ตู้ปลาเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับคนที่ต้องการเลี้ยงปลา ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องศึกษามาเป็นอย่างดีในระดับนึงเพื่อที่จะเลือกอย่างถูกต้อง และเหมาะสมไม่ทำให้ปลาตาย เช่นดูว่าเลี้ยงจำนวนมาก-น้อยเท่าไร่ ปลาชนิดอะไร โตสุดแล้วมีขนาดเท่าไร่ ทุกอย่างเหล่านี้มีผลที่ถ้าหากคำนวณไม่ดีแล้ว โอกาสที่ปลาจะตายมีมากเลยทีเดียว
อุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ได้แก่ กรงกระต่าย , อาหารปลาคาร์ฟ เป็นต้น
ปลาที่นิยมเลี้ยงไว้ในตู้ปลามีอะไรบ้าง
เลี้ยงปลาสวยงามอะไรดี
1.ปลาหางนกยูง
นอกจากเป็นปลาสวยงามที่มีผู้คนให้ความนิยมในการเลี้ยงแล้วนั้น ยังเป็นชนิดปลาที่มีการเลี้ยง และดูและง่าย ทั้งในเรื่องการเปลี่ยนน้ำ และทำความสะอาดตู้ในแต่ละอาทิตย์ให้ดูดน้ำก้นตู้ และเศษสกปรกที่อยู่ก้นตู้ทิ้ง เหลือน้ำเก่าครึ่งตู้
หลังจากนั้นให้นำน้ำประปา ที่เรารองทิ้งไว้ล่วงหน้า 1-2 ชั่วโมงใส่เข้าไป เพื่อให้ปลาปรับสภาพกับน้ำเดิมได้ การให้อาหารสามารถให้ร่วมระหว่างไรแดง, ไรทะเล และอาหารเม็ดสำหรับปลาที่มีครีบหลัง เม็ดขนาดเล็ก
2.ปลานีออน
เสน่ห์และสิ่งที่น่าดึงดูดให้ผู้คนหันมานิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้ คือ แสงที่ส่องสว่างในเวลามืด หรือการเปิดไฟตู้ก็จะช่วยให้แสงจากตัวปลานีออนชนิดนี้ มีความสวยงามมากขึ้น ในเวลาที่แสงจากตู้ตกกระทบที่ตัวปลา ควรอยู่ในตู้ที่มีขนาด 14 นิ้วขึ้นไป
3.ปลาเทวดา
ความนิยมเลี้ยงมาจากชื่อของปลาชนิดนี้ Angel Fish ที่มีความสวยงามในแบบเรียบๆ หากจะมองว่าเป็นความสวยงามแบบคลาสสิกก็ว่าได้ ปลาชนิดนี้จะมีลักษณะเด่นคือ มีครีบทั้งที่หลัง, ครีบหาง และครีบที่ก้น อีกทั้งมีจุดเด่นตรงครีบที่ท้องจะเป็นเส้นยาว และสีพาดกลางลำตัวเป็นสีเทาเหลือบเงิน กับสีดำ
ด้วยนิสัยที่รักสงบ จึงสามารถเลี้ยงอยู่กันเป็นฝูงได้ และยังสามารถเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นๆ ได้ แต่มีข้อแม้ที่เราจำเป็นที่จะสังเกต ปลาเทวดาแต่ละตัวก่อนว่า มีตัวไหนที่มีนิสัยก้าวร้าว ก็จำเป็นต้องแยกออกมา
เพราะหากเลี้ยงรวมกับตัวอื่นๆ อาจทำให้เกิดการกัดกันได้ หรือหากมีปลาเงินปลาทอง กับ ปลาหางนกยูง เราสามารถเลี้ยง 2 ชนิดนี้รวมกัน และแยกปลาเทวดาออกมาอีกตู้
4.ปลาปักเป้าจุดเขียว หรือฟิชโช่
ด้วยรูปร่างหน้าตาของปลาชนิดนี้ หลายคนที่นำมาเลี้ยงอาจหลงเสน่ห์ ในความน่ารัก ที่มีรูปร่างอ้วน จริงๆ แล้วปลาชนิดนี้เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของปลาปักเป้า แต่ไม่มีนิสัยดุร้าย สามารถกินอาหารที่มีการเคี้ยวร่วมด้วย
อย่างเช่น กุ้งตัวเล็ก, หอยทาก หรืออาหารเม็ดร่วมด้วย ควรเลี้ยงน้ำกร่อยที่มีการผสมเกลือเล็กน้อยเท่านั้น สิ่งสำคัญคือ พื้นที่ในตู้ ควรเลือกตู้ที่มีขนาดใหญ่ สำหรับการเลี้ยงปลาลักษณะนี้ ควรมีการทำความสะอาดตู้ทุกอาทิตย์
5.ปลาเงิน ปลาทอง
หากเราพูดถึงปลาสวยงามแล้วละก็ คงไม่มีใครลืมที่จะคิดถึงปลาชนิดนี้อย่างแน่นอน หากมีอุปกรณ์ในการเลี้ยงปลาสวยงามที่ครบแล้ว การเลี้ยงปลาชนิดนี้ในเรื่องการดูแลถือเป็นเรื่องง่าย เน้นในเรื่องของการให้อาหาร ที่ตรงกับชนิดของปลา และไม่ให้บ่อย หรือปริมาณที่มากจนทำให้น้ำเน่าเสีย
รวมถึงการทำความสะอาดตู้ปลา การเปลี่ยนน้ำเข้าไปในตู้ ควรเป็นน้ำที่วางตั้งไว้ จนไม่มีกลิ่นคลอรีนแล้ว, พื้นที่ในตู้มีความกว้างพอกับจำนวนปลา, มีตัวกรองน้ำ และตัวปั๊มออกซิเจน เท่านี้เราก็จะมีทั้งปลาที่เลี้ยงเอาไว้ดูเล่น, เพื่อความสวยงาม และเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับที่พักอาศัยร่วมด้วย
อุปกรณ์เลี้ยงปลาสวยงาม
1.ตู้ปลา
ที่เป็นกระจก หรือวัสดุอะคริลิคที่มีความใสเหมือนกระจกแต่มีน้ำหนักเบาจะเป็นเรื่องที่ดีต่อปลาที่เราเลี้ยงเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการเพิ่มพื้นที่ให้กับปลาที่เราเลี้ยง ได้มีปริมาณความจุของน้ำเพิ่มขึ้น, มีพื้นที่ว่ายภายในตู้มากขึ้น รวมถึงค่าออกซิเจนที่มีมากกว่า
เราสามารถเทียบค่าขนาดของตู้ได้ดังนี้ คือ
ขนาด (นิ้ว) | กว้างxยาวxสูง (ซม.) | ความจุ (ลิตร) |
10 | 12x25x15 | 4.5 |
14 | 18x35x20 | 12.6 |
16 | 20x40x32 | 25.6 |
18 | 23x45x32 | 33.1 |
20 | 25x50x32 | 40.0 |
36 | 40x90x45 | 162.0 |
60 | 45x152x45 | 307.8 |
2.เครื่องปั๊มออกซิเจน
เป็นเครื่องปั๊มอากาศ หรือ Air Pump เมื่อเปิดเครื่องทำงานนั้นจะมีการดูดเอาอากาศส่งไปตามสายยาง หรือท่อ ที่ปลายท่อจะจุ่มลงไปในตู้ปลา ซึ่งปริมาณของออกซิเจน จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ ความลึกของตู้ที่ปลายสายถึงด้วย
ลมที่ดูดเข้าไปในตัวเครื่อง จะกระจายฟองอากาศที่อยู่ตรงหัวทราย และออกซิเจนในอากาศจะละลายลงไปจนเกิดฟองอากาศเหนือผิวน้ำ ระดับการพ่นกระจาย และรุพรุนของหัวทรายมากแค่ไหน ก็เท่ากับตัวออกซิเจนที่มากตามไปด้วย รวมถึงปัจจัยที่สำคัญคือ การเลือกตัวปั๊มอากาศ ควรเลือกในระดับที่มีแรงปั๊มที่มากร่วมด้วย
ดังนั้นหากเราต้องการให้ปลาได้รับออกซิเจนที่มาก ควรเลือกขนาดตู้ที่ใหญ่ และเหมาะสมกับปริมาณของจำนวนปลา ยิ่งตู้มีขนาดใหญ่เท่าไหร่ ความจุน้ำมาก และการที่ออกซิเจนจะละลายในน้ำจนเกิดฟองอากาศก็มีมากขึ้น, ระดับหัวทรายที่อยู่ที่ก้นตู้ ควรมีความลึก, รูกระจายพ่นของฟองอากาศ หรือรูพรุนตัวหัวทรายควรมีการกระจายได้อย่างดี ไม่ตัน ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่จะช่วยให้ปลาสวยงามได้รับออกซิเจนที่เพียงพอ
3.เครื่องกรองน้ำ
ตัวเครื่องกรองจะตัวแผ่นใยกรอง โดยมีการดึงน้ำในตู้เข้ามาในตัวแผ่นกรอง รวมถึงการดูดเอาเศษอาหารที่เหลือ และเศษสิ่งสกปรกจะโดนดูดเข้าไปติดกับตัวกรวดในตัวเครื่องกรอง น้ำใสจะไหลผ่านออกมาจากแผ่นกรอง ออกมาที่ตู้ปลาแทน
4.เครื่องทำความร้อน, ฮีตเตอร์
โดยมีหลักในการพิจารณาง่ายๆ คือ หากน้ำในตู้มีปริมาณ 1 ลิตรจะต้องใช้ตัวฮีตเตอร์ 1 วัตต์ ซึ่งหากเป็นช่วงอากาศที่เข้าสู่ฤดูหนาว หรือในห้องที่วางตู้และมีการเปิดแอร์ร่วมด้วย ควรตั้งฮีตเตอร์ที่ระดับ 23-30 องศาเซลเซียส
5.ของตกแต่ง
ไม่ว่าจะเป็นหินกรวด หรือปะการังของปลอม ที่นำมาแต่งภายในตู้นั้น ควรที่จะมีการสลับนำมาทำความสะอาด หากต้องการล้างเพื่อฆ่าเชื้อโรคนั้น ควรที่จะมีการนำมาแช่น้ำเกลือเข้มข้น 1 คืน จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด และแช่น้ำจืดอีก 1 คืน ก่อนนำมาตากให้แห้ง และสลับนำหินกรวด หรือของตกแต่งอีกชุดมาใช้ การทำความสะอาดควรทำทุกอาทิตย์
ประเภทของตู้ปลา
แบ่งตามวัสดุ
- กระจก
จะมีน้ำหนักมาก แต่มีข้อดีที่ใครหลายคนก็ยังคงนิยมใช้วัสดุแบบนี้ เป็นตู้เลี้ยงปลาอยู่คือ การทำความสะอาดได้ง่าย ทั้งในเรื่องของตะไคร่ที่เกาะฝังแน่นขอบด้านข้าง และมุมของตู้ อีกทั้งในการใช้งานไปสักพัก อาจเจอกับปัญหาน้ำซึม เราสามารถที่ลงยาแนวเพิ่มเติมได้
- อะคริลิค
เป็นวัสดุที่ผลิตเป็นตู้ปลาในรุ่นใหม่ๆ มีความสวยงาม ด้วยตัวเนื้ออะคริลิคมีความใสมากกว่ากระจก รวมถึงน้ำหนักเบากว่าวัสดุที่เป็นกระจกมาก แต่สิ่งหนึ่งที่เราจำเป็นต้องรู้คือ ด้วยความสวยงามของตัวเนื้ออะคริลิค ทำให้มีราคาที่แพงกว่า วัสดุแบบกระจก อีกทั้งยังทำความสะอาดได้ยากกว่าวัสดุที่เป็นกระจกอีกด้วย โดยเฉพาะคราบตะไคร่ตรงมุมตู้
แบ่งตามลักษณะ
1.ตู้โล่ง
มีพื้นที่เยอะ สวย เลี้ยงได้ทั้งปลาและไม้น้ำ ใครชื่นชอบตู้แบบนี้จะต้องเลือกกรองที่มีอยู่ 3 แบบด้วยกันคือ กรองแขวน กรองบน และกรองล่าง
-กรองแขวน มีความเงียบในระดับนึง ใช้กับการเลี้ยงปลาที่จำนวนไม่เยอะ
-กรองบน คือมีตัวปั๊มอยู่ในตู้ ความสวยงามของตู้จะลดลงมาเล็กน้อย
-กรองล่าง เป็นการดึงน้ำจากในตู้ตกลงมาด้านล่าง จะสามารถใส่วัสดุกรองได้เยอะ มีค่าใช้จ่ายสูง
2.ตู้ที่มีกรองอยู่ด้านใน
-เหมาะสำหรับมือใหม่ โดยจะแบ่งได้อีก 2 ลักษณะคือ กรองเต็ม กับกรองมุม
วิธีการเลือกซื้อตู้ปลา
1.เลือกขนาดที่เหมาะสมกับขนาดตัวของปลาที่เลี้ยง
อย่างเช่น หากเราเลือกเลี้ยงปลาสวยงาม ที่มีขนาดตัวเล็ก อย่างปลาหางนกยูง หรือปลานีออน ก็จะมีการพิจารณาเลือกตู้ ที่แตกต่างไปจากปลากระเบนเสือดาว หรือปลาตะพัด ที่เรามักจะเรียกกันว่า ปลาอะโรวาน่า ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ากันมาก
เราสามารถดูได้จากตารางการเลือกขนาดความยาวตู้ เพื่อเทียบค่าความจุน้ำในตู้ร่วมด้วย ที่จะมีผลต่อการให้ออกซิเจนในน้ำ
2.เลือกความใหญ่ของตู้ที่เหมาะสมกับปริมาณจำนวนปลา
อย่างเช่น หากเราคิดจะเลี้ยงปลาเงิน ปลาทองจำนวน 9 ตัว ควรที่จะเลือกขนาดความยาวของตู้ 48 นิ้ว เพื่อให้ปลาสามารถว่ายน้ำได้ในพื้นที่กว้างพอ อีกทั้งข้อดีของตู้ที่มีขนาดใหญ่ ความคงที่ของอุณหภูมิน้ำในตู้จะมีมากกว่า ตู้ที่มีขนาดเล็ก หรือเรียกว่า อุณหภูมิน้ำแกว่ง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อปลาทุกชนิดที่เลี้ยง
3.วัสดุของตู้
อาจจะขึ้นอยู่กับความชอบของผู้เลี้ยงปลา ทั้งตัวเลือกที่เป็นตู้ที่เป็นวัสดุกระจก หรือตู้ที่ทำจากวัสดุที่เป็นอะคริลิค
4.ความสว่างของตู้
เราสามารถเลือกตู้เลี้ยงปลาที่มีระบบติดตั้งหลอดไฟมาพร้อมกันได้ หรือสามารถใช้ความสว่างในห้อง ที่ควรมีความสว่างของหลอดไฟที่ไม่มากจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความร้อนมาถึงตู้เลี้ยงปลาได้ หากที่ตั้งตู้ใกล้กับหลอดไฟจนเกินไป
โดยเฉพาะเมื่อเลือกเป็นการติดตั้งหลอดไฟกับตัวตู้เอง ควรระวังในเรื่องการกระเด็นของน้ำมาถึงขั้วหลอดไฟ หรือสามารถเลือกในแบบตู้สำเร็จรูป ที่มีการติดตั้งทั้งระบบให้ความสว่าง, ระบบการกรองน้ำ และเครื่องปั๊มอากาศไปในตัว
5.ระบบกรองน้ำ
ผู้เลี้ยงปลาสามารถตัดสินใจ ในการพิจารณาเลือกซื้อตู้ครั้งแรก ว่าต้องการมีตู้เลี้ยงปลา ที่มีระบบกรองน้ำติดมากับตัวตู้เลยหรือไม่ เพราะในบางตู้นอกจากมีระบบกรองน้ำมาพร้อมกับตู้เลี้ยงปลาเลยนั้น
ส่วนใหญ่จะมาด้วยกันกับระบบปั๊มอากาศ หรือเครื่องปั๊มออกซิเจน และหลอดไฟส่องสว่างติดกับตัวตู้ นอกจากนั้นสำหรับบางตู้ จะมีตัววัดอุณหภูมิน้ำด้านบนตู้อีกด้วย
แนะนำมือใหม่ที่จะเลี้ยงปลาเรื่องตู้ปลา
สรุป
ตู้ปลาเป็นอุปกรณ์หนึ่งในการเลี้ยงปลาที่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ การศึกษามาอย่างดีจะช่วยให้ปัญหาหมดไป ก่อนจะเลี้ยงควรเริ่มตั้งคำถามว่า จะเลี้ยงปลาชนิดอะไร และปริมาณในการเลี้ยงมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่ว่าจะได้เลือกขนาดที่ถูกต้อง โดยส่วนมากตู้ขนาดใหญ่และจำนวนปลามีน้อยตัวจะไม่ค่อยพอเจอกับปัญหา
ควบคุมและดูแลการผลิตคอนเท้นส์ ชื่นชอบที่จะนำเสนอคอนเท้นส์ที่ดีๆ มีประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่าน