
-วัสดุทำมาจาก ABS คุณภาพสูง น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย
-ขนาดของสินค้า 20 ซม. x 10 ซม. x 19 ซม.
-มีฟังก์ชั่นการใช้งานหลายรูปแบบ ใ้ชง่าย

ยี่ห้อ ZEN รุ่น ZN1101

เซน รุ่น ZN1101
-สามารถเย็บลวดลายได้ถึง 11 ลาย
-ขนาด 33 ซม. x 25 ซม. x 14 ซม.
-มีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน
-ดีไซน์ทันสมัย รูปทรงสวยงาม สไตล์วินเทจ

ยี่ห้อ Matrix รุ่น TR-1603

เมทริกซ์รุ่น TR-1603
-เย็บลวดลายได้ถึง 16 ลาย ปรับความเร็วได้ 2 ระดับ
-มีไฟ LED แสงขาว มีหูจับ สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย
-ขนาดของสินค้า 30.3 ซม. x 19.2 ซม. x 27.3 ซม.

ยี่ห้อ Juki รุ่น HZL-12Z

จูกิ รุ่น HZL-12Z
-สามารถปรับความกว้าง-ยาว ของฝีเข็มได้ง่าย
-สามารถเย็บลวดลายได้ถึง 12 ลาย
-น้ำหนักของสินค้า 10 กิโลกรัม
-ขนาดกะทัดรัด พกพาสะดวก

ยี่ห้อ AJ

เอเจ
-วัสดุทำมาจาก ABS + โลหะ น้ำหนักของสินค้า 10 กิโลกรัม
-ขนาดของสินค้า 26.5 ซม. x 12 ซม. x 25 ซม.
-สามารถใช้งานได้ทั้งไฟบ้านและใส่ถ่าน
-สามารถเย็บลวดลายได้ถึง 7 ลาย

ยี่ห้อ Elna รุ่น eXplore150

-สามารถเย็บลวดลายได้ถึง 11 ลาย
-ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก พกพาสะดวก
-รังดุม 4 ขั้นตอน ระบบแมคคานิค กระสวยหงาย

ยี่ห้อ Singer รุ่น 4411

ซิงเกอร์ รุ่น 4411
-สามารถเย็บลวดลายได้ถึง 11 ลาย
-น้ำหนักของสินค้า 6.2 กิโลกรัม
-แข็งแรง ทนทาน ไม่แตกหักง่าย
-สามารถปรับตำแหน่งเข็มได้ 3 ตำแหน่ง
-ขนาด 38.5 ซม. x 30 ซม. x 16.5 ซม.

Best Choice ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า