ไมค์คอม คืออะไร
คือ อุปกรณ์ที่ช่วยให้เกิดเสียงดังขึ้นกว่าเดิม โดยมีโครงสร้างส่วนประกอบภายในหลายชิ้น ที่มีส่วนช่วยให้เกิดการกระจายจากเสียงพูด หรือเสียงร้องเพลง ให้ออกมาเป็นเสียงดังกว่าเดิม ซึ่งมีคุณภาพเสียงดี และให้ระดับแก้วเสียงที่หลากหลาย ทั้งในแบบเสียงทุ้มแข็งแรงหรือเสียงใส โดยในแต่ละประเภทของไมค์ ก็มีความแตกต่างกัน ตั้งแต่โครงสร้างภายใน รวมถึงความละเอียดของเนื้อเสียงที่ออกมาให้เราได้ยินกัน
ประเภทของ ไมค์คอม
อุปกรณ์ไมโครโฟนนี้ อย่างที่เรารู้จักกัน ที่เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้เสียงพูดดังและชัดเจนมากขึ้น แต่นอกเหนือจากนั้นแล้วในรายละเอียดของเนื้อเสียง ที่เราได้ยินจากอุปกรณ์ไมโครโฟนนี้ ยังช่วยเสริมให้เสียงดีในแบบคุณภาพ แต่ที่เราเห็นเหล่านักร้อง หรือ การใช้งานในการพูดกระจายเสียง ให้คนได้ยินกันในระยะไกลๆ นั้น ซึ่งความแตกต่างและการนำมาใช้งานนั้น ถือว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของไมโครโฟนแต่ละประเภท
ซึ่งบางประเภทของอุปกรณ์ชนิดนี้นั้น หลายคนอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตา กับการใช้งานบนเวที อย่างเช่น นักร้อง หรือการพูดบนเวที และในสถานที่กลางแจ้ง เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนี้ก็ได้มีการออกแบบไมโครโฟนรูปแบบใหม่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนอกเหนือคุณสมบัติ การช่วยเพิ่มเสียงให้ดัง และการกระจายเสียงให้ได้ยินในระยะที่ไกลมากขึ้นแล้ว คุณภาพเสียงที่ได้ยังสามารถช่วยให้นำไปใช้งานได้มากกว่า การร้องเพลงหรือพูดในที่กลางแจ้งอีกด้วย
อย่างเช่นอาชีพในสังคมยุคนี้ เกี่ยวข้องกับสื่อโซเชียลต่างๆ การขายของออนไลน์ ที่มีสินค้าเสื้อผ้า หรือของใช้ต่างๆ จัดวางพร้อมที่จะออนไลน์ขาย และทำให้สามารถเพิ่มยอดขายได้มากกว่าเดิม หรือการร้องเพลงผ่าน Youtube โดยที่มีปัจจัยที่สำคัญในการเพิ่มยอดไลค์ และคนติดตามให้มากขึ้นคือ คุณภาพเสียงดี และให้ความดังในแบบชัดเจน ดังนั้นเรามาดูกันว่า การแบ่งอุปกรณ์ไมโครโฟนนี้ จะมีประเภทไหนกันบ้าง
คอนเดนเซอร์
ประเภทไมค์แบบคอนเดนเซอร์ หรือCondenser นี้นั้น เป็นรูปแบบไมโครโฟนที่มีการออกแบบมา ให้เหมาะกับการใช้งานในเรื่องเสียง ที่ครอบคลุมมากขึ้น โดยในเรื่องการใช้งานบางส่วนที่เกี่ยวกับเสียงนั้น สามารถเติมจุดข้อบกพร่องของไมโครโฟนประเภทไดนามิค (Dynamic Microphone)
โดยหากเราจะเริ่มต้นมองแยกส่วนประกอบ ตั้งแต่โครงสร้างภายในตัวไมโครโฟนประเภทนี้เลยคือ การที่มีส่วนประกอบน้อยกว่าไดนามิคมาก โครงสร้างภายในของคอนเดนเซอร์นั้น มีเพียงแค่ตัวแผ่นไดอะเฟรมรวมถึงด้านหลังที่เป็น Backplate หรือ ตัวแบตเตอรี่ที่ค่อยวิ่งไฟเลี้ยง เพื่อให้ไมโครโฟนรูปแบบนี้ ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
โดยการทำงานนั้นเริ่มต้นจาก อย่างเช่น หากเราร้องหรือพูดเสียงใดๆ ออกมา เสียงพวกนี้จะผ่านตัวไดอะเฟรมประเภทไมโครโฟนคอนเดนเซอร์นี้ และมีการสั่นสะเทือน จากนั้นแรงสั่นสะเทือนนี้จะส่งต่อไปยัง แบตเตอรี่หรือ Backplate ที่จะเปลี่ยนรูปแบบเสียง หรือพลังงานที่เคลื่อนไหวได้นี้ ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า และออกมาเป็น output เสียงที่เราได้ยินกัน
โดยเนื้อเสียงที่ได้ผ่านคอนดนเซอร์จะมีเสียงดีในแบบใส โดยลักษณะเด่นของการทำงานอุปกรณ์ประเภทนี้ก็คือ มีความอ่อนไหวหรือเซนซิทีฟต่อเสียงรอบข้างเป็นอย่างมาก และด้วยคุณสมบัตินี้นี่เอง ที่เป็นส่วนสำคัญในการนำมาใช้ในงานอัดเสียง หรือการทำคลิปในแบบเสียง ASMR ที่เน้นการเก็บเสียงในทุกรายละเอียด แม้กระทั่งเสียงที่เบาที่สุด คอนเดนเซอร์ก็สามารถกระจายเสียงออกมาให้เราได้ยินอย่างชัดเจนเลยทีเดียว
หากใครที่ต้องการทดลองการใช้งานของคอนเดนเซอร์นี้เริ่มแรก หรือใครที่มีการใช้งานมาได้สักพัก การสังเกตในส่วนของการรับแก้วเสียงได้หลากหลายระดับทั้งเสียงต่ำ ก็จะเก็บระดับเสียงต่ำได้ชัดเจนกว่าที่เราเคยได้ยินกัน หรือเสียงสูงก็จะได้รายละเอียดและความคมชัดของเสียงสูงได้มากกว่าไมโครโฟนรูปแบบไดนามิค หรือรูปแบบทั่วไป
เราไม่สามารถที่จะบอกได้ว่า ด้วยเพียงตัวส่วนประกอบไดอะเฟรมเพียงอย่างเดียว จะทำให้เสียงที่ออกมาจากอุปกรณ์ประเภทนี้ มีเสียงดังและใสชัดเจนได้ เพราะมีส่วนประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย สำหรับบางรุ่นที่มีปุ่มปรับทั้งระดับการเพิ่มความดังเสียง (Volume) และส่วนการขยายสัญญาณเสียงเพิ่มขึ้น (Gain)
- Gain ลงลึกในการทำงานเรื่องการรับสัญญาณเสียง ในรูปแบบ Input หรือเสียงที่เราพูดหรือร้องเริ่มต้น ตัวปรับระดับ Gain นี้จะช่วยให้การรับสัญญาณเสียงได้ดี หรือมีความดังและชัดเจนในระดับที่พอเหมาะ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการปรับระดับของเราเองด้วย
- Volume อย่างที่เราคุ้นเคยกันดีว่า เป็นส่วนที่ช่วยปรับระดับความดังและเบาของเสียง แต่เป็นในรูปแบบที่ทำงานต่อจาก Gain คือหลังจากที่รับเสียงเข้ามาในอุปกรณ์แล้วนั้น จะมีการปรับระดับเสียงให้ตามที่เราต้องการ และตัว Volume นี้จะปล่อยเสียง หรือ output ออกมาเป็นเสียงที่เราได้ยินในขั้นตอนสุดท้ายนี่เอง
มาถึงตรงนี้แล้วหลายคนคงหมดคำถามว่า ทำไมไมโครโฟนประเภทคอนเดนเซอร์จึงกลายเป็นที่นิยม และการเลือกใช้ไม่ว่าจะเป็นวงการสื่อโซเชียลต่างๆ อย่างเช่น การทำ podcast ที่เรียกได้ว่าเป็นการทำคลิปเสียงที่ออกมาในรูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจ หรือจะเป็นงานอาชีพสายเกม หรือที่เรียกว่าการแคสเกม (Game Caster) ที่เลือกใช้ไมค์คอมประเภทนี้ เพื่อให้การติดตามเพิ่มมากขึ้น
ไดนามิค
หากเราพูดถึงไมโครโฟนประเภทไดนามิค หรือ Dynamic Microphone หลายคนที่ไม่ใช่คนในวงการที่ต้องใช้งานอุปกรณ์รูปแบบนี้ อาจจะนึกภาพไม่ออก หรือในรูปแบบไมโครโฟนที่เรามักจะเห็นนักร้องใช้งานบนเวที เน้นงานกลางแจ้ง หรือการแสดงวงดนตรีสดไม่ว่าจะเป็นนอกสถานที่แบบoutdoor หรือรูปแบบindoor ในร้านอาหาร หรือผับบาร์นั่นเอง
ส่วนประกอบโครงสร้างภายในของตัวไมโครโฟนประเภทนี้นั้น จะมีจำนวนที่มากชิ้นกว่าคอนเดนเซอร์ โดยเริ่มตั้งแต่ตัวไดอะเฟรมที่มีเหมือนกับประเภทอุปกรณ์ข้างต้น แต่สิ่งที่มีเพิ่มมาก็คือแถบแม่เหล็กด้านในตรงกลาง และแผงขดลวดที่คลุมด้านนอก จากนั้นถึงจะเป็นตัวกั้นไดอะเฟรมรอบนอกสุด
เมื่อมีพลังงานเสียง หรือเสียงพูดเสียงร้องเข้ามาด้านในตัวอุปกรณ์ไดนามิคประเภทนี้นั้น จะมีการตกกระทบ และสร้างแรงสั่นสะเทือนให้ทั้งกับตัวขดลวด และไดอะเฟรมรอบนอก สิ่งที่ได้ต่อจากนั้นคือ การแปลงคลื่นเสียงออกมาเป็นเสียง output ที่เราได้ยินเป็นเสียงพูด หรือเสียงเพลง
เหตุผลที่ไมโครโฟนประเภทนี้นั้น มีการนำมาใช้งานกับงานร้องเพลง โดยเฉพาะการ้องในที่โล่งแจ้ง หรือที่ๆ มีเสียงดังรอบข้างได้เป็นอย่างดีก็คือ เป็นอุปกรณ์ที่รองรับเสียงดัง และเสียงที่เป็นลักษณะเครื่องดนตรีกระแทกแรงๆ ได้ชัดเจน อย่างเช่น การแสดงดนตรีสด ที่มีทั้งเสียงนักร้อง และเสียงเครื่องดนตรีดังมากๆ และเสียงคนดูที่ร้องตะโกนไปพร้อมกัน แต่ด้วยความดังของเสียงดนตรีมีพลังมากกว่า เสียงเพลงที่ออกมาจากไดนามิคนี้ จะมีความดังชัดเจนกว่า
โดยการทำงานของไดนามิคนี้ จะให้เนื้อเสียงที่มีความแข็งแรง และทุ้มเข้มมากกว่าประเภทคอนเดนเซอร์ จะไม่มีลักษณะเสียงใสเหมือนในแบบคอนเดนเซอร์ หรือเรียกได้ว่ามีความตรงข้ามกันอย่างชัดเจนทีเดียว การรับเสียงจากสิ่งรอบข้าง หรือความไวต่อเสียงรอบข้างก็น้อยกว่ามาก อย่างเช่น หากเรากำลังพูดผ่านไมโครโฟนประเภทนี้กันอยู่ และมีเสียงเบาๆ จากที่ไหนพูดพร้อมกัน
โดยที่อุปกรณ์ประเภทนี้จะไม่รับเสียงเบาที่สอง ที่ดังไม่เท่ากับเสียงพูดผ่านไมโครโฟนไดนามิคตัวนี้ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของ การนำเอาอุปกรณ์ประเภทนี้ มาใช้ในงานชุมชน หรืองานกลางแจ้งมากกว่า และเสียงร้องหรือการแสดงจะเหมาะกับรูปแบบการใช้ประเภทไดนามิคนี้มาก คือ เน้นเสียงหรือการแสดงที่ดังและมีความกระหึ่ม อย่างงานแสดงดนตรีสด outdoor ต่างๆ ที่เรามักจะเห็นกันในช่วงเทศกาล หรือวันฉลองสิ้นปีที่ผ่านมา
รวมถึงอีกลักษณะหนึ่งที่เรามักจะเห็นกัน เมื่อนักร้องต้องจ่อไมโครโฟนประเภท Dynamic นี้เข้าใกล้ปากในหลายคน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเหตุผลส่วนตัว แต่สาเหตุที่สำคัญเลยมีผลมาจาก ลักษณะการทำงานของไดนามิคประเภทนี้ก็คือ จะสามารถรองรับเสียงที่มีความแข็งแรง หรือเสียงเครื่องดนตรีที่มีความดังและกระแทกอย่าง เสียงกลองหรือเสียงลีดกีตาร์ เป็นต้น และหากเสียงร้องมีความดังไม่เท่า จะทำให้เสียงเครื่องดนตรีกลบเสียงคนร้อง
ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ไมโครโฟนประเภทนี้ เฉพาะสถานที่ภายในห้องส่วนตัว หรือสถานที่ๆมีความเงียบ เพราะด้วยโครงสร้างภายในของอุปกรณ์ประเภทนี้นั้น จะเน้นการรองรับเสียงดังและเสียงกระแทกเป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ดีเราควรมี หูฟังไร้สาย , สายชาร์จเร็ว , หัวชาร์จเร็ว , คีย์บอร์ดเกมมิ่ง , ไมค์ตั้งโต๊ะ , ลำโพงบลูทูธ , เร้าเตอร์ไวไฟ , ปากกาทัชสกรีน , ปากกาเขียนไอแพด , โทรศัพท์มือถือ ไว้สำหรับการใช้งานร่วมด้วยกับอุปกรณ์ชนิดนี้
ไมค์คอม กับวิธีเลือกซื้อ
ประเภทการทำงาน
ประเภทไดนามิค
โดยหลักๆ จากข้อมูลข้างต้นแล้วนั้น ทำให้เราได้มองเห็นภาพรวม ที่ไดนามิคจะเน้นการใช้งานในที่เปิดโล่ง เสียงที่ได้มีความดัง, ชัดเจน, และมีระดับเสียงที่ทุ้มแข็งแรง รวมถึงคุณสมบัติที่ตัดเสียงรบกวนรอบข้าง ด้วยประสิทธิภาพในการรับเสียงที่ระดับแก้วเสียงที่ดังกว่า แต่ในการใช้งานจริงนั้น ไม่สามารถรับเสียงที่ไม่ดังมาก ในระยะไกลๆ ได้
ดังนั้นเมื่อเราต้องการใช้ไมโครโฟนตัวนี้ สำหรับเสียงร้องหรือเสียงพูด เพื่อให้เสียงที่ออกมามีเสียงดีและดังชัดเจน ควรที่จะใช้งานในระยะใกล้ เพราะมีความไวต่อเสียงค่อนข้างน้อย ด้วยโครงสร้างที่ผ่านการสั่นสะเทือนของส่วนประกอบด้านในทั้งขดลวด และตัวไดอะเฟรม แต่ก็มีข้อดีทดแทนในเรื่องการเก็บรายละเอียดของเสียง ที่มีระดับความดังและหากเป็นเสียงดังแข็งแรงแล้ว จะส่งผ่านออกมาได้ครบถ้วนทีเดียว
ประเภทคอนเดนเซอร์
หากเราจะบอกเอกลักษณ์ให้เข้าใจและมองเห็นภาพได้ง่าย สำหรับประเภทของไมโครโฟนคอนเดนเซอร์นี้กืคือ ให้ความละเอียดอ่อนในการรับเสียงได้มาก อย่างเช่น เสียงเบามากๆ ที่ปกติเราจะไม่ได้ยิน แต่หากเข้าไมค์ประเภทนี้แล้ว จะได้ยินออกมาชัดเจน และลักษณะเสียงจะมีความใสมากกว่าไดนามิค
รวมถึงขั้นตอนการทำงานของโครงสร้างโดยรวมของ คอนเดนเซอร์นี้ก็มีการทำงานที่ง่าย ไม่ผ่านอุปกรณ์ภายในมากเท่ากับไมโครโฟนประเภทไดนามิค มีเพียงแค่แผ่นไดอะเฟรม และตัวไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่หรือ Backplate เพียงเท่านั้น ที่จะทำการแปลงเสียงที่ input ให้กลายเป็นคลื่นไฟฟ้าและเป็นเสียง output ที่เราได้ยินกันทั้งเสียงที่มาจากการแคสเกม หรือเสียงผ่านคลิป Youtube
การพิจารณาเลือกซื้อมาใช้งาน เราจึงเห็นส่วนใหญ่แล้ว จะเน้นการใช้งานภายในสถานที่ปิด, ภายในห้องส่วนตัว หรือมีความเป็นสัดเป็นส่วน หรือใช้งานได้ดีกับห้องอัด ไม่ว่าจะเป็นงานอัดเสียง หรืองานพากย์ต่างๆ หรือคนที่ทำงาน Game Caster และ Youtuber หลายคนก็หันมาเลือกใช้อุปกรณ์ประเภทนี้ หรือไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ สำหรับการทำไลฟ์ในแต่ละวัน
รูปแบบขาตั้ง
โดยสำหรับไมโครโฟนคอนเดนเซอร์นั้น จะมีรูปแบบขาตั้งให้เลือกได้มากมาย สำหรับผู้เลือกซื้อที่ต้องวางแผนกับโต๊ะทำงานของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการทำคลิป, แคสเกม หรือ พื้นที่ขายของออนไลน์ว่ามีการจัดวางแบบไหน เพราะนอกจากที่จะมีขาตั้งทั้งแบบขาเดียววาง stand alone แล้วนั้น ยังมี 2 ขาตั้ง และ 3 ขาตั้ง ซึ่งขึ้นอยู่กับความชอบและเหมาะสมกับการทำงานจริง
ตัวสวมไมโครโฟน
หรือที่เรียกกันว่า Ring Mount ที่เป็นวงแหวนในการสวมไมโครโฟน ที่เชื่อมต่อกับตัวฐานขาตั้ง ว่ามีความแน่นหนาหรือไม่ คือเมื่อสวมเข้ากับตัวอุปกรณ์แล้ว ยึดได้แน่นหรือว่าตัวไมโครโฟนยังสามารถเคลื่อนได้ ซี่งหากในกรณีที่เราทำงานจริง อย่างเช่น ช่วงไลฟ์ต่อเนื่อง หรือแคสเกมหลายชั่วโมงนั่น การพลาดมือปัดก็จะไม่ทำให้ไมโครโฟนหลุดกระเด็นออกไปได้
ความยาวของสายพอร์ต
จากการดูตัวพอร์ต USB แล้วนั้นว่า เป็นรูปแบบชนิดใด จากนั้นสิ่งที่ควรดูควบคู่กันไปเลยก็คือ ความยาวของสาย USB ซึ่งหลายคนต้องการเผื่อความยาว ในการใช้งานในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นความยาว 3 เมตร หรือน้อยกว่านั้น ควรที่จะมีการวางแผนสำหรับการใช้งานอื่นๆ ร่วมด้วย
ระดับคุณภาพของเสียงที่ได้
ในระดับของเสียงในคุณภาพทั่วๆ ไปคือ ระดับที่เริ่มต้น 44 kHz/16 Bits จนถึงในระดับที่เรียกว่า เป็นระดับเสียงที่ได้คุณภาพสูงคือ 48 kHz/24 Bits ซึ่งจะได้คุณภาพของเสียงดี มีความชัดเจนและเสียงเพราะ
รองรับกับการใช้งานโปรแกรมอื่นๆ หรือไม่
อย่างที่เรารู้กันว่า โดยลำพังอุปกรณ์ไมโครโฟนนี้สามารถใช้งานได้ทันที เมื่อผ่านการเสียบแจ็ค หรือพอร์ต USB เพียงแค่ทำการเชื่อมต่อไดร์ฟเวอร์เท่านั้น แต่หากจะเป็นการดีกว่าหรือไม่สำหรับการใช้งานในอนาคต ที่เราต้องการเพิ่มคุณภาพเสียงให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการรองรับการใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น Noise Gate หรือตัว Compressor ช่วยในการปรับความสมดุลระหว่างระดับเสียงเบา และเสียงดังให้เกิดบาลานซ์ลื่นหู
ปุ่มควบคุมที่ตัวไมโครโฟน
ถึงแม้ว่าเราจะมีการเสียบเชื่อมต่อพอร์ต USB ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ระหว่างไมโครโฟนและคอมพิวเตอร์ เป็นต้น แต่ในกรณีที่ทำงานติดพัน อย่างเช่น การไลฟ์สดนั้นช่วงเวลาที่เราตัดการจะตัดเสียง หรือ Mute Voice ช่วงจังหวะหนึ่ง และปรับเพิ่มเสียงให้มากขึ้น แม้แต่การปรับในรายละเอียดที่เพิ่มมากขึ้นในฟังก์ชั่น Gain เสียงนั้น ปุ่มที่ตัวไมโครโฟนมีการใช้งานได้ครอบคลุมหรือไม่
อุปกรณ์เสริมร่วม
ซึ่งอุปกรณ์เสริมที่มีมาพร้อมกับตัวไมโครโฟนหรือไม่ ถือว่าเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวขายื่นสำหรับการปรับจัดทิศทางไมโครโฟน ให้ลอยอยู่ในระดับด้านบนเพื่อป้องกันปัญหาการใช้เม้าส์ที่ปัดอุปกรณ์ไมโครโฟนที่วางบนโต๊ะ และยังถือว่าเป็นการจัดทิศทางที่ใกล้กับการพูดของเราอีกด้วย
สรุป
สื่อโซเชียลสำหรับยุคสมัยนี้ มีผลต่อทุกการใช้ชีวิตของเราทุกคน และด้วยตัวอุปกรณ์ไมค์คอมนี้มีการออกแบบที่หลากหลาย และช่วยรองรับผู้ที่ทำงานแคสเกม, อัดคลิป, ไลฟ์สด หรือทำ podcast อุปกรณ์ชนิดนี้ถือว่าให้เสียงดี และเสียงที่ได้มีความใสและดังชัดเจน ที่โดดเด่นมากกว่านั้นคือ การช่วยตัดเสียงรบกวนรอบตัวได้เป็นอย่างดีทีเดียว
นักชำนาญการเทคนิคด้านคอมพิวเตอร์ ไอที การศึกษาเอกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ผู้ชำนาญการด้านความรู้เกี่ยวกับไอที และคร่ำควอดเทคโนโลยี gadget มือถือ ชื่นชอบและติดตามวงการข่าวสารไอทีประสบการณ์มากกว่า 7 ปี
ไมค์คอม Fantech
-รูปแบบการรับเสียงแบบCardioidรับเสียงจากด้านหน้า
-มีระบบตัดเสียงรบกวนจากรอบข้าง ตัดเสียงเพลงขณะพูด
ไมค์คอม FlyDay รุ่น K690
ไมค์คอม HyperX
-มีเซ็นเซอร์กดปิดเสียงพร้อมไฟLEDแสดงสถานะ
-สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆและโปรแกรม
ไมค์คอม Nubwo รุ่น M33
-สามารถปรับองศาได้ตามต้องการแบบ360องศา
-ไมค์คุณภาพสูงหัวแจ็คแบบ 3.5มม.มีสวิต เปิด-ปิด
ไมค์คอม EGA
-เป็นไมค์แบบCardioidรับเสียงจากด้านหน้าด้านเดียว
-เชื่อมต่อผ่านสายUSB A to B ความยาวสาย2.5เมตร
ไมค์คอม OKER
-ก้านปรับงอได้ตามต้องการ มีสวิตซ์เปิด-ปิด บานตั้งมั่นคง
-ความไวของไมค์โครโฟน-58dB±3dB สายยาว 2.40ม.
ไมค์คอม FIFINE รุ่น K658
-เป็นไมค์แบบ Dynamic Cardioid Microphone
-CapsuleรับเสียงแบบDynamicใช้งานได้หลากหลาย
ไมค์คอม Primaxx รุ่น WS-MIC-005
-ความไว-55dB+-2dB ความต้านทาน22Ohms
-การตอบสนองความถี่อยู่ที่ 50 – 1600 Hz
ไมค์คอม CLiPtec รุ่น BMM610
-ขนาดพกพาสะดวก ปลั๊กขนาด5มม.สายเชื่อมขนาด3.5มม.
-ICประมวลผลไมค์โครโฟนสำหรับบันทึกทำงานอย่างเสถียร
ไมค์คอม Boya รุ่น PM300
-เหมาะสำหรับใช้ในการบันทึกเสียง podcasting
-ไมค์บันทึกเสียงแบบ Cardioid Polar Pattern