10 กรงกระต่าย แบบไหนดี 2024 แข็งแรง สวยๆ พับได้ ย้ายสะดวก

กรงกระต่าย แบบไหนดี
กรงกระต่าย เป็นอีกสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆ รองจากเรื่องอาหารเลยทีเดียว สำหรับผู้เลี้ยงที่คิดเริ่มต้นจะหาสัตว์เลี้ยงประเภทนี้ เข้ามาในบ้าน หรืออาจจะเคยเลี้ยงแล้วก็ตาม

กระต่ายอย่างที่เรารู้ๆ กันดีว่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีภาวะไวต่อการตกใจ หรือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว อีกทั้งเรื่องอาหาร และที่อยู่อาศัยก็ต้องดูแลให้ปลอดภัย และระวังเป็นพิเศษ

ดังนั้นการเลี้ยงกระต่าย จึงไม่ใช่เรื่องสบายๆ เหมือนอย่างความน่ารักที่เราเห็นๆ กันภายนอก อย่างเช่นอาหารที่หลายคนไม่รู้ คิดว่าการให้กินอาหารผัก ผลไม้สดๆ จะเป็นเรื่องดีต่อกระต่าย แต่แท้ที่จริงแล้ว สิ่งเหล่านี้สามารถให้เป็นอาหารได้ แต่ควรจะเน้นแต่ปริมาณน้อยเท่านั้น

หลักๆ แล้วควรให้อาหารประเภท หญ้าแห้ง และหญ้าสด อย่างแรกคือ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย รวมถึงการช่วยเรื่องระบบเคี้ยว และฟันของกระต่ายให้แข็งแรง

สารบัญ

เลี้ยงกระต่ายพันธุ์ไหนดี

1.มินิลอป (Mini Lop)

กระต่ายพันธุ์มินิลอป

ใครที่หลงเสน่ห์กระต่ายที่มีความหูตก หรือหูพับ อาจจะต้องเน้นเลือกพิจารณาสายพันธุ์แบบ ลอป หรือ Lop มาก่อนเพื่อน อย่างในสายพันธุ์นี้ หลายคนอาจมองว่า กระต่ายสายพันธุ์นี้ มีความคล้ายกับพันธุ์ ฮอล์แลนด์ แต่ส่วนที่จะสังเกตเห็นความแตกต่างได้บ้างคือ ความยาวของหูที่พับลงมา

เมื่อถึงวัยที่โตเต็มที่แล้ว จะมีน้ำหนักเพียงแค่ 2-3 กิโลกรัมเพียงเท่านั้นเอง แต่โดยรวมมีน้ำหนักที่เทียบเท่ากับสายพันธุ์ฮอล์แลนด์ ลอป ถึงแม้จะใช้ชื่อ มินิ ที่มีความหมายว่ามีขนาดที่เล็กก็ตาม  อีกทั้งยังมีลักษณะเด่นในเรื่องของความฉลาด และฝึกสอนได้ง่าย

2.ฮอล์แลนด์ ลอป (Halland Lop)

ลักษณะส่วนที่เหมือนกับสายพันธุ์ มินิ ลอป ที่เป็นตราสัญลักษณ์ ของสายพันธุ์ต่อท้ายว่า Lop ก็คือ ลักษณะหูที่พับลงมานั่นเอง สายพันธุ์นี้จะมีน้ำหนักได้มากเกือบถึง 2 กิโลกรัมเลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูร่วมด้วย มีลักษณะลำตัวสั้น, กระดูกหนา, และมีรูปหน้าความยาวกว่า สายพันธุ์มินิ ลอป

อุปนิสัย และลักษณะเฉพาะก็คือ มีความเชื่อง, เรียนรู้ทุกอย่างรอบตัวได้ง่าย และเร็ว เราจะสังเกตในวันแรกที่พามาที่บ้าน กระต่ายสายพันธุ์นี้ จะมีการจดจำสถานที่ และกลิ่นที่คุ้นของตัวเองได้เป็นอย่างดี และจะรู้ว่าจุดตำแหน่งไหน เป็นที่ๆ ปลอดภัย สามารถฝึกสอน และเรียนรู้ได้เร็ว เหมือนกับสายพันธุ์ มินิ ลอป

3.เนเธอร์แลนด์ ดวอร์ฟ (Netherland Dwarf)

ใครที่อยากเลี้ยงกระต่ายตัวเล็กมากๆ หรือเล็กกว่า 2 สายพันธุ์แรก อาจจะต้องเก็บพันธุ์นี้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ด้วยความที่มีลักษณะตัวเล็ก ส่วนหัวที่มีความกลมมน และมีสัดส่วนเทียบเท่ากับลำตัวเพียงแค่ 1:2 เท่านั้น อีกทั้งเมื่อโตเต็มที่แล้ว น้ำหนักจะอยู่เพียงแค่ 7-9 ขีด ทำให้เป็นกระต่ายในความต้องการของใครหลายตัว ในความน่ารัก และตัวเล็ก แต่อาจเป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีความเชื่องเท่าไหร่ รวมถึงซน จะวิ่งและไม่อยู่กับที่

4.เร็กซ์ (Rex)

กระต่ายพันธุ์เร็กซ์

สายพันธุ์ที่ถือว่า มีขนาดที่ตรงข้ามกับ 3 สายพันธุ์ก็คือ มีขนาดตัวที่ใหญ่ โดยเฉพาะช่วงที่โตเต็มที่แล้วนั้น สามารถมีน้ำหนักได้มากถึง 3-4.5 กิโลกรัมเลยที่เดียว การเลือกเลี้ยงสายพันธุ์นี้ ผู้เลี้ยงนอกจากจะต้องรู้ว่า มีขนาดตัวที่ใหญ่แล้ว ยังมีอุปนิสัยที่ออกไปในทางก้าวร้าวสักหน่อย โดยเฉพาะหากไม่ได้ทำหมัน

เป็นสายพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศส และจุดดึงดูดที่อาจจะมาทดแทนลักษณะนิสัยข้างต้นได้ก็คือ ความที่มีความนุ่มของขนเหมือนผ้าซาติน รวมถึงความยาวของขนกระต่ายสายพันธุ์เร็กซ์นี้อยู่ที่ 5/8 นิ้ว มีหูที่ตั้งขึ้น มีนิสัยที่ชอบผจญภัย, อยากรู้อยากเห็น แต่การเข้าหาอาจจะต้องดูอารมณ์ของกระต่ายสายพันธุ์นี้ร่วมด้วย

5.ดัชต์ (Dutch)

กระต่ายที่เป็นสายพันธุ์คล้ายกับสายพันธุ์เร็กซ์ ในเรื่องของขนาดตัว และความคล่องแคล่วว่องไว น้ำหนักในช่วงอายุที่โตเต็มที่อยู่ที่ 1.8-2.5 กิโลกรัมเลยทีเดียว เป็นสายพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดจาก ประเทศอังกฤษ เราจึงมักเห็นคนอังกฤษเลี้ยงกระต่ายที่บ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์นี้ มากเท่าๆ กับบ้านที่เลี้ยงสุนัขกันเลยที่เดียว

เอกลักษณ์ของกระต่ายสายพันธุ์ ที่ทำให้กลายเป็นที่จดจำได้อย่างง่ายๆ คือ การมีแถบสีตั้งแต่ช่วงหูถึงแก้ม ที่เป็นสีแตกต่างจากลำตัว และสาเหตุที่มีคนนิยมเลี้ยงกันมากในแถบตะวันตก เพราะด้วยความเป็นมิตรของกระต่ายสายพันธุ์นี้ จึงมีการนำมาเลี้ยงด้วยกันกับเด็ก ไม่มีนิสัยก้าวร้าว เป็นกระต่ายที่มีอารมณ์ที่ดี

อุปกรณ์การเลี้ยงกระต่ายควรมีอะไรบ้าง

1.กรงกระต่าย

กรงกระต่าย

ขนาดของกรงจะมีตั้งแต่ ความกว้างxความยาวxความสูง  33x54x42 เซนติเมตร, ขนาดที่ใหญ่ขึ้นมาคือ 90x62x70 เซนติเมตร หรือขนาดใหญ่ 111x109x75 เซนติเมตร แต่หากเราวางแผนไว้ว่าจะเลี้ยงเริ่มต้นที่ 2 ตัวก่อน การเลือกขนาดพอดีๆ หรือ 60x150x60 เซนติเมตร ก็เป็นตัวเลือก ที่จะทำให้เราได้ดูก่อนว่า ตัวกรงมีขนาดเล็ก หรือพอดีสำหรับจำนวนกระต่ายที่เราเลี้ยง

ซึ่งสำหรับบางบ้านเน้นเรื่องพื้นที่ในการวิ่งเล่น ให้กับกระต่ายที่มากไว้ก่อน ดังนั้นการเลือกเผื่อขนาดให้ใหญ่หน่อย ก็จะเป็นความปลอดภัยกว่า การเลือกในขนาดกรงที่เล็กเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียให้กระต่ายเกิดความเครียดได้อีกด้วย

ตัวกรงที่พื้นด้านล่าง ถึงแม้จะมีตัวดึงกระบะออกมา เพื่อที่จะสามารถทำความสะอาดทั้งสิ่งสกปรก, อาหารที่ตกหล่น รวมถึงบนพื้นตะแกรงที่กระต่ายใช้นั่ง, ยืน รวมถึงการนอนด้วยนั้น เราจำเป็นที่จะต้องใส่ใจ เพราะมีผลต่อความสบายให้กับกระต่ายร่วมด้วย

เราจึงจะเห็นการวางรองพื้นด้วยวัสดุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตาข่ายที่มีความถี่ เพื่อให้เวลากระต่ายยืน ตัวนิ้วไปแหย่ลงไปที่ซี่ตะแกรงของกรง รวมถึงตัวขี้เลื่อย หรือแผ่นรองพลาสติกที่มีขนาดรูตาข่ายต่างๆ ใช้เป็นตัวเปลี่ยนในเวลาที่เราดึงออกมาล้าง ทำความสะอาด

2.ขวดน้ำกระต่าย

ขวดน้ำกระต่าย

เป็นอุปกรณ์ที่ติดกับตัวกรงกระต่าย ในแบบที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว เพราะถ้าเราเปรียบเทียบกับร่างกายคนมีน้ำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญแล้วละก็ กระต่ายก็มีความจำเป็นที่จะต้องกินน้ำให้ได้ ในปริมาณ 50-150 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัวที่เป็นกิโลกรัมต่อวัน

ซึ่งถือว่ามีปริมาณความต้องการน้ำที่มากพอสมควรเลยทีเดียว ดังนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ เมื่อเราไม่ได้อยู่บ้าน ควรสำรองขวดน้ำไว้ 2 ขวดต่อกรง

หากมีกระต่ายอยู่ในกรงมากกว่า 1 ตัวให้บวกเพิ่มเข้าไปตามจำนวนตัว เพราะหากคนที่เคยเลี้ยงกระต่ายมาแล้ว จะรู้ว่าในแต่ละชั่วโมง กระต่ายมีการปัสสาวะบ่อย และเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีน้ำสะอาดเข้าไปแทนที่ปัสสาวะที่ขับถ่ายออกมา โดยกดเติมจาก เครื่องกรองน้ำ

ลักษณะขวดน้ำกระต่าย มีหลากหลายขนาด แต่จุดที่เราอาจจะต้องพิจารณาในการเลือกซื้อคือ ตรงเดือยหรือลิ้นขวดน้ำ ที่เป็นส่วนที่กระต่ายต้องใช้ปากดุน เพื่อให้น้ำออกมาจากด้านในขวด ไม่ควรมีความฝืด หรือแน่น เราลองใช้มือแตะ และกดดูว่า มีการบุ๋มลงไปง่าย เพราะหากมองเห็นว่า ทั้งวันขวดน้ำไม่มีปริมาณน้ำที่ลดลงเลย ควรต้องตรวจสอบตัวขวดน้ำว่า น้ำจากด้านในขวดไหลออกมาได้ง่ายหรือไม่

3.ชามอาหาร

วัสดุที่ทำมาจากพลาสติกอย่างหนา อย่างเช่น พลาสติก pvc หรือสแตนเลส หากจะมีความสะดวกในการใช้ร่วมกับกรงกระต่ายร่วมด้วย คือบางชามอาหารจะมีตัวเกี่ยวกับกรงให้ด้วย หรือหากใช้วัสดุที่เป็นชามกระเบื้อง หรือเซรามิก ตรงนี้จะตัดปัญหาเรื่อง กระต่ายชอบคว่ำชามอาหาร เวลาที่อาหารหมดแล้วเราลืมเติม

4.คอกกระต่าย

ในกรณีที่เราพากระต่ายออกมาวิ่งเล่นนอกกรง ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งเล่นภายในตัวบ้าน แต่เน้นพื้นที่กว้างกว่าในกรงกระต่าย หรือการพาวิ่งเล่นส่วนที่เป็นสนามหญ้าหน้าบ้านก็ตาม ถึงแม้กระต่ายจะเป็นตัวที่เราฝึกไว้เป็นอย่างดี, มีความเชื่อง เราก็ไม่ควรประมาท การหาคอกกระต่ายมากั้นอาณาเขตพื้นที่ไว้

หากเราเลี้ยงกระต่ายไว้ 2 ตัว จะเป็นเรื่องดีที่สุด หากเราซื้อคอกกระต่ายมาสำรองไว้หลายชิ้น เพื่อทำการต่อเป็น 2 คอกให้กระต่ายสามารถวิ่งเล่นคอกของตัวเองได้ ก่อนพากระต่ายมาวิ่งเล่นที่สนามหญ้าหน้าบ้าน เราควรที่จะใช้ เครื่องตัดหญ้าไฟฟ้า เพื่อให้หญ้ามีความสั้น และเสียบปลั๊ก พัดลมเล็ก ,พัดลมแอร์ เข้ากับ รางปลั๊กไฟ เปิดเพื่อเป็นการระบายอากาศในนั้นให้เย็น และถ่ายเทสะดวก

เพราะอากาศที่จะทำให้กระต่าย มีความสบายตัว และอารมณ์ดีนั้น จะอยู่ที่อุณหภูมิที่ 10-20 องศาเซลเซียส และหากต้องการเปิดแอร์ให้กระต่าย เราสามารถตั้งในอุณหภูมิที่ 20-25 องศาเซลเซียสได้ การได้นั่งดูกระต่ายวิ่งเล่นบน เก้าอี้สนาม , เก้าอี้พับนอน , เตียงพับ พร้อมกับมีเครื่องดื่มเย็นๆ ใน แก้วเยติ ก็ถือว่าเป็นการพักผ่อนที่ดีทีเดียว

5.กระบะขับถ่าย

หากในกรณีที่เรานำกระต่ายออกมาวิ่งเล่นนอกกรง  แต่เป็นพื้นที่ภายในตัวบ้านนั้น การมีกระบะที่มีการรองด้วยแผ่นซับ หรือเศษขี้เลื่อยไว้ด้านใน ก็จะเป็นการเตรียมพร้อมไว้ก่อน เพราะกระต่ายจะมีการขับถ่ายทั้งหนัก และเบาอยู่ตลอดเวลาเมื่อกินอาหารเรียบร้อยแล้ว

กรงกระต่ายมีกี่แบบ

1.แบบกรงกระต่าย

ที่สำคัญในการดูว่าเหมาะกับการนำมาใช้เลี้ยงกระต่ายหรือไม่คือ ไม่ควรให้ซี่กรงมีความถี่เกินไป เพื่อที่จะไม่ทำให้กระต่ายรู้สึกอึดอัด เวลาที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในกรง และเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

กรงเลี้ยงกระต่ายไม่จำเป็นต้องเป็นวัสดุแบบเดียวกันหมด อย่างเช่นถาดส่วนด้านล่าง ที่เป็นอุปกรณ์รองรับของเสีย และการขับถ่าย ควรเป็นโลหะ ที่จะช่วยให้มีความแข็งแรงของฐานกระต่าย และยกมาล้างทำความสะอาดได้ง่าย

ส่วนด้านบนอาจะเป็นวัสดุที่แตกต่างกันอย่างเช่น ไม้ หรือพลาสติกเพื่อให้มีความนุ่ม สบายเท้าในเวลาเดิน, นั่ง หรือนอน เพราะหากเป็นโลหะ อาจมีส่วนใดของวัสดุที่ทำให้บาดเจ็บ หรือนอนอาศัยไม่สบาย

2.แบบบ้านกระต่าย

บ้านกระต่าย

เราจะสังเกตเห็นถึงความแตกต่างจากแบบแรกคือ ด้านบนจะมีหลังคาปกปิด ไม่เปิดโล่ง ซึ่งมีข้อดี ข้อเสียเหมือนกัน เช่น หากมีหลังคาในแบบบ้านกระต่าย ก็สามารถกันเศษสิ่งสกปรก หรือใบไม้ต่างๆ ที่จะเข้ามาในกรง หรือติดบนกรงได้ รวมถึงกันฝนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องย้ายกระต่ายเข้าไปในบริเวณตัวบ้าน ตรงนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเลี้ยงของแต่ละที่ร่วมด้วย

ไอเดียบ้านกระต่ายก็เลยเป็นแบบ การนำวัสดุมาสร้าง 2 รูปแบบคือ ด้านบน หรือส่วนบนที่หมายถึงหลังคา ลงมาถึงตัวบ้าน โดยส่วนใหญ่จะเน้นเป็นแผ่นไม้เนื้อหนา ที่สามารถกันได้ทั้งความชื้น, เศษสิ่งสกปรก, ฝน

รวมถึงสิ่งเลื้อยคลานมีพิษต่างๆ มีประตูกรงปิดมิดชิด ภายในมีมุ้งลวดไว้กันยุง แต่หากพูดถึงเรื่องความปลอดโปร่ง แบบกรงกระต่ายจะมีข้อดีเรื่องนี้มากกว่า

ซึ่งมีบางผู้เลี้ยงสามารถดัดแปลงบ้านกระต่ายแบบนี้ ที่มีข้อได้เปรียบเรื่องโครงสร้างที่ปิดมิดชิด สามารถติดพัดลมระบายอากาศด้านในตัวบ้าน หรือแม้กระทั่งเครื่องปรับอากาศภายใน ก็สามารถที่จะทำได้ แต่ควรที่จะต้องมีการเปิดปิดเป็นเวลา

หรือช่วงที่อากาศอบอ้าว สลับกับช่วงเช้า หรือช่วงเย็นที่มีอากาศปลอดโปร่งร่วมด้วย อีกทั้งต้องหมั่นทำความสะอาดพัดลม และเครื่องปรับอากาศ เพราะอาจมีปัญหาเศษขนติด ที่ไม่ควรปล่อยให้เยอะจนเกินไป

วิธีการเลือกกรงกระต่ายให้ตรงกับการใช้งาน

เลือกซื้อกรง

1.เลือกให้เหมาะกับขนาด และจำนวนของกระต่าย

การกะขนาดของกรงให้เหมาะกับตัวกระต่ายที่เราเลี้ยงนั้น หากไม่มั่นใจควรเผื่อขนาดกรงไว้อย่างน้อยๆ เท่าตัวหนึ่งของขนาดตัวกระต่ายที่เราเลี้ยง หรืออย่างน้อยๆ ควรมีพื้นที่ 60×120 เซนติเมตร โดยที่เราสามารถสังเกต เวลาที่กระต่ายนอนเหยียดขา นั่นเป็นความลึก และความกว้างที่เราควรมองเผื่อพื้นที่ภายในกรง

2.ไม่ขึ้นสนิม

ส่วนใหญ่กรงกระต่ายที่มีการทำออกมาขายนั้น ส่วนใหญ่จะเน้นที่วัสดุพลาสติก เพราะง่ายต่อการทำความสะอาด และไม่ขึ้นสนิม การนำไปล้างทำความสะอาดก็จะแห้งง่าย

3.ทนความร้อน และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

การซื้อมาใช้งานอย่างน้อยๆ ผู้เลี้ยงก็อยากที่จะให้มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี ดังนั้นในสภาพอากาศบ้านเราที่เปลี่ยนแปลงตลอด ไม่ว่าจะเป็นแดดร้อน หรือฝนตก ถึงแม้เราจะเห็นว่ากรงมีวัสดุที่ทำจากพลาสติกก็ตาม แต่ก็ยังมีการแบ่งลักษณะเป็น พลาสติกเนื้อบาง และเนื้อหนา ที่มีอายุการใช้งานที่แตกต่างกันอีกด้วย

4.ไม่มีวัสดุที่เป็นอันตราย และเสี่ยงต่อการกัด, แทะ

อย่างที่เรารู้ๆ กันว่ากระต่ายเป็นสัตว์ ที่มีฟันลักษณะแทะ ดังนั้นตัวกรงต้องไม่มีอะไร ที่ยื่น หรือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะให้กระต่ายกัดแทะได้ เพราะในผู้ที่เคยเลี้ยงกระต่ายมา และมีการใช้ชามอาหารพลาสติก ในแบบแขวนกับตัวกรง เมื่อเราลืมให้อาหารกระต่าย หรืออาหารหมดชามและยังไม่มีการเติมให้ เราอาจจะเห็นกระต่ายบางตัว ใช้วิธีกัดแทะขอบชามอาหารแทน ซึ่งอาจต้องทำให้เราระมัดระวังเรื่องนี้มากขึ้น

5.รูปแบบตัวกรงกระต่าย

นอกจากตัวกรงที่จะเป็นแบบชั้นเดียว เหมือนอย่างที่เราเห็นจนชินตา ก็ยังมีรูปแบบกรงกระต่าย ที่ออกมาแบบมาให้กระต่ายโดยเฉพาะ โดยเราสังเกตได้จากด้านในกรง จะมีชั้นพาดจากพื้นด้านล่าง ขึ้นไปด้านบน ช่วยให้กระต่ายไม่เบื่อ เวลาที่ต้องอยู่ภายในกรงนานหลายชั่วโมง

6.เลือกแบบที่พับได้

แบบนี้เป็นที่นิยมมากๆสำหรับบ้านที่เลี้ยงกระต่ายไว้ไม่เยอะ ประมาณ 1-2 ตัว กรงกระต่ายประเภทนี้มีข้อดีคือ สะดวกในการเคลื่อนย้าย พับเก็บ เปลี่ยนที่เลี้ยง ส่วนมากเป็นกรงที่มีขนาดเล็ก ควรเลือกรูปแบบที่สวยงาม ทนทานแข็งแรงควบคู่กัน

วิธีจัดกรงกระต่าย

การจัดกรงกระต่าย

1.ก่อนอื่นเราอาจจะต้องเริ่มต้นเลือกกรงกระต่าย ที่มีขนาดที่ใหญ่ และไม่คับแคบสำหรับขนาดกระต่ายที่เราเลี้ยง รวมถึงดูจำนวนกระต่ายที่ต้องการให้อยู่ในกรง

2.การแยกกรงเลี้ยงจะเป็นเรื่องดี หากมีเนื้อที่ในการวางภายในตัวบ้าย ที่เน้นส่วนพื้นที่มีอากาศโล่ง และโปร่ง มีอากาศที่ถ่ายเทสะดวก

3.การเปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ ให้อากาศเย็น เพราะกระต่ายสามารถทนอากาศหนาวได้มากถึง 0 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว และกระต่ายชอบอากาศเย็นที่อุณหภูมิ 10-20 องศาเซลเซียส ดังนั้นในการเปิดแอร์เราสามารถเลือกตั้งความเย็นได้ตั้งแต่ 20-25 องศาเซลเซียส

4.กรงที่เราเลือกให้กับกระต่าย ควรมีพื้นที่มีความแข็งแรง ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะกับการที่กระต่ายนั่งหรือนอน อีกทั้งยังป้องกันตัวนิ้ว และเล็บไม่ให้เกี่ยวกับซี่ตะแกรงของกรงอีกด้วย

5.หากเราต้องการที่จะตกแต่งกรงกระต่าย ให้มีความน่าอยู่มากขึ้น และมีความไม่เหมือนใครแล้วละก็ เราสามารถหากรง ที่มีการออกแบบไว้สำหรับการเลี้ยงกระต่ายโดยเฉพาะ โดยมีกระดานพาดจากพื้นชั้นล่าง ขึ้นไปชั้นสอง เพื่อให้กระต่ายไม่เบื่อกับที่เดิมๆ

6.สำหรับการตกแต่งที่เป็นแบบเฉพาะของตัวเราเอง กับกรงกระต่ายที่ได้มานี้ ชั้นล่างจากพื้นตะแกรงซี่กว้าง เราสามารถหากระดานที่เป็นเนื้อวัสดุพลาสติก มาวางด้านบน เพื่อให้ง่ายสำหรับการยืน, นั่ง และนอนของตัวกระต่าย

7.ในการเลือกกรงให้เหมาะกับตัวกระต่ายต่อ 1 ตัวนั้น หากเป็นกระต่ายขนาดตัวปานกลาง สามารถเลือกกรงที่มีพื้นที่ 3 ตารางเมตร หรือ 32 ตารางฟุต ในกรณีที่เป็นกระต่ายขนาดตัวใหญ่ พื้นที่ของกรงควรเพิ่มขึ้นเป็น 4 ตารางเมตร หรือ 44 ตารางฟุต

8.เมื่อเราหาแผ่นพลาสติก พื้นผิวเรียบวางด้านบนพื้นตะแกรงได้แล้ว ให้นำแผ่นรองซับ หรือ pad ที่นิยมใช้กับสุนัข มารองชั้นแรก แล้วจึงหาหญ้าแห้งวางรองด้านบนอีกชั้น ควรมีความหนาของหญ้าแห้งอยู่ที่ 2-3 นิ้ว หรือ 5-7.5 เซนติเมตร

9.หาเบาะนอนนิ่มๆ วางไว้ตรงมุมของกรงด้านใดด้านหนึ่ง หรืออาจจะวางที่นอนให้ทั้งชั้นบน และชั้นล่าง หากมีการเลี้ยงไว้ 2 ตัวในกรงเดียวกัน

10.จากนั้นให้นำกระบะขับถ่าย ที่มีขนาดใหญ่พอที่กระต่าย จะสามารถก้าวเข้าไปขับถ่ายได้ทั้งหนัก และเบา

11.รองตัวกระบะขับถ่ายด้วยกระดาษ ไม่จำเป็นต้องรองหนา เพราะการเปลี่ยนแต่ละครั้ง จะต้องนำกระดาษที่รองทั้งหมดทิ้ง หลีกเลี่ยงการใช้ขี้เลื่อย หรือทรายแมว เพราะหากกระต่ายกินเข้าไปจะเกิดอันตรายได้ วางกระบะไว้ที่มุมอีกด้านที่เราวางเบาะที่นอน

12.นำขวดน้ำกระต่ายมาแขวนไว้บริเวณใกล้กับชามอาหาร โดยที่ชามอาหารไม่บังขวดน้ำ ขวดน้ำขนาด 22 ออนซ์ หรือ 600 มิลลิลิตร สามารถให้กระต่าย 1 ตัวกินได้ 2 วัน ไม่ควรให้กระต่ายกินน้ำจากขวดเดียวกัน เพราะอาจทำให้กระต่าย มีการติดต่อเชื้อโรคถึงกันได้ อาจแก้ปัญหาด้วยการแยกกรงละ 1 ตัว หรือมีขวดน้ำติดแยกห่างกัน

13.ชามอาหารที่ไม่ควรใส่อาหารจนเต็มชาม เพื่อป้องกันกระต่ายคว่ำชาม หรือกินอาหารหกลงในกรง ควรเผื่อพื้นที่ขอบชามอาหารไว้ แบ่งอาหารไว้ 2 ชาม เป็นอาหารเม็ด และอีกชามเป็นหญ้าแห้ง หรือผัก ผลไม้ ที่ไม่ควรให้มากเกินไป เพราะอาจทำให้กระต่ายท้องเสียได้ เนื่องจากผัก และผลไม้มีน้ำอยู่ภายในเนื้อมาก ชามอาหารควรวางใกล้กับตัวกระบะขับถ่าย

14.การมีของเล่นให้กระต่ายในกรง เพื่อที่จะให้กระต่ายมีกิจกรรม หรือออกกำลังกาย ของเล่นควรระวัง ควรเป็นของเล่นที่เป็นทรงกลม ที่กระต่ายไม่สามารถกัดแทะ มุมของเล่นได้

เกร็ดความรู้การดูแลความสะอาดกรงกระต่าย

1.การดูแลความสะอาดให้กับกรงที่กระต่ายอยู่ เป็นเรื่องสำคัญ อย่างน้อยๆ วันละ 2 ครั้ง ในการตักหญ้าที่ปูพื้นด้านบน ตรงส่วนที่กระต่ายขับถ่ายทั้งหนัก และเบาทิ้งไว้ และรองด้วยหญ้าแห้งของใหม่ทดแทน ควรรองให้มีความหนาเท่าเดิม เพื่อให้กระต่ายมีการเดินที่สบายเท้า

2.เมื่อกระต่ายกินอาหาร และน้ำในแต่ละวัน ควรนำชามอาหาร และขวดน้ำมาล้างทำความสะอาดด้วยสบู่เหลวสูตรอ่อนโยน แต่ละเดือนควรนำขวดน้ำมาขัด เอาคราบฝังแน่น หรือคราบที่สะสมตามซอกออก

 เลี้ยงกระต่ายในกรงหรือในคอแบบไหนดีกว่ากัน?

ขอบคุณช่องยูทูป Joyjee Loveberry

สรุป

การดูแลสัตว์เลี้ยงประเภทกระต่ายนี้ อย่างที่เราบอกตั้งแต่ตอนต้นคือ อาจจะแล้วแต่การจัดการของแต่ละบ้าน ซึ่งมีทั้งการเลี้ยงแบบเป็นกรง หรือแบบเป็นบ้านกระต่าย

หรือบางครอบครัวสลับการนำเข้ามาเลี้ยงกระต่ายในห้องร่วมด้วย ซึ่งตรงนี้ต้องบอกว่า การเลี้ยงแบบระบบปิด เป็นทางเลือกที่อาจจะต้องผสมผสาน กับการให้กระต่ายวิ่งเล่นที่สนามหญ้าร่วมด้วย

หากมีสนาม หรือพื้นที่ส่วนตัวในบ้าน แต่ที่สำคัญมากกว่านั้นคือ การใส่ใจเรื่องความสะอาด ทั้งพื้นสนาม หรือบริแวณที่มีน้ำขัง ดูแลเรื่องความอับชื้น ซึ่งจะเป็นที่มาของเชื้อรา

และที่สำคัญคือ ดูแลความปลอดภัยในเรื่องสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ  ที่อาจจะมาทำอันตรายกระต่ายได้ สุดท้ายแล้วหากต้องการที่จะหาซื้อกรงกระต่ายแบบไหนดี อย่างเช่น กรงแบบซี่ ยกพื้นด้วยถาดโลหะด้านล่าง,

กรงกระต่ายที่ทำด้วยไม้ มุงหลังคาเหมือนบ้าน แต่ด้านล่างแยกส่วนเป็นถาดโลหะรองรับการขับถ่าย หรือ บ้านกระต่ายไม้เปิดด้านหน้าโล่ง ไว้สำหรับการเลี้ยงกระต่ายในห้อง และมีคอกกั้นบริเวณสำหรับกระต่ายโดยเฉพาะ

กรงกระต่าย Rabbit Cage

กรงกระต่าย 1
-ขนาด กว้าง 50 ซม. x ลึก 35 ซม. x สูง 43 ซม.
-ถาดรองพลาสติก เนื้อแน่น ไม่ฉีกขาดง่าย
-วัสดุทำมาจากเหล็กเคลือบสีกันสนิม
-น้ำหนักสินค้า 2.26 กิโลกรัม
-แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน

กรงกระต่าย Shobi รุ่น A-RB80

กรงกระต่าย โชบิ รุ่น A-RB80
-ขนาดกะทัดรัด เคลื่อนย้ายสะดวก
-วัสดุคุณภาพดี รูปทรงน่ารัก สวยงาม
-ขนาด กว้าง 80 ซม. x ลึก 55 ซม. x สูง 67 ซม.

กรงกระต่าย กรงซี่ถี่

กรงกระต่าย กรงซี่ถี่
-ขนาดของสินต้า Size L / XL
-มีหูจับด้านบน สามารถพับเก็บได้
-วัสดุทำมาจากเหล็ก เกรดพรีเมี่ยม
-ถาดพลาสติก สามารถถอดล้างทำความสะอาดได้

กรงกระต่าย แบบคอกกั้น

กรงกระต่าย แบบคอกกั้น
-สามารพับเก็บได้ ประหยัดพื้นที่การใช้งาน
-ขนาดของสินค้า Size S / M / L
-วัสดุเกรดพรีเมี่ยม คุณภาพดี
-น้ำหนักเบา มีประตูปิด-เปิด

กรงกระต่าย แบบคอกไม้

กรงกระต่าย แบบคอกไม้
-รูปทรงเรียบ สไตล์มินิมอล
-ขนาดของสินค้า Size S / M / L
-วัสดุทำมาจากไม้ยางพาราง เนื้อไม้แน่น
-กลอนปิดเปิดประตูเป็นแบบไม้สลักเสียบ
-สามารถถอดประกอบได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก

กรงกระต่าย Petsecret

กรงกระต่าย เพ็ทซีเคร็ท
-ขนาด ยาว 70 ซม. x กว้าง 35 ซม. x สูง 69 ซม.
-วัสดุคุณภาพดี ดีไซน์สวยงาม
-ดูแลรักษาทำความสะอาดง่าย
-น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย

กรงกระต่าย กรงสัตว์เลี้ยง DIY

กรงกระต่าย ฮิปไทม์
-วัสดุทำจากโลหะ เกรดพรีเมี่ยม ตัวเชื่อมตะแกรงแข็งแรง
-ขนาดตะแกรง 35 ซม. x 35 ซม.
-กรงสามารถรองรับน้ำหนักได้ดี
-สามารถประกอบได้หลายรูปแบบ

กรงกระต่าย กรงสแตนเลส

กรงกระต่าย กรงสแตนเลส
-วัสดุทำจากสแตนเลสคุณภาพดี เกรดพรีเมี่ยม
-ขนาดของสินค้า Size S / M / L / XL
-ล้อมีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน
-กรงสามารถถอดแยกประกอบได้ง่าย

กรงกระต่าย แบบรั้วกั้น

กรงกระต่าย แบบรั้วกั้น
-วัสดุทำจากสแตนเลสคุณภาพดี เกรดพรีเมี่ยม
-สามารถปรับรูปทรงได้หลายแบบการใช้งาน
-มีประตูเปิด-ปิด ดีไซน์สวยงาม รูปทรงน่ารัก
-ขนาดของสินค้า 120 ซม. x 60 ซม. x 60 ซม.

กรงกระต่าย 2 ชั้น

กรงกระต่าย 2 ชั้น
-วัสดุคุณภาพดี เกรดพรีเมี่ยม กะทัดรัด เคลื่อนย้ายสะดวก
-กว้างขวางอยู่สบาย 2 ชั้น น้ำหนักเบา ทำความสะอาดง่าย
-ขนาด กว้าง 69 ซม. x ลึก 44.5 ซม. x สูง 43 ซม.

Best Choice ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า