พาวเวอร์แบงค์เรียกว่าเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันเลยก็ว่าได้ในการออกนอกสถานที่ หลายครั้งเราก็มักจะประสบกับปัญหาแบตเตอรี่หมดในระหว่างวัน ทำให้ใช้งานต่อไม่ได้
บทความนี้ขอนำเสนออุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการชาร์จแบตเตอรี่อย่าง Power Bank ซึ่งถ้าหาที่ใช้ดีแล้วจะถูกออกแบบมาให้มีน้ำหนักเบา สามารถพกพาง่าย แถมความจุยังเยอะอีก สามารถใช้ได้นานและใช้งานได้สะดวก
สำหรับหมวดหมู่ gadget อุปกรณ์มือถือ หรืออื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ไมค์ตั้งโต๊ะ , ปากกาทัชสกรีน , ปากกาเขียนไอแพด , สายชาร์จเร็ว , หัวชาร์จเร็ว , คีย์บอร์ดเกมมิ่ง , หูฟังไร้สาย , สายชาร์จ type-c , เก้าอี้เกมมิ่ง
พาวเวอร์แบงค์คืออะไร
คือ อุปกรณ์สำรองไฟ โดยมากเป็นแบบพกพา ใช้ชาร์จแบตเตอรี่กับโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ไอทีอื่นๆที่เข้ากันได้ โดยมีความจุเป็นแอมป์ ยิ่งถ้าแอมป์เยอะจะแปลว่า เก็บไฟได้เยอะ ชาร์จ 1 ครั้งใช้ได้ยาวนาน
ความจุของพาวเวอร์แบงค์ที่เป็นที่นิยม
1. 5000 mah
มีความจุน้อย เหมาะกับผู้ใช้งานที่ไม่ได้มีความจำเป็นจะต้องออกไปข้างนอก แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการมีแบตเตอรี่สำรองเผื่อไว้ในระหว่างวัน ขนาดของแบตเตอรี่เล็กลงตามไปด้วย ส่งผลให้มีน้ำหนักเบาและสะดวกต่อการพกพา
2. 10000 mah
เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบออกเดินทางไปเที่ยวหรือทำธุระนอกสถานที่อยู่บ่อยๆ เพราะความจุในระดับสามารถชาร์จได้นานกว่า อาจใช้ชาร์จแบตโทรศัพท์ได้ถึง 2 ครั้ง และยังสามารถชาร์จได้หลายอุปกรณ์อีกด้วย
3. 20000 mah
ขนาดค่อนข้างใหญ่พอสมควรเนื่องจากปริมาณความจุเยอะเหมาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นจะต้องชาร์จแบตอยู่บ่อยๆ และชาร์จได้หลายอุปกรณ์ อย่างไรก็ตามความจุ 20000 mah สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ไม่เกิน 2 ชิ้น
4. 30000 mah
สามารถชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ขนาด 1420 mah ได้ถึง 9-10 รอบ เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องใช้แบตเตอรี่สำรองในระยะยาว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องออกไปข้างนอกหลายวัน หรือสายเกมเมอร์ที่ต้องใช้เล่นเกมทั้งวัน
5. 50000 mah
ใช้เวลาในการเก็บไฟเข้าค่อนข้างนานพอสมควร เนื่องจากความจุในระดับ 50000 mah ถือว่าเยอะและใหญ่มากที่สุด และมีราคาสูง จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการชาร์จโทรศัพท์และอุปกรณ์อื่นๆ หลายครั้ง หรือชาร์จ 2 เครื่องขึ้นไป
ประโยชน์ของพาวเวอร์แบงค์
1. ใช้ชาร์จแบตสมาร์ตโฟนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
Power Bank ไม่ใช่อุปกรณ์ที่สามารถชาร์จแบตสมาร์ตโฟนได้เท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาใช้งานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ได้ด้วย เช่น แท็บเล็ต, ลำโพง , เครื่องเล่น MP3 , หูฟัง , กล้องดิจิตอล , เครื่องเกมแบบพกพา , พัดลมพกพา และหลอดไฟพกพาขนาดเล็ก เป็นต้น
2. ชาร์จแบตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายอย่างพร้อมกันได้
เนื่องจากส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาให้มีพอร์ต USB หลายช่อง โดยส่วนมากจะมีพอร์ตจำนวน 2 ช่องขึ้นไป จะทำให้เราสามารถชาร์จแบตโทรศัพท์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้มากกว่า 1 จำนวนขึ้นไป ช่วยให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะมีเพียงแค่เครื่องเดียวก็สามารถชาร์จแบตให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้มากกว่า 1 เครื่องแล้ว
3. ชาร์จแบตได้สะดวก ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
4. พกพาได้สะดวก ใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา
เค้าถูกออกแบบให้สามารถชาร์จเร็วและง่ายขึ้น แถมยังพกพาได้สะดวกอีกด้วย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถชาร์จแบตโทรศัพท์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดพกพา จึงสามารถนำติดตัวไปได้ในทุกสถานที่
วิธีใช้พาวเวอร์แบงค์
1. แบบใข้สายชาร์จ
- เมื่อซื้อมาใหม่ต้องนำไปชาร์จทิ้งไว้ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการชาร์จ
- นำสายชาร์จมาเสียบในช่องพอร์ตของพาวเวอร์แบงค์ ซึ่งการจะต้องเป็นแบบที่เครื่องรองรับด้วย
- เมื่อนำสายชาร์จเสียบเข้าไปยังช่องพอร์ตให้นำสายอีกข้างหนึ่งมาเสียบเข้ากับช่องเสียบชาร์จแบตโทรศัพท์ โดยจะต้องเป็นสายชาร์จของสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นๆ หรือจะเป็นสายชาร์จที่เป็นรุ่นรองรับการใช้งานแบบเดียวกันก็ได้
2. แบบไร้สาย
- วางพาวเวอร์แบงค์ในตำแหน่งที่เหมาะสมบนพื้นผิวที่มีลักษณะราบเรียบ หรือวางไว้ในตำแหน่งที่มีการระบุและแนะนำไว้ จากนั้นนำสมาร์ทโฟนมาวางบน Power Bank โดยวางแบบหงายจอแสดงผลขึ้นข้างบน แนะนำให้วางในตำแหน่งกึ่งกลางจะดีที่สุด
- หลังจากที่วางสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ บนเจ้าตัวนี้แล้วเค้าจะเริ่มต้นการชาร์จแบตเตอรี่ภายในระยะเวลา 2-3 วินาที ซึ่งสามารถสังเกตการทำงานของเครื่องได้จากแถบสัญลักษณ์ที่ปรากฏ
วิธีเลือกซื้อพาวเวอร์แบงค์
1. เลือกตามชนิด
- แบบทั่วไป สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนทุกรุ่น โดยจะมีพอร์ต USB-A และ Micro USB ที่ใช้เชื่อมต่อกับสายชาร์จของสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต และสายชาร์จแบตเตอรี่ ถือเป็นชนิดที่มีคุณสมบัติอยู่ในระดับพื้นฐาน จึงมักจะมีราคาไม่แพงมาก เลือกซื้อหัวแปลงมาเสียบเองได้ แต่ก็ควรเลือกแบบคุณภาพดีเป็นหลัก
- แบบ Type-C เป็นพอร์ตรุ่นใหม่ที่โทรศัพท์รุ่นหลังๆเปลี่ยนมาใช้แบบนี้กัน
- แบบไร้สาย ใช้ชาร์จแบตได้ง่ายๆ โดยการวางประกบกันระหว่างโทรศัพท์และ Power Bank ถือเป็นแบตเตอรี่สำรองที่เหมาะกับผู้ที่ใช้งานโทรศัพท์บ่อยๆ อยู่เป็นประจำ เพราะสามารถพกพาได้สะดวก แต่อาจใช้เวลาชาร์จนานกว่าแบบอื่นๆ ดังนั้นควรเลือกรุ่นที่มีคุณภาพดีและคงทน
2. เลือกจากขนาดและความจุ
ขนาดและความจุเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน เพราะเป็นสิ่งที่จะบอกว่าเจ้าตัวนี้นั้นมีน้ำหนักเบามากน้อยแค่ไหน ผู้ใช้ควรเลือกที่มีขนาดและความจุให้เหมาะกับการใช้งานของตนเองเป็นหลัก เพราะจะสามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่า หากเลือกที่มีความจุเยอะๆ ก็จะส่งผลให้มีขนาดและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งอาจทำให้เกะกะและไม่สะดวกในการพกพาได้
3. เลือกจากความเร็วในการชาร์จ
นอกจากขนาด ดีไซน์ และความจุแล้ว ความเร็วในการชาร์จก็เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่ควรคำนึงถึง หากต้องการเจ้าตัวเครื่องที่มีเทคโนโลยีชาร์จเร็วและคุณภาพดีก็ควรเลือกแบบ Type-C หรือถ้าหากต้องการแบบที่ใช้เวลาชาร์จในระดับปานกลาง ไม่เน้นเร็วมาก ก็สามารถเลือกแบบทั่วไปก็ได้
4. เลือกจากน้ำหนักและการออกแบบ
แต่ละรุ่นจะถูกออกแบบมาไม่เหมือนกัน เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานและความต้องการที่แตกต่าง ซึ่งส่วนใหญ่จะออกแบบมาเป็นทรงสี่เหลี่ยม อย่างไรก็ตามควรเลือกสินค้าที่มีคุณภาพดี
5. เลือกจากพอร์ตการเชื่อมต่อ
พอร์ตการเชื่อมต่อนั้นมีความสำคัญไม่น้อย เพราะจะเป็นตัวบ่งบอกว่าเราสามารถใช้ชาร์จกับอะไรได้บ้าง และชาร์จได้มากน้อยแค่ไหน โดยปกติพอร์ตการเชื่อมต่อมักจะมี 2 ช่องขึ้นไป สำหรับใครที่อยากจะชาร์จโทรศัพท์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 1 จำนวนในเวลาเดียวกัน ควรเลือกแบบที่มีพอร์ต USB มากกว่า 2 ช่อง และเช็คดูด้วยว่ามีความจุกี่แอมป์
6. ตรวจสอบค่าแอมป์
ก่อนซื้อจะมีระบุว่าเครื่องบรรจุไฟได้กี่แอมป์ ให้เลือกตามที่เราต้องการ ในกรณีที่ต้องการประหยัดเวลาและต้องการชาร์จเร็วๆ แนะนำให้เลือก 2.4A ขึ้นไป
7. เน้นพกพา
หากต้องการแบบพกพาง่ายๆ สะดวกใช้งานในทุกที่ แนะนำให้เลือกซื้อขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และคงทน ทั้งนี้ควรจะพิจารณาจากความเหมาะสมด้านอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะคุณสมบัติของพาวเวอร์แบงค์ ให้พิจารณาดูว่าเหมาะกับโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตของเราหรือเปล่า และสำหรับใครที่ไม่สะดวกจะพกสายชาร์จไปด้วย แนะนำให้เลือกเป็นแบบไร้สาย
วิธีดูแลพาวเวอร์แบงค์ให้ใช้งานได้นาน
1. อย่าใช้ในพื้นที่ที่ความร้อนและความชื้นสูง
อุณหภูมิหรืออากาศที่ร้อนและเย็นผิดปกติ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลงได้ ซึ่งไม่เหมาะกับการอยู่ในพื้นที่ที่มีความร้อนและความชื้นสูงผิดปกติ เพราะฉะนั้นเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีสภาพดังกล่าว ก็ควรหยุดพักการใช้งาน แนะนำให้ชาร์จในอุณหภูมิระหว่าง 5-40 องศา
2. อย่าใช้โทรศัพท์มือถือขณะชาร์จ
จะทำให้แบตเตอรี่ของโทรศัพท์เสื่อมได้ง่ายแล้ว ยังส่งผลเสียต่อ Power Bank ที่ใช้งานอีกด้วย เนื่องจากการใช้โทรศัพท์ขณะชาร์จแบตนั้น จะทำให้โทรศัพท์ทำงานหนักมากกว่าปกติ และส่งผลให้ความร้อนขึ้นด้วย หากต้องการจะชาร์จเร็วๆ หรือใช้เวลาไม่นาน ก็ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว
3. ใช้เป็นประจำ
การใช้งานเป็นประจำจะช่วยคงประสิทธิภาพเอาไว้ได้ หากปล่อยทิ้งไว้โดยที่ไม่นำมาชาร์จเป็นระยะเวลานานมากเกินไปก็อาจส่งผลให้เสื่อมสภาพลงได้ เช่นเดียวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
4. หลีกเลี่ยงการใช้สายชาร์จที่ไม่มีมาตรฐาน
แนะนำให้เลือกซื้อสายชาร์จของแท้ในร้านที่ขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ได้รับสินค้าคุณภาพดีมากขึ้น
5. หลีกเลี่ยงการทำตกหรือกระแทกบ่อยๆ
หากทำตกกระแทกกับพื้นหรือสิ่งของที่มีสภาพแข็งอยู่บ่อยๆ ก็จะทำให้ได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพของพาวเวอร์แบงค์ลดลงด้วย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงและพยายามไม่ให้ตกกระแทกพื้นบ่อยๆ
คำถามที่พบบ่อยของพาวเวอร์แบงค์
1. ควรใช้กี่แอมป์
ในกรณีที่ต้องการชาร์จได้มากกว่า 1 ครั้ง แนะนำให้เลือกใช้เครื่องที่มีความจุเยอะกว่า 10000 mah ขึ้นไป
2. มีอายุการใช้งานกี่ปี
โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีอายุการใช้งานไม่เกิน 2 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพดีและคงทนหรือดีไม่ รวมถึงความถี่ในการใช้งาน และวิธีการดูแลรักษา หากนานๆ นำมาใช้ครั้งก็อาจช่วยยืดอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นได้
3. ควรชาร์จกี่ชั่วโมง
จริงๆ แล้วเราสามารถชาร์จได้ตลอดเวลา และไม่ว่าจะชาร์จเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับความจุว่ามีกี่แอมป์ แต่ในครั้งแรกแนะนำให้ชาร์จด้วยกระแสไฟต่ำ เพราะจะช่วยกระตุ้นเซลล์เก็บประจุให้มีประสิทธิภาพและคงทนมากขึ้น ความจุ 10000 mah ชาร์จประมาณ 24 ชั่วโมง หรือถ้าชาร์จผ่านไฟบ้านโดยตรงก็ใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ซึ่งจะใช้เวลาชาร์จเร็วกว่ากระแสไฟต่ำ
4. เอาขึ้นเครื่องได้ไหม ไม่เกินกี่แอมป์
สามารถทำได้ ทั้งนี้แต่ละสายการบินก็จะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้วขนาดและความจุที่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องบิน คือ ความจุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20000 mah (100 Wh) ไม่จำกัดจำนวน และความจุระหว่าง 20000 – 32000 mah (101-160 Wh) ไม่เกิน 2 ชิ้น ส่วนความจุเยอะกว่า 32,000 mah (160 Wh) จะไม่สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ ทั้งนี้ไม่ควรใส่ Power Bank ไว้ในกระเป๋าสัมภาระที่จะทำการโหลดใต้เครื่องอย่างเด็ดขาด เสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟค่อนข้างสูง
5. ควรเลือกขนาดเล็กหรือใหญ่
ควรพิจารณาจากความสะดวกในการพกพาและใช้งาน รวมถึงความจุ หากความจุน้อยก็จะมีน้ำหนักเบา แนะนำให้พิจารณาจากแบตเตอรี่ของโทรศัพท์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เป็นหลัก และบวกเพิ่มเข้าไปประมาณ 2 – 2.5 เท่า ก็จะได้ความจุขั้นต่ำที่เหมาะสม
วิธีเลือกซื้อ พาวเวอร์แบงค์ Powerbank แบบง่าย ๆ
สรุป
พาวเวอร์แบงค์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการชาร์จแบตมากยิ่งขึ้น ถูกออกแบบมาให้สามารถพกพาได้สะดวก ไม่ว่าจะออกไปทำงาน ไปทำธุระ หรือไปเที่ยว ก็สามารถพกพาไปด้วยได้ในทุกที่
จะช่วยให้ผู้ใช้โทรศัพท์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ หมดความกังวลเรื่องแบตเตอรี่ได้ อย่างไรก็ตามการจะนำมาใช้งานควรเลือกแบบคุณภาพดี และพิจารณาจากความจุแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ที่ใช้ด้วย
ควบคุมและดูแลการผลิตคอนเท้นส์ ชื่นชอบที่จะนำเสนอคอนเท้นส์ที่ดีๆ มีประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่าน