รางปลั๊กไฟ คืออะไร
คือ อุปกรณ์หรือบล็อกตัวเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีคุณลักษณะพิเศษ และโดดเด่นคือ ความสะดวกในการเคลื่อนย้ายไปใช้งานตรงไหนก็ได้ มีสายไฟสำหรับอุปกรณ์ชนิดนี้ หรือสายเคเบิลที่มีความยาวแตกต่างกัน การใช้คำเรียกนั้นสามารถเรียกได้ทั้ง รางปลั๊กไฟ, ปลั๊กพ่วง หรือ Power Strip
เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่นำปลั๊กมาเสียบกับเต้ารับนั้น จะได้กระแสไฟฟ้าส่งผ่านมาตามสายเคเบิล เพื่อที่จะสามารถเปิดใช้งานสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ได้ อีกทั้งความพิเศษของอุปกรณ์ชนิดนี้ก็คือ ความหลากหลายของช่องเสียบ หรือเต้ารับนั่นเอง ที่มีให้เลือกหลายช่องเสียบ ไม่ว่าจะเป็น ช่องเสียบหรือเต้ารับ 3 ช่อง, 4 ช่อง, 5 ช่อง หรือ 6 ช่องก็ตาม
แต่นอกเหนือจากนั้นแล้ว เราต่างรู้กันว่าคุณสมบัติที่โดดเด่นของอุปกรณ์ไฟฟ้านี้ก็คือ ความสามารถรองรับการเสียบใช้งาน ของปลั๊กไฟเครื่องใช้ไฟฟ้าได้หลายชิ้น ดังนั้นการป้องกันอันตรายจากอุปกรณ์ชิ้นนี้ก็ควรจะมีเช่นกัน อย่างเช่น การติดตั้งเบรกเกอร์ ที่จะช่วยเป็นตัวตัดกระแสไฟฟ้ าที่มีการใช้เกินการรองรับของตัวปลั๊กพ่วง หรือเกินการรองรับของตัวรางปลั๊กไฟนี้
ซึ่งหากเป็นการใช้งานพ่วงกับตัวเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายตัว อย่างเช่น การรองรับส่วนที่ใช้งานได้เพียงแค่ 1200 วัตต์เท่านั้น แต่เราเสียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กำลังไฟที่เกิน สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ เบรกเกอร์ของปลั๊กพ่วงจะช่วยตัดกระแสไฟ หรือที่เลวร้ายกว่านั้นก็คือ การที่เราเลือกใช้งานปลั๊กพ่วงที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีตราสัญลักษณ์ มอก. รองรับคุณภาพ ทำให้เรามักจะเห็นว่า มีการเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ จากอุปกรณ์ชนิดนี้ที่ไม่ได้มาตรฐานนั่นเอง
ข้อควรระวังเมื่อต้องใช้รางปลั๊กไฟ
ถึงแม้ว่าในวันนี้ที่เราทุกคน มีความคุ้นเคยและรู้จักการใช้งานของ ปลั๊กพ่วงอุปกรณ์เชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวนี้กันเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม แต่ในความเข้าใจ และคุ้นเคยกับการใช้งานนี้ ใครจะรู้บ้างว่า มีบางอย่างที่เราอาจจะยังคงมีการใช้งานกันอย่างไม่ถูกต้อง และที่สำคัญอาจทำให้อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือพ่วงการใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายตัวนี้ ต้องเสียหาย หรือมีผลตามมาทำให้เกิดไฟไหม้ และอันตรายกับลูกหลานได้อีก
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการใช้ไฟเกิน อันเนื่องมาจากการเสียบปลั๊กไฟ ของเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายประเภท ที่เกินการรองรับของตัวปลั๊กพ่วงนี้ หรือเราอาจจะซื้อปลั๊กพ่วงในขนาดที่มีการรองรับของสายไฟไม่ครอบคลุม ที่เราสามารถดูได้ง่ายๆ จากขนาดของสายไฟที่ต้องมีความหนาเพียงพอกับกระแสไฟฟ้า และรองรับจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราเสียบใช้งานร่วมด้วย
เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ไม่ว่าเราจะนำมาเสียบพ่วงกับรางปลั๊กไฟนี้ หรือการศึกษาวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง อย่างเช่น เครื่องซักผ้า , แอร์เคลื่อนที่ , ตู้เย็น 5 คิว , ไมโครเวฟ , ไฟฉุกเฉิน , เครื่องฟอกอากาศ , เครื่องรีดผ้าไอน้ำ , เครื่องซักผ้าฝาหน้า , พัดลมไอเย็น ที่เราจำเป็นต้องมีการใช้งานที่เน้นในเรื่องของความปลอดภัย และรวมถึงจะช่วยดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้า และตัวปลั๊กพ่วงให้มีอายุการใช้งานได้นานๆ
1.พ่วงการใช้งานหลายตัว
ด้วยความสะดวกสบาย และถือว่าเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นของอุปกรณ์เชื่อมต่อ การใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนี้นั้น ทำให้เราหลายคนคิดว่าการใช้งานนอกจาก การเสียบพ่วงกับปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วนั้น เรายังสามารถเสียบพ่วงกับตัวปลั๊กพ่วงด้วยกันเองได้อีก ซึ่งในความสะดวกสบายนี้ ที่เรามองเห็นว่า ไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไรแต่จริงๆ แล้ว เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างมาก ที่จะเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร อันเนื่องมาจากการใช้ไฟที่มากเกินไป
โดยเฉพาะการใช้งานในรูปแบบนี้ มาพร้อมกับการเลือกตัวปลั๊กพ่วงที่ไม่ได้มาตรฐานด้วยแล้ว นอกจากการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร กับการที่เรามักจะเห็นว่า มีไฟฟ้า หรือมีไฟพุ่งออกมาจากตัวเต้ารับนั้น แล้วตัวปลั๊กพ่วงยังเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการตรวจสอบ และรองรับมาตรฐานจาก มอก. สิ่งนี้จะเป็นสาเหตุให้เราเห็นในหลายเหตุการณ์ของการเกิดไฟไหม้ ก็คือมาจากสาเหตุเล็กๆ เพียงเท่านี้เอง
2.รองรับการใช้งาน
อย่างที่เราเกริ่นนำข้างต้นแล้วว่า ความสำคัญของทั้งการเลือกอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่างปลั๊กพ่วง หรือรางปลั๊กไฟนั้น มีความสำคัญที่จะต้องเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ รวมถึงการใช้งานเสียบพ่วงเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ต้องให้อยู่ในความสามารถของตัวปลั๊กพ่วงนั้น ที่จะรองรับการใช้งานได้ หรือไม่ เราควรเลือกซื้ออุปกรณ์เชื่อมต่อการใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้านี้ ให้มีการรองรับกระแสไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้ในจำนวนวัตต์ที่สูงไว้ก่อนเป็นดีที่สุด
เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นใหญ่ อย่างเช่น เครื่องซักผ้า หรือเครื่องอบผ้าก็ตาม โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรที่มีการใช้งานที่หลากหลาย และอเนกประสงค์ในตัวเดียวกัน อย่างเช่น เครื่องซักผ้าอบผ้าในตัว หากไม่มีการเสียบปลั๊กไฟใช้งาน กับเต้ารับที่ยึดติดตามผนังเลยนั้น และต้องการเสียบต่อปลั๊กพ่วง ควรที่จะเลือกการรองรับสำหรับการเสียบใช้งานเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวนั้นจะดีที่สุด
เครื่องใช้ไฟฟ้า | จำนวนวัตต์ |
ตู้เย็น | 70-175 |
โทรทัศน์ | 80-180 |
ไมโครเวฟ | 100-1,000 |
ไดร์เป่าผม | 100-1,000 |
เครื่องชงกาแฟ | 200-600 |
หม้อหุงข้าว | 450-1,500 |
เตารีดไฟฟ้า | 700-2,000 |
เครื่องปิ้งขนมปัง | 800-1,000 |
เครื่องซักผ้า | 3,000 |
เครื่องอบผ้า/เครื่องซักผ้าและอบผ้าในตัว | 3,000 |
3.ห้ามใช้อุปกรณ์ที่ชำรุด
ไม่ว่าจะเป็นกรอบรางพ่วงที่แตก, ร้าว หรือแม้แต่ตัวสายไฟที่มีรอยขาดก็ตาม ไม่ควรเป็นอย่างยิ่ง ที่จะซ่อมแซมโดยการพันเทปสายไฟ ซี่งถึงแม้จะเป็นรอยขาดของสายไฟเพียงเล็กน้อย หรือรางปลั๊กพ่วงที่แตกเพียงเล็กน้อยก็ตาม เพราะภายในเป็นตัวชิ้นส่วนที่มีการเชื่อมต่อกับ สายไฟ และมีกระแสไฟผ่าน สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดได้ทั้งไฟฟ้าลัดวงจร และการเกิดไฟไหม้
4.ปิดก่อนใช้
สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจจะมีความคุ้นเคย และถือว่าเป็นการใช้ที่เน้นความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้นคือ การเสียบปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้า กับรางปลั๊กไฟนี้เมื่อปิดการใช้งานเพียงแค่ปิดสวิตซ์ปลั๊กพ่วงเท่านั้น เพื่อให้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นดับ แต่ปุ่มกดหรือสวิตซ์ของตัวเครื่องใช้ไฟฟ้าเองยังเปิดอยู่ เพื่อที่ว่าในการใช้งานถัดไป จะเพียงแค่กดสวิตซ์เปิดที่ปลั๊กพ่วงเท่านั้น
การใช้งานในรูปแบบนี้ไปนานๆ อาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้น มีอายุการใช้งานที่ไม่นาน หรือเสื่อมสภาพเร็ว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุที่จะเกิดอันตรายได้อีกด้วย เมื่อเราลืมไปว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นยังไม่ปิด แล้วเราต้องการเปลี่ยนหัวปลั๊กของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นใช้แทน การดึงปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นออกจากปลั๊กพ่วง หรือ Power Strip ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ปิดนั้น จะมีไฟแลบออกมา ซี่งอาจเกิดอันตรายกับผู้ใช้ได้
5.เสียบปลั๊กไฟกับเต้ารับให้ถูกต้อง
ซึ่งหัวปลั๊กจะมีทั้งแบบที่เป็น2 ขา และ3 ขา และมีทั้งขาที่เป็นทรงกลม และทรงแบน ดังนั้นในการเสียบกับเต้ารับนั้น สิ่งที่ควรระวัง และสังเกตมาเป็นอันดับแรกคือ ขามีกี่ขา และเสียบให้ตรงกับช่องให้เสียบขาว เพราะปัญหาจะเกิดตอนที่หัวปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด มี 2 ขา ส่วนเต้ารับมี 3 รู เพื่อรองรับกับหัวปลั๊กชนิด 3 ขาด้วย
เมื่อเราเสียบแบบไม่ระวัง ทั้งการเสียบผิดช่อง หรือพยายามที่กดเสียบให้ได้กับช่องที่ผิด อาจทำให้ทั้งปลั๊กพ่วง และตัวหัวปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเสีย และทำให้เครื่องไฟฟ้าไม่สามารถใช้งานได้อีก ซึ่งในวันนี้นั้นปลั๊กพ่วงมีตัวเลือกให้อย่างมากมาย ทั้งช่องการเสียบที่มีตั้งแต่ 3 ช่อง, 4 ช่อง, 5 ช่อง หรือ 6 ช่อง เป็นต้น
มาตรฐาน มอก. คืออะไรในรางปลั๊กไฟ
คือคำย่อที่มาจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่เป็นสัญลักษณ์ และตรารับรองที่ช่วยประกันคุณภาพของสินค้าชิ้นนั้นๆ จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ที่จะช่วยให้ผู้ซื้อสินค้าได้มั่นใจในสินค้า อย่างเช่น การกำหนดมาตรฐานสินค้า ที่เป็นปลั๊กพ่วงควรที่จะต้องมีหัวปลั๊ก 3 ขา เพื่อที่จะมีการใช้งานได้ปลอดภัย และตัววัสดุที่ทำต้องไม่ติดไฟ เป็นต้น
ประเภทของรางปลั๊กไฟ มีอะไรบ้าง
1.ประเภท 2 ขา
เป็นรูปแบบหรือประเภทที่มีความนิยมใช้กันทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นตามบ้านอยู่, คอนโด หรือออฟฟิศสำนักงานก็ตาม มีการใช้งานที่สะดวกสบาย อย่างเช่น มีสวิตซ์เปิดปิดการใช้งานของตัวปลั๊กพ่วง และยังสามารถเลือกการใช้งานได้ตั้งแต่ 3 ช่อง, 4 ช่อง, 5 ช่อง และ 6 ช่อง เป็นต้น และยังรวมถึงความยาวของตัวสายไฟ ที่มีความยาวหลายเมตรให้เลือก ส่วนใหญ่จะมีการรองรับความปลอดภัย ในการติดตั้งเบรกเกอร์ไว้ที่ตัวปลั๊กพ่วง และได้รับมาตรฐาน มอก.
2.ประเภทบล็อกยางสนาม
เรามักจะเห็นการใช้งานปลั๊กพ่วงในรูปแบบนี้ ผ่านงานช่าง หรืองานที่ต้องเกี่ยวกับสถานที่กลางแจ้ง ที่มีตัวสายไฟที่มีความหนา รองรับการใช้ไฟฟ้าได้มาก และมีความทนทานต่อการลากและการเก็บรักษาที่ง่าย สามารถรองรับการใช้งานไฟฟ้าได้มากถึง 3500 วัตต์ หรือแล้วแต่รุ่นของแต่ละปลั๊กพ่วง
3.ประเภทโรลสายไฟ
คุณสมบัติเด่นคือ การเน้นใช้งานนอกสถานที่ หรือ outdoor โดยที่มีตัวเลือกที่โดดเด่นไม่ว่าจะเป็นความยาวของสายไฟที่มาก และการรองรับการใช้ไฟได้มากถึง 2500-3500 วัตต์ รวมถึงยังสามารถใช้งานร่วมได้ทั้งแบบหัวปลั๊กที่มี 2 ขา และ 3 ขา
4.ประเภทกรองไฟ
หากบ้านอยู่หรือที่ทำงานไหน มักจะเกิดไฟกระชากอยู่บ่อยๆ ตัวเลือกของประเภทปลั๊กพ่วงนี้ น่าจะเป็นที่สนใจ และเหมาะสม เพราะนอกจากจะมีคุณสมบัติเด่น ในเรื่องการกรองสัญญาณภาพและเสียงไม่ให้มีคลื่นรบกวนให้น่ารำคาญใจแล้วนั้น ยังช่วยป้องกันเรื่องไฟกระชากได้อีกด้วย มีช่องเสียบได้มากถึง 8 ช่อง ซึ่งถึงแม้อาจจะมีราคาสูงก็ตาม แต่ในการใช้งานจริงเรียกได้ว่าคุ้มค่าทั้งประสิทธิภาพ และระยะเวลาใช้งานก็ยาวนาน
5.ประเภทกันไฟกระชาก
ปลั๊กพ่วง หรือ Power Strip ที่เน้นในเรื่องการใช้งานในหน้าฝนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะตามต่างจังหวัด ที่มีปัญหาฟ้าผ่า, ไฟกระชาก หรือ ฝนตกหนัก, หม้อแปลงระเบิดก็ตาม การเลือกใช้ประเภทปลั๊กพ่วงแบบนี้ จะช่วยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าของเรา ที่เสียบเชื่อมต่อกับปลั๊กพ่วงนั้นยังสามารถใช้งานได้ หากเทียบกับไม่ได้ใช้ปลั๊กพ่วงรูปแบบนี้ ตัวปลั๊กพ่วงรูปแบบอื่นๆ อาจจะมีการตัดไฟที่ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้า ใช้งานไม่ได้จนกว่าจะมีการจ่ายไฟส่งมาจากหม้อแปลงหลัก
วิธีการเลือกซื้อรางปลั๊กไฟ
1.ตราสัญลักษณ์รับรองคุณภาพ
นอกจากส่วนประกอบของรางปลั๊กไฟตามที่เราได้ บอกในรายละเอียดในข้างต้นแล้วนั้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยยืนยัน และช่วยในการตรวจสอบสินค้าให้กับเราได้อีกทาง เพราะเมื่อเราได้เห็นตราสัญลักษณ์มาตรฐาน มอก. หรือ เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้วนั้น ทำให้เราได้มั่นใจและวางใจ ในสินค้าชิ้นนั้น รวมถึงตัวปลั๊กพ่วงชิ้นนั้นด้วยว่า เราจะสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
2.ม่านเปิดปิด
หากเรามองย้อนไปไม่ว่าจะเป็นรางปลั๊กแบบ 3 ตาในอดีต หรือเป็นแบบตลับหมุนเก็บสายไฟ ที่เรามักเคยใช้กันแล้ว ในแบบที่ไม่มีทั้งเบรกเกอร์ตัวตัดไฟ ไม่มีสวิตซ์เปิดปิดใดๆ ที่สามารถป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร อีกทั้งยังไม่มีการคิดค้นม่านเปิดปิดกับอุปกรณ์ชนิดนี้ในรูปแบบใหม่นี้ด้วย ซึ่งทำให้เกิดปัญหาหลากหลายที่ตามมา พร้อมกับการใช้งาน
ม่านเปิดปิดตัวเต้ารับ ไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่การป้องกันอันตรายให้กับเด็กเท่านั้น ที่มักจะเล่นกับรูเต้ารับที่ใช้เสียบปลั๊กไฟ ซึ่งในความจริงแล้วเราไม่สามารถ ที่จะตามติดป้องกันเด็กๆ ได้ตลอดเวลาอย่างแน่นอน รวมถึงปลั๊กพ่วงในปัจจุบันนี้ ก็ได้มีการผลิตรูปแบบม่านเปิดปิด ตรงช่องเสียบปลั๊กไฟกันเกือบทุกยี่ห้อ อีกทั้งยังสามารถป้องกันทั้งแมลง, สิ่งสกปรก และน้ำที่อาจจะหยดลงไปในช่องเสียบปลั๊กไฟได้
3.สวิตซ์เปิดปิด
ในรางปลั๊กไฟบางรุ่น หรือบางยี่ห้อไม่มีส่วนประกอบนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วในการพิจารณาเลือกซื้อของเรา ควรที่จะมีสวิตซ์ในการเปิดปิดตัว Power Strip หรือปลั๊กพ่วงร่วมด้วย เพราะถือว่าเป็นตัวกั้นการเกิดอันตรายของกระแสไฟฟ้าที่ไหลเวียนอยู่ทั้ง เครื่องใช้ไฟฟ้า และภายในปลั๊กพ่วงร่วมด้วย ที่สำคัญการใช้งานสวิตซ์เปิดปิดปลั๊กพ่วงนี้นั้น ไม่ควรที่จะกดปิดเพียงแค่ที่สวิตซ์ปลั๊กพ่วงเท่านั้น แต่ควรที่จะปิดที่ตัวเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อเราไม่ใช้งานแล้ว
4.เบรกเกอร์ตัวตัดไฟ
โดยส่วนใหญ่แล้วหากเรามีจุดที่ใช้พิจารณาว่า ปลั๊กพ่วงชิ้นไหนที่เป็นสินค้ามาตรฐานแล้วนั้น ต้องมีตัวเปิดปิดสวิตซ์ สิ่งที่จะตามมาด้วยคือ ปลั๊กพ่วงที่มีช่องเสียบตั้งแต่ 3 ช่องขึ้นไป อย่างเช่น ช่องเสียบ 4, 5 ช่อง และ 6 ช่อง เป็นต้น ที่ถือว่าเป็นรุ่นที่คนส่วนใหญ่นิยมซื้อกัน มีช่องเสียบรองรับหัวปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ไม่น้อยและไม่เยอะจนเกินไป ควรที่จะมีการติดตั้งตัวเบรกเกอร์ Circuit Breaker) หรือตัวตัดไฟร่วมด้วย
เพราะในความสะดวกสบายนั้น ก็ต้องตามมาด้วยความปลอดภัย และสินค้าที่เป็นปลั๊กพ่วงที่มีเบรกเกอร์ เราจะมักจะเห็นว่าส่วนใหญ่แล้วจะได้รับตราสัญลักษณ์มาตรฐาน มอก. ร่วมด้วย ซึ่งหากเปรียบเทียบเป็นภาพก็เหมือน ตัวเบรกเกอร์ที่เราต้องมีติดตั้งที่บ้าน ที่ถือว่าเป็นตัวคุมการใช้ไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้าน และเป็นตัวป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรอีกด้วย
5.มาตรฐานสายไฟ
วัสดุสายไฟ
วัสดุที่อยู่ภายในสายไฟ ที่เรียกว่าเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุด คือทองแดง ดังนั้นหากเลือกได้เราควรเลือกวัสดุด้านในสายไฟที่เป็นทองแดงมาเป็นอันดับแรก และรองลงมาคือ เงิน, ทองแดงผสม, อลูมิเนียม และเหล็ก ส่วนประกอบของรางปลั๊กไฟอย่างหนึ่ง ที่เป็นตัวกำหนดราคา นอกจากการออกแบบ
ช่องเสียบที่มาก 4 ช่อง 5 ช่อง 6 ช่อง, สายไฟที่มีความยาวหลายเมตร และฟังค์ชั่นการใช้งานเสริมใหม่ๆ แล้วนั้น วัสดุที่อยู่ภายในสายไฟของตัวปลั๊กพ่วง คือตัวที่ทั้งกำหนดราคาที่ทำให้ปลั๊กพ่วงนั้น อาจมีราคาสูงอย่างเช่น วัสดุที่เป็นทองแดง แต่แลกมาด้วยการใช้งานที่ทนทาน, ได้รับมาตรฐาน มอก. และมีการใช้งานที่คุ้มค่า
ความยาวของสายไฟ
สายไฟของรางปลั๊กไฟนั้น มีให้เลือกได้ตั้งแต่ความยาวไม่มาก จนถึงความยาว 30 เมตร ซึ่งจริงๆ แล้วทั้งความยาว และการรองรับการใช้งานของกระแสไฟฟ้า มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันอยู่
อย่างเช่นคือ หากเป็นสายไฟของปลั๊กพ่วงที่รองรับ การใช้งานไฟฟ้าได้เพียง 0.75 ตารางมิลลิเมตรเท่านั้น ก็จะมีการผลิตออกมาเพียงแค่ความยาว 5 เมตร ในทางกลับกัน หากเป็นสายไฟของปลั๊กพ่วง ที่มีการรองรับไฟฟ้าได้มากถึง 1.0 ตารางมิลลิเมตร ก็จะมีการผลิตออกมาในความยาว 30 เมตร
ความหนาสายไฟ
สายไฟของรางปลั๊กไฟที่มีความหนา มีความเกี่ยวข้องกับความยาวและการรองรับการใช้ไฟฟ้า ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะไปในแนวทางเดียวกัน อย่างเช่น สายไฟมีความหนา ก็จะมีความยาวเพิ่มขึ้นและมีการรองรับการใช้ไฟฟ้าที่มากตามไปด้วย ดังนั้นสายไฟของปลั๊กพ่วงที่ยิ่งมีความหนาเท่าไหร่ นอกจากจะมีความยาวเพิ่มตามด้วยนั้น ยังเป็นการเข้าใจกันด้วยว่า สายไฟนั้นจะมีการรองรับกระแสไฟฟ้าที่มากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น สายไฟปลั๊กพ่วงที่มีความหนาของสายไฟ 0.5 ตารางมิลลิเมตรนั้น รองรับการใช้ไฟได้ไม่เกิน 1200 วัตต์เท่านั้น แต่ในทางกลับกัน สายไฟที่มีความหนาเพิ่มขึ้นเป็น 1.0 ตารางมิลลิเมตร กลับสามารถรองรับการใช้ไฟฟ้าได้มากถึง 2200 วัตต์เลยทีเดียว
ซึ่งการดูความหนาของสายไฟปลั๊กพ่วงนั้น เป็นอีกวิธีหนึ่งในการพิจารณาทั้ง การรองรับการใช้ไฟฟ้าได้มากแค่ไหนของปลั๊กพ่วง และบอกถึงความยาวของสายไฟที่มีจำนวนเมตรมากถึง 30 เมตรอีกด้วย
เลือกรางปลั๊กไฟยังไงดี
สรุป
อุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด มีการใช้งานได้ง่ายและยืดหยุ่นมากขึ้น ด้วยข้อจำกัดของปลั๊กไฟที่ติดผนัง และไม่สามารถที่จะเคลี่อนย้ายได้นั้น ช่วยให้รางปลั๊กไฟ หรือปลั๊กพ่วง ที่มีคุณสมบัติเคลื่อนย้ายได้ง่าย
และมีเต้ารับสำหรับการเสียบปลั๊กของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้หลายชนิด ซึ่งมีหลากหลายช่องให้เลือก รวมถึงบางรุ่นมีสวิตซ์เปิดปิด และตัวเบรกเกอร์ตัดไฟ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรอีกด้วย
นักชำนาญการเทคนิคด้านคอมพิวเตอร์ ไอที การศึกษาเอกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ผู้ชำนาญการด้านความรู้เกี่ยวกับไอที และคร่ำควอดเทคโนโลยี gadget มือถือ ชื่นชอบและติดตามวงการข่าวสารไอทีประสบการณ์มากกว่า 7 ปี
รางปลั๊กไฟ Gongniu
-มีวงจรตัดไฟป้องกันการใช้ไฟเกิน มาตราฐาน มอก.
-มีช่อง USB สำหรับชาร์จมือถือและอุปกรณ์ 2.1A 2 ช่อง
รางปลั๊กไฟ Anitech
-ช่องเสียบสำหรับ USB ช่อง 5 VDC 2.4 แอมป์
-รองรับกระแสไฟได้ถึง 2,200 วัตต์ 250 โวลต์
รางปลั๊กไฟ AMC
-ขาปลั๊กมีพลาสติกหุ้มและมีขากราวที่ 3 กันไฟดูด
-สวิตช์เปิด-ปิดมาตราฐานสากล มีม่านนิรภัยป้องกันนิ้วแหย่
รางปลั๊กไฟ TOSHINO
-มีไฟแสดงสถานะการใช้งาน สวิตช์เปิด-ปิด แยกจุด
-ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี เกรด A ไม่ลามไฟ
รางปลั๊กไฟ Vox
-ระบบ Surge Protection ช่วยป้องกันไฟกระชาก
-ควบคุมการทำงานด้วยเสียงผ่าน Applications Vox inno
รางปลั๊กไฟ DATA
-ผลิตจากพลาสติกคุณภาพดี เกรด A ไม่ลามไฟ
-มีม่านนิรภัยป้องกันการสัมผัสกับวงจรไฟฟ้า
รางปลั๊กไฟ Randy
-มีระบบป้องกันความร้อนเกิน 130 องศาเซลเซียล
-สวิตช์เปิด-ปิด การใช้งานแยกจุด ประหยัดพลังงาน
รางปลั๊กไฟ Illumix
-ผลิตจากพลาสติก ABS และ PC ทนความร้อนสูง
-รางปล๊กและเต้า่รับแบบแยกวงจร ไม่ลามไฟ
รางปลั๊กไฟ PowerConneX
-มีไฟ LED แสดงสถานะการทำงาน
-ช่องเสียบปลั๊ก 6 ช่อง และช่องเสียบ USB 2 ช่อง
รางปลั๊กไฟ Haco
-ช่องเสียบปลั๊ก 4 ช่อง และช่องเสียบ USB 2 ช่อง
-วัสดุไม่ลามไฟ เต้ารับมีม่านนิรภัย ความยาวสาย 3 เมตร