เมื่อพูดถึงเรื่องของใช้ทารกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องจัดเตรียมให้กับลูกน้อยยามแรกเกิด หนีไม่พ้นการเตรียม เครื่องอุ่นนม , ที่คว่ำขวดนม , จุกนมหลอก , ผ้าอ้อมเด็ก , ที่ดูดน้ำมูกทารก , แปรงสีฟันเด็ก , แปรงล้างขวดนม , นมผง , ผ้าคลุมให้นม , เสื้อผ้าเด็ก , คอกกั้นเด็ก เพราะสิ่งของเครื่องใช้เหล่านี้มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับลูกน้อย
ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ดังนั้นก่อนไปทำความเข้าใจกับถึงวิธีการเลือกซื้อ การทำความสะอาด การดูแลรักษา รวมถึง มีกี่ประเภท เลือกคอขวดแบบไหนดี รวมถึงแนะนำวิธีให้ลูกดูดอย่างถูกวิธี และ เข้าใจถึงอายุการใช้งาน ขนาดกันอย่างละเอียดในบทความนี้กัน
ขวดนมเด็ก เป็นภาชนะจำเป็นสำหรับเด็กเล็กเด็กทารกในการบรรจุนมหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อให้ทารกได้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งที่มีคุณภาพต้องปราศจากสาร BPA (Bisphenol A)
เพราะสารนี้ทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเพศในร่างกาย และอาจรบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อได้ จึงเป็นสารที่อันตรายอย่างมากต่อเด็กและผู้บริโภคทุกคน ดังนั้นก่อนเลือกซื้อคุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตสัญลักษณ์บนผลิตภัณฑ์ว่ามีระบุ ปลอดจากสาร BPA หรือไม่
สาร BPA คืออะไร ย่อมาจากอะไร
สาร BPA หรือ Bisphenol A คือสารประกอบที่นำมาใช้ในการผลิตพลาสติกให้คุณสมบัติที่โปร่งใส และแข็งแรงทนทาน มีข้อเสียอยู่คือ เป็นสารก่อมะเร็งที่อันตรายต่อร่างกาย ไม่เหมาะกับวัสดุที่ใช้สำหรับใส่อาหาร
อันตรายของสาร BPA ต่อทารก
BPA สารอันตรายที่มีผลต่อการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท ความทรงจำ การเรียนรู้ มีผลต่อฮอร์โมน การเจริญเติบโต ทำให้เด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินไป มีภาวะโรคอ้วน และไฮเปอร์แอคทีฟ ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคหัวใจ หากสะสมในร่างกายมากเท่าใด ยิ่งไปลดศักยภาพการทำงานของร่างกาย
ให้ลูกเริ่มใช้ขวดนมตอนอายุเท่าไหร่ และนานแค่ไหน
คุณแม่สามารถให้ลูกน้อยเริ่มได้ทันทีหลังจากลูกเริ่มดูดนมจากเต้า แต่ทั่วไปแล้วควรให้เริ่มดูดนมหลังจากลูกมีอายุ 3-4 สัปดาห์ เพราะว่าเด็กแรกเกิดยังต้องทำความคุ้นชินกับการดูดนม เพื่อทำให้ลูกรู้ว่ากำลังดูดนมหรือเสมือนนมแม่อย่างปลอดภัย
ซึ่งนอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นน้ำนมให้กับคุณแม่ เพื่อที่ร่างกายจะรับรู้และเร่งผลิตน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก ซึ่งในช่วงสัปดาห์แรกคุณแม่ควรให้นมลูกปริมาณ 1-2 ออนซ์เป็นประจำทุก 3-4 ชั่วโมง ลูกจะมีอาการงอแงบ้างแต่เวลาหิวจะนิ่งสงบเองเมื่อได้ดื่มนม
ให้ลูกดูดนมจากขวดนานแค่ไหน
ในวัยแรกเกิดที่ลูกได้หัดดูนมจากขวดแล้ว สามารถให้ลูกคุ้นชินกับขวด กับการดูดนมได้ไปก่อน ควรให้ลูกใช้ชวดนมจนถึงอายุ 1 ขวบหรืออายุ 12 เดือนโดยการใช้ดูดจากเต้าสลับกับให้ลูกดูดจากขวดนม ก่อนเริ่มหัดให้ลูกดื่มนมจากแก้ว
อายุของขวดนม
อายุการใช้งานจะขึ้นอยู่กับคุณภาพและการดูแลรักษา ปกติแล้วหลังจากที่มีการผลิตแล้วยังไม่มีการใช้งานจะมีอายุเสื่อมสภาพอยู่ที่ประมาณ 3-4 ปี
แต่ที่นำมาให้ลูกใช้ดื่มแล้ว ถ้าเป็นสีขาวใสทั่วไป ทนความร้อนได้ประมาณ 100 องศาเซลเซียส จะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าเป็นสีชา สีน้ำผึ้ง อาจจะใช้ได้นานขึ้น ทนต่อความร้อนได้ 180 องศา ทนกว่าสีขาวใส มีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 ปี แต่ถ้ามีรอยขีดข่วนก็ควรเปลี่ยนก่อน 2 ปี
แต่ถ้าใช้อยู่ขวดแล้วโดนความร้อนจากการต้ม นึ่ง ก็อาจทำให้ตัวเลขข้าง ๆขวดทยอยจางลงไป มีการชำรุดเปลี่ยนแปลง เช่น บิดเบี้ยว มีรอยร้าว มีสีขุ่นลง ถ้าเห็นแบบนี้แล้วคุณแม่ควรเปลี่ยนทันที
ขนาดขวดนม สำหรับลูกน้อยในช่วงอายุต่าง ๆ
- ลูกน้อยแต่ละช่วงวัยจะมีปริมาณนมที่ควรดื่มแตกต่างกันไป ซึ่งมีวิธีคำนวณง่าย ๆ คือ ทุก ๆ น้ำหนักตัว 0.5 กิโลกรัม ลูกควรดื่มนม 2.5 ออนซ์
- ลูกน้อยวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน – ควรใช้ขนาด 4 ออนซ์ (120 มิลลิลิตร) เพื่อเพียงพอต่อความต้องการในการดื่มนมแต่ละครั้ง โดยให้นมลูกทุก ๆ 4 ชั่วโมง
- ลูกน้อยวัยอายุ 6 เดือนขึ้นไป – เปลี่ยนขนาดขวดนมให้มีปริมาณ 7-8 ออนซ์ (240 มิลลิลิตร) เพื่อเพียงพอต่การเจริญเติบโตของร่างกาย สิ่งที่ต้องระวังลูกน้อยไม่ควรดื่มนมมากกว่า 32 ออนซ์ (320 มิลลิลิตร) ภายในเวลา 24 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ลูกน้อยเกิดภาวะท้องอืดได้
เลือก ขวดนม คอกว้าง คอแคบแบบไหนดี
1.ขวดนมคอกว้าง
คอกว้างมีฐานจุกนมมีลักษณะกว้าง สเมือนนมแม่ หรือ เต้านมของคุณแม่ ทำให้เด็กรู้สึกเหมือนกำลังดูดนมจากเต้าคุณแม่อยู่ เหมาะสำหรับคุณแม่ที่เอาลูกเข้าเต้าสลับกับการป้อนนมลูกด้วยขวดนม จะทำให้ลูกไม่สับสนกับการเข้าเต้า แบบคอกว้างยังล้างง่ายแห้งเร็วกว่า ชนิดนี้มีข้อเสียตรงที่ถือและหยิบจับค่อนข้างลำบากกว่า คอที่กว้างเกินไปและกินพื้นในมากกว่า แถมมีราคาสูงกว่า
2.ขวดนมคอแคบ
มีจุกนมให้เลือกมากกว่า เด็กที่มรภาวะปากแหว่งเพดานโหว่จะสามารถใช้ได้ ซึ่งจุกนมหาซื้อได้ง่าย ราคาถูกกว่า มีข้อเสียคือนิดนี้จะล้างยากกว่า เนื่องจากบริเวณคอขวดแคบ ทำให้มีบางบริเวณที่ล้างไม่สะอาดได้ทั่วถึง
ประเภทของ ขวดนมเด็ก
โดยทั่วไป จะผลิตด้วยพลาสติก จะมีน้ำหนักเบา ราคาถูก แต่บางยี่ห้อที่จำหน่ายแบบแก้วจะมีราคาสูงกว่าอายุการใช้งานยาวนานกว่า ในส่วนของพลาสติก มีความแตกต่างกันตามแต่ชนิดของวัสดุ แบ่งพลาสติกได้ 3 ประเภท
1.ขวดนมพลาสติก Polypropylene หรือ PP
เป็นพลาสติก Polypropylene ที่นิยมใช้กัน ด้วยขึ้นรูปง่าย มีความทนทานต่อการขีดข่วน โดยพลาสติกชนิดนี้จะทนต่ออุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ถึง 110 องศาเซลเซียส ประเภทนี้มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 3-6 เดือนขึ้นกับการต้มฆ่าเชื้อ
2.ขวดนมพลาสติก Polyethersulfone หรือ PES
เป็นพลาสติกที่มีความืนทานสูง มีสีชา สีน้ำผึ้ง โปร่งแสง ทนทานต่ออุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส ถึง 180 องศาเซลเซียส อายุการใช้งานนานถึง 6 เดือน ถึง 1 ปี
3.ขวดนมพลาสติก Polyphenylsulfone หรือ PPSU
เป็นพลาสติกคุณภาพสูง มีสีน้ำตาลอ่อนตามธรรมชาติ มีคุณสมบัตไม่ดูดซับสี มีความทนทานสูงได้ถึง 260 องศาเซลเซียส ทนทานต่อการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน และไม่ดูดซับความร้อน มีอายุการใช้งาน 1-2 ปี
ขวดนม ขนาดเท่าไหร่ดี
ทารกแรกเกิดกระเพาะยังเล็กมาก จึงไม่สามารถดื่มนมได้เยอะ ปกติในเดือนแรกจะดื่มได้ประมาณ 1.5-2 ออนซ์ จึงไม่จำเป็นต้องซื้อขนาด 2 ออนซ์ไว้มากนัก แต่พอช่วงสามเดือนแรกขนาดที่เหมาะสมควรเป็นขนาด 4-5 ออนซ์ พร้อมกับจุกนมสำหรับเด็กแรกเกิดส่วนขนาด 9 ออนซ์จะเหมาะกับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยหรือมากกว่านั้น
คุณแม่ควรซื้อนมกี่ขวด
ปัจจัยแรกที่ต้องคำนึงถึงคือต้องดูว่าเราจะเลี้ยงด้วยนมแม่หรือเปล่า สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกอยู่บ้านได้เต็มเวลาก็แทบจะยังไม่ต้องใช้ขวดนมเลย จนกว่าจะถึงวัยที่เริ่มให้นมผงเสริม แต่ก็ควรมีติดไว้บ้างอยางน้อย 2-3 ขวด แต่สำหรับคุณแม่ที่ไม่สามารถให้นมลูกหรือลูกไม่ยอมเข้าเต้าควรมีเยอะสักหน่อยประมาณ 4-6 ขวด
วิธีเลือกซื้อ ขวดนมเด็ก
วัสดุ
แก้ว – ผลิตจากแก้ว มีความทนทานและปราศจากสารเคมี มีราคาแพงและเกิดอันตราย เนื่องจากขวดแก้งสามารถแตกได้ หากเลือกแบบที่มีฝาปิดเป็นซิลิโคน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายเนื่องจากขวดแตก
พลาสติก— แบบพลาสติกแม้จะไม่แตกเหมือนขวดแก้ว แต่ขวดพลาสติกจะมีการเสื่อมสภาพ และต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ หากสงสัยว่าขวดพลาสติกที่ใช้อยู่มีสารเคมีหรือไม่ โดยเฉพาะ Bisphenol-A BPA ให้เปลี่ยนขวดนมทันที
รูปทรงขวดนม
- ทรงมาตรฐาน มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีส่วนโค้งเว้าด้านข้างที่ช่วยให้ง่ายต่อการเทนม ทำความสะอาดง่ายกว่า
- คอโค้ง มีลักษณะมีคอขวดโค้ง จับได้ถนัดมือ ทำให้นมอยู่ก้นขวดและช่วยป้องกันเด็กดูดลมเข้าไป การเติมนมค่อนข้างลำบาก อาจจะต้องเอียงขวดหรือใช้กรวยแทน
- แบบมีช่องระบายอากาศ มีลักษณะท่อคล้ายหลอดอยู่ตรงกลาง เพื่อการระบายลมและฟองอากาศ เชื่อว่าขวดแบบนี้สามารถป้องกันอาการโคลิคและการเกิดแก๋สในท้องได้ แต่อาจจะลำบากในการประกอบ ทำความสะอาดค่อนข้างลำบาก
ขนาด
ในช่วงแรกคุณแม่ควรเลือกขวดนมที่บรรจุน้ำนมได้ 4 ออนซ์สำหรับทารกแรกเกิด จากนั้นจึงเปลี่ยนไปเป็นขนาด 8-9 ออนซ์เมื่อลูกโตขึ้นและเริ่มดื่มนมมากขึ้น
รูปแบบจุก
ขนาดของจุกนมนั้นเล็กใหญ่ไปตามวัยของเด็ก ซึ่งทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 แบบคือจุกหลอกสำหรับเริ่มต้นดูด และจุกหลอกสำหรับใช้ร่วมกับขวดนม ดังนั้นให้พิจารณาจากวัสดุที่ใช้ทำที่ยืดหยุ่น ง่ายต่อการทำความสะอาด
จุกนมผลิตจากวัสดุอะไร
- จุกนมทำจากยาง – จุกนมที่ผลิตจากยางพารา จะมีความนุ่มมากกว่าแบบซิลิโคน มีสีน้ำตาล สีขุ่นจามแต่ละชนิด ทนความร้อนได้ 100 องศาเซลเซียส มีอายุการใช้งาน 3 เดือน
- จุกนมซิลิโคน – มีความคงทนมากกว่าจุกยาง มีลักษณะยืดหยุ่นสูงมีสีใส ขาดและเสียได้ยากกว่า ทนความร้อนได้ 120 องศาเซลเซียส มีอายุการใช้งาน 4-6 เดือน
วิธีให้ลูกดูดขวดนม
1.ช่วงเวลาที่เหมาะสม
ในช่วง 3 เดือนแรกทารกจะดูดนมคุณแม่ถี่มาก ๆ โดยเฉลี่ยทุก 4-6 ชั่วโมง เมื่อถึงเวลาให้คุณแม่อุ้มและดูดนมจากเต้าสลับกับการป้อนด้วยขนาดเล็ก โดยเริ่มสลับเป็นขวดนมเมื่อลูกน้อยอายุ 3-4 สัปดาห์
2.การสัมผัส
โดยปกติทั่วไปเด็กแรกเกิดจะรู้จักแต่การสะกิดเบา ๆ ที่แก้มหรือคาง ก่อนให้นมให้คุณแม่ลองสะกิดที่แก้มเล็กน้อย เพื่อดูว่าอารมณ์ของลูกน้อยว่าเป็นอย่างไรในขณะนั้น แล้วจึงค่อยให้ขวดนมเพื่อให้เขาได้ดูดนมจากขวดได้เอง
3.จิตใจที่สงบ อารมณ์ดี รู้สึกปลอดภัย
คุณแม่ควรสังเกตอารมณ์ลูกน้อยบ้าง หากลูกน้อยกำลังรู้สึกปลอดภัย อารมณ์ที่สงบ สบายตัว การมีขวดนมให้ลูกได้ถือ และดูดด้วยตัวเองก็อาจจะเพียงพอแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องอุ้มหรือให้ดูดนมจากเต้า
4.รสชาติก็สำคัญ
อุณหภูมิของนม มีผลต่อการรับรู้รสชาตินมของลูกน้อย หากเป็นนมแม่ที่เก็บแช่แข็งไว้ ก่อนนำมาให้ลูกน้อยดื่ม อยาลืมวัดอุณหภูมิให้ดีก่อน โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับนมที่ทารกจะดื่มคือ 35-37 องศาเซลเซียส
วิธีการทำความสะอาด ดูแลรักษา ขวดนม
รู้หรือไม่ในช่วงปีแรกร่างกายของทารกจะมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อไวรัส แบคทีเรียค่อนข้างสูง อาจนำไปสู่ภาวะอื่น ๆ ที่รุนแรงได้ เช่น อาเจียน ท้องเสีย โรคลำไส้อักเสบ ดังนั้นการดูแลรักษาให้สะอาดเป็นทางที่ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อดังกล่าวได้ โดยหลายคนอาจเลือกทำความสะอาดด้วยการใช้น้ำสบู่ธรรมดาซึ่งอาจจะยังไม่เพียงพอ ดังนั้นเรามีวิธีการทำความสะอาดที่ปลอดภัยมาฝาก
1.การล้างขวดนม
โดยวิธีการทำความสะอาดก่อนไปฆ่าเชื้อ ทำได้โดย
- ล้างขวดนม จุกนม ด้วยน้ำร้อนและสบู่ทันทีที่ใช้งานเสร็จ ด้วยการผสมน้ำยาล้างกับน้ำอุ่นเข้าด้วยกัน ใช้ฟองน้ำล้างชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้สะอาด ให้ล้วงด้านในก่อนแล้วจึงล้างด้านนอก ไม่ควรใช้ฟองน้ำขัดแรง ๆ เพราะจะทำให้เป็นรอยมีอายุการใช้งานสั้นลง
- ล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อยสองรอบ ใช้แปรงทำความสะอาดสำหรับล้างขวดและล้างจุกนมโดยตรง ซึ่งควรกลับด้านในจุกนมออกมาล้าง ห้ามใช้น้ำเกลือล้างเพราะอาจเป็นอันตรายต่อทารก
- นำอุปกรณ์ทั้งหมดมาล้างด้วยน้ำเย็น โดยเปิดให้น้ำไหลผ่านก่อนนำไปฆ่าเชื้อ
2.การฆ่าเชื้อขวดนม
- การต้ม – เป็นวิธีฆ่าเชื้อที่ได้รับความนิยมที่สุด คือ ต้มในหม้อน้ำที่มีน้ำเดือดและปิดฝาเป็นเวลา 10 นาที ตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีฟองอากาศ ซึ่งที่จะนำไปต้มต้องผลิตจากวัสดุที่ทนความร้อนได้ และการต้มทำให้จุกนมเสื่อมสภาพเร็วกว่าดังนั้นอย่าลืมตรวจสภาพจุกนมเป็นประจำด้วย
- การอุ่นไมโครเวฟ – เป็นวิธีการฆ่าเชื้อที่สะดวกรวดเร็วคือการนำไปอุ่นร้อนในไมโครเวฟ ใช้เวลาเพียง 1.5 นาที คงความสะอาดได้ถึง 3 ชั่วโมงแถมไม่ทิ้งกลิ่นหรือรสชาติไว้ ซึ่งวิธีการนำเข้าไมโครเวฟก็ไม่ควรปิดเกลียวฝาจนสุด แต่ให้แง้มฝาไว้เล็กน้อยเพื่อลดการก่อตัวของอากาศภายใน และควรระวังเรื่องความร้อนเวลาอุ่นนมเสร็จใหม่ ๆ อาจร้อนจัดเมื่อไปจับ
- การใช้เครื่องนึ่งขวดนม – เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็ว เพียง 12 นาที คงความสะอาดไว้ได้ถึง 6 ชั่วโมง หากเก็บไว้ในที่สะอาดปลอดเชื้อ วิธีการใช้โดยการวางลงในเครื่องนึ่ง เปิดฝาและคว่ำลง จะช่วยฆ่าเชื้อโรคภายในได้ทั่งถึง และปฏิบัติตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าวัสดุสามารถใช้กับเครื่องนึ่งได้ปลอดภัย
- การแช่น้ำยาฆ่าเชื้อโรค – เป็นวิธีที่ใช้น้ำยาหรือเม็ดฟู่ฆ่าเชื้อละลายกับน้ำเย็นในภาชนะที่ไม่ใช่พลาสติก ให้นำขวดนมและอุปกรณให้นมอื่น ๆ แช่ไว้เป็นเวลา 30 นาที ปิดภาชนะให้มิดชิด และควรเปลี่ยนน้ำที่ใช้แช่ทุก 24 ชั่วโมง โดยตรวจให้มั่นใจว่าไม่มีฟองอากาศภายในก่อนนำลงไปแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อ
วิธีเลือกซื้อขวดนมให้ลูก
สรุป
ขวดนมเด็กเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญที่จะต้องอยู่กับลูกน้อยตลอดเวลา ดังนั้นคุณแม่ควรใส่ใจในการเลือกอุปกรณ์ การดูแลรักษา การทำความสะอาดเป็นพิเศษเสมอ รวมถึงการดูแลสุขภาพให้สารอาหารของทารกที่จำเป็นต่อลูกน้อย
ที่สำคัญการเลือกคุณแม่ต้องสังเกตสัญลักษณ์ โดยต้องปลอดสาร BPA Free เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีสาร BPA แน่นอน เพราะสาร BPA เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ฉะนั้นต้องตรวจสอบและสังเกตสัญลักษณ์นี้ก่อนซื้อทุกครั้ง
ตู่ คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวผู้สตรอง ปัจจุบันทำงานเป็นนักวิชาการด้านการพัฒนามนุษย์ และสังคม ประสบการณ์เป็นวิทยากรด้านการเลี้ยงดูเด็ก และ จิตวิทยาวัยรุ่น และเป็นนักเขียนบทความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับแม่และเด็ก
ขวดนม Mama’s Choice
-มีตัวล็อกกันอากาศเข้า ทนทานต่อความร้อน
-ขนาดของสินค้า 150 มล. / 250 มล.
ขวดนม Pigeon
-ขนาดของสินค้า 5 ออนซ์ / 8 ออนซ์
-ทนความร้อนได้สูงถึง 180 องศา
-ดีไซน์สวยงาม รูปทรงจับถนัดมือ
-จุกนมมีความยืดหยุ่น นิ่ม
ขวดนม PUREEN
-วัสดุทำมาจาก Polypropylene ปราศจากสาร BPA
-ขนาดสินค้า 2 ออนซ์ มีความแข็งแรง เนื้อหนาเป็นพิเศษ
ขวดนม CAMERA
-วัสดุทำมาจาก Polypropylene
-ทนความร้อนได้สูงถึง 120 องศา
-รูปทรงสวยงามจับถนัดมือ
-ขนาดของสินค้า 9 ออนซ์
ขวดนม Philips Avent
-ขนาดของสินค้า 260 มิลลิลิตร
-ดูแลรักษาล้างทำความสะอาดง่าย
-จุกนมนุ่มและมีความยืดหยุ่นเป็นพเศษ
-สามารถใช้ร่วมกับเตาไมโครเวฟหรือเครื่องล้างขวดนมได้
ขวดนม Nanny รุ่น Slim Neck
-ขนาดของสินค้า 260 มิลลิลิตร
-จุกนมมีระบบวาล์ว ช่วยลดอาการโคลิค
-ทนทานต่อการใช้งาน ทนความร้อนได้สูงถึง 110 องศา
ขวดนม MAM รุ่นป้องกันโคลิค
-ทำความสะอาดง่าย ไม่ยุ่งยาก
-วัสดุทำมาจากซิลิโคนคุณภาพดี
-ขนาดของสินค้า 130 มิลลิลิตร
-ระบบระบาศอากาศใต้ขวดป้องกันท้องอืด
ขวดนม ATTOON
-ทนความร้อนได้สูงถึง 100 องศา
-ปากคอขวดกว้าง ทำความสะอาดง่าย
-ขนาดของสินค้า 5 ออนซ์ ดีไซน์มีหูจับ
ขวดนม Nuebabe
-ขนาด 4 ออนซ์ / 8 ออนซ์
-จุกนมซิลิโคนนิ่มเป็นพิเศษ
-ทนความร้อนได้สูงถึง 110 องศา
-มีหูจับ สามารถถอดทำความสะอาดได้
ขวดนม Save D
-ทนความร้อนได้สูงถึง 110 องศา
-ขวดทรงกลม ปากคอขวดแคบ
-ขนาด 4 ออนซ์ / 8 ออนซ์
-รูปทรงขวดจับถนัดมือ