ขวดนมมีให้เลือกหลากหลาย แบบคอกว้าง คอแคบ และที่ได้รับความนิยมคือ จุกดูดต้องเสมือนนมแม่ ซึ่งถ้าเป็นแบบอย่างดีมีคุณภาพต้องปราศจากสาร BPA (Bisphenol A) เพราะสารนี้ทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเพศในร่างกาย
และอาจรบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อได้ จึงเป็นสารที่อันตรายอย่างมากต่อเด็กและผู้บริโภคทุกคน ดังนั้นก่อนเลือกซื้อคุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตสัญลักษณ์บนผลิตภัณฑ์ว่ามีระบุวาสปลอดจากสาร BPA หรือไม่
ดังนั้นก่อนไปทำความเข้าใจกับถึงวิธีการเลือกซื้อ การทำความสะอาด การดูแลรักษา รวมถึง มีกี่ประเภท เลือกคอขวดแบบไหนดี รวมถึงแนะนำวิธีให้ลูกดูดอย่างถูกวิธี และ เข้าใจถึงอายุการใช้งาน ขนาดกันอย่างละเอียดในบทความนี้กัน
อุปกรณ์เลี้ยงเด็กอื่นๆ ที่เราคัดมาอย่างดีเพื่อท่านผู้อ่าน ได้แก่ คอกกั้นเด็ก , ที่คว่ำขวดนม , เครื่องอุ่นนม , ที่ดูดน้ำมูกทารก , จุกนมหลอก , ผ้าคลุมให้นม , นมผง , รถหัดเดิน , แก้วหัดดื่ม , ผ้าอ้อมเด็ก , อาหารเสริมเด็ก , ที่กั้นบันได , น้ำยาล้างขวดนม , คาร์ซีท , เอนชัวร์ , ผ้าคลุมให้นม , หมอนคนท้อง ถ้าท่านผู้อ่านสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม 10 อันดับ สามารถกดดูได้ที่ลิ้งค์สีชมพูได้เลยจ้า
ขนาดขวดนมสำหรับลูกน้อยในช่วงอายุต่าง ๆ
- ลูกน้อยแต่ละช่วงวัยจะมีปริมาณนมที่ควรดื่มแตกต่างกันไป ซึ่งมีวิธีคำนวณง่าย ๆ คือ ทุก ๆ น้ำหนักตัว 0.5 กิโลกรัม ลูกควรดื่มนม 2.5 ออนซ์
- ลูกน้อยวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน – ควรใช้ขนาด 4 ออนซ์ (120 มิลลิลิตร) เพื่อเพียงพอต่อความต้องการในการดื่มนมแต่ละครั้ง โดยให้นมลูกทุก ๆ 4 ชั่วโมง
- ลูกน้อยวัยอายุ 6 เดือนขึ้นไป – เปลี่ยนขนาดขวดให้มีปริมาณ 7-8 ออนซ์ (240 มิลลิลิตร) เพื่อเพียงพอต่การเจริญเติบโตของร่างกาย สิ่งที่ต้องระวังลูกน้อยไม่ควรดื่มนมมากกว่า 32 ออนซ์ (320 มิลลิลิตร) ภายในเวลา 24 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ลูกน้อยเกิดภาวะท้องอืดได้
เลือกขวดนม คอกว้าง คอแคบแบบไหนดี
1.คอกว้าง
คอกว้างมีฐานจุกนมมีลักษณะกว้าง สเมือนนมแม่ หรือ เต้านมของคุณแม่ ทำให้เด็กรู้สึกเหมือนกำลังดูดนมจากเต้าคุณแม่อยู่ เหมาะสำหรับคุณแม่ที่เอาลูกเข้าเต้าสลับกับการป้อนนมลูกด้วยขวดจะทำให้ลูกไม่สับสนกับการเข้าเต้า แบบคอกว้างยังล้างง่ายแห้งเร็วกว่า
2.คอแคบ
วิธีเลือกซื้อขวดนมเด็ก
วัสดุ
แก้ว – ผลิตจากแก้ว มีความทนทานและปราศจากสารเคมี มีราคาแพงและเกิดอันตราย เนื่องจากขวดแก้งสามารถแตกได้ หากเลือกแบบที่มีฝาปิดเป็นซิลิโคน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายเนื่องจากขวดแตก
พลาสติกิ — แบบพลาสติกแม้จะไม่แตกเหมือนขวดแก้ว แต่ขวดพลาสติกจะมีการเสื่อมสภาพ และต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ หากสงสัยว่าขวดพลาสติกที่ใช้อยู่มีสารเคมีหรือไม่ โดยเฉพาะ Bisphenol-A BPA ให้เปลี่ยนขวดทันที
รูปทรง
- ทรงมาตรฐาน มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีส่วนโค้งเว้าด้านข้างที่ช่วยให้ง่ายต่อการเทนม ทำความสะอาดง่ายกว่า
- คอโค้ง มีลักษณะมีคอขวดโค้ง จับได้ถนัดมือ ทำให้นมอยู่ก้นขวดและช่วยป้องกันเด็กดูดลมเข้าไป การเติมนมค่อนข้างลำบาก อาจจะต้องเอียงขวดหรือใช้กรวยแทน
- แบบมีช่องระบายอากาศ มีลักษณะท่อคล้ายหลอดอยู่ตรงกลาง เพื่อการระบายลมและฟองอากาศ เชื่อว่าขวดแบบนี้สามารถป้องกันอาการโคลิคและการเกิดแก๋สในท้องได้ แต่อาจจะลำบากในการประกอบ ทำความสะอาดค่อนข้างลำบาก
ขนาด
ในช่วงแรกคุณแม่ควรเลือกที่บรรจุน้ำนมได้ 4 ออนซ์สำหรับทารกแรกเกิด จากนั้นจึงเปลี่ยนไปเป็นขนาด 8-9 ออนซ์เมื่อลูกโตขึ้นและเริ่มดื่มนมมากขึ้น
รูปแบบจุก
ขนาดของจุกนมนั้นเล็กใหญ่ไปตามวัยของเด็ก ซึ่งทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 แบบคือจุกหลอกสำหรับเริ่มต้นดูด และจุกหลอกสำหรับใช้ร่วมกับขวด ดังนั้นให้พิจารณาจากวัสดุที่ใช้ทำที่ยืดหยุ่น ง่ายต่อการทำความสะอาด
จุกนมผลิตจากวัสดุอะไร
- จุกนมทำจากยาง – จุกนมที่ผลิตจากยางพารา จะมีความนุ่มมากกว่าแบบซิลิโคน มีสีน้ำตาล สีขุ่นจามแต่ละชนิด ทนความร้อนได้ 100 องศาเซลเซียส มีอายุการใช้งาน 3 เดือน
- จุกนมซิลิโคน – มีความคงทนมากกว่าจุกยาง มีลักษณะยืดหยุ่นสูงมีสีใส ขาดและเสียได้ยากกว่า ทนความร้อนได้ 120 องศาเซลเซียส มีอายุการใช้งาน 4-6 เดือน
สาร BPA คืออะไร ย่อมาจากอะไร
สาร BPA หรือ Bisphenol A คือ สารประกอบที่นำมาใช้ในการผลิตพลาสติกให้คุณสมบัติที่โปร่งใส และแข็งแรงทนทาน มีข้อเสียอยู่คือ เป็นสารก่อมะเร็งที่อันตรายต่อร่างกาย ไม่เหมาะกับวัสดุที่ใช้สำหรับใส่อาหาร
อันตรายของสาร BPA ต่อทารก
BPA สารอันตรายที่มีผลต่อการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท ความทรงจำ การเรียนรู้ มีผลต่อฮอร์โมน การเจริญเติบโต ทำให้เด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินไป มีภาวะโรคอ้วน และไฮเปอร์แอคทีฟ ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคหัวใจ หากสะสมในร่างกายมากเท่าใด ยิ่งไปลดศักยภาพการทำงานของร่างกาย
คำถามที่พบบ่อยของขวดนม
ให้ลูกเริ่มใช้ขวดนมตอนอายุเท่าไหร่ และนานแค่ไหน
คุณแม่สามารถให้ลูกน้อยเริ่มได้ทันทีหลังจากลูกเริ่มดูดนมจากเต้า แต่ทั่วไปแล้วควรให้เริ่มดูดนมหลังจากลูกมีอายุ 3-4 สัปดาห์ เพราะว่าเด็กแรกเกิดยังต้องทำความคุ้นชินกับการดูดนม เพื่อทำให้ลูกรู้ว่ากำลังดูดนมหรือเสมือนนมแม่อย่างปลอดภัย
ให้ลูกดูดนมจากขวดนานแค่ไหน
ควรให้ลูกใช้ชวดนมจนถึงอายุ 1 ขวบหรืออายุ 12 เดือนโดยการใช้ดูดจากเต้าสลับกับให้ลูกดูดจากขวด ก่อนเริ่มหัดให้ลูกดื่มนมจากแก้ว
อายุ
อายุการใช้งานจะขึ้นอยู่กับคุณภาพและการดูแลรักษา ปกติแล้วหลังจากที่มีการผลิตแล้วยังไม่มีการใช้งานจะมีอายุเสื่อมสภาพอยู่ที่ประมาณ 3-4 ปี
แต่ที่นำมาให้ลูกใช้ดื่มแล้ว ถ้าเป็นสีขาวใสทั่วไป ทนความร้อนได้ประมาณ 100 องศาเซลเซียส จะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าเป็นสีชา สีน้ำผึ้ง อาจจะใช้ได้นานขึ้น ทนต่อความร้อนได้ 180 องศา ทนกว่าสีขาวใส มีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 ปี แต่ถ้ามีรอยขีดข่วนก็ควรเปลี่ยนก่อน 2 ปี
มีจุกนมให้เลือกมากกว่า หาซื้อได้ง่าย ราคาถูกกว่า เนื่องจากบริเวณคอขวดแคบทำให้มีบางบริเวณที่ล้างไม่สะอาดได้ทั่วถึง
ขนาดเท่าไหร่ดี
ทารกแรกเกิดกระเพาะยังเล็กมาก จึงไม่สามารถดื่มนมได้เยอะ ปกติในเดือนแรกจะดื่มได้ประมาณ 1.5-2 ออนซ์ จึงไม่จำเป็นต้องซื้อขนาด 2 ออนซ์ไว้มากนัก แต่พอช่วงสามเดือนแรกขนาดที่เหมาะสมควรเป็นขนาด 4-5 ออนซ์ พร้อมกับจุกนมสำหรับเด็กแรกเกิดส่วนขนาด 9 ออนซ์จะเหมาะกับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยหรือมากกว่านั้น
วิธีการทำความสะอาดดูแลรักษา
1.การล้าง
โดยวิธีการทำความสะอาดก่อนไปฆ่าเชื้อ ทำได้โดย
- ล้างขวด จุกนม ด้วยน้ำร้อนและสบู่ทันทีที่ใช้งานเสร็จ ด้วยการผสมน้ำยาล้างกับน้ำอุ่นเข้าด้วยกัน ใช้ฟองน้ำล้างชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้สะอาด ให้ล้วงด้านในก่อนแล้วจึงล้างด้านนอก ไม่ควรใช้ฟองน้ำขัดแรง ๆ เพราะจะทำให้เป็นรอยมีอายุการใช้งานสั้นลง
- ล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อยสองรอบ ใช้แปรงทำความสะอาดสำหรับล้างขวดและล้างจุกนมโดยตรง ซึ่งควรกลับด้านในจุกนมออกมาล้าง ห้ามใช้น้ำเกลือล้างเพราะอาจเป็นอันตรายต่อทารก
- นำอุปกรณ์ทั้งหมดมาล้างด้วยน้ำเย็น โดยเปิดให้น้ำไหลผ่านก่อนนำไปฆ่าเชื้อ
2.การฆ่าเชื้อ
- การต้ม – เป็นวิธีฆ่าเชื้อที่ได้รับความนิยมที่สุด คือ ต้มในหม้อน้ำที่มีน้ำเดือดและปิดฝาเป็นเวลา 10 นาที ตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีฟองอากาศ ซึ่งที่จะนำไปต้มต้องผลิตจากวัสดุที่ทนความร้อนได้ และการต้มทำให้จุกนมเสื่อมสภาพเร็วกว่าดังนั้นอย่าลืมตรวจสภาพจุกนมเป็นประจำด้วย
- การอุ่นไมโครเวฟ – เป็นวิธีการฆ่าเชื้อที่สะดวกรวดเร็วคือการนำไปอุ่นร้อนในไมโครเวฟ ใช้เวลาเพียง 1.5 นาที คงความสะอาดได้ถึง 3 ชั่วโมงแถมไม่ทิ้งกลิ่นหรือรสชาติไว้ ซึ่งวิธีการนำเข้าไมโครเวฟก็ไม่ควรปิดเกลียวฝาจนสุด แต่ให้แง้มฝาไว้เล็กน้อยเพื่อลดการก่อตัวของอากาศภายใน และควรระวังเรื่องความร้อนเวลาอุ่นนมเสร็จใหม่ ๆ อาจร้อนจัดเมื่อไปจับ
- การใช้เครื่องนึ่ง – เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็ว เพียง 12 นาที คงความสะอาดไว้ได้ถึง 6 ชั่วโมง หากเก็บไว้ในที่สะอาดปลอดเชื้อ วิธีการใช้โดยการวางลงในเครื่องนึ่ง เปิดฝาและคว่ำลง จะช่วยฆ่าเชื้อโรคภายในได้ทั่งถึง และปฏิบัติตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าวัสดุสามารถใช้กับเครื่องนึ่งได้ปลอดภัย
- การแช่น้ำยาฆ่าเชื้อโรค – เป็นวิธีที่ใช้น้ำยาหรือเม็ดฟู่ฆ่าเชื้อละลายกับน้ำเย็นในภาชนะที่ไม่ใช่พลาสติก ให้นำขวดและอุปกรณให้นมอื่น ๆ แช่ไว้เป็นเวลา 30 นาที ปิดภาชนะให้มิดชิด และควรเปลี่ยนน้ำที่ใช้แช่ทุก 24 ชั่วโมง โดยตรวจให้มั่นใจว่าไม่มีฟองอากาศภายในก่อนนำลงไปแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อ
วิธีเลือกซื้อขวดนมให้ลูก
สรุป
ขวดนมเด็กเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญที่จะต้องอยู่กับลูกน้อยตลอดเวลา ดังนั้นคุณแม่ควรใส่ใจในการเลือกอุปกรณ์ การดูแลรักษา การทำความสะอาดเป็นพิเศษเสมอ รวมถึงการดูแลสุขภาพให้สารอาหารของทารกที่จำเป็นต่อลูกน้อย
ที่สำคัญการเลือกคุณแม่ต้องสังเกตสัญลักษณ์ โดยต้องปลอดสาร BPA Free เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีสาร BPA แน่นอน เพราะสาร BPA เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ฉะนั้นต้องตรวจสอบและสังเกตสัญลักษณ์นี้ก่อนซื้อทุกครั้ง
ตู่ คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวผู้สตรอง ปัจจุบันทำงานเป็นนักวิชาการด้านการพัฒนามนุษย์ และสังคม ประสบการณ์เป็นวิทยากรด้านการเลี้ยงดูเด็ก และ จิตวิทยาวัยรุ่น และเป็นนักเขียนบทความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับแม่และเด็ก