ที่นอนสปริงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่นอนที่ดีที่สุดของหลายๆคนแล้วแต่ความชอบภายในจะประกอบด้วยสปริง หรือขดลวด ทำให้มีความเด้ง ภายนอกรองรับด้วยความนุ่มของฟูก รองรับสรีระของร่างกาย มีอายุการใช้งานยาวนาน
เครื่องนอนอื่นๆที่นอกเหนือจากนี้ ถ้าใครสนใจสามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยจ้า
ชุดเครื่องนอน , ผ้าปูที่นอน , ที่นอนยางพารา , ที่นอน 3.5 ฟุต , ที่นอนเป่าลม , หมอนขนเป็ด , หมอนขนห่าน , หมอนรองคอ , topper , เตียง 2 ชั้น , ที่นอนสปริงตัวท็อป , เครื่องดูดไรฝุ่น , ถุงนอน , ผ้านวม , หมอนยางพารา
ที่นอนสปริง คืออะไร
คือ ที่นอนที่มีส่วนประกอบเป็นตัวสปริง หรือขดลวดที่แกนกลางด้านในของที่นอน เป็นส่วนสำคัญที่ทั้งรับน้ำหนัก และกระจายน้ำหนักให้ทั่วที่นอน ส่วนด้านบน และด้านล่างของตัวขดลวดภายในนั้น
จะมีชั้นต่างๆ ที่ในแต่ละยี่ห้อจะมีการจำนวนชั้นด้านในไม่เท่ากัน แต่จะเน้นหลักๆ ในการช่วยในการรองรับน้ำหนัก และให้เกิดความสบายต่อผู้ใช้งาน รวมถึงช่วยเพิ่มความแน่นให้กับตัวที่นอนในขณะที่มีการลงน้ำหนักลงบนที่นอน
ที่นอนสปริงมีคุณสมบัติอย่างไร
จุดเด่นหลักคือ มีการกระจายน้ำหนักของผู้นอนได้ทั่วเตียง รวมถึงการรองรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดี ทำให้นอนสบายไม่ปวดหลัง ด้วยขดลวดภายในมากกว่า 400 ขดลวดที่ยึดกับตัวโครงเหล็กชั้นใน รวมถึงการวางแผ่นเสริมภายในที่นอนตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป
1.ชั้นแรกแกนตาข่าย และไฟเบอร์
เป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุด และเป็นชั้นที่สัมผัสกับผู้ที่นอนได้โดยตรง อีกทั้งเป็นชั้นที่ควบคุมรูปทรงของโครงเตียงภายนอกเอาไว้ และป้องกันไม่ให้ตัวสปริงเมื่อใช้ไปนานหลายปี ทะลุออกมาด้านนอก หรือมีการเลื่อนตัวโผล่ขึ้นมาให้ผู้นอนสัมผัสได้ ส่วนตัวตาข่ายผ้าที่หุ้มด้านนอกจะมีการเคลือบสารป้องกันไรฝุ่น, ภูมิแพ้ และเชื้อรา
2.ชั้นที่สองแผ่นไฟเบอร์ หรือโฟม
ทำหน้าที่เป็นเสมือนเบาะที่รองรับน้ำหนัก ผ่านตัวโฟมอัดที่จะช่วยให้เวลานอนมีความรู้สึกสบาย มีความแน่นของที่นอน หากมีการใช้งานที่นอนในระยะเวลาที่อยู่ในการใช้งานได้ดีนั้น จะสัมผัสได้ถึงความแน่น และยืดหยุ่นของตัวสปริงด้านใน
3.ชั้นที่สามแผ่นไฟเบอร์ หรือแผ่นโฟมอัดอย่างบาง
ส่วนนี้จะใช้ในการกระจายน้ำหนักของผู้นอน ให้ลงไปบนขดลวดสปริงตรงกลางเท่าๆ กัน เพราะหากมีการลงน้ำหนักไปทางด้านใดด้านหนึ่งมากจนเกินไป ก็จะทำให้ขดลวดส่วนนั้น มีการเสื่อมสภาพเร็วมากขึ้น จะมีปัญหาที่นอนที่ไม่มีความสมดุล มีความยวบไม่เท่ากัน
อ้างอิงแหล่งที่มา
ที่นอนสปริง vs ที่นอนยางพารา
1.การรองรับน้ำหนัก
หากพูดถึงเรื่องการรับน้ำหนักตัวนั้น เราอาจจะต้องยอมรับที่นอนยางพารา ที่ให้คะแนนสูงกว่า ด้วยความเป็นเนื้อยางพารา ที่มีความหนา และแน่นของเนื้อใน ยิ่งทั้งหากใครที่มีน้ำหนักมากนั้น แนะนำให้เลือกใช้ที่นอนแบบที่เป็นยางพาราเท่านั้น เพราะนอกจากรองรับน้ำหนักได้ดีกว่าแล้ว ยังกระจายน้ำหนักได้ทั่วทั้งเตียงได้มากกว่า อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานที่นานกว่า ไม่ต้องเจอกับปัญหาเตียงยุบ และไม่ต้องเสี่ยงต่อการปวดเมื่อยกระดูกสันหลังอีกด้วย
2.ความยืดหยุ่น
ในเรื่องของการยืดหยุ่น หรือการสปริงตัวของที่นอนๆ ที่เป็นแบบขดลวดสปริงด้านในจะมีมากกว่าที่นอนแบบยางพารา ซึ่งหมายความว่า หากเราไม่ใช่คนที่มีน้ำหนักตัวเยอะจนเกินไปนั้น การแนะนำให้เลือกใช้ที่นอนสปริง ก็จะดีในด้านของความแน่นของที่นอนส่วนหนึ่ง และอีกส่วนก็คือการทำงานของขดลวดด้านในตัวที่นอน ที่ช่วยให้ความยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี
3.การเคลื่อนไหว พลิกตัว
หากเป็นการนอนที่มากกว่า 1 คนแนะนำให้มีตัวเลือกอีกหนึ่งทางคือ ที่นอนแบบยางพารา เพื่อที่แต่ละคนจะไม่รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของอีกฝ่าย ด้วยความแน่นของเนื้อยางพารานั่นเองถึงแม้จะเป็นที่นอนแบบพ็อกเก็ตสปริงก็ตาม ที่มีการสัมผัสถึงการเคลื่อนไหว ของคนที่นอนด้วยบนเตียงเดียวกันน้อยมาก แต่ก็ยังสามารถรับรู้ได้ ในเวลาที่อีกฝ่ายพลิก หรือขยับตัว ซึ่งจะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การนอนหลับไม่สนิท หรือนอนไม่หลับเลย
4.ราคา
จะมีระดับราคาที่ถูกกว่าที่นอนยางพารา แต่ในบางยี่ห้ออาจจะมีราคาที่สูงมากกว่าระดับราคาที่นอนแบบสปริงเดียวกันก็เป็นได้ และรวมถึงมีระดับราคาที่สูงเท่าๆ หรือมากกว่าที่นอนยางพารา ซึ่งเกิดจากการบุชั้นด้านใน ทั้งด้านบน และด้านล่างของที่นอนให้มีหลายชั้น เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่นาน และมีการยุบตัวของที่นอนได้ช้า
ที่นอนสปริง กับ พ็อกเก็ตสปริงต่างกันอย่างไร
หลักๆ แล้วจะต่างกันในเรื่องของเสียงขดลวดที่ดัง ในเวลาที่นอนลงบนที่นอนเท่านั้น ด้วยความที่มีโครงสร้างการวางขดลวดที่แตกต่างกัน
1.แบบบอนแนลล์ (Bonnell Spring Mattress)
การวางขดลวดภายในจะยึดเกี่ยวสัมพันธ์กันหมด และเกี่ยวยึดกับตัวโครงเหล็กของเตียง ดังนั้นเมื่อเรานอนลงบนที่นอน การรองรับน้ำหนักจะกระจายไปทั่วเตียง และเป็นสาเหตุของการที่อีกฝ่ายรับรู้ได้ถึงการขยับตัว หรือพลิกตัวของคนที่นอนข้างๆ ได้
2.แบบพ็อกเก็ต (Pocket Spring Mattress)
รูปแบบการวางขดลวดที่เป็นอิสระซึ่งกันและกัน ไม่มีการเกี่ยวยึดต่อกันระหว่างขดลวด รวมถึงการหุ้มด้วยผ้าอีกชั้น ดังนั้นในเวลาที่มีใครคนหนึ่งนอนลงบนที่นอน ก็จะมีการลงน้ำหนักที่ขดลวด ณ ตำแหน่งนั้นที่เดียว แต่ด้วยความเป็นวัสดุขดลวด ที่มีความยืดหยุ่น ดังนั้นการรับรู้ถึงการขยับตัวของอีกฝ่าย ที่นอนบนเตียงเดียวกันก็อาจจะน้อยกว่าแบบแรก
คำถามที่พบบ่อยของที่นอนสปริง
Q ควรนอนด้านไหน
A นอนด้านไหนก็ได้แต่ข้อแนะนำคือ ควรที่จะมีการพลิกที่นอนในช่วงระยะเวลา 3 เดือนหลังจากการใช้งานไปแล้ว โดยการพลิกที่นอนจากด้านบนให้ลงไปด้านล่าง และให้สลับส่วนหัวนอนมาที่ปลายเตียงแทน การทำในแบบนี้นั้น ถือว่าเป็นอีกวิธีที่ช่วยถนอมการใช้งานที่นอนแบบขดลวด อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้นกว่าเดิมได้อีกด้วย
Q เสียงดังไหม
A ในการซื้อมาใช้งานในช่วงแรกๆ นั้น เสียงของขดลวดสปริงอาจจะไม่ดังเท่าไหร่ สำหรับเวลาที่เรานอนพลิกตัว หรือขยับตัวบนที่นอน แต่ด้วยความเป็นที่นอนที่มีขดลวดด้านในแล้วนั้น ย่อมมีเสียงเวลานอน หรือเวลาขยับพลิกตัวบนเตียงอย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าหากเราเลือกในแบบพ็อกเก็ตสปริงแล้ว เสียงก็จะดังน้อยกว่าที่นอนสปริงแบบธรรมดา หรือ บอนแนลล์สปริง
แต่เราอาจจะต้องรู้ข้อจำกัดของที่นอนในรูปแบบนี้ว่า ในระยะเวลาจำนวนปีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นนั้น เสียงที่เกิดจากสภาพการใช้งานของขดลวดทุกวัน ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนปี
โดยเฉพาะหากมีการใช้งานที่เกินกว่า 7 ปีขึ้นไปแล้ว ขดลวด หรือตัวสปริงภายในก็จะเสื่อมสภาพการใช้งานไปเรื่อยๆ จนอาจจะไม่เพียงแค่เสียงดังเท่านั้น การผิดรูปทรงของตัวที่นอน ไม่ว่าจะเป็นการยุบตัวของที่นอน หรือมีส่วนของขดลวดสปริงนูนออกมาทางใดทางหนี่งของตัวที่นอนก็ย่อมเป็นไปได้ทั้งนั้น
Q อายุการใช้งาน
A เราจะดูที่ตัวขดลวดสปริงด้านในเป็นส่วนสำคัญ เพราะเมื่อไหร่ที่ขดลวดด้านในเสื่อมสภาพแล้วจะมีความยวบ, ไม่มีความยืดหยุ่น รวมถึงเตียงมีการเสียทรงที่อาจจะบุบทั้งด้านนอก หรือบนที่นอน อายุการใช้งานของที่นอนปริงจะอยู่ที่ 5-7 ปีโดยประมาณ
เกร็ดความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับที่นอนสปริง
1.หากเลือกที่นอนที่เป็นขดลวดสปริงแล้วนั้น ควรเลือกที่นอนที่มีความสูงอย่างน้อย 8 นิ้วขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความสูงมาตรฐานอยู่ที่ 9-10 นิ้วจะทำให้นอนสบายมากยิ่งขึ้น
2.ที่นอนที่เป็นขดลวดสปริงเหมือนกัน แต่ระดับราคาอาจจะมีความแตกต่างกันมาก หรือน้อยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การเสริมตัวขอบทั้งด้านนอกตัวที่นอน รวมถึงระดับชั้นด้านในที่มีการเสริมไฟเบอร์ และแผ่นอัดโฟม
ซึ่งอาจมีจำนวนชั้นที่ไม่เท่ากัน และจำนวนของขดลวดภายในที่มีไม่เท่ากันในแต่ละยี่ห้อ และแต่ละรุ่นอีกด้วย ซึ่งโดยปกตินั้นจะมีขดลวดตั้งแต่ 400 ขดลวดขึ้นไป ทั้งหมดนี้มีผลต่ออายุการใช้งานที่มากหรือน้อยร่วมด้วย
3.ที่นอนสปริงถึงแม้จะมีคุณสมบัติ ที่สามารถทั้งรองรับน้ำหนัก และมีความยืดหยุ่นสูงในขณะที่เราทิ้งตัวลงนอน นอนสบาย ไม่ปวดหลังแต่หากเป็นที่นอนที่ผ่านการใช้งานมานานแล้ว ตัวสปริงด้านในย่อมจะมีคุณสมบัติที่ไม่สมบูรณ์ มีผลทำให้เกิดการยุบตัวของเตียง และขอบด้านข้างมีส่วนของสปริงยื่นออกมา อีกทั้งที่นอนอาจมีการเสียทรง โครงสร้างตัวที่นอนที่ไม่เหมือนเดิม
หากที่นอนมีสภาพดังกล่าวแล้ว เราไม่ควรที่จะใช้ต่อไป เพราะอาจสร้างความปวดเมื่อยให้กับร่างกายมากกว่าเดิม หรือทำให้โครงสร้าง และสรีระร่างกายของเรา โดยเฉพาะในส่วนของกระดูกสันหลังทำให้เกิดการคดงอ หรือผิดรูปได้
4.ด้วยคุณสมบัติเด่นของที่นอนประเภทนี้ เราจึงมักคิดว่า สปริงด้านในตัวที่นอน มีความแข็งแรง และสามารถรองรับน้ำหนักเท่าไหร่ หรือรับการกระแทกมากแค่ไหนก็ได้ การกระโดดบนที่นอนบ่อยครั้ง เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้โครงสร้างลวดสปริงด้านใน จะเกิดการเสื่อมสภาพเร็วมากขึ้น
5.หากที่นอนมีความยืดหยุ่นมากเกินไป เราอาจจะต้องดูในเรื่องของความแน่นของตัวที่นอนร่วมด้วย หมายถึงตัวเสริมขอบของที่นอน และแผ่นชั้นเสริมด้านในที่นอน ที่เป็นตัวกั้นระหว่างขดลวดสปริงด้านในตรงกลาง
กับพื้นผิวสัมผัสตัวที่นอน ที่ผู้ใช้จะสัมผัสได้โดยตรง เมื่อนั่งหรือนอนลง ต้องให้ความรู้สึกแน่น และมีความยืดหยุ่นของตัวสปริงที่ไม่มากจนเกินไป
เพราะหากตัวที่นอนมีความยืดหยุ่นมาก แต่แผ่นรองชั้นที่นอนมีความบาง จนสามารถรับรู้ได้ถือ ความยืดหยุ่นของตัวสปริงด้านในที่นอนมากจนเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาที่นอนเสื่อมสภาพได้เร็ว นั่นหมายถึงที่นอนยี่ห้อนั้น มีการรองแผ่นเสริมด้านในที่เป็นตัวกลางระหว่าง ผู้นอนกับขดลวดสปริงที่บาง และมีจำนวนชั้นที่น้อยจนเกินไป
วิธีเลือกที่นอนง่าย ๆ
สรุป
ที่นอนสปริงเหมาะสับหรับผู้ที่ชื่นชอบความเด้ง ที่นอนจะมีความยืดหยุ่น รองรับน้ำหนักตัวได้ดี มีความนุ่ม ไม่แข็งเวลาล้มตัวลงนอน ซึ่งมีหลายประเภทของขดลวดให้เลือกแล้วแต่รุ่นๆไป
อ้างอิง
ควบคุมและดูแลการผลิตคอนเท้นส์ ชื่นชอบที่จะนำเสนอคอนเท้นส์ที่ดีๆ มีประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่าน