นอกจากดวงตาที่ต้องดูแลและบำรุงเป็นพิเศษด้วย วิตามินบำรุงสายตา ช่วยลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อม เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ดวงตาตลอดทั้งวัน เจอแสงสีฟ้าจากหน้าจอมือถือ และคอมพิวเตอร์
รวมถึงการบำรุงใบหน้าก็สำคัญ ตัวอย่างการใช้ วิตามินซีทาหน้า , อายครีม , ครีมกันแดดหน้า , โสมเกาหลี วิตามินลดสิว , คอลลาเจน ที่มีความสำคัญต่อการบำรุงใบหน้าเป็นอย่างมาก ซึ่งใช้เวลาไม่นานในการบำรุงเพราะระหว่างการบำรุงเราสามารถเปิดเพลงฟังคลอเบา ๆ จุด เทียนหอม บน ก้านไม้หอม ส่งกลิ่นหอมของดอกไม้หอม ๆ ช่วยให้เราได้ผ่อนคลายไปในตัว
โดยเฉพาะเรื่องของการบำรุงดวงตาที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ ยิ่งเป็นพนักงานออฟฟิศนั่งหน้าคอมทั้งวัน โปรแกรมเมอร์ นักเขียน ที่ต้องเผชิญกับแสงสีฟ้าแสงจากคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ
เพื่อให้ดวงตาสามารถใช้ไปได้อย่างยาวนาน ไม่เกิดโรคต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อมก่อนวัย ซึ่งตัวการที่จะทำลายดวงตาของเราคือ แสงสีฟ้า นั่นเอง ว่าแต่แสงสีฟ้าคืออะไร ทำไมต้องดูแลดวงตาด้วยการกินวิตามินบำรุงสายตา เรามาหาคำตอบกันในบทความนี้
แสงสีฟ้า คืออะไร
แสงสีฟ้า คือแสงที่เรามองเห็นได้อยู่ทุกวัน เป็นหนึ่งในสามของแสงขาวจากแสงยูวี พลังงานสูงใกล้เคียงกับรังสีอัลตราไวโอเลต UV แสงสีฟ้าที่เป็นโทษมีความยาวคลื่นที่ 415-455 nm. ส่งผลเสียต่อจอประสาทตาได้หากรับในปริมาณที่มากเกินไป โดยอธิบายได้ดังนี้
แสงทั้งหมดมี 7 สี ได้แก่ สีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสด สีแดง และแสงสีฟ้า หรือ น้ำเงิน โดยแต่ละสีมีความยาวคลื่นและพลังงานที่แตกต่างกัน โดยแสงที่เรามองเห็นได้อยู่ที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400-700 nm. ซึ่งแสงสีฟ้าอยู่ที่ช่วง 380-480 nm.
แสงสีฟ้ามาจากไหนบ้าง
แสงสีฟ้า เป็นหนึ่งในความยาวคลื่น ประกอบกันเป็นแสงสีขาวที่เราเห็นอยู่ปกติ ซึ่งแสงที่มาจากดวงอาทิตย์ ถ้าเราเอาไปผ่านปริซึม หรือผ่านละอองน้ำในอากาศจะเห็นเป็นสีรุ้ง ซึ่งความยาวคลื่นของแสงเริ่มตั้งแต่ช่วงสีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสด สีแดง ซึ่งแสงสีฟ้าแสงจากคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์มือถือ รวมถึงแสงไฟนีออนตามบ้านเรือน
อันตรายจากแสงสีฟ้า
แสงสีฟ้าอันตรายและมีผลเสียโดยตรงกับดวงตา เพราะแสงสีฟ้าเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงสามารถทะลุผ่านเลนส์ตาและกระจกตาเข้าถึงจอประสาทตาได้ หากเรารับแสงสีฟ้าเป็นเวลานานจะส่งผลเสียดังนี้
- อาการตาแห้ง – อุปกรณ์ที่เราจ้องมองส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก ทำให้เราต้องจ้องมองมากกว่า
- อาการตาล้า – แสงสีฟ้าที่เราจ้องมองมีความสว่างมากทำให้ดวงตาต้องทำงานอย่างหนัก
- จอประสาทตาเสื่อม – เนื่องจากแสงสีฟ้าสามารถทะลุเข้าไป และทำลายเซลล์รับแสงในจอประสาทตา อาจเป็นปัจจัยสำคัญของการสูญเสียการมองเห็นได้
วิธีป้องกันแสงสีฟ้า
1.ใช้แว่นกรองแสงสีฟ้า
- เลือกใช้เลนส์กรองแสงสีฟ้า จะช่วยลดภาระการใช้ดสงตาได้เบาลง เพราะกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเพ่งมองผ่านดวงตาจะลดความตึงเครียดลง ลดอาการอักเสบ นำไปสู่ภาวะตาแดงได้ ด้วยการเลือกคุณภาพของเลนส์ตัดแสงสีฟ้าให้เหมาะสม
- เลือกร้านตัดแว่นที่มีแบบผลสเปกตรัม สำหรับป้องกันแสงสีฟ้า โดยวิธีทดสอบแว่นกรองแสงสีฟ้า เลนส์ควรมีคุณสมบัติป้องกันแสงสีฟ้าได้ถึง 10-65%
- การทดสอบเม็ดสีของเลนส์ โดยการสวมแว่นไปทางวัตถุที่สง่างและขาว หากเลนส์สามารถกรองแสงสีฟ้าได้ ลักษณะสีของเลนส์กรองแสงจะเปลี่ยนเป็นเนื้อผิวสีโทน
สามารถดูประสิทธิภาพการเลนส์ สามารถสะทอ้นแสงสีฟ้าได้เต็มที่ หากเลนส์ไม่สามารถสะท้อนแสงสีฟ้าได้ แสดงว่าเลนส์คู่นั้นไม่มีประสิทธิภาพในการต้านทานคลื่นแสงสีฟ้าได้
2.ใช้หลักการพักสายตา 20-20-20
กฏ 20-20-20 เป็นกฎการถนอมสายตา เพื่อให้ดวงตาได้พักจากการได้รับแสงสีฟ้าจากหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือ การทำกิจกรรมที่ใช้สายตามากเกินไป วิธีการคือ หลับตา หรือ มองออกไปยังต้นไม้ บริเวณสีเขียว ๆ ประมาณ 20 วินาที ระยะอย่างน้อย 20 ฟุต ทุก ๆ 20 นาที จะช่วยให้ดวงตาได้พักผ่อนได้ในระยะหนึ่ง
3.ใช้ฟิล์มกรองแสงที่หน้าจอ
ติดฟิล์มกรองแสงบริเวณหน้าจอคอมพิวเตอร์ จะช่วยป้องกันแสงสีฟ้าที่มีคลื่นรังสียูวีพลังงานสูงต่อดวงตา ฟิล์มกรองแสงสีฟ้าสามารถช่วยลดภาระการปรับตัวโฟกัสสายตา ช่วยลดอาการตาล้า สายตามัว ตาเบลอ จากการจ้องจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ
4.ปรับความสว่างแสงหนาจอ
ปรับระดับแสงจากหน้าจอเป็นสีแนวโทน Warm Light ให้สอดคล้องกับแสงสว่างในห้อง หากทำงานกลางคืน ควรเปิดโคมไฟแสงสีขาวคู่กับหน้าจอคอมด้วย
5.ใช้น้ำตาเทียม
น้ำตาเทียม เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำตาธรรมชาติ ทำหน้าที่ในการหล่อลื่นและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดวงตา บรรเทาอาการตาล้า ตาแห้ง จากการปะทะแสงสีฟ้าในจอคอม ให้หายอาการตาล้าได้
6.ตรวจสุขภาพดวงตา
ใครที่ต้องใช้สายตาเป็นเวลานาน ๆ เช่นพนักงานออฟฟิศ โปรแกรมเมอร์ นักเขียน อาจเกิดภาวะอาการตาล้าสะสมจากการจดจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานมากเกินไป หรือ บุคคลที่สายตาสั้นอยู่แล้ว หรือ คนที่อายุ 40 ปีขึ้นไปที่เริ่มมีอาการสายตายาว บุคคลเหล่านี้ควรไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดูสภาพการทำงานของดวงตาอย่างสม่ำเสมอ เช่นสวมแว่นจาที่มีเลนส์กรองแสงสีฟ้า การกินวิตามินบำรุงสายตา เป็นต้น
ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับแสงสีฟ้า
1.แสงสีฟ้ามีอยู่ทั่วทุกที่
การอยู่กลางแจ้งในช่วงกลางวันเป็นสาเหตุที่คนส่วนใหญ่ได้รับแสงมากที่สุด เพราะแสงแดดเป็นแหล่งกำเนิดหลักของแสงสีฟ้า รวมถึงแหล่งกำเนิดแสงสีฟ้าในร่ม เช่นหลอดฟลูออเรสเซนต์ ไฟ LED โทรทัศน์จอแบน
โดยเฉพาะแสงจากคอมพิวเตอร์ หรือ หน้าจอแสดงผลของคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน อุปกรณ์ดิจิทัล จะปล่อยแสงสีฟ้าจำนวนมาก ปริมาณแสง HEV ที่ปล่อยออกมาเป็นเพียงเศษเสี้ยวของแสงที่ดวงอาทิตย์ปล่อยออกมา
2.แสง HEV ทำให้ท้องฟ้าเป็นสีฟ้า
รังสีแสงพลังงานสูง ความยาวคลื่นสั้นที่ปลายสีฟ้าของสเปกตรัม แสงที่มองเห็นจะกระจายได้ง่ายกว่ารังสีแสงอื่น ๆ ที่มองเห็นได้ เมื่อกระทบกับโมเลกุลของอากาศและน้ำในชั้นบรรยากาศ การกระจายที่สูงของรังสีคือสิ่งที่ทำให้ท้องฟ้าไร้เมฆดูเป็นสีฟ้า
3.แสงสีฟ้าอาจทำให้เกิดโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม
แสงสีฟ้าที่ส่องตรงไปในจอตาเป็นสิ่งสำคัญ แสดงให้เห็นว่าการได้รับแสงสีฟ้ามากเกินไป สามารถทำลายเซลล์ที่ไวต่อแสงในจอตาได้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายกับจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
4.การป้องกันแสงสีฟ้าสำคัญมากหลังการผ่าตัดต้อกระจก
ผู้ใหญ่จะมีเลนส์ในดวงตาที่ป้องกันรังสียูวีจากดวงอาทิตย์ได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะเลนส์ธรรมชาติของดวงตาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการชราภาพตามปกติ โดยในที่สุดเลนส์ธรรมชาติของดวงตาจะปิดกั้นแสงสีฟ้าความยาวคลื่นสันบางส่วน แสงสีฟ้านี้มักก่อให้เกิดความเสียหายต่อจอประสาทตา และนำไปสู่โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมได้
5.ตาจะกั้นแสงสีฟ้าได้ไม่ดี
โครงสร้างของดวงตาในผู้ใหญ่จะมีประสิทธิภาพมากในการปิดกั้นรังสียูวีไม่ให้ไปถึงจอตาที่ไวต่อแสงที่ด้านหลังของลูกตา เพราะความจริงแล้วรังสียูวีจากดวงอาทิตย์จะน้อยกว่า 1เปอร์เซ็นต์ที่จะมาถึงจอตาคุณ อย่างไรก็ตามแว่นตากันแดงที่ป้องกันรังสียูวีได้ 100 เปอร์เซ็นต์เป็นตัวช่วยสำคัญในการปกป้องสิ่งเหล่านี้ ก่อนที่ดวงตาจะเสียหายไปมากกว่านี้
6.การเมื่อยล้าทางสายตาจากอุปกรณ์ดิจิตอล
เมื่อความยาวคลื่นสั้น แสงสีฟ้าจะกระจายได้ง่ายกว่าแสงสีอื่น ๆ ดังนั้นจึงไม่ง่ายที่จะปรับความคมชัด เมื่อมองไปที่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดิจิทัลที่ปล่อยแสงสีฟ้าจำนวนมาก การมองเห็นซึ่งทำให้ปรับความคมชัดไม่ได้จะไปลดคอนทราสต์และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดความเมื่อล้าทางสายตาจากอุปกรณ์ดิจิตอลได้
7.แสงสีฟ้าก็มีข้อดี
มีหลักฐานบันทึกไว้ว่าการสัมผัสแสงสีฟ้าบ้าง เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการมีสุชภาพที่ดี แสงพลังงานสูงที่มองเห็นได้จะช่วยเพิ่มความตื่นตัว เรื่องความจำ และความเข้าใจทำให้อารมณ์ดีขึ้น
แสงสีฟ้าก่อให้เกิดภาวะโรคใดบ้าง
แสงสีฟ้ามีความอันตรายต่อดวงตาหากจ้องหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ อาจก่อให้เกิดภาวะ 3 ปัจจัยหลักได้แก่
1.อาการตาล้า ตาแห้ง
เกิดจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์ที่มีรังสียูวี คลื่นแสงสีฟ้าที่มีความเข้มข้นสูงเป็นเวลานาน สร้างผลข้างเคียงให้เกิดการตาแดงร่วม หากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่ภาวะผิวกระจกตาอักเสบพร้อมกับรอยแผลบนกระจกตาได้ รวมถึงพื้นผิวกระจกตามีความขรุขระ ส่งผลให้เกิดความระคายเคืองแก่ดวงตา ทำให้ผู้ป่วยมีความลำบากในการมองเห็น
2.โรคจอประสาทตาเสื่อม
เกิดจากภาวะจอตามบวมและจุดภาพชัด รับคลื่นพลังงานแสงสีฟ้าจากหน้าจอ โดยไม่ได้ใช้แว่นกรองสีฟ้าถนอมดวงตา จึงทำให้เกิดการเสื่อมสภาพในส่วนการรับส่งสัญญาณการมองเห็นไปยังส่วนเส้นประสาทตา เกิดอาการตามัว การมองเห็นเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ เห็นภาพสีเพี้ยน มองไม่ชัด ตาไม่สู้แสง หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
3.ผลกระทบต่อการนอนหลับ
การได้รับคลื่นพลังงานแสงสีฟ้ามากไป จะมีผลต่อนาฬิกาชีวิตของระบบทำงานภายในร่างกายแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไป โดยแสงสีฟ้าจากหน้าจอคอมจะทำให้ต่อมไพเนียลที่สร้างฮอร์โมนเมลาโทนินจากสมองน้อยลง สร้างผลกระทบต่อผู้ป่วยให้นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิทนั่นเอง
คำแนะนำในการดูแลดวงตา
1.ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับดวงตา เช่น ห้องที่เรานั่งอยู่ไม่ควรจะสว่างหรือมืดจนเกินไป เช่น การปิดไฟเล่นโทรศัพท์มือถือ อันนี้อันตรายต่อดวงตามากกว่าการเล่นในห้องที่เปิดไฟ เพราะช่วงที่ห้องมืด ม่านตาเราจะขยาย ทำให้แสงเข้าสู่ดวงตามากเกินความจำเป็น
2.ไม่ควรนั่งใช้สายตาในพื้นที่ลมพัดแรง ลมแอร์เป่า เพราะจะทำให้เกิดอาการตาแห้ง เกิดอาการล้าและเมื่อยดวงตาได้
3.ใช้กฏพักสายตา 20-20-20 ในระหว่างใช้คอมพิวเตอร์และเล่นโทรศัพท์มือถือ หมายความว่าทุก 20 นาทีของการใช้สายตามองใกล้ ต้องหยุดพักสายตา 20 วินาที โดยการหยุดพักด้วยการมองออกไปไกล ๆ มองต้นไม้ สีเขียว อย่างน้อย 20 ฟุต จะช่วยลดการเพ่งของดวงตาได้เช่นกัน
4.ตรวจสุขภาพดวงตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ยิ่งคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไปเป็นช่วงที่มีความเสื่อมของร่างกาย เสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจก ต้อหิน เป็นอย่างมาก รวมถึงจอประสาทตาเสื่อมตามกาลเวลา หรือในคนที่มีกรรมพันธุ์เกี่ยวกับโรคทางดวงตา คนที่ป่วยเป็นเบาหวาน หรือทานยาที่มีผลข้างเคียงต่อดวงตา
วิตามินบำรุงสายตา คืออะไร
คือวิตามินที่ช่วยบำรุงสายตา โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่าง
ลูทีน และ ซีแซนทีน ที่พบในจุดรับภาพที่จอประสาทตา เลนส์ตา ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเกิดต้อกระจก โรคจอประสาทตาเสื่อมได้
สังกะสี ที่ลดความเสี่ยงของการเสื่อมสภาพของเม็ดสี ปกป้องจอประสาทตา
วิตามินซี ในการป้องกันโรคต้อหิน
วิตามินอี ในการต้านอนุมูลอิสระและชลอการเกิดต้อกระจก
ทองแดงในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอมไซม์ต้านอนุมูลอิสระในดวงตา
โอเมก้า 3 ที่ช่วยบรรเทาอาการตาแห้ง โดยจะทำให้ต่อมไขมันบริเวณเปลือกตาทำงานได้ดีขึ้น ต่อมชนิดนี้มีหน้าที่การผลิตไขมันมาเพื่อเคลือบชั้นของน้ำตาไว้ ป้องกันไม่ให้น้ำตาระเหยเร็วเกินไป เหมาะกับคนที่ต้องทำงานหน้าจอคอมตลอดเวลา
วิตามินที่ช่วยบำรุงสายตามีอะไรบ้าง
1.วิตามินซี
มีการวิจัยพบว่า การทาน วิตามินซี วันละ 490 มิลลิกรัมขึ้นไป จะช่วยชะลอความเสื่อมจากโรคต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อมได้ ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อกระจกได้ถึง 45%
2.วิตามินเอ
แหล่งอาหารที่มีวิตามินเอค่อนข้างสูง ได้แก่ผักใบเขียว ชะอม คะน้า ตำลึง ผักโขม ผักบุ้ง จะช่วยบำรุงสายตาในการทำงานของจอประสาทที่มีบทบาทสำคัญด้านการมองในที่มือ
3.วิตามินบี 2
ปกติคนเราควรได้รับวิตามินบีรวม ปริมาณ 1.1-1.3 มิลลิกรัม เป็นขนาดที่แนะนำให้กินต่อวัน ช่วยบำรุงสายตา เยื่อเมือกตาและม่านตา หากได้รับไม่เพียงพออาจเสี่ยงอาการตาไวต่อแสงได้
4.วิตามินอี
วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีในเซลล์รับแสงที่จอประสาทตา ช่วยปกป้องดวงตาจากแสงแดด ช่วยลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจก ร่างกายควรได้รับไม่ควรเกิน 1000 ไมโครกรัมต่อวัน สามารถพบได้ในข้าวกล้อง งา ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต
5.ลูทีน ซีแซนทีน
ลูทีน มีความสำคัญต่อดวงตามาก เพราะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ทำหน้าที่ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาท โรคจอประสาทตาเสื่อม ชะลอการเกิดต้อกระจก เราสามารถหาลูทีนและซิแซนทีนได้จากผัก ผลไม้ ที่มีสีเขียวเข้ม และสีเหลือง เช่นผักคะน้า ปวยเล้ง ผักโขม ข้าวโพด
6.เบต้าแคโรทีน
เบต้าแคโรทีนช่วยในการมองเห็นในที่มือ ลดความเสื่อมของเซลล์ลูกตา ลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก โดยเราสามารถรับเบต้าแคโรทีนได้จากฟักทอง แครอต มะละกอ หน่อไม้ฝรั่ง ผักบุ้ง ตำลึง แตงโม
7.สังกะสี
สารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา ให้เกิดความเสื่อมช้าลง แหล่งที่พบสังกะสีได้แก่ อาหารทะเล หอยนางรม หอยแมลงภู่ เนื้อสัตว์อย่างตับ และ ธัญพืช ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต
8.ซิลิเนียม
ซิลิเนียมมีส่วนช่วยชะลอการเกิดต้อกระจก มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ พบได้ในหอยนางรม หอยลาย ตับไก่ เมล็ดทานตะวัน
9.โอเมก้า 3
โอเมก้า 3 มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะตาแห้ง ช่วยให้คุณภาพของน้ำตาดีขึ้น บำรุงประสาทตา เราพบโอเมก้า 3 ได้ในปลาทะเล ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลากะพง ปลาซาร์ดีน และในผลไม้อย่าง กีวี เป็นต้น
วิธีเลือกซื้อวิตามินบำรุงสายตา
1.เลือกวิตามินบำรุงสายตาให้ตรงกับปัญหาสายตา
เช่น หากเราตาสู้แสงไม่ได้ แสบตาบ่อย ตาแห้ง ตาล้า ก็เลือกวิตามินที่มีสรรพคุณเด่นในด้านนี้ ที่ระบุไว้เป็นสรรพคุณของวิตามินเสริมที่เรากำลังจะซื้อ
2.เลือกวิตามินบำรุงสายตาที่ร่างกายต้องการ
คนที่ไม่ค่อยรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ ปลาทะเล ผักใบเขียว กินเจ มังสวิรัติ ให้เลือกกินวิตามินบี 2 เสริมเข้าไป สามารถซื้อลูทีน ซีแซนทีนมาเสริมได้
3.อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ให้ละเอียดก่อนซื้อ
ดูข้างฉลากว่ามีวิตามินอะไรเป็นส่วนผสมบ้าง มีปริมาณสารอาหารแต่ละชนิดจำนวนเท่าไร ผ่านมาตรฐาน อย. หรือไม่ รวมถึงดูวันหมดอายุด้วย
วิตามินบำรุงสายตากินตอนไหน
อาหารเสริมลูทีน ช่วยบำรุงดวงตาและป้องกันโรคตาบางประเภทได้ เช่น โรคต้อหิน โรคต้อกระจก โรคจอประสาทตาเสื่อม รวมถึงช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงหัวใจ รวมถึงช่วยด้านความจำป้องกันโรคอัลไซเมอร์ เราแนะนำให้กินวิตามินบำรุงสายตาลูกทีนในช่วงเวลาก่อนนอนจะดีที่สุด
สรุป
เมื่อทราบกันดีแล้วว่า ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษตลอดเวลา ใครที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำงานกับแสงสีฟ้าบ่อย ๆ เล่นโทรศัพท์มือถือในที่มืดบ่อย ๆ สมควรได้รับการดูแลดวงตาด้วยการกินวิตามินบำรุงสายตาเสริมเข้าไป
นอกจากการกินอาหารและผลไม้ที่มีส่วนผสมของลูทีส ซีแซนทีน โอเมก้า 3 เพราะดวงตามีคู่เดียว หากไม่ดูแลให้ดีอาจนำไปสู่ภาวะโรคจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อหิน โรคต้อกระจกได้ ซึ่งหากร้ายไปกว่านั้นอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นไปตลอดชีวิตเลย
อ้างอิง
Nutrition and the eye : NHS Tayside
The 9 Most Important Vitamins for Eye Health : healthline
เจ้าของร้านขายยาโดยเภสัชกรชั้นนำหลายสาขา ขายดีจ่ายยาแล้วคนไข้หายจนเป็นที่ยอมรับ การศึกษาปริญญาตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทจากประเทศออสเตรเลีย มีความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับ สุขภาพ อาหารเสริม ตลอดจนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 10 ปี
วิตามินบำรุงสายตา Blackmores
-ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อและจอประสาทตาเสื่อม
-เหมาะสำหรับผู้ที่สัมผัสแสงแดด แสงไฟ หรือแสงหน้าจอคอม
วิตามินบำรุงสายตา Dary Vit
-ช่วยลดรอยจุดด่างดำ และเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก
-ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดริ้วรอย บรรจุ 30 แคปซูล
วิตามินบำรุงสายตา Clover Plus
-มีสารสกัดจากมะเขือเทศ เมล็ดองุ่น วิตามินเอ และวิตามินบี2
-เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ดวงตาตลอดทั้งวัน เจอแสงไฟและแสงสีฟ้า
วิตามินบำรุงสายตา LUTEINA
-ช่วยบำรุงสายตา และลดปัญหาต้อกระจก
-บรรจุ 60 แคปซูล / กระปุก ทานง่าย
วิตามินบำรุงสายตา Puritan Pride
-ช่วยป้องกันผิวจากแสงแดดและปรับสภาพผิวให้เรียบเนียน
-สามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย
วิตามินบำรุงสายตา Giffarine
-ช่วยบำรุงจอประสาทตา และต่อต้านอนุมูลอิสระ
-ช่วยป้องกันแสงสีฟ้าจากมือถือหรือหน้าจอคอมพิวเตอร์
วิตามินบำรุงสายตา Herbitia
-ช่วยฟื้นฟูบำรุงสายตาแบบเร่งด่วนและบำรุงดวงตาเป็นพิเศษ
-เหมาะกับผู้ที่อยู่หน้าจอนานกว่า 6 ชั่วโมง และอาการตาพร่ามัว
วิตามินบำรุงสายตา Nola Superfoods
-มีสารสกัดจากวิตามินอีช่วยป้องกันดวงตาจากอนุมูลอิสระ
-สารสกัดจากเดลฟินิดินลดความเสี่ยงของการเกิดอาการตาแห้ง
วิตามินบำรุงสายตา TAAP
-บรรจุ 30 แคปซูล / กล่อง ช่วยลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา
-เหมาะกับผู้ที่มีอาการของวุ้นในตาเสื่อมและมีปัญหาสายตาอื่นๆ
วิตามินบำรุงสายตา GNC
-ช่วยบำรุงสายตา ลดการเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย
-ช่วยป้องกันเลนส์ตาและการมองเห็นในความมืดให้ดีขึ้น