ชาซีลอน คืออะไร
คือ เครื่องดื่มชาชนิดหนึ่ง หรือที่เรียกว่า Ceylon Tea มีรสชาติและความหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ชาซีลอนจะมีสีใบชาเป็นสีน้ำตาลเข้มไปทางดำ ซึ่งทำให้น้ำชาที่ได้หลังการชงจะมีสีออกทางน้ำตาลเข้มค่อนไปทางสีดำ ดังนั้นอีกชื่อที่บางคนมักจะเรียกชาชนิดนี้ก็คือ ชาดำ หรือ Black Tea นั่นเอง
ชาชนิดนี้มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก สำหรับแหล่งเพาะปลูกใบชาที่เป็นต้นกำเนิดจากประเทศศรีลังกา และถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศศรีลังการ่วมด้วย อีกทางหนึ่งหากเป็นทางประเทศอินเดีย ในรูปแบบใบชาเดียวกันนี้ แต่มักจะเรียกกันว่า ชาอัสสัม หรือAssum Tea มากกว่า ชา Ceylon นี้ โดยหากมาจากประเทศศรีลังการ ถือว่าเป็นชาชั้นดี และมีกลิ่นที่หอมโดดเด่น รวมถึงสามารถนำไปชงเป็นเครื่องดื่มร้อนและเย็นได้อย่างอร่อย
ประวัติของชาซีลอน
เราต่างรู้ว่าชา Ceylon ที่มีชื่อเสียง, เป็นที่นิยม และเป็นที่ยอมรับในเรื่องของกลิ่นหอม รวมถึงรสชาติที่อร่อยกลมกล่อมนี้ ต้องมาจากประเทศศรีลังกา แต่จุดเริ่มต้นในการกำเนิดของชาชนิดนี้นั้น เริ่มต้นมาจากเมื่อศรีลังกา ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ และเมื่ออังกฤษเข้ามาปกครอง และเข้ามาดูแลในเรื่องเศรษฐกิจของประเทศศรีลังกา
สิ่งหนึ่งที่ประเทศอังกฤษพยายามผลักดันให้ประเทศศรีลังกา มีจุดเด่นในการส่งออกผลิตภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะเป็นชื่อเสียง และสามารถเป็นรายได้หลักให้กับประเทศ โดยเฉพาะการเน้นในการทำการค้าในรูปแบบของอุตสาหกรรม คือมีการส่งออกร่วมด้วย ในช่วงนั้นการเรียกชื่อประเทศศรีลังกา สามารถเรียกได้อีกชื่อคือ เกาะซีลอน
เมื่ออังกฤษเริ่มเห็นการริเริ่มเพาะปลูกต้นกาแฟ ของชาวศรีลังกาไปได้ดี ก็มีการปูทางทั้งในเรื่องการสาธารณูปโภค, การสร้างทางรถไฟ, การขนส่งทางเรือ รวมถึงตัวกลางในการติดต่อซื้อขายกับประเทศต่างๆ เพื่อที่จะเมื่อมีการแปรรูปกาแฟในรูปอุตสาหกรรมแล้วนั้น ก็จะสามารถส่งออกกาแฟ ไปยังอีกหลายประเทศ และเป็นรายได้เข้ามาใช้จ่ายในการทางทหารต่อไป
จนถึงเมื่อปี คศ.1870 ก็ถือได้ว่าเป็นปีแห่งความสำเร็จสูงสุด ของการค้าขายส่งออกกาแฟ สำหรับคนศรีลังกา หรือคนเกาะซีลอน แต่ไม่มีใครคาดคิดว่าหลังจากนั้น จะมีการเกิดโรคระบาดกับต้นกาแฟขึ้น หรือที่เรียกว่าCoffee Rust ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นทั้งการทำลายทั้งเศรษฐกิจของประเทศศรีลังกา และตัดรายได้ของคนศรีลังกาจนหมด
ซึ่งหลังจากที่ได้มีการเกิดโรคระบาด Coffee Rust ขึ้นก็ได้มีการค้นพบว่า มีผู้ที่ปลูกต้นชาซีลอน และส่งออกเพื่อไปขายยังประเทศอังกฤษได้ ทำให้ถือเป็นการริเริ่มแนวทางใหม่ ให้กับคนศรีลังกา ที่จะหันมาปลูกต้นชาซีลอน และทำการส่งออกเหมือนในสมัยที่ปลูกต้นกาแฟ และได้รับความสนใจจากหลากหลายประเทศ จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจให้กับ ประเทศศรีลังกามาถึงทุกวันนี้
ประโยชน์ของชาซีลอน
นอกจากที่เราจะได้เห็นความหลากหลายชนิดของชา ไม่ว่าจะเป็นชาเขียว, ชาอู่หลง หรือกลุ่มชาดำ อย่างชา Ceylon ที่ถือว่าเป็นเครื่องดื่มสามารถนำมาชงได้ ทั้งในรูปแบบร้อนและเย็น แต่สำหรับชาซีลอน ที่เรามองเห็นว่ามีกลิ่นหอม และรสชาติที่อร่อยแบบกลมกล่อม จนทำให้ใครหลายคนติดใจ และปรับเป็นเครื่องดื่มแบบใส่นม หรือไม่ใส่นมได้ตามความต้องการ
ซึ่งเครื่องดื่มที่เป็นชานี้ ถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่เราสามารถชงดื่มได้ทั้งเวลาเช้า และช่วงบ่ายๆ ของวัน หรือเรียกว่า เป็นช่วงAfternoon Tea ร่วมกับขนมปังกรอบ หรือขนมกินเล่นเล็กๆ น้อยๆ นอกจากเครื่องดื่มกาแฟ, อุปกรณ์ในการชงกาแฟ และของกินเล่นอื่นๆ สำหรับเครื่องดื่มในตอนเช้า อย่างเช่น น้ำผึ้งแท้ , เครื่องบดกาแฟ , เครื่องชงกาแฟสด , กาดริปกาแฟ , กาแฟกระป๋อง , กาแฟขี้ชะมด , กาแฟสำเร็จรูป , กาแฟอาราบิก้า , ผงชาไทย , ขนมปังปี๊บ
ดูแลการทำงานหัวใจ
ด้วยส่วนประกอบของตัวชา Ceylon นี้มีแร่ธาตุโพแทสเซียมที่ป้องกันการอุดตันของเส้นเลือด และหลอดเลือดแดง สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดอุดตัน และเส้นเลือดตีบที่จะทำให้เกิดเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
ดูแลการทำงานสมอง
นอกจากรสชาติของชาซีลอน ที่มีรสชาติกลมกล่อม และความหอมอร่อยที่ควบคู่กันแล้วนั้น อีกหนึ่งคุณสมบัติด้านดีที่หลายคนให้ความสำคัญก็คือ ช่วยในการทำงานของสมอง ในด้านกระตุ้นให้เกิดความสดชื่น ด้วยส่วนประกอบที่มีคาเฟอีน แต่มีเปอร์เซ็นต์ที่น้อยกว่ากาแฟ ทำให้ผู้ที่แพ้คาเฟอีนในปริมาณมากๆ อย่างเช่น การดื่มกาแฟ ก็สามารถที่จะมีตัวเลือกอย่าง ชาชนิดนี้ได้ อีกทั้งยังสามารถชงดื่มได้ทั้งในแบบไม่ใส่นม หรือใส่นมก็จะได้ความละมุนมากขึ้น
รวมถึงการดื่มชา Ceylon ทั้งในรูปแบบเย็น หรือเครื่องดื่มร้อนนั้น ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ในอนาคต, ดูแลความผิดปกติของระบบประสาท ที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงอายุที่มากขึ้น ดังนั้นเพียงแค่ในเรื่องสุขภาพ ของระบบประสาทและสมองนั้น ถือว่าชาชนิดนี้มีประโยชน์เยอะ ทั้งในเรื่องรสชาติที่ชงดื่มง่าย และยังช่วยดูแลการทำงานของระบบประสาทร่วมด้วย
ควบคุมน้ำหนัก
ประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม สำหรับสาวๆ ที่นิยมในการดื่มชาชนิดนี้นั้น ก็คือการช่วยกระตุ้นการทำงานในระบบเผาผลาญของร่างกาย หรือสามารถที่จะขจัดไขมันส่วนเกินที่สะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ รวมถึงยังช่วยในการลดน้ำหนัก อันเนื่องมาจากการเผาผลาญไขมันที่มีอยู่ในร่างกาย และไขมันที่กินเพิ่มเข้าไป
ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
ภายในชาชนิดนี้จะมีสารตัวหนึ่งที่ชื่อโพลีฟีนอล ที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ หรือ Antioxidant รวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ที่จะปกป้องและขจัดสารอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็ง ออกจากร่างกายร่วมด้วย
คลายเครียดและลดความกังวล
เราจะเห็นได้ว่าช่วงเวลาที่นิยมในการดื่มชา นอกจากช่วงเช้าแล้ว ยังเป็นช่วงเวลาบ่ายๆ หรือระหว่างวัน ที่เราเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานหนักมาช่วงครึ่งวันแรกแล้ว การได้นั่งพักจิบชาร้อนๆ หรือชา Ceylon ในรูปแบบเย็นนี้ ก็ถือว่าเป็นช่วงเวลา ที่ช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลายความเครียด และได้พักผ่อนไปกับการดื่มด่ำรสชาติของชาชนิดนี้ ที่มีความหอมโดดเด่น รวมถึงคุณประโยชน์เยอะทั้งทางร่างกาย และอารมณ์
ช่วยลดน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้น ชาชนิดนี้จะเข้าไปช่วยลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด อีกทั้งยังควบคุมระดับอินซูลินในร่างกายให้เกิดความสมดุล แต่ที่สำคัญคือ ต้องเป็นการชงชา Ceylon ในรูปแบบไม่เติมความหวานใดๆ ที่ดีที่สุดคือ ควรที่จะชงดื่มเป็นเครื่องดื่มร้อน ที่จะช่วยปรับอุณหภูมิภายในร่างกายให้สมดุลร่วมด้วย
รสชาติชาซีลอน เป็นอย่างไร
รสชาติที่มีเอกลักษณ์ในรูปแบบเครื่องดื่มร้อนก็คือ จะมีกลิ่นหอมที่บางเบา และมีความละมุนในรสชาติ ไม่มีรสชาติออกขมเหมือนชาเขียว ที่ไม่ผ่านการหมักบ่ม หรือชาอู่หลง ที่ผ่านการหมักบ่มอย่างไม่สมบูรณ์ ทำให้หลงเหลือรสชาติความฝาด และความขมอยู่ เหมาะกับผู้ที่แพ้กาแฟ หรือผู้ที่ไม่สามารถดื่มชาที่มีรสชาติขมมากๆ
โดยเฉพาะหากเป็นการดื่มในรูปแบบผสมนม ทั้งร้อนและเย็น จะช่วยให้ผู้ดื่มได้รสสัมผัส และความหอมของ ชา Ceylon ชนิดนี้เด่นชัดมากขึ้น เป็นความหอมอ่อนๆ แต่มีลักษณะเฉพาะของตัวใบชาชนิดนี้ โดยที่ไม่ว่าจะชงดื่มในรูปแบบร้อนหรือเย็น ก็สามารถดื่มได้ง่าย และเหมาะกับการดื่มเพื่อผ่อนคลายความเครียดร่วมด้วย
ชาซีลอน กับ ชาไทย
ใบชา
ชาซีลอน
หากเป็นใบชาของชาชนิดนี้ จะเป็นสีน้ำตาลเข้มค่อนไปทางดำ เพราะถือว่าเป็นชาขนิดที่ผ่านการหมักบ่มอย่างสมบูรณ์แบบ ที่นอกจากขั้นตอนแรกในการนวดใบชา ที่เก็บมาเฉพาะยอดใบอ่อน 1-2 ใบส่วนยอดแล้วนั้น การนำมานวดเพื่อให้ใบชามีความนุ่ม และยืดหยุ่นได้ดี จากนั้นจึงนำใบชาชนิดนี้ ไปหมักบ่มเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ให้มีกลิ่นและรสชาติที่ชัดเจนมากขึ้น
อีกทั้งกระบวนการหมักบ่มนี้ ยังช่วยให้ชาดำชนิดนี้ ปล่อยกลิ่น, สี และรสชาติได้ชัดเจนมากขึ้น คือช่วยให้ชาชนิดนี้ มีความหอม และรสชาติอร่อยในแบบกลมกล่อมที่แตกต่างไปจากชาอื่นๆ จากนั้นจึงนำใบชาไปอบแห้งด้วยเครื่องอบแบบหมุน เมื่อใบชาแห้งจะให้สีน้ำตาลเข้มไปทางสีดำ แล้วจึงนำมาบดให้พร้อมใช้ในการชงดื่มได้อย่างสะดวกและง่ายดายต่อไป
ดังนั้นความแตกต่างของใบชาซีลอน ที่จะเป็นการบดละเอียด เพื่อช่วยให้กลิ่น, รส และสีของใบชาที่ได้จากขั้นตอนการหมักบ่มนั้น สามารถออกมาได้ง่ายมากขึ้นในขั้นตอนการชง ไม่ว่าจะเป็นการชงผ่านการแช่ในน้ำร้อน หรือการชงผ่านเครื่องแรงดันไอน้ำ คล้ายกับการชงกาแฟสดนั่นเอง
ชาไทย
ใบชาไทยเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ ชา Ceylon นั้นจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ทั้สีของใบชา และความละเอียดก็คือ หากเป็นชาไทย จะมีใบชาที่มีการบดในลักษณะที่หยาบกว่ามากหากเทียบกับใบชาชนิดแรก อีกทั้งสีของใบชาไทย จะเป็นสีน้ำตาลออกไปทางแดง ซึ่งถามว่า สามารถชงในรูปแบบเดียวกันได้หรือไม่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นใบชาไทย หรือใบชา Ceylon นั้นสามารถชงได้ทั้งแบบแช่น้ำร้อน และนำมากรองเอากากใบชาออก
รวมถึงสามารถชงได้แบบเครื่องอัดแรงดันไอน้ำได้ไม่ต่างกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ กลิ่น, สี และความหอม ที่จะได้แตกต่างกัน นั่นคือ หากเป็นชา Ceylon ด้วยผงใบชาที่บดละเอียด จะทำให้ได้ความหอมที่มากและชัดเจนกว่า รวมถึงรสชาติความอร่อยกลมกล่อม ใบชา Ceylon ก็จะมีความละมุนในแบบเฉพาะมากกว่า
สีน้ำชา
การชงชานั้นซึ่งไม่ว่าจะเป็นชาชนิดใดก็ตาม การใช้น้ำร้อนเดือดจัดเท่านั้นในการชง เพื่อที่จะเป็นการปลุกใบชา และกระตุ้นดึงทั้งกลิ่น, สี และรสชาติของใบชาชนิดนั้นออกมาได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด โดยเฉพาะกับใบชาที่ผ่านบ่มอย่างสมบูรณ์แบบอย่างกลุ่มชาดำ (Black Tea) และชา Ceylon ที่อยู่ในกลุ่มชาดำนี้ด้วย
ดังนั้นในการชงชา เราสามารถเลือกได้ว่า จะใช้เครื่องชงที่ทำงานในรูปแบบแรงดันไอน้ำ เข้าไปในตัวใบชาเอง หรือการชงแบบเรียบง่าย ด้วยการต้มน้ำร้อนให้เดือดแล้วเทบนใบชา รอให้ใบชาแช่น้ำร้อน เพื่อที่จะให้อุณหภูมิจากน้ำร้อน ปล่อยกลิ่นหอม, รสชาติกลมกล่อมในแบบฉบับของชาแต่ละชนิดออกมา
ชาซีลอน
ด้วยสีของใบชาที่ได้จากการหมักบ่มแล้ว จะเป็นสีน้ำตาลเข้มที่ค่อนไปทางดำ จึงเป็นที่มาของชาดำ หรือ Black Tea ทำให้ในการชงชาด้วยน้ำร้อน ไม่ว่าจะเป็นการชงในรูปแบบแช่ในน้ำร้อน แล้วกรองภายหลัง หรือการชงแบบอัดแรงดันไอน้ำ สีน้ำชาที่ได้ออกมาจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ออกไปทางสีดำเหมือนสีใบชาก่อนที่จะชง
ซึ่งเป็นลักษณะสีน้ำชา ในแบบเครื่องดื่มที่ไม่ใส่นม การดื่มชาในรูปแบบนี้ นิยมดื่มเป็น Afternoon Tea ที่เข้ากันเป็นอย่างดีกับคุ้กกี้, ครัวซองต์, สโคน หรือมาการอง เป็นต้น รวมถึงเป็นการดื่มชาที่เน้นเรื่องการดูแลสุขภาพ และให้ประโยชน์เยอะมาก สำหรับในทางสุขภาพที่ได้กล่าวไว้แล้วในข้างต้น
สำหรับผู้ที่ต้องการดื่มชา Ceylon นี้ในรูปแบบของการใส่นมนั้น จากที่เราชงชาเริ่มแรก เมื่อเราได้น้ำชาชนิดนี้ ในสีออกน้ำตาลเข้มค่อนไปทางดำแล้ว หลังจากที่เติมนมสด, หรือนมข้นลงไป สีก็จะเปลี่ยนเป็นสีเอกลักษณ์ของชาชนิดนี้คือ สีน้ำตาลอ่อน ซึ่งความอ่อนมากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณนมสดที่เราเติมลงไป ตัวเลือกที่เราสามารถดื่มได้แบบเติมนมสดอย่างเดียว หรือเพิ่มเติมความหวานร่วมด้วยก็ได้ ในรูปแบบเครื่องดื่มร้อน และเครื่องดื่มเย็น
ชาไทย
รูปแบบเดียวกับชา Ceylon คือ สีที่เราเห็นจากใบชา ในขณะที่ยังไม่ได้ชงน้ำร้อน ก็จะไม่ต่างไปจากสีน้ำชาที่เราจะได้หลังจากการชงน้ำร้อนแล้ว ด้วยสีของใบชาไทยนั้น จะเป็นสีออกน้ำตาลแดง ดังนั้นเมื่อชงร่วมกับน้ำร้อนแล้วนั้น สีที่เรามักจะคุ้นเคยเห็นกันเป็นอย่างดี กับเครื่องดื่มชาไทยรูปแบบนี้ก็คือ สีน้ำชาที่ออกสีน้ำตาลแดง ซึ่งจะเข้มมากน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ชงที่จะใช้ใบชา ในปริมาณมากน้อยแค่ไหน ต่อการชง
หลังจากที่เติมนมสด หรือนมข้นหวานลงไปแล้ว สีที่ได้จะเปลี่ยนสีน้ำชาจากสีน้ำตาลแดง เป็นสีออกส้ม ซี่งจะเป็นสีส้มเข้มมากแค่ไหน ก็ต้องขึ้นอยู่กับตอนต้นที่ใช้ใบชาในการชงมากหรือไม่ หากใช้ปริมาณใบชามาก ก็จะได้สีน้ำตาลแดงเข้ม ในกรณีที่ไม่เติมนม และเป็นสีส้มเข้มเมื่อเติมนมไปแล้ว ส่วนในเรื่องของรสชาติและความหอมของกลิ่นใบขานั้น ชาทั้ง 2 ชนิดนี้ จะมีทั้งกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างกัน และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
วิธีเลือกซื้อชาซีลอน
เกรดใบชา
หากเป็นผลิตภัณฑ์ใบชา Ceylon ที่มีการระบุว่า เป็นแบบPremium, Finest จะเป็นการบอกให้ผู้ซื้อได้รู้ว่า เป็นการคัดใบชามาตั้งแต่การเลือกเด็ดยอดใบชาเท่านั้น โดยส่วนใหญ่ที่เน้นเด็ดยอดอ่อนเพียงแค่ 2 ใบเท่านั้น เพื่อให้ได้กลิ่นหอม และรสชาติที่ละมุนมากกว่า ใบชาแก่ ซึ่งรสชาติที่ละมุนนี้ เราสามารถชงดื่มได้รู้อย่างชัดเจน ในรูปแบบร้อน และไม่เติมนม
ระดับความเข้มใบชา
บางยี่ห่อที่มีการระบุไว้หน้าบรรจุภัณฑ์ในคำว่า Strength ซึ่งหมายถึงระดับความเข้มของใบชา เมื่อนำมาชงกับน้ำร้อนแล้ว ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับปริมาณใบชาในการชงดื่ม ซึ่งหากเราใช้ปริมาณใบชามากในการชง สีที่ได้จะเข้ม รสชาติที่ได้จะมีความเข้มข้น แต่หากเป็นความเข้มของรสชาติใบชานั้น ถ้ามีความเข้มมาก ก็จะหมายถึงการให้กลิ่นของใบชาที่มากนั่นเอง
ทั้งนี้มีผลมาจากขั้นตอนการหมักบ่มใบชาในส่วนของการผลิตร่วมด้วย ซึ่งถ้ายิ่งใช้เวลาในการหมักบ่มนานเท่าไหร่ ก็จะเป็นการดึงเอากลิ่น, สี และรสชาติของชา Ceylon ชนิดนี้ออกมามากด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะหากเป็นชา Ceylon ชั้นดีก็จะยิ่งให้ความเข้มในรสชาติของชา และความหอมที่โดดเด่น อีกทั้งยังให้ประโยชน์ต่อร่างกาย
ส่วนประกอบ
ในบางผลิตภัณฑ์จะมีการระบุว่า เป็นชาซีลอน หรือ Black Tea 100% หรือเป็นรุปแบบการนำใบชา Ceylon จากหลากหลายแหล่งเพาะปลูกผสมร่วมกัน ทำให้รสชาติที่หลากหลายออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการ และความชื่นชอบของผู้เลือกซื้อร่วมด้วย
บรรจุภัณฑ์
ส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันจะเป็นในรูปแบบห่อถุง ที่มีทั้งแบบที่เป็นใบชา สำหรับการชงน้ำร้อน หรือผ่านตัวเครื่องอัดแรงดันไอน้ำ หรืออีกรูปแบบหนี่งคือ การแยกหีบห่อเป็นถุงชาสำหรับการชงต่อแก้ว ซึ่งก็ช่วยเพิ่มความสะดวกในการนำมาใช้ชงดื่มได้มากขึ้น และรูปแบบถุงชาชงดื่มแบบต่อแก้วนี้ ก็อาจจมีบางยี่ห้อ ที่มีการผสมรวมกันระหว่างชา Ceylon ในหลากหลายแหล่งปลูกร่วมด้วย
ซึ่งในการชงดื่มนั้น รูปแบบที่เป็นซองถุงชาแยก เป็นการชงแบบแก้วต่อแก้ว จะเน้นการเทน้ำร้อนเดือดจัด ลงไปบนถุงชาที่วางไว้ในแก้วชา แล้วต้องมีการทิ้งถุงชาไว้น้ำร้อน ซึ่งอย่างน้อยๆ ควรทิ้งไว้4-5 นาที เพื่อให้น้ำร้อนดึงเอา กลิ่น,สี และรสชาติของชาชนิดนี้ออกมาได้อย่างชัดเจน เราจะได้กลิ่นหอมของชา Ceylon ที่โดดเด่น และรสชาติของชาชนิดนี้ ที่เมื่อดื่มแล้วจะรู้ถึงความแตกต่างไปจากชาชนิดอื่นๆ
แหล่งผลิตใบชา
ถึงแม้จะเป็นใบชาชนิดเดียวกัน แต่ด้วยแหล่งปลูกที่แตกต่างกัน ก็ทำให้รสชาติ และกลิ่นหอมที่มีความแตกต่างกันร่วมด้วย โดยมีหลากหลายพื้นที่ในการปลูกใบชาชนิดนี้ แต่ที่เรามักจะได้ยินว่าเป็นใบชาที่มีความนิยมในการชงดื่มกัน หรือมีชื่อเสียงในเรื่องของความหอม และรสชาติตามด้านล่างนี้ ซึ่งบางทีเราจะได้ยินในชื่อของ ชาอัสสัม หรือ Assum Tea ซึ่งเป็นกลุ่มของชาดำ ที่ปลูกกันในประเทศอินเดีย
- ชาศรีลังกา
- ชาอินเดีย
- ชาอังกฤษ
วิธีชงชาซีลอนสูตรปรุงสำเร็จ ฉลากทอง
สรุป
นอกจากที่เราจะได้รับรู้ว่า ชา มีประโยชน์มากมาย ทั้งจากชาเขียวที่คนญี่ปุ่นดื่มกันเป็นประจำ หรือชาจีนในแบบชาอู่หลง ที่คนจีนดื่มกันเป็นชาร้อนหลังมื้ออาหาร รวมถึงชาซีลอนนี้ด้วยที่นอกจากจะมีรสชาติดี และกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของใบชาชนิดนี้แล้ว ยังให้ประโยชน์ต่อสุขภาพไปพร้อมกับการดื่ม
ควบคุมและดูแลการผลิตคอนเท้นส์ ชื่นชอบที่จะนำเสนอคอนเท้นส์ที่ดีๆ มีประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่าน
ชาซีลอน 666
-รสชาติชาเข้มข้น กลมกล่อม กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์
-สามารถดัดแปลงเป็นส่วนผสมของไอศกรีม และเบเกอรี่ได้
ชาซีลอน ชาตรามือ
-กลิ่นหอม รสชาติเข้มข้น อร่อยกลมกล่อม
-สามารถใช้ชงชามะนาว,ชาดำเย็น หรือชานมซีลอน
ชาซีลอน ช้างทอง
-รสชาติแบบชาซีลอนต้นตำรับ เข้มข้นมาก กลิ่นหอม
-เหมาะสำหรับชงชาเย็น ชาดำเย็น ชามะนาวและชาไข่มุก
ชาซีลอน NLCOFFEE
-กลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติเข้ม ไม่แต่งสี ไม่แต่งกลิ่น
-เหมาะสำหรับ ชาร้อน ชานมร้อน ชานมเย็น ชานมไข่มุก
ชาซีลอน Ronnefeldt
-บรรจุสินค้าจำนวน 25 ซอง/กล่อง น้ำหนัก 1.5 กรัม/ซอง
-ชงทานง่าย พกพาสะดวก สินค้านำเข้าจากประเทศเยอรมนี
ชาซีลอน Vintage teas
-ปราศจากน้ำตาล กลูเตน ไขมันทรานส์
-คัดสรรใบชาคุณภาพดี ปลูกจากประเทศศรีลังกา
ชาซีลอน Dilmah
-รสชาติเข้มกำลังดี กลิ่นหอมละมุน กลมกล่อม
-คัดสรรใบชาคุณภาพสูง รสออริจินอล
ชาซีลอน Gingen
-สามารภชงดื่มได้ทุกโอกาส หอมหวานน้ำผึ้งธรรมชาติ
-สำหรับคนรักสุขภาพ ไม่มีวัตถุกันเสีย ไม่มีสารปรุงแต่ง
ชาซีลอน choice coffee
-เหมาะสำหรับชงชานม หรือชาไข่มุก มีกลิ่นที่หอม
-ผลิตจากจากใบชาแท้ 100 % นำเข้าจากต่างประเทศ
ชาซีลอน Twinings
-เหมาะสำหรับชงพร้อมน้ำแข็งเพื่อความสดชื่น
-สามารถมีอายุการเก็บรักษายาวนานถึง 3 ปี