10 รถหัดเดิน ยี่ห้อไหนดี 2024 อย่างดี ดีไซน์น่ารัก แข็งแรง ทนทาน

รถหัดเดิน

สารบัญ

รถหัดเดินใช้สำหรับเด็กที่อยู่ในช่วงวัยหัดเดินตั้งแต่อายุ 3 เดือน-18 เดือน มีฟังก์ชั่นปรับระดับได้, โยกได้ และมีแบบหมุนเป็นวงกลม ทุกรุ่นที่คัดมามีคุณภาพ และราคาไม่แพง

หากพ่อแม่ไม่ได้เน้นในเรื่องความทันสมัย รูปแบบที่หัดเดินนี้ถือว่า นอกหนือจากเรื่องความคุ้มค่า และประโยชน์ในการใช้งานได้จริงกับตัวเด็ก จากท่านั่งมาเป็นท่าลุกยืน และหัดเดิน รวมถึงยังมีความปลอดภัย ทั้งในการออกแบบให้สามารถเคลื่อนไปทางด้านหน้าได้อย่างเดียว และมีเบรกล้อให้หยุดการเคลื่อนที่ ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่น่าสนใจทีเดียว

อุปกรณ์เลี้ยงเด็กอื่นๆ ที่เราคัดมาอย่างดีเพื่อท่านผู้อ่าน ได้แก่ คอกกั้นเด็ก , ที่คว่ำขวดนม , เครื่องอุ่นนม , ที่ดูดน้ำมูกทารก , จุกนมหลอก , ผ้าคลุมให้นม , นมผง , ขวดนม , แก้วหัดดื่ม , ผ้าอ้อมเด็ก , อาหารเสริมเด็ก , ที่กั้นบันได , น้ำยาล้างขวดนม , คาร์ซีท , เอนชัวร์ , ผ้าคลุมให้นม , หมอนคนท้อง ถ้าท่านผู้อ่านสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม 10 อันดับ สามารถกดดูได้ที่ลิ้งค์สีชมพูได้เลยจ้า

รถหัดเดินใช้ตอนกี่เดือน

การใช้รถหัดเดิน

สามารถใช้กับเด็กได้ตั้งแต่ 3 เดือน-18 เดือน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เด็ก มีพัฒนาการตั้งแต่การเริ่มหัดนั่ง, หัดคลาน และเริ่มหัดเดิน โดยช่วงอายุระหว่างนี้นั้น เราจะได้เห็นเด็กเริ่มมีความสามารถ ในการใช้มือยันพื้น, ก้มตัว, ยกก้นขึ้น, เงยหน้า, ยกตัวได้ และรวมถึงการพลิกตัว ม้วนตัวไปมาได้ เป็นสัญญาณว่าเด็กมีพัฒนาการเริ่มหัดเดินแล้ว

รถหัดเดิน มีแบบไหนบ้าง

แบบจับเดิน

รถหัดเดินแบบจับเดิน

เป็นรูปแบบ Traditional หรือรูปแบบ Sit to Stand Baby Walker ซึ่งรูปแบบการใช้งานเป็นแบบแรกเริ่ม ที่เริ่มมีการใช้งานกันมา เน้นการจับที่ด้ามจับของตัวรถ ลักษณะการใช้งานในรูปแบบนี้นั้น พ่อแม่สามารถซื้อไว้ให้กับเด็ก ตั้งแต่ในวัยที่เริ่มหัดนั่งได้ จนถึงช่วงที่เริ่มหัดเดินในวัย 3-18 เดือน จะช่วยให้สามารถใช้งานได้คุ้มค่ามากขึ้น

คุณสมบัติสามารถพับและกางออกมาเป็นรถหัดเดินได้ ในการใช้งานเด็กจะสามารถช่วยเหลือตัวเอง ในการเล่นหรือใช้ที่หัดเดินนี้ ตั้งแต่ท่านั่งและจับเพื่อลุกขึ้นยืน โดยเน้นในเรื่องประโยชน์การเสริมสร้างกล้ามเนื้อขาโดยเฉพาะ รวมถึงพัฒนาการใช้งานมือและแขนร่วมด้วย

รูปแบบการใช้งานคือ เด็กจะจับที่ส่วนแฮนด์ของที่หัดเดินนี้ และให้อุปกรณ์ชิ้นนี้นำ และเป็นที่ยึดพาเดินไปด้านหน้า ส่วนใหญ่แล้วจะมีการออกแบบให้อุปกรณ์มีความสามารถ เคลื่อนที่ในทิศทางเดียวคือ การเคลื่อนไปด้านหน้า ไม่สามารถที่จะหมุนกลับ หรือเลี้ยวโค้งได้ ซึ่งป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับเด็กไปด้วยในตัว

แต่หากเป็นรูปแบบ Sit to Stand Baby Walker  นี้ที่สามารถใช้งานได้ตั้งแต่เด็กที่เริ่มหัดนั่ง มาจนถึงวัยของเด็กที่เริ่มหัดเดิน ทำให้เด็กจะคุ้นชินกับของเล่น และอุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นอย่างดี และเกิดความไว้ใจ และคุ้นเคยเสมือนเป็นทั้งเพื่อนข้างตัวที่พาเดิน และเป็นของเล่นไปด้วย และความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ของใช้ตัวเอง จะช่วยฝึกให้พัฒนาการในเรื่องเดิน ให้กับเด็กได้ดีทีเดียว

แบบเบาะนั่งตรงกลาง

รถหัดเดินแบบเบาะนั่งตรงกลาง

หรือ Seated Baby Walker เราจะเห็นลักษณะเด่นๆ ในรูปลักษณ์ภายนอกคือ มีลักษณะรูปทรงเป็นแบบวงกลม เรามักจะเห็นเด็กๆ ที่ใช้อุปกรณ์หัดเดินในรูปแบบมีที่นั่งตรงกลางนี้ จะมีความเพลิดเพลิน, ยิ้ม และมีเสียงหัวเราะเป็นส่วนใหญ่ เพราะเด็กจะมองว่า เป็นของเล่นชิ้นหนึ่ง ที่สามารถเข้าไปนั่งเล่น และเคลื่อนที่ได้ แต่ยังสามารถช่วยสร้างกล้ามเนื้อขาของเด็ก ให้แข็งแรงไปพร้อมกันได้

โครงสร้างของรถนั่งหัดเดินรูปแบบนี้จะมีด้านล่างที่ช่วยให้ตัวรถ สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยล้อด้านล่าง และส่วนที่เป็นเบาะให้เด็กนั่งนั้น จะเป็นการเจาะตัวเบาะ ให้พอดีกับที่เด็กสามารถสอดขาลงไปด้านล่างเบาะ ซึ่งปลายเท้าของเด็กจะสามารถ ค้ำยันกับพื้นด้านล่างได้พอดี ซึ่งหากเรามีคำถามว่า รถนั่งหัดเดินแบบไหนปลอดภัยนั้น ต้องบอกว่ารูปแบบนี้ก็เป็นตัวเลือกที่ดีอีกหนึ่งตัวเลือก ที่มีความปลอดภัยสูง

โดยการออกแบบรอบตัวของรถนั่งหัดเดินนี้ จะมีรูปแบบกั้นรอบตัวเด็ก ให้อยู่ด้านในหรือตรงกลางของตัวรถ มีล้อที่สามารถเคลื่อนที่ได้โดยการก้าวเท้า ซึ่งการมีเบาะให้เด็กนั่งนั้น จะเป็นทางเลือกให้เด็ก สามารถที่จะนั่งหรือก้าวเดินไปเรื่อยๆ ได้ ซึ่งสำหรับเด็กวัย 7-9 เดือน ที่กำลังเริ่มหัดเดินนั้น อาจยังทรงตัวไม่ดีพอ เบาะที่เจาะช่วงขาให้สามารถนั่งหรือก้าวเดินได้ ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ช่วยพยุงตัวเด็กได้อีกทางหนึ่ง

รองรับน้ำหนักของเด็กได้มากถึง 12 กิโลกรัมทีเดียว ซึ่งตัวเบาะที่ถือว่าเป็นจุดเด่นหลัก ของรูปแบบรถนั่งหัดเดินนี้ หากถามว่าจำเป็นไหม ถือว่าจำเป็นในเวลาที่เด็ก หัดเดินแล้วเริ่มอยากพัก เบาะนั่งนี้จะช่วยให้เด็ก ผ่อนแรงเดินและใช้ก้นและสะโพกวางลงตรงเบาะ เพื่อเป็นการพักเท้าไปในตัวอีกด้วย

แบบผสมผสาน

รถหัดเดินแบบผสมผสาน
ภาพจาก wonderbaby.org

เป็นการผสมผสานทั้ง 2 รูปแบบข้างต้นมารวมเป็นทั้งที่หัดเดิน และรถนั่งหัดเดิน ในแบบ 2 in 1 หรือเหมาะสำหรับพ่อแม่ ที่กำลังตัดสินใจไม่ถูก ระหว่างการพิจารณาเลือกซื้อใน 2 รูปแบบแรก การเลือกในแบบนี้ ก็ถือว่าเป็นการตอบโจทย์ความต้องการในใจได้เป็นอย่างดี

โครงสร้างหลักที่สำคัญคือ ส่วนที่สามารถให้เด็กจับตัวรถ เป็นที่ยึดในการหัดเดิน มีล้อด้านล่างในการช่วยเคลื่อนที่ไปด้านหน้า ซึ่งเหมือนกับรูปแบบ Sit to Stand Baby Walker และในอีกทางหนึ่งก็สามารถเสริมเบาะนั่งเข้าไป และมีอุปกรณ์ที่ปรับเปลี่ยนให้สามารถกั้นด้านหลังของตัวรถ ให้มีโครงกั้นด้านหลัง เพื่อปรับเป็นรูปแบบมีเบาะนั่งตรงกลาง ที่ใช้เท้าและขาเป็นส่วนที่ใช้ ในการเคลื่อนที่ของตัวรถ

โดยที่หัดเดินในรูปแบบนี้ เด็กที่มีน้ำหนักมาก หรือเด็กที่มีพัฒนาการเดินล่าช้า อย่างเช่น หลังจากวัย 12 เดือน หรือเด็กที่หัดเดินในช่วงวัย 16-17 เดือนเป็นต้นไป เหมาะสำหรับรูปแบบนี้ ที่เราสามารถเลือกได้ว่า จะให้เด็กใช้เบาะในการหัดเดิน หรือจับที่หัดเดิน และฝึกการก้าวเท้าเดินเอง ซึ่งรูปทรงของตัวรถ เป็นแบบวงกลมเหมือนรูปแบบ Seated Baby Walker เพราะตัวโครงสร้าง ต้องสามารถปรับให้สามารถใช้งานร่วมกับเบาะนั่งได้

แบบสายคาด

รถหัดเดินจำเป็นไหม

รถหัดเดินจำเป็นไหม

ถือว่าเป็นเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กในช่วงวัย 3 เดือน-18 เดือน ซึ่งเด็กที่จะเริ่มมีพัฒนาการหัดเดินนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในวัยที่ระบุตามนี้ เด็กสามารถที่จะเริ่มหัดเดินได้ก่อนวัย 9 เดือน หรือหลังจาก 12 เดือน อย่างเช่น เด็กในวัย16-17 เดือน หรืออายุ 1 ปีครึ่งที่เริ่มจะหัดเดิน ก็ไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติ

ซึ่งอย่างที่ได้มีการแนะนำในรูปแบบผสมผสาน หรือรูปแบบ Convertible Baby Walker ที่เหมาะกับการนำมาใช้กับเด็ก ที่อาจจะมีน้ำหนักที่เกินการใช้งานในรูปแบบของ Seated Baby Walker ที่ระบุว่าไม่ควรเกินน้ำหนัก 12 กิโลกรัม หรือเด็กที่เริ่มหัดเดินในวัยหลังจาก 12 เดือนไปแล้ว

เราสามารถใช้รถนั่งหัดเดินในแบบ Convertible Baby Walker เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ช่วยให้เด็กสามารถหัดเดิน, ทรงตัวได้ดี, และเรียนรู้การก้าวเท้า เพื่อที่จะสร้างความเคยชิน เมื่อสัมผัสเท้าลงบนพื้น ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นผู้ช่วยพ่อแม่ ในการฝึกลูกให้หัดเดินได้เป็นอย่างดีทีเดียว

อันตรายไหม

ด้วยคุณลักษณะ และคุณสมบัติของรถนั่งหัดเดินที่มีการออกแบบเน้นในเรื่องของความปลอดภัย และการเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กไปพร้อมๆ กันนี้ เราจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งในส่วนของโครงสร้าง และการทำงานของตัวรถ ที่มีความปลอดภัยต่อเด็กดังนี้ คือ

  • การออกแบบตัวล้อ ที่สามารถเคลื่อนไปด้านหน้าในทิศทางเดียวเท่านั้น
  • ล้อมีตัวเบรกหยุดการเคลื่อนที่ของรถ
  • เบาะรองนั่ง เพื่อผ่อนแรงให้กับเด็ก เมื่อเกิดความล้าในรูปแบบ Seated Baby Walker
  • โครงสร้างที่โอบล้อมตัวเด็ก ให้อยู่ภายในรถนั่งหัดเดิน
  • วัสดุที่แข็งแรง และออกแบบให้สมดุลกับโครงสร้างร่างกายเด็กในวัยหัดเดิน

นอกเหนือจากคุณสมบัติการทำงาน และคุณลักษณะของอุปกรณ์นี้ตามข้างต้นที่ระบุมาแล้วนนั้น เราสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้กับเด็กได้มากกว่านี้ ด้วยการใช้ที่กั้นบันได ในการกั้นพื้นที่ในการหัดเดินให้กับเด็ก เพื่ออยู่ในพื้นที่จำกัด และปลอดภัย ซี่งอาจจะมีพื้นที่กว้างกว่า ในช่วงวัยที่หัดคลาน แต่ก็ทำให้เรามั่นใจได้ว่า เด็กจะใช้ที่หัดเดินนี้ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น

วิธีเลือกซื้อรถหัดเดิน

วิธีเลือกซื้อรถหัดเดิน

ดูจากรูปแบบ

รวมถึงการรับรู้ความรู้สึกเมื่อสัมผัสเท้าลงพื้น และการเกิดจินตนาการที่ได้ก้าวเดินไปหาสิ่งของตรงหน้าได้เอง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแบบไหนปลอดภัยกว่ากัน  เพราะในแต่ละรูปแบบมีโครงสร้างการออกแบบ ที่เน้นป้องกันและดูแลความปลอดภัยให้กับเด็ก แตกต่างที่การเลือกพิจารณารูปแบบไหน ที่เหมาะสมกับเด็กทั้งกับวัย, น้ำหนัก และความน่าดึงดูดที่เด็กอยากจะใช้งานมากกว่ากัน

  • รูปแบบจับเดิน เน้นความคุ้มค่า ใช้ได้ตั้งแต่ช่วงหัดนั่งจนถึงช่วงหัดเดิน
  • รูปแบบเบาะนั่งตรงกลาง โครงสร้างเป็นแบบวงกลม มีเบาะนั่ง น้ำหนักไม่ควรเกิน 12 กิโลกรัม
  • รูปแบบผสมผสาน สำหรับเด็กมีน้ำหนักเกิน 12 กิโลกรัม ดัดแปลงมาเป็นรูปแบบจับเดินและรูปแบบเบาะนั่งตรงกลางได้
  • รูปแบบสายคาด สร้างความน่าดึงดูดในการใช้งานให้กับเด็ก หัดเดินและย่อเข่าลอยตัวได้

ดูจากวัสดุ

ส่วนใหญ่ที่เรามักจะเห็นเป็นวัสดุพลาสติก ที่มีการเลือกพลาสติกที่มีความแข็งแรง, มีน้ำหนัก ที่สำคัญไม่ควรเป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบาจนเกินไป เพราะอาจทำให้ที่หัดเดินเสียการทรงตัวและโยกได้ พลาสติกที่นิยมเลือกใช้อย่างเช่น พรากสติก ABS ที่มีความแข็งแรง และมีเนื้อสีที่แวววาว สวยงาม และควรเน้นดูในรายละเอียดเพิ่มเติมว่าเป็นพลาสติกที่ปราศจากสารเคมี BPA หรือ BPA Free หรือไม่ ซึ่งจะปลอดภัยกับเด็กมากกว่า

น้ำหนักตัวรถ

เราควรเลือกดูน้ำหนักของตัวรถนั่งหัดเดิน ในสภาพโดยรวม ที่มีน้ำหนักไม่เบาจนเกินไป รวมถึงก็ไม่ควรที่จะมีน้ำหนักมาก เพราะจะเป็นปัญหาในการหัดเดินของเด็ก เหตุผลที่ควรให้รถหัดเดิน มีน้ำหนักบ้างเพื่อที่จะช่วยถ่วงสมดุล ในเวลาที่เด็กหัดเดิน ไม่โอนเอียงไปตามแรงโยกของเด็ก

ล้อ

ตัวล้อไม่ควรใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ให้สมดุลกับโครงสร้างโดยรวม ของรถนั่งหัดเดิน มีความแข็งแรงและมีความลื่นเมื่อล้อหมุน ซี่งจะช่วยในการหัดเดิน และการเคลื่อนที่ในเวลาที่เด็กก้าวเดิน รวมถึงในบางรุ่นที่มีการออกแบบฟังก์ชั่นเพิ่มเติม ให้ตัวล้อสามารถหมุนเป็นวงกลม อย่างเช่น รูปแบบเบาะนั่งตรงกลาง หรือ Seated Baby Walker

ดูโครงฐานด้านล่าง

ดูโครงฐานด้านล่างของรถหัดเดิน

ควรมีฐานที่กว้างพอที่จะรองรับการเคลื่อนที่ และหัดเดินของเด็กได้ หรือเรียกว่า ให้ความมั่นคงในทุกก้าวเดินของเด็ก ซึ่งโดยเฉพาะในรูปแบบเบาะนั่งตรงกลาง หรือ Seated Baby Walker และรูปแบบผสมผสาน หรือ Convertible Baby Walker ที่จะมีโครงสร้างฐานด้านล่าง ที่เก็บตัวล้อ เพื่อไม่ให้มองเห็นล้อรถ ช่วยให้สวยงาม และสามารถรองรับในทุกการเคลื่อนที่ ในขณะที่เด็กหัดเดินอีกด้วย

พิจารณาฟังก์ชั่นการออกแบบน่าดึงดูด

เช่น การเพิ่มไฟ, เสียงเพลง หรือแม้แต่การมีที่เก็บของเป็น กระบะด้านหน้ารถนั่งหัดเดินก็จะทำให้เด็กๆ อยากที่จะหัดเดินทุกวัน

รถหัดเดินจำเป็นไหม

ขอบคุณช่องยูทูป Nurse Kids

สรุป

รถหัดเดินด้วยการออกแบบโครงสร้างภายนอก ให้ทั้งเหมาะกับการใช้งานได้จริง และเป็นที่ดึงดูดกับเด็ก ในความสนุกสนาน ไปพร้อมกับการหัดเดินไปด้วย มีฟังก์ชั่นที่สามารถปรับระดับได้ และโยกได้ รูปแบบน่ารัก มีทั้งลวดลายสัตว์ต่างๆ, สีสัน, ฟังก์ชั่นไฟติดประดับ และราคาไม่แพง เหมาะที่จะเป็นทั้งอุปกรณ์ในการหัดเดิน ช่วยพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายและเสริมพัฒนาการด้านสมอง ช่วยเปิดจินตนาการให้กับเด็ก ไปพร้อมกับการหัดเดิน

ลาซาด้า9บาท

แบบที่ 1

เบบี้ วอคเกอร์ 5อิน1
-ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี มีให้เลือกการใช้งานถึง 3 รูปแบบ
-เหมาะสำหรับเด็กอายุ 1 – 3 ขวบ ล้อปรับความหนืดได้
-สามารถรองรับน้ำหนักได้มากถึง 30 กิโลกรัม

แบบที่ 2 baby Jumper

เบบี้ จัมเปอร์
-เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 – 18 เดือน
-สามารถรองรับน้ำหนักได้มากถึง 11 กิโลกรัม
-เบาะหมุน 360 องศา มีของเสริมพัฒนาการครบ 4 ด้าน

แบบที่ 3 แบบขาไถ

-เหมาะสำหรับเด็กอายุ 7 เดือน – 3 ขวบ ใช้งานได้ 4 แบบ
-เครื่องเล่นมีเสียงเพลงถึง 3 เพลง และมีไฟ LED กระพริบ
-ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี แข็งแรง ทนทานต่อนการใช้งาน

แบบที่ 4 หน้าสิงโตพร้อมถาดของเล่น

ฟิน
-สามารถปรับระดับความสูงได้ถึง 2 ระดับ
-ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี เกรด A ดีไซน์สวยงาม
-สามารถพับเก็บง่าย พกพาสะดวก ขนาดกะทัดรัด
-เหมาะสำหรับเด็กอายุ 4 เดือน ขึ้นไป หรือเด็กหัดเดิน

แบบที่ 5 Fico

ฟิโก้ รุ่น SB-815EU
-สามารถปรับระดับความสูงได้ถึง 3 ระดับ
-เบาะนั่งสามารถถอด – ใส่ได้ ล้อหมุนได้ 360 องศา
-ขนาดกะทัดรัด พับเก็บสะดวก พกพาง่าย ประหยัดพื้นที่

แบบที่ 6 D Kids

ดีคิดส์
-สามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 15 กิโลกรัม
-เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 เดือน ขึ้นไป หรือเด็กหัดเดิน
-ดีไซน์น่ารัก รูปทรงน่าใช้งาน มีเสียงดนตรีและไฟกระพริบ

แบบที่ 7 มีของเล่นและกระดานเขียน

-มีความปลอดภัย กระบอกใส่น้ำถ่วงป้องกันการพลิกคว่ำ
-มีของเสริมพัฒนาการและกระดานเขียน เครื่องเล่นแกะได้
-เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 เดือน ขึ้นไป หรือเด็กหัดเดิน

แบบที่ 8 ToyNamus

ทอยนามัส
-สามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 25 กิโลกรัม
-เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 เดือน- 18 เดือน
-ช่วยพยุงตัวเด็กในการนั่ง ยืน หรือหัดเดิน

แบบที่ 9 combi

คอมบิ
-เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ล้อมีความยืดหยุ่นสูง
-ขนาดสินค้า กว้าง 61 ซม. x ยาว 64 ซม. x สูง 59 ซม.
-ถาดของเล่นมีเสียงเพลง สามารถอดของเล่นวางอาหารได้

แบบที่ 10 Glowy star

โกลว์วี่ สตาร์
-เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป รับน้ำหนักได้ 12 kg.
-มีผ้ารองเท้า ช่วยรองรับเท้าที่ยังไม่ถึงพื้น
-โครงสร้างแข็งแรง ไม่แตกหักง่าย

Best Choice ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า