รองเท้าแตะ คืออะไร
คือ รองเท้าที่ใช้ใส่เพื่อป้องกัน ตัวเท้าของเรา ไม่ว่าจะเป็นฝ่าเท้า ที่สัมผัสกับพื้นโดยตรง, ข้างเท้า และด้านบนเท้า ไม่ให้ได้รับการกระทบ, เสียดสี หรือการบาดเจ็บจากการเดิน นอกเหนือจากการป้องกันเท้าของเรา ไม่ให้ได้รับบาดเจ็บจากการเดินแล้ว รองเท้าแตะยังช่วยป็นเสมือนตัวกลางในการรองรับเท้า สำหรับเวลาที่ก้าวเดิน ซึ่งแต่ละก้าวเดินจะต้องมีการลงน้ำหนักลงบนพื้น
น้ำหนักจากเท้าของเรา จะได้รับการลดแรงกระแทก จากตัววัสดุที่พื้นรองเท้า ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่ทำมาจากยาง, โฟมที่มีหลากหลายชนิด ทั้งนี้เพื่อเป็นการถนอมส่วนเท้าของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นพื้นผิวหนังที่เท้า, กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นที่เท้า และด้
วยแนวคิดตั้งต้นของการผลิตรองเท้าแตะผู้ชายตรงนี้ ทำให้เกิดการแตกยอดรูปแบบรองเท้าแตะ ใส่เพื่อสุขภาพเท้าที่ดี โดยเน้นการออกแบบเฉพาะ อย่างเช่น พื้นโฟมยาง EVA ด้านล่างพื้นรองเท้า หรือพื้นรองเท้าด้านใน เป็นต้น
โดยไม่ว่าจะเป็น รองเท้าหนังผู้ชาย , รองเท้าทำงาน รวมถึงโครงสร้างของรองเท้าแตะ ก็มีระดับชั้นของส้น และองค์ประกอบโดยรวมของรองเท้าที่คล้ายกัน โดยส่วนประกอบหลักๆ ของรองเท้า ก็จะมีดังต่อไปนี้ คือ
ส่วนประกอบของรองเท้าประกอบด้วย
ส่วนหน้าเท้า (Upper)
เป็นส่วนด้านบนเท้า ที่ถือว่ามีส่วนสำคัญไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่นๆ ของเท้าเลย เพราะเป็นส่วนที่มีความเสี่ยงในการไปกระแทก หรือชนสิ่งอื่นๆ ภายนอกในระหว่างการเดินได้บ่อยครั้ง เราคงสังเกตได้ว่า ในช่วงที่เราก้าวเดินที่มีการใส่รองเท้าอยู่แล้วนั้น ยังมีโอกาสที่เราเคยเดินชนสิ่งกีดขวาง หรือก้อนหินข้างทาง
ส่วนนี้ไม่นับรวมถึง การโดนเหยียบ หรือของมีน้ำหนักหล่นลงบนหลังเท้าร่วมด้วย และอาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อเท้าปวด, บวม มากกว่านั้นอาจเป็นกล้ามเนื้อฉีกได้ โดยเฉพาะรองเท้าแตะในประเภทปิดหน้าเท้า หรือแบบปิดหน้า ที่เรียกว่า Closed Toe Sandal ที่มีคุณสมบัติ และการออกแบบเพื่อเน้นการปกป้องส่วนหน้าเท้าโดยตรง
รูปแบบหรือประเภทของรองเท้าแตะ ที่มีส่วนที่ปิดหน้าเท้านี้ ก็มีการนำมาใช้ในประโยชน์หลายด้าน ทั้งในส่วนการป้องกันไม่ให้เกิดการลื่น หรือการชนของนิ้วเท้า รวมถึงยังมีการนำเอาคุณสมบัติเหล่านี้ มาใช้ในงานภาคสนาม
ไม่ว่าจะเป็นงานช่าง หรือแม้กระทั่งงานภายในครัวก็ตาม โดยส่วนประกอบของรองเท้าแตะผู้ชายในส่วนนี้ มีหน้าที่ในการใช้งาน ในเรื่องของความปลอดภัยของนิ้วเท้า และส่วนบนหลังเท้าโดยเฉพาะ
พื้นรองเท้าด้านใน หรือพื้นรองเท้าชั้นบน (Insole)
ถึงแม้ว่าพื้นรองเท้าชั้นใน หรือที่เรียกกันว่า Insole นั้นจะไม่ได้มีส่วนในการปกป้องเท้าของเรา จากการเดิน หรือจากสิ่งภายนอกที่จะเข้ามากระทบกับเท้าโดยตรงก็ตาม แต่มีคุณสมบัติ และประโยชน์ในการรองรับเท้า ในแต่ละก้าวที่ลงน้ำหนักลงบนพื้นรองเท้า ทั้งในส่วนด้านบน, พื้นรองเท้าส่วนกลาง และพื้นรองเท้าส่วนล่าง หรือพื้นรองเท้าชั้นนอกนั่นเอง
ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่า รองเท้าในแต่ละแบบ อย่างเช่น รองเท้าออกกำลังกาย หรือรองเท้าผ้าใบ, รองเท้าหนังทำงาน หรือแม้แต่รองเท้าหนังเปิดส้นก็ตาม มีทั้งแบบที่มีแผ่นพื้นรองเท้าด้านใน ที่สามารถดึงออกมาได้ และแบบที่ไม่สามารถดึงออกได้ ในส่วนนี้เป็นส่วนปลีกย่อยที่ผู้ใช้งาน ต้องสำรวจดู
เพราะในข้อดีของแผ่นพื้นรองเท้าด้านใน ที่สามารถดึงออกมาได้นั้น จะช่วยให้เราสามารถเลือกหา พื้นรองเท้าด้านใน ที่มีความเหมาะสม และเสริมการรองรับได้มากกว่าพื้นรองเท้าเดิม ซึ่งวัสดุของแผ่นพื้นรองเท้าด้านใน ที่นำมาเสริมในการรองรับน้ำหนักของเท้าเรา มีหลากหลายวัสดุ อย่างเช่น ซิลิโคนเจล, ไมโครไฟเบอร์, คาร์บอน, โฟม และโพลิเมอร์
ในส่วนของรองเท้าแต่ละยี่ห้อ และแต่ละแบบของรองเท้า ไม่ว่าจะเป็นรองเท้าแตะแบบสวม, รองเท้ากีฬาเพื่อสุขภาพ หรือ รองเท้ารัดส้นที่มีแบรนด์ก็ตาม ต่างมีเทคโนโลยีในการเพิ่มคุณสมบัติให้กับพื้นรองเท้า อย่างเช่น Air Sole เป็นการใส่แก๊สอัดเข้าไปในแผ่นรองเท้าด้านใน สำหรับรองเท้ากีฬาเพื่อสุขภาพ เพื่อช่วยในการลดแรงกระแทก และมีความยืดหยุ่นสูง เป็นต้น
ซึ่งหากเป็นพื้นรองเท้าด้านใน ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้นั้น ก่อนที่เราจะพิจารณาในการเลือกซื้อนั้น ควรที่จะพิจารณาควบคู่ไปกับรูปทรงเท้าของเรา หรือรูปทรงฝ่าเท้าเสียก่อน เพราะในแต่ละรูปทรงก็จะเหมาะกับพื้นรองเท้าด้านใน ที่แตกต่างกัน
พื้นรองเท้าชั้นกลาง (Midsole)
วัสดุที่ใช้ในการผลิตพื้นรองเท้าในส่วนนี้นั้น มีตั้งแต่วัสดุที่เป็นโฟม, คาร์บอน, เมมโมรี่โฟม หรือวัสดุตัวโฟม ที่ในแต่ละยี่ห้อ ก็จะมีการคิดค้นชนิดของโฟม ที่เป็นลิขสิทธิ์ของตัวเอง โดยหากเป็นโฟมพื้นฐานที่ใช้ในการทำ พื้นรองเท้าชั้นกลางทั่วไปก็จะเป็น โฟม EVA หรือ Ethylene Vinyl Accetate
โดยเฉพาะที่เราเห็นทั้งระดับราคาที่แตกต่างกัน ทั้งรองเท้าผ้าใบ, รองเท้ากีฬา, รองเท้าแตะ หรือรองเท้าใส่ทำงานก็ตาม มีส่วนมาจากส่วนนี้ ที่ออกแบบและใช้วัสดุที่แตกต่างกัน และมีผลต่อเท้าของเราในการใช้งานร่วมด้วย
อย่างเช่น เทคโนโลยี Lunar Lon ที่เป็นส่วนของการออกแบบ Midsole ช่วยให้พื้นนิ่ม และใส่สบาย เป็นตัวลิขสิทธิ์ของยี่ห้อรองเท้า ที่พัฒนาจากตัว โฟม EVA นั่นเอง
อีกรูปแบบเทคโนโลยีหนึ่ง ของส่วนพื้นรองเท้าส่วนกลาง ที่เรียกว่า Boost ที่ในตอนแรกมีการนำมาใส่ในรองเท้าออกกำลังกาย หรือรองเท้ากีฬา และเน้นไปที่บางแบรนด์เท่านั้น ที่ใส่ใจในเรื่องสุขภาพของเท้า เน้นการรองรับน้ำหน้ก เมื่อเท้าก้าวลงพื้น และส่งกลับมาเป็นความยืดหยุ่นของรองเท้าแตะคู่นั้นมาที่ตัวเท้า ซึ่งในวันนี้เทคโนโลยีนี้ มีการนำมาใช้ในการผลิตรองเท้าแตะในรูปแบบสวม หรือ Slice Sandal
พื้นรองเท้าชั้นนอก (Outsole)
ด้วยคุณสมบัติหลักในการใช้งาน ที่พื้นรองเท้าส่วนนี้ จำเป็นต้องรองรับการกระแทกจากเท้าลงสู่พื้น และต้องป้องกันตัวเท้าในการสัมผัสพื้น ที่อาจจะมีพื้นผิวที่ไม่ราบเรียบ การผลิตของรองเท้าแตะในส่วนชั้นนอกสุดนี้ จึงเป็นส่วนที่เน้นความสำคัญมากเป็นพิเศษ โดยจะมีวัสดุหลักๆ เพียงแค่ 2 ตัวคือ
วัสดุยางธรรมชาติ (Natural Rubber)
วัสดุยางสังเคราะห์ (Synthetic Rubber)
ซึ่งโดยธรรมชาติของวัสดุยางพารา จะมีทั้งความคงทนในการใช้งานอยู่แล้ว หากเป็นวัสดุยางธรรมชาติ รวมถึงยังให้ความยืดหยุ่นร่วมด้วย แต่หากเป็นวัสดุยางสังเคราะห์ ที่มีการสังเคราะห์จากสารเคมี การเน้นคุณสมบัติเรื่องของการยืดหยุ่น และไม่ยวบ
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า พื้นรองเท้าชั้นนอก หรือ Outsole ที่มีการใช้วัสดุชนิดนี้ จะมีการใช้งานที่ยาวนานมากเป็นพิเศษ มีความแข็งในการทนต่อแรงกระแทก แต่ในทางกลับกันก็ให้ความยืดหยุ่นกลับมาที่เท้าของเรา
รูปทรงฝ่าเท้าเพื่อใช้ในการพิจารณาแผ่นพื้นรองเท้าด้านใน
1.ฝ่าเท้าแบบปกติ (Normal Arch)
ลักษณะที่เราจะสังเกตได้ และเป็นฝ่าเท้าในแบบที่มีเปอร์เซ็นต์มากจากคนทั่วไป คือ จะแยกเป็นด้านบนฝ่าเท้า, ด้านกลางฝ่าเท้า และส้นเท้า ทุกส่วนมีส่วนที่สัมผัสพื้นรองเท้า ถึงแม้ว่าส่วนที่กลางฝ่าเท้า จะเป็นส่วนที่สัมผัสพื้นรองเท้า และพื้นในการเดินน้อยที่สุดก็ตาม ส่วนโค้งเว้า จะมีเพียงแค่ส่วนเดียวเท่านั้น ของกลางฝ่าเท้า
ส่วนดีของผู้ที่มีฝ่าเท้าในรูปแบบนี้ก็คือ มีความง่ายที่จะเลือกรองเท้า และการเลือกพื้นรองเท้าร่วมด้วย ถึงแม้การใส่เพียงรองเท้าแตะผู้ชาย เพื่อจัดพื้นที่สนามหญ้าหน้าบ้านในการวาง เตาปิ้งย่างไฟฟ้า , หม้อสุกี้ , แก้วเยติ , เก้าอี้สนาม พร้อมกับ หมอนรองคอ ด้วยความที่เป็นรูปทรงฝ่าเท้า ที่สามารถเลือกรองเท้าแตะ หรือพื้นรองเท้าด้านในในแบบใดก็ได้
2.ฝ่าเท้าแบน (Flat Arch)
ตัวฝ่าเท้าที่มีส่วนบน, ส่วนกลาง และส่วนส้นเท้า ที่แบนติดกับพื้นรองเท้า หรือพื้นในเวลาก้าวเดินแบบเต็มทุกส่วน ไม่มีส่วนใดของกลางเท้า ที่จะโค้งเว้า เพื่อแบ่งการรองรับน้ำหนัก ดังนั้นผู้ที่มีฝ่าเท้าในรูปแบบนี้นั้น จะมีปัญหามากในกรณีที่มีการเดินที่มาก และใส่แผ่นรองเท้าด้านใน ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะฝ่าเท้าของตัวเอง
อาการที่จะเจอได้กับผู้ที่มีลักษณะฝ่าเท้าแบน และมีการใช้งานในการเดิน, กระโดด หรือลงน้ำหนักลงบนพื้นเป็นเวลานานก็คือ ปวดน่อง และขาในเวลาที่เดิน ซึ่งตอนแรกอาจจะเป็นอาการเมื่อย ต่อมาจึงเริ่มมีอาการปวดที่เอ็นร้อยหวาย กดที่ฝ่าเท้าจะมีความรู้สึกเจ็บ และปวด จนถึงอาการชาร่วมด้วย หากเป็นในลักษณะนี้ และเรารู้สึกว่า การกลับไปนั่งพัก หรือนอนพักอีกวันก็คงหาย
แต่ไม่มีการแก้ที่ตรงจุด ในเรื่องของการเลือกรองเท้าแตะพื้นนิ่ม ที่เน้นส่วนพื้นรองเท้าด้านใน ที่ต้องมีเสริมส่วนโค้งเว้าให้กับเท้า หรือหากยังคงใส่รองเท้า และพื้นรองเท้าในแบบเดิมๆ อยู่ อาจทำให้อาการดังกล่าวเรื้อรัง และพัฒนาไปถึง การเคลื่อนไหว และการทรงตัวของเท้าที่ลำบากก็เป็นได้
3.ฝ่าเท้าโค้งเว้ามาก (High Arch หรือ Hollow Foot)
จุดเด่นที่ชัดเจน หากใครต้องการตรวจสอบดูว่า ฝ่าเท้าของเราตรงกับรูปแบบนี้หรือไม่ คือการดูที่ส่วนกลางเท้าเป็นหลัก ผู้ที่มีลักษณะฝ่าเท้าแบบนี้นั้น จะมีส่วนบน และส่วนส้นเท้าเหมือนแบบแรกคือ แบบฝ่าเท้าปกติ แต่จุดที่ไม่เหมือนกับลักษณะฝ่าเท้าทั้ง 2 รูปแบบข้างต้นก็คือ ส่วนที่โค้งเว้าตรงกลางฝ่าเท้า ที่มากผิดปกติ หรือที่เรียกว่าHigh Arch
อาการที่เกิดจะไปลงส่วนของหน้าเท้า ตั้งแต่ข้อนิ้วแต่ละนิ้ว โดยเฉพาะนิ้วโป้ง รวมถึงพื้นที่ส่วนหน้าของฝ่าเท้า, อาการเจ็บข้อนิ้วเท้า, ข้อเท้าเสื่อม หรือ สามารถส่งผลให้เกิด ข้อเท้าผิดรูปได้ ดังนั้นในการเลือกแผ่นพื้นรองเท้าด้านใน หรือ insole นั้น ควรที่จะเลือกส่วนเสริมโค้งเว้า ที่มากเป็นพิเศษ หรือมีความนูนของส่วนโค้งเว้า มากกว่าลักษณะฝ่าเท้าในรูปทรงปกติ หรือฝ่าเท้าในรูปทรงแบน
ประเภทและชนิดของรองเท้าแตะผู้ชาย
1.รองเท้าแตะผู้ชายแบบสวม (Slice Sandal)
รองเท้าแตะแบบสวมนี้ เป็นประเภทรองเท้าแตะที่มีความนิยม ด้วยความที่ใส่ง่าย และถอดง่าย หรือด้วยความที่เป็นแบบ Slice Sandal นั่นเอง จึงมีเอกลักษณ์ที่เป็นตัวหน้าเท้า ปกปิดหลังเท้าให้ดูสวยงาม และสุภาพ แตกต่างจากรองเท้าแตะแบบหูหนีบ โดยในความเป็นรูปแบบการเป็นรองเท้าแตะรูปแบบสวมนี้ มีความแน่นหนาในการก้าวเดินมากกว่า
ดังนั้นเราจึงสามารถที่จะใส่เพื่อติดตั้ง กล้องวงจรปิดไร้สาย หรือ ใช้งาน เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย ในแบบที่ใส่สบาย วัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้ในการผลิตรองเท้าประเภทนี้คือ ยาง, ยางสังเคราะห์ หรือ โฟมยาง EVA ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พื้นนิ่มแล้ว ยังถือว่าเป็นรองเท้าแตะเพื่อสุขภาพได้อีกด้วย
2.รองเท้าแตะผู้ชายแบบปิดหน้า (Closed Toe Sandal)
นอกจากรองเท้าแตะแบบปิดหน้า ที่จะมีส่วนที่เห็นได้เด่นชัดคือ แบบสานทั้งคู่ โดยที่ไม่มีหูหนีบ แต่ผู้ที่เลือกซื้อจะเน้นเรื่องแบรนด์ รวมถึงการเน้นในเรื่องใส่สบาย, รูปแบบงานสานที่สวยๆ กับการใช้งานที่สะดวกง่ายดาย ด้วยแบบสวม รวมถึงบางแบรนด์ที่รู้จักในภาพของ รองเท้าแตะเพื่อสุขภาพนั้น ยังมีการผลิตที่ทำให้พื้นนิ่ม เหมาะแก่การเดินเป็นเวลานานๆ โดยที่ไม่เจ็บเท้าอีกด้วย
ไม่มีสายรัดส้น (Non Heel Strap)
ถือว่าเป็นรูปแบบการใช้งานในแบบสวมใส่ ที่มีความสะดวกกับผู้ที่เลือกใช้งานเป็นอย่างมาก และด้วยส่วนหน้าเท้า หรือ Upper ที่ป้องกันเล็บ และหลังเท้าเป็นอย่างดี รูปแบบนี้จะนิยมออกแบบส่วนหน้าเท้า หรือ Upper .ให้ผู้ใส่ได้สวยๆ และรวมถึงความรู้สึกใส่สบายร่วมด้วย แต่ทั้งรองเท้าแบบปิดหน้าเท้า และไม่มีสายรัดส้นนี้ จะไม่มีในรูปแบบหูหนีบ
มีสายรัดส้น (Heel Strap Closed Toe)
รองเท้าแตะผู้ชายที่มี สายรัดส้นด้านหลัง จะมีทั้งในแบบที่เป็นวัสดุ โฟม EVA หรือแบบหนัง แต่ทั้ง 2 วัสดุนี้ จะเน้นผลิตออกมาให้มีพื้นนิ่ม และเน้นเพื่อการดูแลสุขภาพเท้า โดยเฉพาะทั้งในแบบที่เป็น Closed Toe Sandal พร้อมสายรัดส้นนี้
แบรนด์ที่มีชื่อเสียง จะนำวัสดุที่เป็นหนังแท้ เข้ามาเป็นส่วนประกอบของรองเท้าแตะ เพื่อให้สามารถใส่ได้สวยๆ ในสายตาของผู้ที่มองมาแล้วนั้น ยังช่วยเสริมบุคลิกภาพของผู้ชายคนนั้น ให้ดูดีได้ในแบบรองเท้าลำลองได้อีกด้วย
3.รองเท้าแตะผู้ชายแบบรัดส้น (Heel Strap Sandal)
รูปแบบรองเท้าแตะประเภทนี้คือ การเปิดหัวรองเท้า หรือเปิดด้านหน้าเท้า ที่เน้นการใช้งานในการเดินที่นานได้ หรือสามารถลุยได้ทุกสภาพอากาศ ไม่ว่าจะเป็นอากาศที่ร้อนชื้น มีเหงื่อออกที่เท้า โดยวัสดุส่วนใหญ่จะเป็น โฟม EVA และเมมโมรี่โฟม เน้นในเรื่องความแข็งแรง, คงทน และสามารถโดนน้ำ หรือฝนได้ ระบายความชื้น และแห้งได้เร็ว
4.รองเท้าแตะผู้ชายแบบคีบ หรือหูหนีบ (Flip Flops Sandal)
จริงๆ แล้วรองเท้าแตะประเภทนี้ มีการใช้งานที่ง่าย และสามารถลุยงานได้ทุกอย่าง เพียงแต่ว่าด้วยความบางของส้นรองเท้านั้น อาจจะรองรับเท้า หรือป้องกันการกระแทกของเท้าได้ไม่ดีเท่า รองเท้าแตะประเภทข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว โดยทั่วไปที่เรามักจะเห็น ในแต่ละแบรนด์นั้น จะมีวัสดุหลักๆ อยู่ 2 ชนิดคือ
วัสดุยาง
พื้นรองเท้า และตัวหูหนีบ ที่ทำมาจากยาง หรือยางพาราธรรมชาตินั่นเอง โดยหลักธรรมชาติ เราจะรู้กันดีว่า คุณสมบัติในการนำยางพารามาผลิตเป็นรองเท้าแตะผู้ชาย สำหรับการใช้งานจะมีความทนทานค่อนข้างสูงทีเดียว
หรืออย่างที่บางคนบอกว่า ใส่จนลืม แต่อย่างไรก็ดี หากเป็นบางแบรนด์อาจมีการทำตัวพื้นส่วน Outsole หรือพื้นรองเท้าด้านนอก ที่มีความบาง ดังนั้นพื้นที่เป็นยาง อาจไม่สามารถรับแรงกระแทก หรือให้ความยืดหยุ่นในการก้าวเดินได้ดีพอ
วัสดุเมมโมรี่โฟม
หากได้สังเกตกันดู เราจะเห็นว่า วัสดุในรูปแบบนี้ จะมีความนิยมนำมาทำเป็นทั้ง พื้นรองเท้าด้านบน หรือ Insole, รวมถึงพื้นรองเท้าส่วนกลาง และพื้นรองเท้าด้านนอก ที่เป็นชิ้นเดียวกัน แต่อาจจะเป็นเฉพาะบางแบรนด์ที่มีราคาที่สูงเท่านั้น เพราะด้วยการผลิตตัววัสดุนี้ เป็นการนำเอาตัวโพลียูรีเทน มาผ่านการอัดด้วยวิธี โพลิเมอร์ไรเซชั่น หรือ Polymerization
รวมถึงด้วยวิธีการผลิตในรูปแบบนี้ จะเพิ่มให้ตัวรองเท้าแตะผู้ชาย มีความยืดหยุ่น, ทนทาน รวมถึงมีพื้นที่นิ่มในการรองรับน้ำหนักเท้าได้เป็นอย่างดี บางแบรนด์จะทำปุ่มนวดเท้าด้าน insole หรือพื้นรองเท้าด้านบน เพื่อให้เกิดการใส่สบาย และดูแลเท้าให้มีสุขภาพที่ดีร่วมด้วย
Ps สำหรับท่านใดที่ชอบความใส่สบาย รองเท้ารัดส้น สามารถคลิกได้ที่ลิ้งค์ได้เลย
วิธีเลือกซื้อรองเท้าแตะผู้ชาย
1.รูปแบบ
อย่างที่บอกไปข้างต้น สำหรับประเภทสำหรับรองเท้าแตะผู้ชาย ซึ่งในแต่ละประเภท ก็มีการใช้งานเฉพาะในแบบที่ต่างกันไป อย่างเช่น หากเป็นรองเท้าแตะแบบสวม และแบบปิดหัว จะมีทั้งการใช้งานที่สะดวกและง่าย มีตัวโครงสร้างที่เป็นพื้นนิ่ม และใส่สบายได้ในแบบสวยๆ
2.แบรนด์
ซึ่งปัจจัยในการเลือกพิจารณาข้อนี้ ก็อาจจะต้องมีการดูควบคู่ไปกับ ตัววัสดุของรองเท้าแตะ และราคาไปพร้อมๆ กัน เพราะทั้ง 3 ปัจจัยนี้จะมีความสอดคล้องไปทางเดียวกัน
อย่างเช่น หากเราเลือกวัสดุที่เป็นพื้นรองเท้าแบบ โฟม EVA หรือ เมมโมรี่โฟมนั้น ด้วยคุณสมบัติที่ทนต่อการใช้งาน และให้ความนุ่มใส่สบายเท้า ซึ่งวัสดุดังกล่าวส่วนใหญ่ จะเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง ในการนำมาผลิตเป็นรองเท้าแตะสำหรับผู้ชาย ราคาก็อาจจะต้องสูงตามได้ด้วย
3.วัสดุ
ซึ่งหากเราดูในเรื่องของวัสดุ ก็จำเป็นที่จะต้องจับคู่กับประเภทของรองเท้าแตะร่วมด้วย ว่าเป็นประเภทที่เหมาะกับตัววัสดุที่นำมาผลิตหรือไม่ ทั้งการเข้ากันได้ และการใช้งานที่ยาวนาน
อย่างเช่น หากเป็นรองเท้าแตะแบบสวม หรือ Slice Sandal ก็ควรที่จะเลือกในแบบ โฟม EVA มาเป็นอันดับแรก ทั้งในเรื่องความยืดหยุ่น และการรองรับเท้า และน้ำหนักตัวในแต่ละก้าวเดิน
รีวิวรองเท้าแตะ Birkenstock Kyoto
สรุป
หลายคนอาจจะคิดว่า การเลือกรองเท้าแตะสำหรับผู้ชายนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับกระแสนิยม ว่าในตอนนี้คนส่วนใหญ่นิยม หรือมีการฮิตใส่แบรนด์ไหน หรือรุ่นไหนก็ตาม แต่จะเป็นเรื่องดีแค่ไหน หากรองเท้าแตะที่เราเลือกนั้น เป็นรุ่นที่อยู่ในความนิยม, เป็นรองเท้าแตะที่มีพื้นนิ่ม และนุ่มหนา รองรับเท้าในทุกการก้าวเดินได้ อีกทั้งยังช่วยเสริมให้ผู้สวมใส่ มีบุคลิกที่ดูดีในสไตล์ลำลอง
ควบคุมและดูแลการผลิตคอนเท้นส์ ชื่นชอบที่จะนำเสนอคอนเท้นส์ที่ดีๆ มีประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่าน
รองเท้าแตะผู้ชาย Cania
– หน้าผ้าทำมาจากหนังเทียม
– เป็นรองเท้าเพื่อสุขภาพ รองรับการกระแทก
– สามารถโดนน้ำได้
รองเท้าแตะผู้ชาย Under Armour รุ่น Fixed Slides
– พื้นรองเท้ามีกันกระแทก ช่วยลดแรงกระแทกจากการเดิน
– มีความยืดหยุ่น ทนทน ยึดเกาะได้ดี –
รองเท้าแตะผู้ชาย Bata รุ่น Famex
– ทำมาจากหนัง PU
– ตัวรองเท้านุ่ม สบายเท้า
รองเท้าแตะผู้ชาย ARI
– ผลิตจากหนังสังเคราะห์คุณภาพดี ทนทาน
– พื้นในมีตัวลื่น ใส่นุ่มสบายเท้า
– ตัวรองเท้าน้ำหนักเบา สบายเวลาก้าวเดิน
รองเท้าแตะสวมผู้ชาย Beverly Hills Polo Club
– ผลิตจาก EVA FOAM และ PVC
– มีน้ำหนักเบา ใส่สบายเท้า
– ทำความสะอาดง่าย แห้งเร็ว
รองเท้าแตะผู้ชาย Kito
– ผลิตมาจากยางธรรมชาติคุณภาพดี
– รองเท้านุ่ม เบา สวมใส่สบายเท้า
– แผ่นยางยึดเกาะดี ไม่ลื่น ไม่สึกง่าย
รองเท้าแตะผู้ชาย Adidas รุ่น Adilette Lite
– สัมผัสนุ่มเป็นพิเศษ
– รองเท้าแตะนุ่มสบายเท้าในสไตล์สปอร์ต
– พื้นชั้นล่างทำจากวัสดุสังเคราะห์
รองเท้าแตะผู้ชาย MINISO
– ผลิตจากยาง PVC คุณภาพดี
– น้ำหนักเบา นุ่มสบายเวลาเดิน
รองเท้าแตะผู้ชาย Scholl
– น้ำหนักเบา กันลื่น ใส่สบาย
– สายคาดทำมาจากผ้าทอลายชนิดพิเศษ ทนทานไม่ขาดง่าย
– พื้นยางชนิดพิเศษ ยึดเกาะได้ดี
รองเท้าแตะผู้ชาย นันยาง
– พื้นยางผลิตจากยางธรรมชาติ 100% ทำให้นุ่ม มีสปริงและความยืดหยุ่น
– สายยางหูหนีบ ผลิตจากยางคุณภาพสูง
– สำหรับรองเท้าฟองน้ำราย