ตัวขยายสัญญาณ wifi คืออะไร
คือ เครื่องที่ช่วยขยายคลื่นความถี่ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจากตัวเร้าเตอร์ เสาสัญญาณเครือข่ายต่างๆ หรือแม้แต่จากเครื่อง Access Point (AP) ให้ได้รับช่องสัญญาณ และคลื่นความถี่ที่มากขึ้น ซึ่งตัวขยายสัญญาณ wifi นี้ จะเน้นในเรื่องเสริมการใช้งาน ของการเชื่อมต่อ wifi มาเป็นอันดับต้นๆ
โดยที่เราจะสังเกตเห็นการเปรียบเทียบ ระหว่างก่อนที่จะติดตั้ง และหลังติดตั้ง คือตัวเครื่อง โน๊ตบุ๊ค lenovo ด้านล่างมุมจะมีการแสดงของขีดคลื่นสัญญาณ ที่มากกว่าเดิม หรือเต็มขีดการรับส่งสัญญาณ แม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือก็ตาม ซึ่งเราสามารถเปรียบเทียบ จากการเข้าใช้งาน ในเรื่องความเร็ว โดยการเปิดหน้าอินเตอร์เน็ทควบคู่กันไปด้วย
การแบ่งประเภทของคลื่นความถี่
ก่อนที่เราจะเลือกซื้อตัวขยายสัญญาณ wifi นั้น สิ่งที่เราควรรู้ก่อนอันดับแรกคือ ตัวคลื่นความถี่ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ wifi มีกี่แบบ เพื่อที่จะได้รู้ขอบข่าย และความสามารถในแต่ละคลื่นความถี่ ว่าสอดคล้อง และสามารถตอบโจทย์ทั้งความต้องการของตัวเราเอง และแก้ปัญหาสำหรับการใช้งาน wifi ได้มากน้อยแค่ไหน
แต่สำหรับบ้านอยู่อาศัยที่มีเสาสัญญาณ และมีการติดตั้ง เร้าเตอร์ไวไฟ ที่มี โน๊ตบุ๊ค hp และ โน๊ตบุ๊ค acer เสียบชาร์ทตัวเครื่องกับ รางปลั๊กไฟ แต่ตัวคลื่นสัญญาณ wifi ก็ไม่สามารถที่จะใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ หรือในปัญหาผู้ที่อยู่อาศัยในคอนโด บ้านพักอาศัยที่มีหลายชั้น มีความลึกของตัวบ้าน
แม้แต่ในกรณีที่ตัวบ้านพักอาศัย มีบริเวณพื้นที่ๆ กว้างมาก การส่งต่อคลื่นสัญญาณ ไม่ว่าจะเป็นจากเสาสัญญาณ ของผู้ให้บริการเครือข่าย หรือตัวเร้าเตอร์เอง ก็ไม่สามารถที่จะใช้งานได้ดี
ดังนั้นอุปกรณ์เสริมอีกตัวหนึ่ง ที่ในวันนี้เราจำเป็นต้องมีใช้ควบคู่กับ กล้องวงจรปิด wifi และ คอมพิวเตอร์ all in one ก็คือ ตัวขยายสัญญาณ wifi ที่จะมาช่วยเสริมให้การใช้งานไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อ wifi หรือ บลูทูธ ให้มีการใช้งานเข้าถึงคลื่นความถี่ได้อย่างสมบูรณ์ หรือดียิ่งขึ้นนั่นเอง
1.คลื่นความถี่ 2.4 GHz
สำหรับคลื่นความถี่นี้ สามารถให้ความเร็วในการรับสัญญาณ ได้มากถึง 300-600 Mbps ข้อดีของคลื่นสัญญาณรูปแบบนี้ก็คือ มีความถี่ในการให้สัญญาณ ที่ยาวและไกล รวมถึงอุปกรณ์ส่วนใหญ่ก็ออกมารองรับในคลื่นสัญญาณนี้
การให้สัญญาณที่คลื่นความถี่ที่ไกล นั่นหมายถึง จากหน้าบ้านคลื่นความถี่ในรูปแบบนี้ สามารถยิงยาวไปได้ถึงหลังบ้าน ไม่ว่าจะมีสิ่งกีดขวาง หรือฉากกั้นห้องใดๆ ก็ตาม แต่ข้อเสียที่จะตามมาก็คือ หากมีการใช้เชื่อม wifi กับหลายอุปกรณ์ ก็อาจทำให้เกิดปัญหา
ปัญหาที่ว่านี้ไม่ว่าจะเป็นทั้งการเชื่อมต่อที่เกิดการ error กระตุก สัญญาณค้าง ด้วยความที่คลื่นสัญญาณนี้ ถึงแม้จะมีคลื่นความถี่ที่ส่งได้ยาวก็ตาม แต่มีช่องในการให้สัญญาณที่น้อย
ดังนั้นเหมือนกับช่องทางเดินรถที่แคบ หากมีจำนวนรถหลายคัน ก็อาจทำให้รถติด ซึ่งในความหมายเดียวกันก็คือ สัญญาณการเชื่อมต่อ ที่อาจมีปัญหาไปถึงการที่ไม่สามารถใช้งานเชื่อมต่อได้ ทั้งอินเตอร์เน็ท หรือการใช้งานออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ได้
2.คลื่นความถี่ 5 GHz
คลื่นความถี่นี้ออกมาในทางเสริมจุดด้อยของ คลื่นความถี่แบบ 2.4 GHz สำหรับคุณสมบัติที่ให้ความเร็วในการส่งสัญญาณได้ในระดับที่สูงถึง 1200-1300 Mpbs แต่ในทางกลับกันก็ให้ความถี่คลื่นที่สั้นกว่าแบบ 2.4 GHz ไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่ภายในบ้าน หรือสำนักงานได้กว้างเท่ากับคลื่นความถี่ในแบบแรก
ซึ่งจะมีปัญหาสำหรับพื้นที่ใช้งาน ที่อยู่ห่างไกลกับตัววรับสัญญาณ แต่ในข้อดีก็คือ สามารถเชื่อมต่อสัญญาณได้หลายอุปกรณ์ อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ โน๊ตบุ๊ค dell หรือ โน๊ตบุ๊ค asus และ เครื่องปริ้น wifi
ด้วยความที่คลื่นความถี่ในรูปแบบนี้ มีช่องสัญญาณมากกว่าในแบบแรก หรือเปรียบเทียบได้กับ ถนนที่มีหลายเลน ไม่ว่าจะมีรถจำนวนหลายคัน ก็สามารถที่จะทยอยไปข้างหน้าเรื่อยๆ ได้ สัญญาณที่ได้จะมีความเสถียรกว่า
ประเภทของตัวขยายสัญญาณ wifi
ก่อนที่เราจะเลือกซื้อตัวขยายสัญญาณ wifi นั้น สิ่งที่เราควรรู้ก่อนอันดับแรกคือ ตัวคลื่นความถี่ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ wifi มีกี่แบบ เพื่อที่จะได้รู้ขอบข่าย และความสามารถในแต่ละคลื่นความถี่ ว่าสอดคล้อง และสามารถตอบโจทย์ทั้งความต้องการของตัวเราเอง
และแก้ปัญหาสำหรับการใช้งาน wifi ได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงการใช้งานที่ต้องเข้ากันได้กับตัวขยายสัญญาร่วมด้วย อย่างที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า ตัวคลื่นสัญญาณความถี่นั้น มีเพียงแค่ 2 คลื่นความถี่เท่านั้น คือ คลื่นความถี่แบบ 2.4 GHz และคลื่นความถี่แบบ 5 GHz ซึ่งทั้ง 2 คลื่นความถี่นี่เอง ที่เป็นตัวแบ่งประเภทของตัวขยายสัญญาณไวไฟ
แบ่งตามคลื่นความถี่ที่รองรับ
1.Single Band
ในจำนวนคลื่นความถี่ทั้ง 2 แบบ คือ คลื่นความถี่แบบ 2.4 GHz และ คลื่นความถี่แบบ 5 GHz นั้น ในประเภทของตัวขยายสัญญาณรูปแบบนี้นั้น จำเป็นที่จะต้องเลือกใช้งานที่คลื่นความถี่เดียวเท่านั้น
ไม่ว่าตัวขยายสัญญาณเครื่องนั้น จะสามารถรองรับได้ทั้ง 2 คลื่นความถี่ หรือรองรับได้แค่คลื่นความถี่เดียวก็ตาม รูปแบบนี้จะเป็นแบบทั่วไป ที่เราเห็นในรุ่นแรกๆ ที่มีการออกตัวขยายสัญญาณ wifi ที่มีทางเลือกให้กับผู้ใช้ได้น้อยมาก
2.Dual Band
ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้จะมีการเลือกใช้ ตัวขยายสัญญาณในรูปแบบนี้เป็นจำนวนมาก เพราะเอื้ออำนวยประโยชน์ และทางเลือกให้กับผู้ใช้ได้มากกว่าตัวขยายสัญญาณแบบแรก ซึ่งอย่างที่เราได้รู้กันแล้วว่า ในแต่ละคลื่นความถี่ ก็จะมีข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกันไป
ดังนั้นการที่เครื่องขยายสัญญาณ จะสามารถรองรับได้ทั้ง คลื่นความถี่แบบ 2.4 GHz และคลื่นความถี่แบบ 5 GHz รวมทั้งการเปิดใช้งานได้ทั้ง 2 แบบนี้ ก็จะทำให้สัญญาณเสถียร และส่งสัญญาณไปได้ไกลมากขึ้นนั่นเอง
แบ่งตามรูปแบบการทำงาน
1.Repeater
การทำงานหลักๆ ของตัวขยายสัญญาณ wifi ในรูปแบบนี้คือ การรับช่วงต่อจากตัวเร้าเตอร์ ในการรับและส่งข้อมูล ที่อาจจะมีช่องสัญญาณที่น้อยไป หรือมีความผันผวนของคลื่นความถี่ให้แม่นยำ และมีความเสถียรมากขึ้นกว่าเดิม เหมาะกับปัญหาในการรับคลื่นสัญญาณ ที่ติดๆ ดับๆ หรือสัญญาณค้างเป็นประจำ การเปิดหน้าอินเตอร์เน็ทได้บ้าง ไม่ได้บ้าง หรือที่เราเจอๆ กันบ่อยๆ ในบางจุดของสถานที่ๆ เราผ่านไปคือ การโหลดหน้าอินเตอร์เน็ทที่ช้า และค้าง
2.Extender
หน้าที่หลักของตัวขยายสัญญาณรูปแบบนี้ คือการเน้นที่ การขยายหรือเพิ่มพื้นที่ ในการเข้าถึงคลื่นสัญญาณได้มากขึ้น อย่างเช่น สำหรับที่พักอาศัยที่มีบริเวณที่กว้าง หรือตัวบ้านที่มีความลึกมากๆ การติดตั้งตัวเร้าเตอร์ในบริเวณช่วงหน้าบ้าน แต่ในส่วนห้องชั้นบน ที่มีตำแหน่งไปทางหลังบ้าน ก็อาจจะไม่สามารถได้รับคลื่นสัญญาณได้
รวมถึงหากมีสัญญาณก็เจอกับปัญหา จำนวนขีดสัญญาณขึ้นๆ ลงๆ ไม่เสถียร รวมถึงความแรงของคลื่นสัญญาณที่มีไม่มากพอ ทำให้เกิดปัญหาที่หลายครั้ง เราไม่สามารถใช้งานโปรแกรมที่เป็น real time
หรือสังเกตได้ง่ายๆ คือ การเข้าประชุมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Zoom meeting หรือ Google meet ก็ตามทำให้เกิดปัญหา การเข้าร่วมประชุม แล้วก็หลุดออกจากการประชุมบ่อยๆ แต่โดยหลักๆ แล้วนั้น ทั้งในแบบ Repeater และ Extender จะเน้นในเรื่องการขยายตัวสัญญาณ โดยเฉพาะการใช้งานผ่าน wifi ให้ครอบคลุมพื้นที่โดยรวมตรงนั้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แบ่งตามรูปแบบการติดตั้งของตัวขยายสัญญาณ
1.ตัวขยายสัญญาณแบบ ติดตั้งผ่าน WPS
ส่วนใหญ่จะเป็นตัวขยายสัญญาณขนาดเล็ก พกพา หรือเคลื่อนย้ายได้ตลอด ไม่เกะกะ หรือกินพื้นที่ ซึ่งสะดวกในการติดตั้งครั้งแรกสำหรับการตั้งค่า ด้วยปุ่มเปิดปิด WPS หรือ Wifi Protected Setup ที่เราอาจจะลดทอนขั้นตอนความยุ่งยาก ในการตั้งค่าตอนแรก
2.ตัวขยายสัญญาณแบบ ติดตั้งผ่านตัวคอมพิวเตอร์
จุดด้อยของตัวขยายสัญญาณรูปแบบนี้ก็คือ มีความยุ่งยาก และอาจเป็นปัญหา สำหรับผู้ไม่รู้วิธีการตั้งค่าในครั้งแรก ที่จะต้องเชื่อมต่อกับตัวคอมพิวเตอร์ หรือ ตัวโน๊ตบุ๊ค โดยต้องตั้งค่า IP ให้เชื่อมต่อกับตัวขยายสัญญาณ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ และตัวขยายสัญญาณได้สามารถเชื่อมต่อ หรือมีข้อมูลของตัวเครื่องขยายสัญญาณเข้าไปในตัวคอมพิวเตอร์ก่อน
แบ่งตามแหล่งจ่ายไฟ
1.แบบที่มีปลั๊กติดมากับตัวเครื่องขยายสัญญาณ
ตัวขยายสัญญาณรูปแบบนี้ จะสามารถเปลี่ยนที่ชาร์ทไฟได้ตามสะดวก ซึ่งอาจจะไม่ต่างอะไรจากแบบที่สอง เพียงแต่ความสะดวกใน เรื่องการเสียบชาร์ทที่มีหัวปลั๊กติดกับด้านหลัง ของตัวขยายสัญญาณเลย อีกทั้งการติดตั้งในครั้งแรกของการใช้งาน ยังง่ายกว่าแบบที่สองอีกด้วย ซึ่งสามารถติดตั้งตามคู่มือที่ให้มากับตัวเครื่องได้เลย ไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญ
2.แบบมีสายพ่วงมา
ตัวขยายสัญญาณประเภทนี้ จะมีราคาที่ถูกกว่าในแบบแรก และเป็นแบบที่ออกมาก่อน มีลักษณะคล้ายกับตัวเร้าเตอร์ปล่อยสัญญาณ มีขนาดของเครื่องใหญ่กว่าแบบแรก ต้องมีการเสียบชาร์ทไฟผ่านปลั๊ก ซึ่งอาจมีไม่มีความแตกต่างอะไรมากจากแบบแรก ต่างกันเพียงแค่ความสะดวก และการพกพา เคลื่อนย้ายที่เท่านั้นเอง
วิธีเลือกซื้อตัวขยายสัญญาณ wifi
1.เลือกซื้อในแบบ Dual Band
ซึ่งถึงแม้เราจะรู้ว่า ตัวขยายสัญญาณมีทั้งแบบ รองรับได้ทั้งสองคลื่นความถี่ และรองรับรวมถึงการใช้งานได้เพียงแค่คลื่นความถี่เดียว แต่ในปัจจุบันนี้ การเลือกตัวขยายสัญญาณในแบบแรก หรือแบบ Dual Band นั้นถือว่าเป็นการตอบโจทย์ ในทุกปัญหาของผู้ใช้งาน
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคลื่นสัญญาณไม่เสถียร ขาดๆ หายๆ หรือเป็นที่คลื่นสัญญาณไม่แรงพอ เพราะบริเวณที่ใช้ หรือที่อยู่อาศัยมีพื้นที่ความกว้างมาก อย่างเช่น ถ้าตัวเร้าเตอร์ติดตั้งชั้นล่าง ส่วนใกล้กับหน้าบ้าน แต่ในการใช้งานจริง มีหลายห้อง และหลายชั้นในบ้านหลังนี้ การเลือกคลื่นความถี่แบบ 2.4 GHz นั้นก็ถือว่า จะช่วยในการกระจายคลื่นสัญญาณได้ทุกชั้น และทุกห้องได้
แต่ถ้าหากในกรณีที่บ้านหลังเดียวกัน มีจำนวนสมาชิกหลายคน มีการใช้อินเตอร์เน็ท และเชื่อมต่อสัญญาณ wifi ในทุกห้อง รวมถึงการใช้อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อหลายเครื่อง การเข้าถึงหลายช่องทางแบบนี้
เราอาจจะต้องเลือกการตัวขยายสัญญาณแบบ Dual Band เพื่อให้การเข้าถึงในอุปกรณ์การเชื่อมต่อ wifi ได้เสถียร มีความแรงของคลื่นสัญญาณที่เท่ากันตลอด และทุกอุปกรณ์สามารถใช้ wifi ได้อย่างไม่มีปัญหา
2.ฟังค์ชั่นการใช้งานเสริม
ตัวขยายสัญญาณอาจไม่ได้มีประโยชน์ เพียงแค่การแก้ปัญหาในเรื่องการเชื่อมต่อ wifi หรือ ความไม่เสถียรของคลื่นสัญญาณเพียงเท่านั้น อย่างที่เรารู้กันว่า เครื่องขยายสัญญาณนี้ สามารถที่จะเพิ่มการทำงาน ของเครื่องเล่นมัลติมีเดีย
เอ็นเตอร์เทนอย่าง สมาร์ททีวี เครื่องเล่นเกมต่างๆ เช่น นินเทนโด หรือ เพลย์สเตชั่น รวมถึงการพ่วงต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และโน๊ตบุ๊ค ที่ช่วยให้สัญญาณในการใช้งานได้สมบูรณ์มากขึ้นอีกด้วย ด้วยช่องเสียบ Ethernet หรือช่องเสียบสาย lan ที่เพิ่มทางเลือกให้กับเราได้มากขึ้นอีกด้วย
3.เลือกตามรูปแบบการทำงาน
ในแต่ละการใช้งานของแต่ละบ้าน หรือส่วนบุคคลนั้น จะมีปัญหาแตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงควรเลือกตัวขยายสัญญาณ ให้สอดคล้องกับปัญหาที่เราเจออยู่ ทั้งในแบบของ Repeater ที่เน้นในเรื่องของ การรับส่งข้อมูล สัญญาณที่ไม่ผิดเพี้ยน
ที่จะทำให้สัญญาณที่เราได้ มีความเสถียร และนิ่ง ใช้แก้ปัญหาหลักๆ ในส่วนของเร้าเตอร์เดิม ที่เป็นตัวปล่อยสัญญาณ มีปัญหาขีดสัญญาณที่ขึ้นๆ ลงๆ ตั้งแต่แรกแล้ว
ส่วนหากเรามีปัญหาเรื่อง พื้นที่ในการใช้งานที่กว้าง อย่างเช่น ในสำนักงาน หรือบ้านหลังใหญ่ พื้นที่ๆ กว้างมาก การเลือกแบบ Extender นั้นจะตอบโจทย์ความต้องการได้มากกว่า ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่สั้น ความแรงของสัญญาณไม่ได้เป็นปัญหา
แต่เน้นในเรื่องของการขยายสัญญาณให้กินพื้นที่ได้กว้างมากขึ้น ส่วนใหญ่จะเน้นใช้กับบ้าน หรือที่พักอาศัยที่มีบริเวณบ้านที่กว้าง ซึ่งเร้าเตอร์ตัวปล่อยสัญญาณเพียงตัวเดียว อาจไม่สามารถรองรับการใช้งานได้ตรงตามที่ต้องการ
4.เลือกตามการติดตั้ง
ส่วนของข้อมูลที่บอกถึงในข้างต้นนั้น ถึงการแบ่งประเภทของตัวเครื่องขยายสัญญาณ ตามการจ่ายไฟ หรือการติดตั้งในครั้งแรก เครื่องในปัจจุบันนี้ที่มีความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับผู้ใช้ที่ไม่จำเป็นต้องชำนาญทางคอมพิวเตอร์ สามารถซื้อมาติดตั้ง และใช้ได้ทันที
หากเป็นเครื่องขยายสัญญาณแบบ ที่มีปลั๊กเสียบด้านหลัง โดยที่เราจะสังเกตได้ว่า เครื่องในรูปแบบนี้ จะมีขนาดที่เล็ก และนอกจากจะมีปลั๊กเสียบด้านหลังแล้ว ตัวเครื่องยังมีตัวปุ่มเปิดปิด ที่ด้านหน้าตัวเครื่องขยายสัญญาณ เพื่อเป็นตัวตั้งค่า และรีสตาร์ทในครั้งแรก ให้มีการจดจำค่าตัวเลขประจำเครื่องขยายสัญญาณ ซึ่งไม่ต้องผ่านการตั้งค่าจากเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโน๊ตบุ๊คเลย
5.เลือกเทคโนโลยีที่เสริมเข้ามา
ในหลายยี่ห้อสินค้าหมวดตัวขยายสัญญาณนี้ มีการแข่งขันกันสูงมากขึ้น ด้วยการขยายตัวของที่พักอาศัยในรูปแบบของคอนโด และการเกิดขึ้นของบ้านเดี่ยว ที่มีพื้นที่บริเวณภายในบ้านที่กว้าง ดังนั้นสำหรับบางยี่ห้อจะมีการคิดค้น เทคโนโลยีเฉพาะ ที่ช่วยให้การเชื่อมต่อ
จากเดิมที่มีการขยายสัญญาณให้กินพื้นที่ๆ มากขึ้นแล้ว ยังช่วยในเรื่องความเสถียรของสัญญาณ และให้มีความนิ่งของสัญญาณมากขึ้น อย่างเช่น เทคโนโลยี MIMO (MU-MIMU) ที่มีจุดขาย และชูในเรื่องของ การเชื่อมต่อของอุปกรณ์หลายๆ ชิ้นพร้อมกัน
ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้โทรศัพท์มือถือ การดูหนัง โดยเฉพาะการการสตรีมมิ่งผ่านสื่อบันเทิง ที่ไม่มีปัญหาเรื่องการสะดุดระหว่างการดูเลยทีเดียว
ส่วนเทคโนโลยีอย่าง Beamforming จะมีหน้าที่คล้ายกับ Extender ที่ลดปัญหาจุดอับสัญญาณภายในบ้าน และขยายสัญญาณให้มีพื้นที่ๆ กว้างมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีทั้งสองตัวนี้ เราจะเห็นได้เพียงแค่บางยี่ห้อ ของตัวขยายสัญญาณไวไฟเท่านั้น
เพราะในคุณสมบัติเหล่านี้ จะมีอยู่แล้วในตัวเครื่องขยายสัญญาณแบบ Repeater และ Extender เพียงแต่เทคโนโลยีทั้ง 2 ตัวนี้จะช่วยให้การทำงานของตัวเครื่อง มีการทำงานที่สมบูรณ์มากขึ้น หรือเรียกว่าเป็นการทำงานเสริมกัน
รีวิว XiaoMi Wi-Fi Amplifier Pro
สรุป
สำหรับในยุค 5G ที่ก้าวมาถึงเราทุกคนบนโลกนี้กันแล้ว หากเปรียบเทียบกับยุค 4G หรือ เจนเนอร์เรชั่นที่ 4 นั้นที่เราเรียกกันว่า การเชื่อมต่อแบบไร้สาย ในวันนี้ในยุคเจนเนอร์เรชั่นที่ 5 นอกจากการเชื่อมต่อกันแบบไร้สายแล้ว การเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้น ด้วยสัญญาณความถี่ที่ต้องเร็ว และมีความเสถียรมากกว่าเดิม เป็นเรื่องที่เราทุกคนคาดหวังกัน
เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวเชื่อมต่อ เราทุกคนบนโลกใบนี้ให้สามารถเข้าถึงกันได้เพียงเท่านั้น แต่ยังหมายถึง การทำการค้า ธุรกิจ และขายของออนไลน์แบบไร้ขีดจำกัดอีกด้วย ซึ่งการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ท โดยใช้คลื่นความถี่ และสัญญาณการเชื่อมต่อนี้ ถือว่าเป็นตลาดที่นำไปสู่การทำรายได้ ที่ยังไปได้อีกไกลเลยทีเดียว
เพียงแค่สิ่งสำคัญคือ เราจะต้องมีสัญญาณการเชื่อมต่อ ที่มีประสิทธิภาพ ที่ในทุกวันนี้เราอาจไม่สามารถบอกได้ว่า ทุกจุดบนโลกใบนี้ หรือในประเทศเราทั้งประเทศ สามารถรองรับ และใช้งานในระบบ 5G ได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว เพียงแต่การเชื่อมต่อสัญญาณ และคลื่นความถี่ควรที่จะสามารถใช้งานได้แบบไม่สะดุด และมีความแรงของคลื่นสัญญาณที่เพียงพอ
ดังนั้นการมีอุปกรณ์เสริมอย่าง ตัวขยายสัญญาณ wifi อย่างน้อยๆ สัก 1 เครื่อง ก็จะทำให้การเชื่อมต่อสัญญาณ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานผ่านอุปกรณ์อะไรก็ตามไม่สะดุด และมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของเรา
ควบคุมและดูแลการผลิตคอนเท้นส์ ชื่นชอบที่จะนำเสนอคอนเท้นส์ที่ดีๆ มีประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่าน
Mercusys MW300RE
– ใช้งานโดยแค่เสียบปลั๊กในพื้นที่ ๆ สัญญาณ Wi-Fi ไปไม่ถึง
– เสาอากาศภายนอกพร้อมเทคโนโลยี MIMO
– เปลี่ยนจุดติดตั้งง่าย เพราะมีขนาดเล็ก
TP-Link M7000
– แบตเตอรี่ขนาด 2000mAh ใช้งานได้นาน 8 ชั่วโมง
– รองรับ 4G FDD/TDD-LTE, เข้ากันได้กับเครือข่ายของในประเทศไทย
– ความเร็วสูงสุด 150 Mbps
– จัดการง่ายผ่านแอพพลิเคชั่น tpMiFi
– ใส่ซิมแล้วใช้ได้ทันที ไม่ต้องตั้งค่า