จุกนมหลอก คืออะไร
คือ จุกนมที่ช่วยลดปัญหาของทารก ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการติดดูดนมจากแม่, อาการที่เกิดมาพร้อมกับวัยแรกเกิดของทารก กับพฤติกรรมติดดูดนิ้วหัวแม่มือ หรือแม้แต่การร้องไห้ของทารกแบบหาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับการหิวนม ส่วนใหญ่แล้วจุกหลอกนี้ จะเน้นใช้สำหรับทารก ที่มีอายุน้อยๆ หรือช่วงเดือนแรกๆ ที่ได้มีการคลอดเด็กออกมา
การพิจารณาที่จะเลือกใช้จุกนมหลอกกับทารกช่วง 2-3 เดือนแรกหลังจากคลอด หรือการต้องรอให้ทารก มีความคุ้นเคยกับการดูดนมจากอกแม่ก่อน หลังจากนั้นช่วงเวลา 3-4 สัปดาห์หลังคลอดแล้ว จึงสามารถที่จะเริ่มใช้จุกหลอก เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวก โดยเฉพาะหลังการให้นมทารกแล้ว เพื่อไม่ให้ทารกมีอาการร้องไห้ หรือดูดนิ้วมือของตัวเอง
ทำไมต้องใช้จุกนมหลอก
จุกหลอก หรือ Pacifier นั้นถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างมาก ในการใช้เลี้ยงเด็ก ในวัยทารก หรือตั้งแต่ 3-6 เดือน หรือส่วนใหญ่จะเน้นให้ทารก ได้คุ้นชินกับหัวนมแม่สำหรับการดูดนมก่อน ในช่วงเวลาแรกคลอด จนถึงก่อน 3 เดือน จนถึงช่วงเวลา 3-6 เดือนนั้นจึงถือว่า เป็นช่วงเวลาที่ทารกจะมีการเริ่มใช้
จุกหลอกที่ดี ควรมีเนื้อผิวสัมผัสที่บางเบา, นุ่ม และให้ความอ่อนโยนในขณะที่ดูด หรือแม้แต่ทารกจะมีการใช้เพดานปากกัดก็ตาม จะมีความปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายใดๆ ทั้งกับช่องปาก และสารวัสดุที่ผลิตตัวจุกหลอกนี้ เพราะคุณสมบัติเหล่านี้ เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กับอุปกรณ์ หรือของใช้อื่นๆ ที่ใช้กับทารก
ด้วยความที่รูปทรงของจุกหลอกนี้ มีการผลิตด้วยเน้นการเลียนแบบทรงธรรมชาติ ให้เสมือนหัวนมแม่ ดังนั้นการตัดสินใจพิจารณาเลือกใช้ จึงเพื่อเติมเต็ม หรือตอบโจทย์ให้กับปัญหาที่มักจะเกิดกับทารกทุกคน หลังคลอดออกมาแล้วก็คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม จากภายในครรภ์ของแม่ มาสู่โลกภายนอก ที่ถือว่าเป็นทั้งการเปลี่ยนแปลงทั้งอากาศ, อุณหภูมิ และสิ่งรอบตัว อาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย
ประโยชน์จากจุกนมหลอก
1.ลดปัญหาทารกร้อง
อาการที่ทารกร้องไห้นี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับ อาการหิวนม หรืออาการไม่สบาย แต่เป็นส่วนสำคัญที่เกิดจากการติดการดูดหัวนมแม่ หรือติดการดูดนม ซึ่งตรงนี้จุกหลอกจะช่วยแก้ปัญหาได้ในช่วงระยะเวลา 1-6 เดือน ที่ทารกจะมีอาการเหล่านี้ รวมถึงการลดการวิตกกังวลให้กับทารก หรืออาการที่เรียกว่า Panic ได้อีกทางหนึ่งด้วย
2.ลดความเหนื่อยจากการร้องของทารก
ในกรณีที่ทารกมีอาการเจ็บป่วย หรือไม่สบายที่อาจสร้าง ความเจ็บปวดในอวัยวะบางส่วนของร่างกาย การใช้จุกหลอกก็จะช่วยให้ เป็นการระบายความเจ็บปวดได้อีกทาง
3.สร้างความคุ้นชินในการดูดนม
สำหรับทารกที่มีการคลอดก่อนกำหนด ที่อาจจะต้องอยู่ในโรงพยาบาล เพื่อให้ปรับสภาพความสมดุลให้กับร่างกาย หรือมีการคลอดก่อนกำหนด อันเนื่องมาจากน้ำหนักตัวน้อยเกินค่ามาตรฐานนั้น การให้ดูดจุกหลอกก่อน ก็จะเป็นการทำให้คุ้นชินกับการเรียนรู้ทั้ง การดูดนมจากอกแม่ และการดูดนมจากขวดนมในอนาคต
4.ลดความเสี่ยงการเกิดโรคไหลตายในทารก
ในเมืองนอกมีความนิยมในการใช้จุกหลอก เพราะมีการค้นพบว่าอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทารกชิ้นนี้ มีผลในการลดการเกิดปัญหาการไหลตายในทารก หรือโรค SIDS ซึ่งย่อมาจาก Sudden Infant Death Syndrome
5.ช่วยให้รู้สึกปลอดภัย
สาเหตุที่ทารกร้องไห้นั้น อีกหนี่งสิ่งที่เราอาจจะคาดไม่ถึงเลยก็คือ ความรู้สึกกังวลต่อสภาพแวดล้อมในบางครั้ง ซึ่งถึงแม้เราจะหาสาเหตุของการร้องไห้นั้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาการหิวนม หรืออาการเจ็บปวดตามอวัยวะต่างๆ ก็ไม่พบ
เพราะนั่นอาจมาจากสาเหตุที่อารมณ์ หรือความหวาดกลัวของทารกเอง การใช้จุกหลอกที่เหมือนกับหัวนมของแม่นั้น จะช่วยให้สภาพจิตใจ และอารมณ์ของทารกรู้สึกดี และปลอดภัยมากขึ้น
นอกเหนือจากที่จะช่วยให้ทารกรู้สึกคลายกังวล และมีความรู้สึกปลอดภัย ที่มีผลให้ทารกหยุดร้องไห้ได้ง่าย ยังมีผลต่อเนื่องที่จะทำให้ทารกนอนหลับได้ดี และนอนหลับได้นานอีกด้วย ซึ่งการนอนหลับในทารก เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ทั้งในเรื่องการเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย และการสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับทารกร่วมด้วย
จุกนมหลอกมีกี่แบบ
ก่อนที่เราจะลงลึกไปดูรูปแบบของจุกหลอก ที่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อทารกแล้วนั้น ยังมีอุปกรณ์ รวมถึงข้าวของเครื่องใช้หลายอย่าง ที่จำเป็นทั้งต่อทารกแรกคลอด และมีความจำเป็นต่อคุณแม่ร่วมด้วย อย่างเช่น เครื่องอุ่นนม , คอกกั้นเด็ก , ขวดนม , นมผง , แปรงล้างขวดนม , ที่ดูดน้ำมูกทารก , เสื้อผ้าเด็ก , หมอนคนท้อง , ผ้าคลุมให้นม ที่พ่อแม่ควรมีการเตรียมสิ่งเหล่านี้ไว้ก่อนล่วงหน้า เพื่อความพร้อมสำหรับการใช้งานของทารก
1.จุกนมหลอกทรงกลมเหมือนเต้า (Round Pacifier)
ลักษณะของรูปทรงจุกหลอก ที่มีความเหมือนเต้านม หรือเป็นทรงกลมนั้น นอกจากที่จะมีรูปทรงที่เป็นธรรมชาติเหมือนหัวนมแม่แล้วนั้น ยังช่วยให้ทารกเกิดความเคยชิน ในกรณีที่ทารกต้องดูดนมผ่านขวดนม สำหรับน้ำนมที่แม่ปั๊มเก็บ แล้วนำมาใส่ขวดนมให้ดูด เพื่อสะดวกในเวลาที่ไม่ได้อยู่ในบ้าน
ซึ่งมีทารกหลายคน ที่ไม่เคยทำความคุ้นเคยกับจุกหลอกนี้ และเมื่อนำนมแม่ที่ปั๊มไว้แล้ว ใส่ขวดนม ทารกก็ไม่สามารถที่จะดูดน้ำนมแม่จากขวดนมได้ จุกหลอกรูปแบบนี้ถือว่า เป็นรูปแบบแรกๆ ที่มีการออกแบบให้คล้ายกับหัวนมของแม่มากที่สุด สามารถรองรับการดูด และกัดจากทารกได้ถึงแม้เป็นช่วงวัย ที่ยังไม่มีฟันขึ้นก็ตาม
อีกทั้งข้อดีนอกจากจะมีลักษณะพื้นผิวสัมผัส ที่นิ่ม และมีความอ่อนโยนด้วยรูปทรงธรรมชาติแล้วนั้น ยังให้ความเหมือนหัวนมแม่ ที่สร้างความคุ้นเคย และรู้สึกปลอดภัยให้กับทารกอีกด้วย ด้วยทรงด้านปลายจุกหลอกนั้น เป็นทรงกลมทำให้มีเนื้อที่ในการเก็บน้ำนม และปล่อยเข้าปากทารกได้เร็ว และง่าย จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีความนิยมใช้รูปแบบนี้กันอยู่
2.จุกนมหลอกทรงแบน (Orthodontic Pacifier)
รูปทรงปลายจุกหลอกรูปแบบนี้ เราจะเห็นความแตกต่างได้ง่ายมาก ซึ่งจะต่างจากจุกหลอกในแบบแรก หรือแบบกลมที่มีความเหมือนกับหัวนมแม่มากกว่า แต่ในส่วนที่ดีของจุกหลอกแบบแบนนี้ ด้วยความที่ช่วงปลายของจุกหลอก มีทั้งความโค้ง และความแบน มีเนื้อที่เหลือพอให้ฟันล่างและฟันบนไม่สบกัน หรือเสียดสีกัน จึงทำให้โอกาสที่จะเกิดฟันสบกันในอนาคตน้อยกว่า จุกหลอกแบบแรก
อีกทั้งยังช่วยให้ทารก ไม่เกิดการสำลักน้ำลาย ด้วยความที่ตัวปลายจุกหลอก มีความสอดรับระหว่างลิ้น และฟันได้อย่างพอดี วัสดุที่นำมาผลิตนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นซิลิโคน ที่ให้เนื้อผิวในการสัมผัส หรือการดูดของทารกได้รู้สึกถึง ความนิ่ม และความบางเบาของจุกหลอก รวมถึงรูปแบบที่มีลักษณะแบนนั้น ยังช่วยให้ทารกรู้สึกนิ่ม และแนบไปที่ตัวลิ้นได้อย่างอ่อนโยน และไม่เป็นอันตรายอีกด้วย
วิธีใช้จุกนมหลอกที่ถูกต้อง
ก่อนที่จะเรายื่นจุกหลอกให้ทารกนั้น เราจะต้องรู้ก่อนว่า ทารกต้องการดูดนมเพราะ เพียงแค่ต้องการเติมเต็มความรู้สึกดีภายในจิตใจ หรือต้องการความรู้สึกปลอดภัยเท่านั้น ในอีกทางหนึ่งคือ ทารกหิว และต้องการดูดนมแม่ ซึ่งหากเรารู้ในเรื่องนี้แล้วนั้น ก็จะทำให้เราสามารถให้จุกหลอกกับทารก ได้ตรงตามความต้องการ และไม่เป็นการตีความหมายของทารกผิดอีกด้วย
1.ทารกหิวนม
ในช่วงเวลาที่เราต้องการให้ทารก คุ้นชินกับการดูดนมที่เต้าของแม่นั้น คือช่วงอายุ 2-3 สัปดาห์ ที่ไม่ควรให้จุกหลอกกับทารก และเป็นช่วงเวลาสำคัญ ที่ทารกจะมีการดูดนมที่บ่อย และถี่ นั่นหมายถึง ทารกจะมีอาการหิวนมบ่อยนั่นเอง นั่นคือทุกๆ 2-3 ชั่วโมงทีเดียว และการที่เรารู้ช่วงเวลาหิวของทารก ทำให้เราสามารถมองออกว่า การร้องของทารกในช่วงเวลานั้นๆ เป็นการร้องที่หิวนม หรือการร้องเพียงต้องการดูดนิ้วมือ หรือนมแม่เพื่อให้รู้สึกดีเท่านั้น
ซี่งคุณแม่สามารถตั้งเวลาปลุก หรือจดเวลาที่ต้องให้นมกับทารก หากเป็นในช่วงวัย 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอดนั้น ทารกจะมีการกินนมมากถึงวันละ 8-12 ครั้งต่อวันเลยทีเดียว และนอกเหนือจากเวลาที่ให้นม หรือเวลาที่เราตั้งและจดไว้ว่า เป็นเวลาให้นมกับทารก เมื่อทารกร้องเราก็จะสามารถรู้ได้ว่า เป็นการร้องที่ได้เกี่ยวข้องกับการหิวนม
2.ทารกต้องการดูดเพราะรู้สึกดี
นับตั้งแต่ที่ทารกเกิดมาวันแรก จะมีคุ้นเคยกับเต้านมของแม่เป็นสิ่งแรก และเป็นสิ่งเดียวที่จะได้สัมผัสใกล้ชิดกับตัวทารกมากที่สุด ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไมทารกจึงติดทั้งการดูดนมแม่ในเวลาที่หิวนม,
เวลาที่อยากจะดูดนิ้วมือตัวเอง ที่พ่อแม่ต้องซื้อถุงมือใส่กันไว้ แต่สิ่งหนี่งมากกว่านั้นคือ เราต้องรู้ความหมาย หรือสาเหตุที่ทารกติดในการดูดนิ้วมือ จึงจะสามารถแก้ได้ว่า การมีจุกนมหลอก ก็เพื่อให้ทารกได้มีช่วงเวลาตั้งแต่ 3-6 เดือน ที่จะผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ได้
เมื่ออายุมากขึ้น หรือเลยวัย 6 เดือน อย่างมากที่สุดคือ 1-2 ขวบ ทารกที่เติบโตเป็นเด็ก ก็จะเรียนรู้และเลิกการดูดจุกนมหลอกไปเองในแบบธรรมชาติ ซึ่งในช่วงเวลาที่ทารกดูดจุกหลอกนั้น ก็ไม่เป็นอันตรายใดๆ อีกทั้งยังเป็นอุปกรณ์ที่มีความนุ่มนวล ทั้งในวัสดุเนื้อสัมผัส และให้ความนุ่มนวลในเรื่องความรู้สึกทางจิตใจร่วมด้วย
วิธีเลือกซื้อ จุกนมหลอก
1.วัสดุ
ในส่วนของตัววัสดุของจุกหลอกนั้น มีให้เลือกตั้งแต่เป็นพลาสติก, ยาง และซิลิโคน ในรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาจะมีซิลิโคน ที่มีความคงทน รวมถึงให้เนื้อสัมผัสของวัสดุที่มีทั้ง ความบางเบา, นุ่มนวล และไม่เป็นอันตรายต่อทารก
2.ขนาด
เราสามารถเลือกได้ตั้งแต่เล็กสุดคือ ขนาด S ที่เหมาะสมกับทารกอายุไม่เกิน 6 เดือน, ขนาด M เหมาะสมกับทารกอายุ 6-18 เดือน และขนาด L เหมาะกับทารกอายุ 18 เดือนขึ้นไป ทั้งนี้การเลือกให้ขนาดเหมาะกับช่วงวัยของทารก จะช่วยให้พอดีกับขนาดของช่องปาก, เพดานปาก รวมถึงการดูด และกัดจุกหลอกที่พอดี ไม่ใหญ่เกินช่องปาก
3.รูปแบบจุกนมหลอก
อย่างที่เราเกริ่นไว้ข้างต้นแล้วว่า จะมีทั้งรูปแบบจุกแบน และจุกทรงกลม ที่มีความเหมือนหัวนมแม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้งานร่วมกับทารก และความเหมาะสมในการใช้งาน สำหรับการเลือกพิจารณาของพ่อแม่
สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในการใช้จุกนมหลอก
1.เมื่ออายุครบ 6 เดือนถึง 1 ขวบ
จุกหลอกนั้นอาจจะไม่ได้สามารถใช้กับทารกไปได้ ในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน เพราะนอกจากจะทำให้เมื่อทารกเติบโตขึ้น ด้วยการติดจุกนมหลอกแล้ว ยังอาจมีผลต่อลักษณะนิสัยบางอย่างอย่างเช่น ความไม่มั่นใจในตัวเอง
หรือติดการดูดนิ้วมือเมื่อหย่าจุกหลอกในเวลาที่ช้าจนเกินไป ซึ่งโดยปกตินั้นเด็กจะมีการหย่าจากจุกหลอก เมื่ออายุ 1 ขวบอยู่แล้ว แต่ในที่นี้ พ่อแม่อาจจะต้องมีการพาเด็กไปปรึกษาหมอ ตั้งแต่ที่เด็กอายุครบ 6 เดือนถึง1 ขวบเกี่ยวกับการเลิกใช้จุกหลอกนี้ร่วมด้วย
2.ความระมัดระวังในการเก็บ
พ่อแม่หลายคนที่คิดว่า การใช้จุกหลอกกับช่วงวัยทารก ที่จำเป็นต้องใช้ตลอดเวลา หรือใช้บ่อย จึงมีการทำสายห้อยติดไว้ หรือคล้องไว้ที่คอของทารกเลย สิ่งนี้ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้นมาได้ อย่างเช่น การที่สายคล้องรัดคอเด็ก เมื่อเด็กนำมาเล่น หรือการที่ทารกนำเอาจุกหลอก ไปอุดที่อวัยวะบางอย่างที่เกี่ยวกับการมองเห็น หรือการหายใจ ในช่วงเวลาที่พ่อแม่ไม่อยู่
3.ใช้แทนที่อุปกรณ์อย่างอื่นไม่ได้
การนำเอาจุกหลอกไปอุด หรือไปเสริมของใช้ของเด็กในบางอย่าง อย่างเช่น ถาดอาหารที่ติดกับเก้าอี้ของเด็ก หรือเสียบไว้ที่ช่องเล็กๆ ที่เบาะเด็ก ในการเดินทางบนรถยนต์นั้น สิ่งนี้ถือเป็นเรื่องอันตราย เมื่อเด็กนั่งที่เบาะเด็ก และนำจุกหลอกนี้ออกมา รวมถึงนำไปอุดอวัยวะที่สำคัญ โดยที่เราไม่ได้สังเกตเห็น
4.สังเกตสภาพการใช้งานเสมอ
เราสามารถมั่นใจได้ว่า วัสดุที่แต่ละยี่ห้อนั้นนำมาผลิตเป็นจุกหลอก ย่อมมีความบางเบา, นุ่มนวล และปลอดภัยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ถึงแม้เรามจะมั่นใจในคุณภาพของอุปกรณ์ชนิดนี้แค่ไหนก็ตาม ในการนำมาใช้งานให้ทารกดูด ควรมีการสังเกตอย่างดีว่า ตัวจุกหลอกนั้น มีการแตก หรือเริ่มมีการชำรุดเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะทารกอาจกลืนเศษวัสดุของจุกหลอกเข้าไปในคอ หรือติดที่หลอดลมได้
5.เน้นในเรื่องความสะอาดเป็นสำคัญ
ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญมากๆ สำหรับการเลี้ยงทารก หรือเด็กแรกเกิด โดยเฉพาะทารกที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน และอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องใช้จุกนมหลอกอยู่เสมอๆ ด้วยแล้ว ควรที่จะมีการนำมาต้มในน้ำเดือด, ทำความสะอาดในเครื่องอบฆ่าเชื้อสำหรับของใช้ทารก หรือสามารถนำเข้าไปล้างทำความสะอาดใน เครื่องล้างจานได้ ทั้งหมดนี้เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่า ในทุกครั้งที่ทารกได้ใช้จุกหลอก จะมีความปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
คำถามที่พบบ่อยของจุกนมหลอก
ดูดจุกหลอกท้องอืดไหม
ประสบการณ์จากคุณแม่หลายท่านแล้วว่า การให้จุกหลอกนี้ ไม่ได้มีปัญหาใดๆ กับเรื่องท้องอืด หรือมีลมเข้าท้องทารกมากเกินไป แต่ในทางกลับกันนั้น การไม่มีจุกหลอก และให้ทารกดูดนมที่มากเกินความหิวที่แท้จริงต่างๆ ที่จะทำให้ทารกมีอาการท้องอืด และทำให้ทารกมีอาการแน่นท้องได้ แต่หากเกิดในกรณีที่จุกหลอกนั้นชำรุด, มีรอยขาด หรือรูรั่วโดยที่พ่อแม่ไม่เห็น จะเป็นสาเหตุให้อากาศเข้าไปทางรูรั่วเล็กๆ นั้นได้ และก่อให้เกิดปัญหาท้องอืดกับทารกได้
จุกนมหลอกใช้ตอนไหน
การนำจุกหลอกมาใช้กับทารกนั้น ส่วนใหญ่มักจะใช้ในเวลาที่ ทารกดูดนมแม่จนอิ่มแล้ว แต่ในบางครั้งก็ยังร้องอยู่ หรือเป็นการร้องที่ไม่มีสาเหตุ อย่างเช่น ในช่วงเวลาที่ต้องนอนแล้ว เมื่อพ่อแม่ตรวจดูไม่ว่าจะเป็น ตัวผ้าอ้อมที่ไม่เลอะ, กินนมอิ่มแล้ว หรือไม่มีอาการไม่สบายใดๆ บางครั้งเราลองให้ทารกดูดจุกหลอก ก็จะช่วยให้ทารกหยุดร้อง และนอนหลับได้ง่าย และหลับได้นานมากขึ้น
ซี่งอย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า ในบางครั้งการร้องของทารกนั้น ก็อาจไม่ใช่อาการหิวนม, อาการเจ็บปวดทางร่างกาย หรือไม่เกี่ยวกับผ้าอ้อมเลอะเสมอไป แต่เกี่ยวกับทางด้านจิตใจ ที่จุกนมหลอกสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ด้วยความที่จุกหลอกให้ความรู้สึกนุ่มนวลเหมือนเต้านมของแม่นั้น การนำมาใช้กับทารกในช่วงวัย 2-4 เดือนแรกหลังจากการคลอดนั้น จึงเป็นช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุด
โดยต้องให้ทารกดูดนมจากเต้าของแม่ก่อน ในช่วง 1-2 เดือนแรกหลังจากคลอด หรืออย่างน้อยๆ 2-4 สัปดาห์ และควรให้ทารกหย่าจากจุกหลอกในช่วงอายุ 6 เดือน แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ เพราะเมื่อถึงเวลา 6 เดือนแล้ว พ่อแม่สามารถปรึกษาหมอ ในเรื่องวิธีให้ทารกหย่าจากจุกหลอกนี้ได้ เพราะส่วนใหญ่โดยปกติแล้ว ทารกหรือเด็กที่โตจนถึงอายุ 1-2 ขวบนั้น จะมีการหยุดใช้จุกนมหลอกโดยธรรมชาติเอง
จุกนมหลอกให้ตอนกี่เดือน
จุกหลอกสามารถให้เริ่มใช้กับทารก เมื่ออายุได้อย่างน้อยที่สุดคือ 2 เดือน ซึ่งโดยปกติแล้ว ทารกจะเริ่มมีการให้หัดเรียนรู้ และคุ้นเคยกับจุกหลอกในอายุ 3 เดือน จนถึงอายุ 6 เดือนก็จะเริ่มให้ทารกหย่าจากจุกหลอก
ให้ลูกใช้จุกหลอกได้ไหม เริ่มใช้ได้เมื่ออายุเท่าไร ข้อดี ข้อเสีย และวิธีการเลื้อกซื้อ
สรุป
อย่างที่พ่อแม่หลายคนมีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกมาก่อน ได้มีการบอกไว้ว่า การเลี้ยงเด็กเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และควรมีการใส่ใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะช่วงแรกคลอด หรือช่วงที่เป็นทารก
ในการเลือกซื้อและเลือกใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงแต่ละอย่าง ก็มีความสำคัญในแต่ละเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่จุกนมหลอก ก็เป็นอีกเครื่องใช้สำคัญสำหรับทารก นอกจากจะมีความเสมือนหัวนมแม่แล้วนั้น ทารกยังสามารถถือจับได้ง่าย และเป็นวัสดุที่ได้มาตรฐานอีกด้วย
อ้างอิง
How to Use a Pacifier : The University of Rochester Medical Center (URMC)
Pacifiers: Are they good for your baby? : Mayo Clinic
ตู่ คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวผู้สตรอง ปัจจุบันทำงานเป็นนักวิชาการด้านการพัฒนามนุษย์ และสังคม ประสบการณ์เป็นวิทยากรด้านการเลี้ยงดูเด็ก และ จิตวิทยาวัยรุ่น และเป็นนักเขียนบทความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับแม่และเด็ก
จุกนมหลอก Philips Avent รุ่นคลาสสิค
-ผิวสัมผัสอ่อนโยนและรูปทรงจุกตามธรรมชาติ
-ผลิตจากวัสดุที่เป็นปราศจากสาร BPA ทำความสะอาดง่าย
จุกนมหลอก BABY TATTOO
-ขนาดของสินค้า 5ซม. x 2.7ซม.เบาและนิ่มสามารถกัดได้
-ออกแบบเหมือนหัวนมแม่ ช่วยบรรเทาอาการลูกน้อยได้
จุกนมหลอก Pigeon รุ่น Skin Friendly
-รูปทรงมีความสมดุลไม่หลุดง่ายไม่ต้องใช้แรงในการพยุงจุก
-ออกแบให้มีช่องขนาดใหญ่ระบายอากาศได้ดีเป็นมิตรต่อผิว
จุกนมหลอก Pureen
-จุกนมซิลิโคน คุณภาพสูง ปราศจากสารอันตรายต่างๆ
-รูปทรงของแป้นมีลักษณะโค้งเหมาะกับรูปปากเด็ก
จุกนมหลอก Natur
-ผลิตาจากซิลิโคน food contact grade
-สามารถทนความร้อนได้สูง 120 องศาเซลเซียส
จุกนมหลอก Attoon
-ผลิตจากซิลิโคนเกรดอาหาร นุ่มสบายเหงือก
-ช่วยลดการร้องไห้งอแง เล่นน้ำลาย ดูดนิ้ว ดูดปาก
จุกนมหลอก Babito รุ่นมีห่วง
-รูปแบบออร์โทดอนติคช่วยพัฒนาโครงสร้างเหงือและฟัน
-น้ำหนักเบาเป็นพิเศษ ปลอดภัย และปราศจากสาร BPA
จุกนมหลอก Mam
-เน้นความบางเบา นุ่ม สบาย เมื่อเด็กดูดจุกหลอก
-ออกแบบมาเพื่อลดความเสี่ยงของฟันที่ขึ้นผิดรูป
จุกนมหลอก Juju
-มีสายคล้องกันตก ดีไซน์ทันสมัย ลวดลายสวงาม
-สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก
จุกนมหลอก Papa Baby
-ขนาดรูปทรงเหมาะกับช่องปากของเด็กแต่ละวัย
-ลดผลกระทบของการขึ้นและเรียงตัวของฟัน