10 เต็นท์ ยี่ห้อไหนดี 2024 มีราคาถูก กางง่าย น้ำหนักเบา กันน้ำ

เต็นท์ แบบไหนดี
เต็นท์ในปัจจุบันนี้ถือได้ว่าเป็นอะไรที่ยอดฮิต ยอดนิยมถูกใจกับคนที่ชื่นชอบในการเดินป่ามาก ๆ เพราะสามารถนำไปกางเป็นที่นอนพักอาศัยสำหรับการเดินป่า ปีนเขาบนดอยของคนรักธรรมชาติและต้องการความเงียบสงบ มีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ๆ มีหลายวัสดุการใช้งาน

สารบัญ

อุปกรณ์การตั้งแคมป์เดินป่า มีอะไรบ้าง

อุปกรณ์การตั้งแคมป์เดินป่า

1.ที่นอนเป่าลม

เป็นที่นอนที่เป็นทางเลือก สำหรับการใช้งานในรูปแบบเสริม อย่างเช่นในกรณีที่ต้องการใช้งานที่นอนเพิ่มขึ้น หรือใช้สำหรับในการตั้งแคมป์ ที่ใช้เป็นเบาะนอนภายในที่พักชั่วคราวอย่างเต็นท์ ในการใช้งานคือ จะเป็นการวางด้านบนเมื่อปูกราวน์ชีทแล้ว

2.ถุงนอน

เป็นอุปกรณ์ในการให้ความอบอุ่น เมื่อเราต้องนอนท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติ เราไม่สามารถรู้ได้ว่า ในช่วงกลางคืนที่หลับไปแล้ว จะมีอุณหภูมิที่เย็นมากขึ้นหรือไม่ ถุงนอนจึงเป็นคล้ายกับผ้าห่ม แต่มีการตัดเย็บที่พอดีกับตัวคน ด้านในอาจมีการบุเป็นเนื้อผ้าใยสังเคราะห์ หรือขนเป็ด ที่เน้นในการให้ความอบอุ่นโดยเฉพาะ

ส่วนการทำงานของถุงนอน ก็คือเป็นการสร้างชั้นกำแพงระหว่างอากาศด้านนอก และด้านในถุงนอน เพื่อไม่ให้เกิดการหมุนเวียน เป็นการรักษาอุณหภูมิภายในถุงนอน เพื่อเน้นป้องกันความหนาวเย็น และเนื้อผ้าด้านนอก

วัสดุภายนอกส่วนใหญ่จะเป็นไนลอน Nylon Taffeta หรือ Ripstop Nylon ที่มีคุณสมบัติทนทาน, กันความเปียก หรือฝนได้, มีความเหนียว ฉีกขาดยาก

3.เตาแคมป์ปิ้ง, เตาปิคนิค

มีทั้งแบบที่เป็นเตาแก๊สที่ใช้แก๊สกระป๋อง หรือ เตาปิคนิค ที่ต้องใช้ถังแก๊สขนาดเล็กในการเคลื่อนย้าย, เตาที่ใช้น้ำมันเบนซิน และเตาที่สามารถใช้เชื้อเพลิงร่วมกันได้อย่าง น้ำมันเบนซิน, น้ำมันดีเซล และน้ำมันก๊าด

4.ภาชนะทำอาหาร และใส่อาหาร

หากเป็นภาชนะที่ใช้ใส่อาหาร และเป็นหม้อในการอุ่นต้มช่วงที่ออกแคมป์นั้น ควรที่จะเลือกวัสดุที่เป็นอลูมิเนียม นอกจากน้ำหนักเบา, สะดวกในการขนย้ายแล้วนั้น ยังมีคุณสมบัติในการนำความร้อนได้ดี

แต่หากเป็นแก้วน้ำที่ใส่น้ำกินอุณหภูมิปกติ สามารถที่จะใช้วัสดุสแตนเลสได้ ที่มีอายุการใช้งานที่นาน และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

5.เก้าอี้สนาม, โต๊ะแคมป์ปิ้ง

หากเป็นเก้าอี้สนาม วัสดุที่ควรเลือกในส่วนของที่รองรับน้ำหนักตัว ควรเป็นผ้าโพลีเอสเตอร์ หรือผ้าใยสังเคราะห์ อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ ผ้าไนลอน ที่อาจจะเพิ่มความละเอียดของเนื้อผ้า ให้มีความสวยงาม ควบคู่กับการใช้งานที่ทนทานร่วมด้วย

อย่าง ไนลอนอ๊อกฟอร์ด ส่วนโต๊ะปิคนิคหรือโต๊ะแคมป์ปิ้งนั้น เน้นเลือกเนื้อวัสดุที่เป็น อลูมิเนียม ที่เน้นน้ำหนักเบา, ช่วยให้สะดวกในเรื่องการเคลื่อนย้าย และพับเก็บ

6.ไฟแช็ค, ถ่าน, ถ่านไฟฉาย และแบตเตอรี่สำรอง

ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยว ในรูปแบบธรรมชาติแบบไหนก็ตาม สิ่งที่ไม่ควรลืมเลยคือ ไฟแช็ค ที่ไม่ได้ประโยชน์ในการใช้งานเรื่อง การทำอาหาร หรือต้มน้ำเท่านั้น แต่ช่วยในเรื่องการก่อไฟ หรือการจุดไฟเพื่อป้องกันอันตรายในเวลากลางคืน

รวมถึงอุปกรณ์ใช้งานร่วมกับ ตัวไฟฉาย, เครื่องใช้ต่างๆ ที่ต้องใส่ถ่านในหลากหลายขนาด ควรเตรียมความพร้อมให้ครบ

7.มีดสนาม, ค้อน

หากเรามองว่าเรื่องการก่อไฟ หรือน้ำกินเป็นเรื่องสำคัญในการเดินทางตั้งแคมป์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อแคมป์ หรือใช้ในการตัดสิ่งต่างๆ อย่างมีดพก หรือมีดสนาม ก็มีความสำคัญไม่แพ้กันเลยทีเดียว

8.เครื่องสูบลม

การเตรียมที่นอนเป่าลมไปพร้อมกับการเดินทางในครั้งนี้ด้วย สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ เครื่องสูบลม ที่มีหลากหลายรูปแบบ และขนาด หากเลือกในแบบที่พกพาสะดวก มีขนาดเล็ก การสูบก็ต้องอาศัยแรง และเวลาในการสูบที่มากกว่าเครื่องสูบลมขนาดที่ใหญ่กว่า

เต้นท์ คืออะไร

เต้นท์ คืออะไร

เต็นท์เป็นหนึ่งในอุปกรณ์แคมป์ปิ้ง เดินป่าที่ขาดไม่ได้สำหรับสายแอดเวนเจอร์ มักจะถูกใช้ควบคู่ไปกับอุปกรณ์เดินป่าอื่นๆเช่น เตาแก๊สปิ้งย่าง , เก้าอี้สนาม หรือแม้แต่ แก้วเยติ

ประเภทวัสดุมีมากมายไม่ว่าจะเป็นการทำ เช่น เต็นท์กระโจม ก็จะมีการนำใช้ผ้าใยสังเคราะห์ แบบไนลอน หรือจะเป็นโพลีเอสเตอร์ที่เคลือบกันน้ำได้

เต็นท์ที่ดีควรที่กางง่าย และสามารถกันน้ำ กันแดด ทนลมได้ ซึ่งจะต้องมีการซีลที่ตะเข็บเพื่อไม่ให้น้ำรั่วซึมลงมาด้านใน ชนิดของการเคลือบกันน้ำเคลือบด้วยโพลียูรีเทน หรือจะเคลือบด้วย silver เคลือบด้วยซิลิโคน เป็นต้น​

วัสดุที่ใช้ทำเต็นท์ เช่นโครงเหล็ก และผ้าออคฟอร์ด ข้อดีคือ มีความคงทน ทนแดด ทนลม แต่มีความหนักในระดับหนึ่ง

อีกแบบคือ อะลูมิเนียม และผ้า ข้อดีคือ พกพาสะดวก มีน้ำหนักเบา เป็นต้น

อุปกรณ์เต็นท์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

1.ฟลายชีท (Fly Sheet)

ฟลายชีท เต้นท์

เป็นอุปกรณ์เสริมที่ส่วนใหญ่แล้ว จะมาพร้อมกับตัวเต็นท์ เป็นเนื้อผ้าใยสังเคราะห์คลุมด้านนอก เพื่อกันทั้งแดด, ละอองน้ำค้าง, ความเปียก, และในขณะที่ฝนตก

2.กราวน์ชีท (Ground Sheet)

อุปกรณ์ที่คู่มาด้วยกับตัวฟรายชีท ส่วนใหญ่จะติดมาเป็นชุด เป็นส่วนที่ใช้รองด้านล่างที่เป็นพื้น ใช้กันความชื้นจากละอองน้ำค้าง, ฝนที่ตก และความชื้นที่พื้น สำหรับการนอนที่จะไม่มีความชื้นซึมเข้ามาในแคมป์

3.โครงเต็นท์ (Pole)

เสาเต้นท์

ตัวเสริมความแข็งแรงให้กับแคมป์ที่พัก ซึ่งโครงจะมีเสาเป็นส่วนประกอบ จะมีตั้งแต่ 1 เสาในรูปแบบกระโจม แต่ส่วนใหญ่จะมี 2-3 เสา อย่างเช่น รูปแบบโดม, รูปแบบสามเหลี่ยม หรือแบบอุโมงค์ เป็นต้น ยิ่งมีโครงที่มีเสาเป็นส่วนประกอบมาเท่าไหร่ เป็นการแสดงถึงความมั่นคง และแข็งแรงของแคมป์ที่พัก

4.หมุดตอกเต็นท์, สมอบก (Peg)

หมุดตอกเต้นท์ สมอบก

เป็นตัวยึดแคมป์ให้มั่นคงมากขึ้น ที่ต้องใช้งานร่วมกันกับเชือกขึง และตัวเสาโครงสร้างร่วมด้วย มีแบ่งแยกออกมาดังนี้ คือ

  • สมอบกตัวไอ

สามารถใช้งานได้ในแบบทั่วไป รวมถึงทุกสภาพอากาศ มีการเกาะยึด และเกี่ยวได้ดี

  • สมอบกตัวเอ็กซ์

ลักษณะแบน มีรูอยู่ตรงกลาง เวลาใช้จะต้องกางออกมาเป็นเหมือนสัญลักษณ์ตัว X ใช้ได้ดีกับพื้นทราย

  • สมอบกรูปฉาก

อุปกรณ์ในอดีตนิยมใช้งาน พื้นที่สามารถใช้สมอบกแบบนี้ได้ดี คือทะเลทราย หรือพื้นทราย

  • สมอบกรูปเข็ม

เป็นอุปกรณ์ที่ได้มาพร้อมกับตัวแคมป์ที่พัก ส่วนใหญ่ที่เราจะได้มาเป็นชุดพร้อมทั้งตัวฟรายชีท, กราวน์ชีท และตัวสมอบกรูปเข็มนี้ ใช้ในการยึดตัวแคมป์ หรือเต็นท์ได้เป็นอย่างดี  

  • สมอบกแบบถุงผ้า

ใช้สมอบกใช้งานกับพื้นทราย ที่เน้นความสะดวกในการเก็บได้ขนาดเล็กร่วมกับตัวแคมป์

5.พื้นที่ภายใน (Inner Tent)

หรือ Inner Tent เป็นส่วนพื้นที่ด้านใน ที่ใช้ในการเข้าพักนอน มีส่วนที่เป็นผ้ามุ้ง และผ้าตาข่าย ช่วยในการถ่ายเทอากาศ รวมถึงการระบายความชื้น

6.เชือกขึง (Guyline)

ใช้งานร่วมกับตัวสมอบก และตัวโครงแคมป์ เพื่อช่วยให้ที่พักมีความมั่นคง, แข็งแรง โดยเฉพาะเวลาที่ลมพัดมา หรือมีฝนตก

การเลือกซื้อเต็นท์ พิจารณาจากอะไรบ้าง

หากในวันนี้ที่เรามีความต้องการเลือกซื้อเต็นท์ เพื่อมีแผนที่จะเดินป่า หรือเดินทางท่องเที่ยวธรรมชาติกับกลุ่มเพื่อนฝูง เราจะเห็นทั้งจาก shop ขายอุปกรณ์แคมป์ปิ้ง หรือแม้กระทั่งร้านขายของออนไลน์ก็ตาม

ที่จะมีเต็นท์ให้เลือกหลากหลาย ทั้งยี่ห้อ, สีสัน, รูปแบบ และการติดตั้ง อาจทำให้เรารู้สึกว่า จะใช้อะไรเป็นตัวพิจารณาในการเลือกซื้อได้บ้าง การแบ่งตามลักษณะเด่นๆ ของอุปกรณ์ในการตั้งแคมป์นี้ จะช่วยให้เราเลือกซื้อได้ตรงกับความต้องการมากขึ้น

1.เลือกตามรูปแบบ

  • แบบสามเหลี่ยม (Ridge Tent)
เต้นท์แบบสามเหลี่ยม

หรือเรียกว่า เป็นรูปทรงแบบมาตรฐาน ที่หากใครพูดถึงการไปแคมป์ปิ้งก็จะต้องคิดถึง อุปกรณ์ชนิดนี้ในรูปทรงเป็นสามเหลี่ยม หรือหลังคาด้านบนเป็นหน้าจั่วมาก่อน รูปแบบสามเหลี่ยมนี้ จะมีโครง 2 เสาตรงฝั่งด้านประตู มีหลังคาที่เป็นฟรายชีท หรือแผ่นผ้าใบกันละอองฝน หรือน้ำค้าง ลักษณะนี้จะมีผู้นิยมใช้กันมาก เพราะสามารถครอบคลุมใช้ในการเดินทางได้หลากหลายกว่า

อีกแบบหนึ่งก็จะเป็นแบบชั้นเดียว คือ Single Wall ที่ไม่มีกันละอองฝน หรือน้ำค้าง ซึ่งโดยปกติแล้ว หากเป็นรูปแบบทรงสามเหลี่ยม ที่เป็นรูปทรงมาตรฐานนี้ จะมีน้ำหนักพอสมควร และพื้นที่ด้านบนตรงหลังคาหน้าจั่ว

ก็จะมีพื้นที่ด้านใน หรือ Inner Tent ที่น้อยกว่าในรูปแบบโดม แต่หากพูดถึงความเคยชิน สำหรับการตั้งแคมป์สำหรับใครหลายคน ก็ยังมีความคุ้นเคยกับรูปแบบสามเหลี่ยมแบบนี้อยู่

  • แบบโดม (Dome Tent)

เป็นรูปแบบที่นิยมเหมือนกับแบบมาตรฐานสามเหลี่ยม แต่ในผู้ใช้งานที่มีการเลือกซื้อในปัจจุบันนี้ หากมีการใช้งานไม่เกิน 1-2 คนต่อเต็นท์แล้วละก็ จะนิยมเลือกในรูปแบบนี้มากกว่า ด้วยความที่มีคุณสมบัติที่ดีหลายอย่าง ทั้งเรื่องน้ำหนักที่เบา, การติดตั้งที่มี 2 เสาไขว้กัน ทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้หมุดปัก หรือสมอบกให้ยุ่งยาก

แต่เราอาจจะต้องยอมรับว่า ในเรื่องของความแข็งแรงนั้น ยังไม่สามารถเทียบเท่าแบบสามเหลี่ยม หรือรูปแบบมาตรฐานได้ แต่มีความแข็งแรงต่อลมพัดในระดับหนึ่ง และดีกว่าแบบสปริงอัตโนมัติ หรือแบบป๊อปอัพ

ข้อดีคือ รูปแบบด้านบนหลังคาตรงกลาง จะมีช่องที่สามารถระบายอากาศได้ รวมถึงมีติดฟรายชีท หรือบางรุ่นก็จะมีกราวน์ชีทแถมพ่วงมาด้วย

  • แบบกระโจม (Bell Tent)
เต้นท์แบบกระโจม

ลักษณะเด่นซึ่งเป็นการติดตั้งง่ายอีกด้วย กับการที่มีเพียงแค่ 1 เสาตรงกลางเท่านั้น และรอบด้านจะเป็นผ้าแคนวาส ที่มีความหนา ขึงกับพื้นดินด้วยสมอบกรอบด้าน จะมีทั้งแบบที่มีฟรายชีท หรือผ้าใบกันละอองน้ำค้าง และแบบที่ไม่มีฟรายชีท

โดยการใช้งานหลักนั้น จะนิยมใช้ในช่วงหน้าร้อน เพราะไม่สามารถกันฝนได้ดีเท่าไหร่ ถึงแม้จะเป็นผ้าแคนวาสที่มีความหนา และมีฟรายชีทร่วมด้วยก็ตาม

โครงสร้างที่ไม่ป้องกันกับในกรณีฝนตกหนัก แต่หากมองในข้อดีตรงที่ ภายในInner Tent หรือพื้นที่ใช้สอยด้านใน สามารถจุคนที่สามารถนอนได้มากกว่าในรูปแบบโดม หรือแม้แต่แบบสามเหลี่ยมก็ตาม มีความนิยมใช้กันในส่วนของคนแถบยุโรป ในช่วงใบไม้ผลิ หรือใบไม้ร่วง และเป็นเต็นท์เสริม ที่ไว้สำหรับนอนโดยเฉพาะ

  • แบบสปริงอัตโนมัติ, ป๊อปอัพ (Pop Up Tent)

เป็นรูปแบบใหม่ๆ ที่มีการใช้งานได้ง่าย รวมถึงการพับเก็บก็ง่ายเช่นกัน เรามักจะเห็น อย่างเช่นการนอนดูทะเลหมอก หรือรอดูพระอาทิตย์ขึ้นในเวลาเช้า ช่วงเทศกาลใกล้สิ้นปี จะมีการนำมาใช้กันมาก เป็นลักษณะทรงกลม การพับและจัดเก็บได้ในแบบกระเป๋า ที่สะดวกในการพกพา และขนย้าย

หากเรามองในภาพรวมภายนอกนั้น จะมีความคล้ายกับรูปแบบโดม ทั้งด้านบนหลังคาตรงกลาง ที่มีส่วนสามารถระบายอากาศได้ และมีฟรายชีทให้ แต่ไม่มีเสา หรือการติตตั้งสามารถคลี่ออกมาตั้งได้เลย ไม่ต้องใช้สมอบกในการยึด แต่อย่างไรก็ดีด้วยความสะดวกสบาย ในการติดตั้ง จึงสามารถที่จะพัดปลิวในเวลาที่มีลมพัดแรง หรือพายุพัดมาได้ ดังนั้นการเลือกใช้ในรูปแบบนี้ ควรต้องพิจารณาสถานที่ๆ เราจะไปค้างคืนกันด้วย

  • แบบอุโมงค์ (Tunnel Tent)

หากมองดูโดยรวมแล้ว เราจะรู้สึกว่ามีความคล้ายกับรูปแบบโดม แต่ความแน่นหนาของตัวเสา ที่มีมากกว่า ตัวเสามีลักษณะโค้งติดตั้งในแนวด้านข้าง โดยทั่วไปจะมี 3 เสา จากด้านหน้าประตู, ส่วนกลาง และส่วนท้าย มองภายนอกเราอาจจะมองเห็นว่า มีเนื้อที่เท่าๆ กับรูปแบบโดม แต่จริงๆ แล้วภายในมีพื้นที่ใช้สอย และการวางสัมภาระที่มากกว่าในรูปแบบโดม

รวมถึงส่วนประโยชน์ใช้สอยด้านบนหลังคา หรือ Head Room นั้นก็เทียบเท่าได้กับรูปแบบ Dome ผู้ใช้งานที่เป็นแบบครอบครัว นอกจากเลือกแบบ Family Tent รูปแบบนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง มีความแข็งแรงในการยึดกับพื้นดี

ด้วยความที่มีโครงเสามากกว่า 2 เสา จะมีขนาดที่แตกต่างกัน ซึ่งเราสามารถเลือกได้ตามจำนวนผู้ใช้งาน บางรุ่นจะมีแบ่งโซนใช้งาน ด้านหน้า และด้านหลังที่เป็นอุโมงค์แนวยาว ในการวางเก้าอี้สนาม และเป็นพื้นที่พูดคุยกัน

  • แบบอุโมงค์กึ่งโดม (Geodesic Tent)
เต้นท์แบบอุโมงค์

เป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างรูปแบบโดม สำหรับส่วนหน้า และรูปแบบอุโมงค์ในช่วงกลางถึงช่วงท้าย ที่มีความแข็งแรงเทียบเท่าแบบมาตรฐาน ด้วยความที่มีเสาหลักยึดด้านข้าง ส่วนด้านหน้าเป็นการตอกหมุดเหมือนแบบโดม ภายในยังเสาไขว้ยึดเพื่อความแข็งแรง ดังนั้นหากใครต้องการเลือกการใช้งานที่มีความทนต่อลม, โครงสร้างแข็งแรง และสามารถกันละอองฝน หรือน้ำค้างได้ ควรที่จะเก็บตัวเลือกในรูปแบบนี้ไว้

  • แบบครอบครัว (Family Tent)

การเดินทางตั้งแคมป์ในแบบกลุ่มใหญ่ หรือแบบครอบครัวที่มีสมาชิกตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป ตัวเลือกในรูปแบบนี้ถือว่าเหมาะสม ในการใช้งานที่จะสามารถรองรับ จำนวนคนได้มาก และมีเนื้อที่ด้านหน้าเปิดโล่ง ที่มีหลังคากันฝนด้านบน สามารถที่จะปูกราวน์ชีท และทำเป็นที่นั่งคุยกัน ด้วยการวาง เก้าอี้สนาม หลายตัว รวมถึงการจัดเป็นพื้นที่ในการต้มน้ำร้อน เพื่อชงกาแฟร้อนในตอนเช้าได้เป็นอย่างดี

  • แบบบ้าน (Cabin Tent)

ในจำนวนคนร่วมเดินทางมาด้วยกัน หากมีจำนวนที่มากเกิน 6 คน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบครอบครัว หรือกลุ่มเดินทาง การเลือกในรูปแบบนี้จะเหมาะในการรองรับทั้งปริมาณคน และการมีพื้นที่ในการวางสัมภาระต่างๆ

อย่างเช่น ถุงนอน , กระเป๋าเดินป่า ของทุกๆ คน นอกจากประโยชน์ใช้สอยในทางพื้นราบแล้ว ในส่วนของ Head Room หรือความสูงที่มีมากถึง 2 เมตรหากเทียบกับรูปแบบเต็นท์ทั่วไป ที่รองรับเพียงแค่ 1-2 คนมีเพียง 1-1.5 เมตรเพียงเท่านั้น

เราสามารถที่จะใช้เป็นที่เปลี่ยนเสื้อผ้าไม่ว่าจะเป็น เสื้อกันฝน , กางเกงเดินป่า , รองเท้าเดินป่า , หมวกเดินป่า ในความพร้อมที่จะออกไปสำรวจพื้นที่บริเวณใกล้เคียง หรือนั่งถ่ายภาพเก็บวิวธรรมชาติไว้ด้วย กล้องคอมแพค กล้องไลก้า หรือ โทรศัพท์กล้องสวย แต่ด้วยความใหญ่ของเต็นท์รูปแบบนี้ ทำให้ไม่นิยมที่จะใช้ในการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ เพราะนอกจากความหนักแล้ว ยังติดตั้งยากอีกด้วย

2.เลือกตามขนาดรองรับ

  • ขนาดรองรับ 1 คน

พื้นที่ๆ เราสามารถไว้ใช้คำนวณ ในการเพิ่มจำนวนคนเดินทาง สำหรับการใช้งานด้วยการบวกเพิ่มเข้าไปในหน่วนพื้นที่ต่อคนตามนี้ได้ หากเป็นการเดินทางแค่คนเดียว การใช้ในรูปแบบโดม, อุโมงค์ หรือแบบป๊อปอัพได้หมด ทั้งนี้อาจจะต้องมีปัจจัยอื่นๆ ในการพิจารณาร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นทั้งสภาพอากาศ, พื้นที่ๆ จะไปตั้งที่พัก หรือ การใช้งานที่จะต้องมี พื้นที่วางสัมภาระมากหรือไม่

แต่สำหรับพื้นที่ต่อ 1 คนอยู่ที่ 55×180 เซนติเมตร และควรมีส่วนพื้นที่ด้านบน (Head Room) ที่ไม่น้อยกว่า 1 เมตร แต่อาจจะต้องดูในความสูงของผู้ชายที่มากกว่า 170 เซนติเมตร หรือความสูงของคนต่างชาติ ที่จำเป็นต้องเผื่อพื้นที่ด้านบน เพื่อความสบายในการเข้าไปใช้พื้นที่ส่วน Inner Tent ร่วมด้วย

  • ขนาดรองรับมากกว่า 1 คนขึ้นไป
เต้นท์ขนาดใหญ่

จากข้อมูลข้างต้นนั้น หากเรามีจำนวนผู้ที่ต้องใช้งานร่วมกันภายในเต็นท์นั้น สามารถที่จะบวกพื้นที่ใช้งานต่อคน คือ 55×180 เซนติเมตร จะได้เป็นขนาดที่พักที่เราควรจะเลือก ตัวเลือกที่สามารถรองรับได้ในจำนวนคนที่มากกว่า 2 คนก็คือ แบบอุโมงกึ่งโดม, แบบบ้าน, แบบครอบครัว, แบบกระโจม, แบบสามเหลี่ยม หรือรูปทรงแบบมาตรฐาน เป็นต้น

3.เลือกตามการใช้งาน

  • แบบ 3 ฤดู

เป็นการรองรับสำหรับพื้นที่ในการตั้งแคมป์ ที่มีอากาศหนาว, มีหิมะตก หรือฝนตกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นความแข็งแรงของที่พักอาศัยชั่วคราวลักษณะนี้ จึงควรมีความแข็งแรงมากถึงมากที่สุด อีกทั้งมีการเสริมโครงเสาเพิ่มอีก 1 -2 เสา

เพื่อเพิ่มความแน่นหนา มีความนิยมใช้ในแถบประเทศยุโรปตอนเหนือ หรือประเทศที่มีหิมะตกหนัก อย่างเช่น ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์, ฟินแลนด์ หรือเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น

  • แบบ 4 ฤดู

มีความคล้ายกับแบบแรกในเรื่องของความทนทาน และแข็งแรง ความสามารถในการต้านได้ทั้งแรงลม, พายุหิมะ ตัวที่พักต้องมีโครงสร้างที่ต้านแรงลม และป้องกันการขาดรูดเป็นอย่างสูง รูปแบบนี้จะมีความนิยม ใช้ในกลุ่มนักปีนเขา

หรือมีการตั้งไว้ในพื้นที่จุดเบสแคมป์ (Basecamp) ที่เรามักจะเห็นว่าสภาพอากาศมีความปวรแปรสูง โดยเฉพาะลมพายุที่มาพร้อมกับหิมะที่ตกหนัก

ในส่วนของพื้นที่ใช้สอยด้านใน ที่ไม่เน้นของผ้าตาข่าย หรือมุ้งที่จะช่วยในการระบายอากาศ เพราะจะต้องเน้นในเรื่องการให้ความอบอุ่นสำคัญเป็นอันดับแรก อีกทั้งส่วนของพื้นที่ด้านบนอย่าง Head Room นั้นจำเป็นที่จะต้องมีความสูงไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร สำหรับในเหตุการณ์ที่ไม่สามารถไปไหนได้ ไม่ว่าจะเป็นการติดพายุ หรือหิมะตกหนักก็ตาม

4.เลือกจากน้ำหนักของวัสดุเต็นท์

เต็นท์อย่างดีจะต้องมีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแรงทนทาน ต้านแดดต้านลมได้อย่างดี กางง่าย กันน้ำ แต่ข้อเสียของเต็นท์ประเภทนี้คือมีราคาที่สูง

วิธีกางเต็นท์

1. อย่างแรกเลยควรที่จะติดตะขอเต็นท์ให้เข้ากับเสาของเต็นท์ไว้ก่อน เมื่อต่อเสาเข้ากับเต็นท์ทั้ง 4 ด้านเรียบร้อยแล้วให้ยกเต็นท์ด้านใดด้านหนึ่งขึ้นก่อนจากนั้นก็ทำการนำตะขอเต็นท์ด้านบนสุดของเสาเต็นท์ที่เรายกขึ้นมา ไล่ติดตะขอจากด้านล่างขึ้นไปด้านบนให้ครบทั้ง 4 ด้าน

2. นำสมอมาตอกในลักษณะเฉียงเข้าหาตัวเต็นท์ให้ได้มุม 45 องศาตอกให้แน่นหนาที่สุดทั้ง 4 ด้าน

3. จากนั้นก็นำเชือกมาร้อยเข้ากับหูที่อยู่บนเต็นท์ แล้วดึงให้ตึง จากนั้นก็นำผูกกับต้นไม้ที่อยู่ใกล้ ๆ หรือนำสมอมาปักกับพื้นให้เป็นหลักยึด ทำแบบนี้ให้ครบทุกด้าน

วิธีเก็บดูแลรักษาเต็นท์

เก็บรักษาเต็นท์

1.  หลังจากกลับไปท่องเที่ยวแล้วหากสกปรกมากก็ควรที่จะทำความสะอาดด้วยการใช้ไม้กวาด ที่ติดอยู่ตามรอบเซ็นออกไปให้หมดจากนั้นก็ใช้ผ้าชุบน้ำเปล่ามาเช็ด แล้วนำไปตากแดดในที่ร่มหรือแดดอ่อน ๆ ยามเช้า เพื่อป้องกันไม่ให้มีกลิ่นอับและเชื้อรานั่นเอง

2. เต็นท์พับได้ควรเก็บไว้ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกไม่อบอ้าวจนเกินไป และไม่วางไว้กับพื้นโดยเฉพาะพื้นปูน เพราะอาจจะทำให้มีความชื้นและเกิดเชื้อราได้ง่าย

รีวิว เต็นท์ Decathlon Quechua รุ่น MH100

ขอบคุณช่องยูทูป Natute Trip

สรุป

ในการเลือกซื้อเต็นท์เราควรคำนึงถึงปัจจัยหลายๆด้าน เช่น วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ ขนาดของพื้นที่ๆจะใช้งาน จำนวนคนที่จะใช้ และตามงบประมาณที่มี เต็นท์ไม่ใช่สินค้าประเภทที่จะซื้อกันได้บ่อยๆ ดังนั้นเวลาซื้อต้องพิจารณาให้ดี เลือกสิ่งที่ดี เพื่อยืดอายุในการใช้งานให้ใช้ได้อย่างยาวนานคุ้มค่า

เต็นท์ YINGERJIAN

เต็นท์ YINGERJIAN
-ขนาด 420 ซม. x 305 ซม. x 31 ซม. น้กหนัก 17 กิโลกรัม
-ติดตั้งง่าย ไร้กังวล สามารถระบายอากาศได้เป็นอย่างดี
-สามารถรองรับได้ 10 – 12 คน มีความหนาแน่นสูง

เต็นท์ Grand Sport

เต็นท์ แกรนด์สปอร์ต
-เต็นท์มุ้งสำหรับนอน 2 คน ผ้าโพลีเอสเตอร์ 190 T
-พับเก็บง่ายสะดวกต่อการพกพา ประหยัดพื้นที่การใช้งาน
-ขนาดของสินค้า กว้าง 200 ซม.xยาว 120 ซม.xสูง 140 ซม.

เต็นท์ DIY SIAM

เต็นท์ ดีไอวายสยาม
-ช่องประตูกว้างสามารถระบายอากศได้ดี รับลมได้เต็มที่
-เทคโนโลยีพิเศษเย็บตะเข็บรอยต่อ เคลือบน้ำยากันซึม
-โครงสร้างอย่างดี ผลิตจากเหล็กเคลือบกันสนิม

เต็นท์ Vidalido

เต็นท์ Vidalido
-ขนาด 1.4×14.x2.2เมตร(กว้างxยาวxสูง) น้ำหนัก 6 กิโลกรัม
-วัสดุผลิตจาก Polyester Oxford 200D PU3000MM
-โคงสร้างผลิตจากเหล้กคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน

เต็นท์ Mountainhiker

เต็นท์ Mountainhiker
-ขนาด 260 ซม. x 320 ซม. x 200 ซม. น้ำหนัก 5 KG
-วัสดุผลิตจาก ผ้า210Tตาข่ยB3เคลือบกันน้ำPU3000MM
-เต็นท์ทรงกระโจมดีไซน์ทันสมัย กันน้ำและระบายอากศได้ดี

เต็นท์ HouseHold Society

เต็นท์ HouseHold Society
-เต็นท์เคลื่อนที่สำหรับที่นอน 6 ฟุต สามารถนอนได้ 2-3 คน
-น้ำหนักเบา มีประตู 2 ด้าน มีช่องระบายอากาศด้านบน
-ขนาด กว้าง 173 ซม. x ยาว 190 ซม. x สูง 130 ซม.

เต็นท์ XJ - Store

เต็นท์ XJ
-สามรถกันน้ำค้าง น้ำฝนได้ 100 เปอร์เซ็นต์
-ช่องประตูกว้างขวาง รับลมและระบายอากศได้ดี
-เต็นท์มีมุ้งในตัวสามารถกันยุงและแมลงได้เป็นอย่างดี

เต็นท์ CAMEL CROWN

เต็นท์ CAMEL CROWN
-ขนาดของสินค้า 210 ซม. x 150 ซม. x 120 ซม.
-สามารถกันแดด กันฝน รูปทรงกะทัดรัด พกพาสะดวก
-สามารถรองรับได้ 2 – 3 คน มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ

เต็นท์ Quechua รุ่น MH100

เต็นท์ Quechua รุ่น MH100
-โครงสร้างตั้งได้อิสระ ตั้งด้วยเสาได้อย่างง่าย แข็งแรง ทนทาน
-ห้องนอนขนาด 130 ซม. x 210 ซม. (พื้นที่นอนกว้าง65ซม.)
-สามารถต้านทานลมเร็ว 50 ก.ม./ชม. (Foce6)

เต็นท์ Coleman รุ่น X-CURSION TEPEE II

เต็นท์ Coleman รุ่น X-CURSION TEPEE II
-ผลิตจากผ้า TexFiber ซึ่งเป็นธรรมชาติเหมือนผ้าฝ้าย
-มีห้องด้านหน้าป้องกันไม่ให้ฝนเข้าเมื่อเปิดและปิด
-ต้านทานแรงดันน้ำประมาณ 1,500 มม.

Best Choice ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า