ที่ดูดน้ำมูกทารกมีคุณสมบัติในการดูดน้ำมูก, เมือก และของเหลวที่อยู่ในจมูกและทางเดินหายใจ ช่วยให้ทารกหายใจได้สะดวก และโล่งจมูกมากขึ้น เป็นเครื่องใช้สำหรับทารก ที่ควรมีไว้ติดบ้านและเตรียมพร้อมไว้สำหรับการใช้งานได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลง หรือทารกเกิดภูมิแพ้ร่วมด้วย
ที่ดูดน้ำมูกทารก คืออะไร
คืออุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับทารกและเด็กเล็กใช้ในการดูดน้ำมูก, ของเหลว หรือเมือกต่างๆ ในจมูก เพื่อช่วยอาการหายใจครืดคราด ให้โล่งจมูกและหายใจคล่องมากขึ้น หัวจุกส่วนที่ใส่ด้านในจมูก เป็นวัสดุนุ่ม, ไม่ระคายเคือง และไม่ทำให้เกิดการเจ็บ เหมาะสำหรับทารก หรือเด็กเล็ก ที่มีน้ำมูกใส, น้ำมูกสีเหลือง หรือน้ำมูกสีเขียว เป็นอีกหนี่งในอุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับทารก ที่ควรมีไว้ติดบ้าน
รูปแบบและชนิดของที่ดูดน้ำมูกทารก
แบบมือแมนนวล
หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า ลูกยางแดงนั่นเอง เป็นรูปแบบที่เราคุ้นเคย และมีการใช้รูปแบบนี้มานาน จะมีลักษณะเป็นปลายยาว เป็นส่วนที่ใช้ใส่เข้าไปในจมูกของเด็ก ส่วนอีกฝั่งเป็นลักษณะลูกยาง หรือกระเปาะพองลม เป็นส่วนที่เก็บน้ำมูกส่วนที่ดูดได้ไว้ด้านใน เป็นวัสดุยาง มีความยืดหยุ่นตัว เมื่อมีการบีบตรงส่วนที่เป็นลูกยาง หรือกระเปาะนั้น จะมีการเด้งคืนตัวเมื่อเราค่อยๆ ปล่อยมือ
แบบใช้ไฟฟ้า
มีการใช้งานด้วยการใช้ไฟฟ้า เป็นรูปแบบที่เริ่มมีความนิยมในการใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความสะดวกในการใช้งาน และสามารถกำหนดระดับความแรงในการดูดได้ โดยเฉพาะการใช้กับเด็กในช่วงเวลา ที่มีการหายใจครืดคราด เพื่อดูดเอาน้ำมูกออกมา และช่วยให้เด็กโล่งจมูก และหายใจคล่องได้มากขึ้น อีกทั้งเครื่องรูปแบบนี้ ในบางรุ่นจะมีเสียงเพลง เพื่อคลายความกังวล และให้เด็กเพลิดเพลินไปในตัว
แบบปากดูด
จะมีสายยางแยกออกเป็น 2 เส้น หรือบางแบบจะเป็นรูปแบบพกพา มีส่วนที่สำหรับใส่ในจมูกเด็ก และส่วนที่เป็นสายยางสั้นๆ สำหรับการใช้แรงดูดจากปาก ซึ่งสำหรับวิธีการใช้และขั้นตอนที่แตกต่างไปจากการใช้มือบีบลูกยาง เพื่อดูดเอาของเหลว และน้ำมูกออกจากจมูกของเด็ก เป็นการใช้ปากดูดเพื่อให้เกิดแรงดูดน้ำมูกออกมาแทน
เราไม่ต้องกังวลว่าน้ำมูกของเด็กจะเข้ามาถึงเรา ในขณะที่เราทำการดูดด้วยปาก จะมีสายสำหรับส่วนที่เราดูดอากาศเข้า และมีสายยางอีกเส้น เป็นส่วนที่ใช้ใส่เข้าจมูกของเด็ก ดังนั้นในการดูดน้ำมูกนั้น น้ำมูกจากด้านในจมูกของเด็ก จะออกมาและไหลเข้าไปอยู่ในส่วนที่รองรับน้ำมูกโดยเฉพาะ เป็นรูปแบบที่เน้นการใช้ง่าย และมีส่วนประกอบที่ไม่ซับซ้อน สามารถรองรับการทำความสะอาด หรือการฆ่าเชื้อโรคได้ทุกรูปแบบ
วิธีใช้ที่ดูดน้ำมูกทารก
จะมีรูปแบบและขั้นตอนการใช้ที่แตกต่าง ไปในแต่ละประเภทของที่ดูดน้ำมูก ดังนั้นเราอาจจะต้องดูด้วยว่า เราถนัดหรือเหมาะสมกับที่ดูดน้ำมูกแบบไหน เพื่อให้การดูดน้ำมูกให้กับเด็ก ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ทั้งในเรื่องการช่วยให้เด็กหายใจโล่งจมูก รวมถึงช่วยลดอาการหายใจติดขัด หรือหายใจไม่ออกได้ดีมากขึ้น
แบบปากดูด
ตัวที่ดูดน้ำมูก เราจะสังเกตลักษณะเด่น ด้วยสายยาง 2 เส้นไปมีจุดบรรจบที่เดียวกัน และลงไปสู่ส่วนที่เก็บน้ำมูกที่ดูดออกมาได้ สายยางข้างหนึ่งจะมีลักษณะเป็นกรวยเล็กๆ และมีรูด้านบน ใช้กับการใส่เข้าด้านในจมูกของเด็ก ส่วนสายยางอีกเส้น ที่มีฐานและมีช่องที่ไว้สำหรับ คุณพ่อ คุณแม่ในการใช้ลมดูดในส่วนสายยางเส้นนี้ เพื่อให้เกิดแรงดูดน้ำมูกในจมูกเด็ก เข้าทางสายยางอีกเส้น จากนั้นน้ำมูกจะลงไปอยู่ส่วนที่รองรับน้ำมูกของอุปกรณ์นี้
- นำสายยางส่วนด้านที่เป็นกรวยเล็กๆ ด้านบนมีรูเล็กๆ ใส่ด้านในจมูกของเด็ก
- นำสายยางอีกข้าง ที่มีฐานเป็นที่ครอบปาก ทำการดูดผ่านช่องด้านบน
- การเริ่มต้นดูดครั้งแรก ควรเริ่มที่แรงดูดน้อยๆ ก่อน เพื่อดูว่ามีน้ำมูกออกมาหรือไม่
- หากไม่มีน้ำมูกออกมา เพิ่มแรงดูดได้ทีละน้อยๆ
- เราจะสังเกตเห็นน้ำมูกออกมา ได้จากส่วนที่รองรับน้ำมูก ที่เป็นจุดเชื่อมต่อสายยาง
- เมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อย ควรนำไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
แบบมือแมนนวล
ส่วนสำคัญที่เราควรใส่ใจก็คือ ส่วนกระเปาะ หรือลูกยางแดง ควรได้รับการเช็คให้ดีด้วยการบีบว่า ด้านในไม่มีน้ำหรือของเหลวค้างอยู่ด้านใน เพื่อที่จะใช้งานกับเด็กได้อย่างปลอดภัย และไม่มีสิ่งแปลกปลอมใดๆ เข้าไปในจมูกของเด็ก ในขั้นตอนทำการดูดน้ำมูกได้ และยังเป็นการเช็คการใช้งานว่า ตัวกระเปาะนั้นมีรูรั่ว และมีความสมบูรณ์สำหรับการใช้งานหรือไม่
รวมถึงหากเป็นทารกอยู่ ควรที่จะหาผ้าขนหนูมาห่อให้พอดีตัว เพื่อป้องกันการพลิกหรือดิ้นตัวในขณะที่ทำการดูดน้ำมูก และหากเป็นไปได้ ควรมีผู้ช่วยอยู่ข้างๆ ในการช่วยจับศีรษะทารกให้อยู่ในระดับตรง ไม่ก้มหรือเงยหน้า และไม่พลิกหน้าไปทางด้านซ้ายหรือด้านขวา เพื่อช่วยให้การดูดเป็นไปได้อย่างง่ายและสะดวกมากขึ้น รวมถึงยังเป็นการดูแลความปลอดภัยให้กับเด็ก
- ก่อนที่จะนำปลายของลูกยาง เข้าในจมูกเด็กนั้น ให้ใช้มือบีบตัวลูกยางให้แน่น
- จากนั้นนำปลายส่วนที่ยาวใส่เข้าด้านในจมูกของเด็ก ความลึกที่ 1-1.5 เซนติเมตร
- เมื่อสอดปลายลูกยางเข้าในจมูกเด็กแล้ว ให้ค่อยๆ ปล่อยมือจากลูกยางช้าๆ
- น้ำมูกจะโดนดูดเข้าไปอยู่ด้านในกระเปาะ
- ให้เราบีบกระเปาะลงถุง, ทิชชู หรือภาชนะ เพื่อนำน้ำมูกที่อยู่ด้านในลูกยางออกมา
- จากนั้นเริ่มทำตั้งแต่ขั้นตอนแรกซ้ำ จนแน่ใจว่าเด็กไม่มีน้ำมูกหลงเหลือในจมูกแล้ว
- หากในกรณีที่ดูดน้ำมูก และไม่มีน้ำมูกออกมาเลย ให้เราใช้น้ำเกลือหยดใส่ในจมูกเด็ก
- จากนั้นทำตามขั้นตอนการดูดน้ำมูกเหมือนเดิมตั้งแต่แรก
- เมื่อใช้อุปกรณ์ชนิดนี้เสร็จ นำไปต้ม และฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อนให้สะอาด
ในกรณีที่เราจำเป็นต้องใช้น้ำเกลือร่วมกับ การดูดน้ำมูกให้กับเด็กร่วมด้วยนั้น การเลือกน้ำเกลือควรเลือกที่เปอร์เซ็นต์ 0.9% หรือใช้ชื่อเรียกน้ำเกลือกว่า Normal Saline รวมถึงในการเลือกขนาดของลูกยางนั้น หากเป็นทารกแรกเกิด จนถึงอายุ 1 ปีนั้น ควรเลือกลูกยางที่เบอร์ 0-2 เท่านั้น ที่จะมีปลายดูดที่เล็กและเรียว
แบบไฟฟ้า
ก่อนการใช้งานที่ดูน้ำมูกสำหรับทารก เราควรประกอบส่วนต่างๆ ของตัวเครื่องให้เรียบร้อย ด้วยความที่เป็นเครื่องดูดน้ำมูกในแบบใช้ไฟฟ้านั้น เราจึงควรแน่ใจว่า มีการชาร์ทพลังงานผ่านสาย usb ไว้เต็มแบตเตอรี่แล้ว ซึ่งเราสามารถชาร์ทไปพร้อมกับการใช้งานได้ แต่เพื่อความปลอดภัย ควรเน้นชาร์ทเตรียมไว้ก่อนการใช้งานจะเป็นการดีที่สุด
ส่วนที่ควรใส่ใจในการเตรียมเครื่อง ก่อนที่จะทำการดูดน้ำมูกให้กับเด็กนั้นคือ จุกด้านบนสุดของตัวเครื่อง ที่จะเป็นส่วนในการใส่เข้าไปในจมูกของเด็ก จะมี 2 ขนาดให้เราได้เลือก ซึ่งเป็นส่วนเสริมที่ให้มาพร้อมกับชุดเครื่องอยู่แล้ว จุกด้านบนนี้จะเป็นวัสดุซิลิโคน ที่มีความปลอดภัย และอ่อนนุ่มต่อจมูกของเด็ก จะมีขนาดเล็กที่มีปลายตื้นและสั้น ใช้กับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ส่วนอีกขนาดที่มีปลายลึกมากกว่า จะใช้กับกับเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ขวบขึ้นไป
ซึ่งทั้งส่วนประกอบจุกที่เป็นซิลิโคนนี้ และตัวครอบที่เป็นคล้ายกระเปาะฝาครอบหัว ของเครื่องดูดน้ำมูกนี้นั้น หลังการใช้งานเราสามารถที่จะถอดออก และนำไปล้างทำความสะอาด มีคุณสมบัติทนความร้อน เราสามารถที่จะนำไปต้ม หรือเข้าเครื่องฆ่าเชื้อโรคได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าอุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนประกอบ จะมีการชำรุดเสียหายใดๆ เกิดขึ้น
- ก่อนการนำมาใช้งาน ให้เราเช็คและแน่ใจว่ามีแบตเตอรี่เต็มเครื่องดูดน้ำมูกแล้ว
- ประกอบส่วนที่เป็นจุกซิลิโคน และเลือกขนาดตรงตามวัยของเด็กเรียบร้อย
- เริ่มการเปิดที่ระดับแรงดูดที่น้อยๆ ก่อน เพื่อไม่ให้ทารกหรือเด็กเล็กตกใจ
- การใช้งานตัวเครื่อง ควรปรับทิศทางหัวซิลิโคนด้านบนเงยขึ้น ในขณะที่ใส่ด้านในจมูก
- หากเป็นรุ่นเครื่องที่มีเสียงเพลง ควรเปิดเสียงเพลงพร้อมไปกับการดูดน้ำมูก
- นำปลายที่เป็นจุกซิลิโคน ใส่เข้าไปในจมูกของเด็ก ความลึกอยู่ที่ 1-1.5 เซนติเมตร
- เมื่อมีการปรับระดับแรงดูดเพิ่มขึ้น ควรดูการตอบสนองของเด็กร่วมด้วย
- ใช้งานเครื่องเสร็จ ควรถอดจุกซิลิโคน และตัวครอบที่รองรับน้ำมูกไปต้มฆ่าเชื้อโรค
- ควรตากในที่มีลมและอากาศระบาย จนชิ้นส่วนต่างๆ แห้งสนิทดี
- หากมีเครื่องอบฆ่าเชื้อโรค ควรนำเข้าเครื่องอบอีกครั้ง
- ชิ้นส่วนทุกชิ้นแห้งสนิทดีแล้ว ให้นำไปประกอบเข้ากับตัวเครื่องให้เรียบร้อย
วิธีเลือกซื้อที่ดูดน้ำมูกทารก
ความสะดวกใช้งานส่วนตัว
ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการใช้ไฟฟ้า, รูปแบบใช้มือหรือลูกยางแดง และรูปแบบการใช้ปากดูดก็ตาม เราควรดูว่าสำหรับการนำมาใช้งานจริง ตัวเรามีความถนัดที่จะใช้ในรูปแบบไหนมากกว่ากัน ซี่งในหลายๆ คนก็ยังถนัด และติดกับแบบลูกยางแดงกันอยู่ กลับกันในอีกหลายคุณพ่อ คุณแม่ก็ถูกใจในรูปแบบการใช้งานแบบไฟฟ้า ที่เน้นความสะดวกสบาย และรวดเร็ว
วัสดุ
ความปลอดภัย
ในส่วนของตัวด้ามจับ และวัสดุภายนอกนั้น หากเป็นพลาสติก ควรที่จะเป็นพลาสติกที่มีความทนทาน และแข็งแรง ไม่แตกหักง่าย ซึ่งจะเป็นอันตรายในขณะที่มีการใช้งานร่วมกับเด็ก รวมถึงระบบการชาร์ทไฟเข้าเครื่อง ควรที่จะมีสายชาร์ทมาพร้อมกับตัวเครื่อง และมีส่วนที่ใช้เสียบชาร์ท ควรอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
ทนความร้อนสูง
อย่างที่เราควรใส่ใจกับเรื่องของใช้ และอุปกรณ์ทุกอย่างของทารก และเด็กเล็กในเรื่องของความสะอาด และอนามัย หลังจากการใช้งานควรที่จะมีการล้างทำความสะอาดด้วยการต้มด้วยความร้อน และนำเข้าเครื่องอบฆ่าเชื้อโรค ดังนั้นวัสดุควรที่จะมี คุณสมบัติในการทนความร้อนได้สูง
การปรับระดับแรงดูด
หากเป็นในรูปแบบใช้ไฟฟ้า หรือแบบอัตโนมัตินั้น ควรที่จะมีการออกแบบ ระดับแรงดูดให้ผู้ใช้งานได้เลือกได้ตั้งแต่ระดับที่น้อยสุด ถึงระดับแรงดูดที่มากได้ รวมถึงปุ่มเปิดปิด และปุ่มทำงานตัวเครื่องที่ควรจะอยู่ในตำแหน่งที่ใช้งานได้ง่ายและสะดวก
ฟังก์ชั่นการใช้งานเสริม
จะเป็นเรื่องดีมากๆ หากที่ดูดน้ำมูกทารก จะมีการใช้งานที่สามารถเปิดเพลงให้กับเด็ก ในขณะที่ทำการดูดน้ำมูกไปด้วย เพราะสำหรับทารกหรือเด็กเล็กบางคน ก็มีความกังวลกับการนำสิ่งของบางอย่างใส่เข้าในรูจมูก รวมถึงเสียงเปิดเครื่อง และระดับแรงดูดน้ำมูกด้านในจมูก ที่อาจจะทำให้ทารกหรือเด็กเล็กร้องไห้ จนไม่สามารถทำการดูดน้ำมูกต่อไปได้ เสียงเพลงจะช่วยให้เด็กๆ ได้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
รีวิวที่ดูดน้ำมูกทารกอัตโนมัติ Glowy Star
สรุป
ที่ดูดน้ำมูกทารกการเลี้ยงดูทารกจะช่วยแก้ปัญหาให้หายใจคล่องขึ้น รวมถึงทำจากวัสดุที่นุ่ม, ปลอดภัย และถูกอนามัยต่อทารก หรือเด็กที่ยังอยู่ในวัยที่เล็กมากๆ นั้น พ่อแม่ควรที่จะมีการใส่ใจ ที่ไม่เพียงแค่การดูแลในช่วงที่เด็กมีสุขภาพแข็งแรงเท่านั้น แต่โดยเฉพาะที่เด็กเล็ก เกิดอาการไม่สบายอย่างเช่น การเกิดติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ หรือเป็นหวัดขึ้นมา ซึ่งเป็นหนี่งในสาเหตุที่ทำให้ทารก หรือเด็กเล็ก เกิดปัญหาหายใจครืดคราดได้
อ้างอิง
What the Color of Your Snot Really Means : Cleveland Clinic
Yellow, Green, Brown, and More: What Does the Color of My Snot Mean? : Healthline
เจ้าของร้านขายยาโดยเภสัชกรชั้นนำหลายสาขา ขายดีจ่ายยาแล้วคนไข้หายจนเป็นที่ยอมรับ การศึกษาปริญญาตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทจากประเทศออสเตรเลีย มีความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับ สุขภาพ อาหารเสริม ตลอดจนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 10 ปี