ไฟดับเกิดจากอะไร
จริงๆ แล้วการเกิดปัญหาไฟดับนั้น เจอได้ทุกพื้นที่ และทุกประเทศทั่วโลก แต่ในบางปัจจัยที่เกิดปัญหานี้ ก็ขึ้นอยู่กับระบบจัดการของแต่ละประเทศร่วมด้วย ที่มีการสำรองไฟ หรือในแต่ละเขตการดูแลในพื้นที่นั้นๆ มีการดูแล และเข้ามาแก้ไขได้เร็วแค่ไหน
ดังนั้นเรามาดูกันว่าสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาที่เราไม่สามารถที่จะใช้ไฟฟ้าได้ ซึ่งอาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเช่น ตู้เย็น 5 คิว , เครื่องนวดไฟฟ้า หรือ เครื่องทำน้ำอุ่น นั้น ไม่สามารถที่จะใช้งานชั่วคราวได้
1.การใช้งานที่เกินขนาดของที่พักอาศัย
ตรงนี้ในหลายๆ บ้านอาจเจอกับสาเหตุแบบนี้ ซึ่งทำให้เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องมีตัวสับคัทเอ้าท์ หรือเบรกเกอร์ไว้เพื่อเป็นการป้องกันความปลอดภัย ในกรณีที่มีการใช้ไฟเกินกว่าที่กำหนด และทำให้ผู้พักอาศัยต้องหันมาพิจารณาถึง การมีไฟฉุกเฉินไว้ใช้งานสำรอง ในกรณีที่เกิดปัญหาแบบนี้ร่วมด้วย
2.ภัยธรรมชาติ
ในช่วงหน้าฝนขณะนี้รวมถึงในช่วงเวลา ที่เกิดพายุ หรือมรสุมเข้ามาในประเทศไทยเรา จะสังเกตได้อย่างชัดเจนถึงปัญหาไฟดับ ที่เกิดจากสาเหตุนี้บ่อยครั้ง ซึ่งมีได้ทั้ง กระแสไฟฟ้าลัดวงจร หม้อแปลงระเบิด หรือสายไฟที่มีความชำรุดมาก่อนหน้านั้นแล้ว
การโดนฝน หรือแรงลมพายุพัด ก็ทำให้ทั้งเสาไฟ และสายไฟโค่นล้มลงมาได้ และสิ่งนี้อาจทำให้หลายคนไม่สามารถที่จะใช้งานได้ทั้ง พัดลมแอร์ , เครื่องฟอกอากาศ และ ไมโครเวฟ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทุกบ้านในยุคนี้มีใช้ประจำบ้าน และมีการใช้งานในทุกๆ วัน
3.การซ่อมแซมของหน่วยงานที่ส่งกระแสไฟฟ้า
ในบางช่วงเวลาที่ทางหน่วยงานการไฟฟ้า อาจจะต้องขอความร่วมมือจากประชาชน ที่จะต้องมีการปรับปรุงสายไฟ หรือมีการวางสายไฟใหม่
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีการปรับปรุง และซ่อมแซมเป็นพื้นที่โดยกว้างที่มีความเชื่อมโยงถึงกันในลักษณะหมู่บ้าน หรือตามเขตพื้นที่ ที่ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง จะมีการแบ่งแยกการดูแล และรับผิดชอบ
ไฟฉุกเฉิน คืออะไร
คือ อุปกรณ์หรือเครื่องที่ใช้ในการให้ความสว่าง ในช่วงเวลาที่เกิดไฟดับขึ้นในภายในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัย โรงแรม ที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งในโรงเรียน และวัดก็มีการเริ่มติดตั้งไฟฉุกเฉินกันแล้ว เพราะเราไม่สามารถที่จะล่วงรู้ได้ว่า เมื่อไหร่ที่จะเกิดปัญหาไฟดับ หรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เราไม่สามารถที่จะใช้เครื่องไฟฟ้าได้
การทำงานของเครื่องนี้สำหรับการเป็นไฟสำรองนั้น จะเริ่มตั้งแต่การช่วงเวลาที่เรามีไฟฟ้าใช้ได้อย่างปกติ ตัวเครื่องจะประกอบไปด้วย วงจรชาร์ท หลอดไฟ และแบตเตอรี่ โดยที่วงจรชาร์ทจะมีการประจุเก็บกระแสไฟฟ้าเข้าที่แบตเตอรี่ให้เต็ม และตัวสวิตซ์อัตโนมัติจะทำการตัดวงจรหลอดไฟภายในตัวเครื่อง เพื่อไม่ให้ทำงานในช่วงที่มีไฟฟ้าใช้งานได้อย่างปกติ
จนถึงในช่วงเวลาที่เกิดไฟดับ วงจรชาร์ทจะหยุดการทำงาน และเปิดการทำงานของสวิตซ์อัตโนมัติ เพื่อให้ตัวแบตเตอรี่ปล่อยกระแสไฟเข้าหลอดไฟภายในตัวไฟฉุกเฉิน และการทำงานก็จะวนกลับมาคือ เมื่อไฟฟ้ากลับมาใช้ได้เหมือนเดิม
ตัวสวิตซ์อัตโนมัติจะตัดการส่งไฟเข้าหลอดไฟภายในตัวเครื่อง และเปิดการทำงานของวงจรชาร์ท เพื่อทำการชาร์ทแบตเตอรี่ในตัวเครื่องสำรองไฟนี้อีกครั้ง
วิธีใช้ไฟฉุกเฉิน
หากในเบื้องต้นที่เราได้มีการอ่านคู่มือของตัวเครื่องเรียบร้อย พอที่จะเข้าใจการทำงานคร่าวแล้ว รวมถึงมีการติดตั้งที่ถูกต้องตามลักษณะ ของตัวแบตเตอรี่ที่อยู่ภายในตัวเครื่องแล้วนั้น สิ่งที่เราควรจะศึกษา คือการใช้งานของตัวเครื่องสำรองไฟฉุกเฉิน
1.เมื่อทำการเสียบตัวชาร์ทแบตเตอรี่เข้ากับขั้วต่อ และเสียบปลั๊กของตัวเครื่องเรียบร้อยแล้วนั้น จะมีสัญญาณไฟ ac ขึ้นเป็นการแสดงให้เรารู้ว่า ไฟเข้าตัวเครื่องแล้ว
2.หลอดไฟ ac สว่างแสดงว่ามีการเปิดใช้งานในส่วนของ การชาร์ทประจุเข้าตัวแบตเตอรี่ อีกทางหนึ่งเราสามารถที่จะจำลักษณะของสีไฟได้คือ หากขึ้นสีแดงที่ ac นั่นหมายถึงเครื่องกำลังชาร์ทประจุเข้าตัวแบตเตอรี่อยู่ และหากชาร์ทเต็มแล้วจะขึ้นไฟ ac เป็นสีเขียวแทน
3.หากในกรณีที่มีการชาร์ทจนแบตเตอรี่เต็มแล้วนั้น ตัวเครื่องจะมีการตัดการชาร์ทเข้าตัวแบบอัตโนมัติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการถนอมตัวแบตเตอรี่ของเครื่องไปด้วยในตัว
4.หากเกิดปัญหาไฟดับในช่วงเวลานั้นๆ ตัวหลอดไฟ ac จะดับ และสวิตซ์ในการเปิดทำงาน ที่จะส่งต่อกระแสไฟจากแบตเตอรี่ไปยัง หลอดไฟในเครื่องไฟฉุกเฉินนั้นจะเป็นไปอย่างอัตโนมัติ รวมถึงในกรณีหากไฟฟ้ากลับมาใช้งานได้ปกติแล้ว
ตัวสวิตซ์ก็จะปิดการทำงานทันที หลอดไฟจะดับ และมีการเปิดการชาร์ทประจุเข้าที่ตัวแบตเตอรี่เหมือนเดิม ในขั้นตอนการทำงานนี้เครื่องจะทำหน้าที่ด้วยตัวเอง เป็นไปได้เราไม่จำเป็นที่จะไปกดปิดสวิตซ์การทำงานของหลอดไฟใดๆ
5.สิ่งที่เราควรระวังเป็นอย่างยิ่งคือ หากในกรณีที่มีการดับของไฟฟ้าเป็นเวลานาน และนานเกินขีดจำกัดของเครื่องสำรองไฟฟ้า ที่จะรองรับการเปิดใช้งานได้ ซึ่งในแต่ละเครื่องก็จะมีขอบเขต และความสามารถในการรองรับที่แตกต่างกันไป เมื่อใช้แบตเตอรี่จนหมดแล้วนั้น เครื่องจะดับและมีการชาร์ทแบตเตอรี่อัตโนมัติ
ที่สำคัญคือในช่วงเวลาที่หลอดไฟดับนั้น เราไม่ควรที่จะช่วยเครื่องในการกดปิดสวิตซ์ตัวหลอดไฟ เพราะนอกจากจะทำให้ระบบการทำงานของตัวเครื่องรวนแล้ว ยังเป็นการทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นลงอีกด้วย
วิธีปิดไฟฉุกเฉิน
โดยปกติแล้วจะไม่แนะนำให้มีการปิดสวิตซ์อัตโนมัติเอง ในกรณีที่เป็นการประหยัดอย่างเช่น ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ค่อยมีเหตุการณ์ไฟดับเกิดขึ้น เลยต้องการให้เครื่องพักการใช้งาน ไม่ต้องมีการชาร์ทประจุไฟฟ้าเข้าตัวแบตเตอรี่ เพราะตรงนี้อาจะทำให้ทั้งการทำงานของตัวเครื่องสำรองไฟขัดข้อง และแบตเตอรี่เสียอีกด้วย
แต่ในกรณีที่หากเกิดกรณีไฟดับ และเครื่องมีการตัดวงจรการชาร์ทเข้าตัวแบตเตอรี่เรียบร้อยแล้ว ตัวสวิตซ์มีการเปิดอัตโนมัติ เพื่อจ่ายกระแสไฟจากแบตเตอรี่ไปยังหลอดไฟ และเราต้องการปิดตัวหลอดไฟภายใน เพื่อเป็นการประหยัด
อาจเนื่องด้วยพื้นที่ตรงนั้น ไม่มีคนอยู่ หรือไม่มีการใช้งาน เราสามารถกดสวิตซ์ปิด หรือ off ได้ และสามารถกลับมากดเปิดได้หากต้องการใช้งานพื้นที่นั้นๆ และไฟฟ้ายังไม่สามารถกลับมาใช้ได้อยู่
ซึ่งในช่วงเวลาที่ไฟฟ้ายังไม่สามารถกลับมาใช้ได้ปกตินั้น หลายคนอาจจะหิว และเป็นช่วงเวลาที่ไม่สามารถใช้งานเครื่องไฟฟ้า ในการอุ่น หรือประกอบอาหารอะไรได้ วิธีที่ช่วยให้เราสามารถอิ่มท้องได้ด้วยวิธีง่ายๆ และคลายความกังวลใจไปได้คือ การหา แครกเกอร์ ทา เนยสด พร้อมกับเครื่องดื่มอย่าง นมพร่องมันเนย และจุด เทียนหอม ภายในห้องไปก่อน เพราะในบางคนอาจจะมีความวิตกเมื่ออยู่ในที่มืดนานๆ
วิธีการตรวจเช็คสภาพการใช้งานของไฟฉุกเฉิน
อุปกรณ์ชนิดนี้เหมือนกับเครื่องดับเพลิง ที่ไม่ควรที่จะมีการติดตั้งแล้ว ปล่อยทิ้งไว้จนถึงเวลาฉุกเฉินที่เกิดเหตุการณ์ไฟดับ แล้วจึงให้เครื่องเปิดทำงาน ซึ่งในเวลานั้นเราอาจจะไม่รู้ด้วยว่า เครื่องมีประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่
หรือเมื่อเปิดใช้งานแล้วมีอันตรายอะไรที่ส่งผลถึงผู้พักอาศัย ซึ่งเป็นการดีที่เราจำเป็น ต้องศึกษาข้อมูลเบื้องต้นการใช้งาน จากคู่มือใช้งานของตัวเครื่องรวมถึงวิธีในการใช้งานไฟสำรองฉุกเฉิน ดังต่อไปนี้
1.ควรมีการตรวจสอบอยู่เสมอ อย่างน้อยๆ 3-6 เดือนต่อครั้ง ในการตรวจเช็คการทำงานของตัวหลอดไฟ ว่ามีสามารถเปิดใช้งานได้หรือไม่ โดยการกดปุ่มตรวจสอบ หรือปุ่ม Test
เพื่อปิดวงจรชาร์ท และเปิดระบบสวิตซ์อัตโนมัติ ให้หลอดไฟมีการดึงกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไปใช้งานได้ และเพื่อดูด้วยว่าแบตเตอรี่สามารถคายประจุไฟฟ้าออกมาใช้งานจริงได้หรือไม่ อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ให้ได้ยาวนานมากขึ้น
2.หากเป็นไฟฉุกเฉินที่เป็นแบบการเติมน้ำกลั่น ควรที่จะมีการตรวจสอบระดับของน้ำกลั่น ในช่วงเวลาอย่างน้อยๆ 30 วัน อย่าให้น้ำกลั่นแห้ง ซึ่งเหมือนกับแบตเตอรี่ที่ใช้สำหรับรถยนต์นั่นเอง
3.ในกรณีที่เป็นเครื่องจ่ายไฟสำรอง ในแบบที่เป็นระบบน้ำกลั่นนั้น ข้อควรระวังเป็นอย่างยิ่งคือ การติดตั้งที่ไม่ควรอยู่ในมุมอับของสถานที่นั้นๆ เพราะอาจส่งผลเสียต่อผู้ที่อยู่อาศัย
เนื่องด้วยในขณะที่มีการชาร์ทประจุไฟฟ้าเข้าไปในตัวของแบตเตอรี่นั้น จะมีการปล่อยไอตะกั่วที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นหากมีการติดตั้งเครื่องที่อยู่ในมุมอับ อากาศไม่ระบายจะทำให้อากาศในพื้นที่นั้นเป็นพิษ และเป็นอันตรายต่อผู้ที่สูดหายใจเข้าไปได้อีกด้วย
วิธีเลือกซื้อไฟฉุกเฉิน
1.เลือกตามจำนวนชั่วโมงที่รองรับในการเปิด
ส่วนใหญ่ในการรองรับเวลาไฟดับในบ้านนั้น จะอยู่ที่ประมาณ 1-2 ชั่วโมง แต่ในคุณสมบัติของตัวเครื่องไฟสำรองนี้นั้น จะมีการรองรับเผื่อไว้ขั้นต่ำอยู่ที่ 1-3 ชั่วโมง และอีกระดับที่รองรับได้มากกว่านั้นคือ 6-10 ชั่วโมง ซึ่งก็อยู่ในระดับของราคาตัวเครื่องที่สูงมากขึ้นด้วยเช่นกัน
2.วัสดุของตัวเครื่องไฟสำรอง
โดยหลักๆ แล้วในแต่วัสดุก็จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป วัสดุมีความเกี่ยวข้องกับระดับราคา และความคงทนในเรื่องอายุการใช้งานร่วมด้วย ดังนั้นในการพิจารณาเลือกซื้อนั้น ควรที่จะวางไว้ว่า เราจำเป็นที่จะใช้เครื่องไฟสำรองนี้ไปนานแค่ไหน
- อลูมิเนียม
ลักษณะเด่นคือเนื้อของวัสดุ มัน วาว สามารถเช็ดทำความสะอาดได้ง่าย แต่อาจจะมีอายุของตัวเครื่องภายนอกที่ไม่นาน
- เหล็ก
อย่างที่เรารู้ๆ กันอยู่ว่า เหล็กเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักในตัวเอง การติดตั้งไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ใดๆ ที่ทำมาจากเหล็กนั้น ไม่ควรมีการรื้อถอน หรือปรับเปลี่ยน และติดตั้งใหม่บ่อยๆ แต่ในข้อดีก็คือ ความแข็งแรง ทนทาน ตัวเครื่องภายนอกสามารถอยู่ใช้งานได้นาน
- โพลีคาร์บอเนต หรือกลุ่มพลาสติกแบบ PVC
เป็นวัสดุที่เริ่มมีการนำมาใช้ในการผลิตไฟฉุกเฉินมากขึ้น ที่เน้นในเรื่องของน้ำหนักที่เบา ติดตั้งง่าย รวมถึงให้คุณสมบัติในเรื่องของ ความแข็งแรง ทนทาน และมีความสวยงามในพื้นผิวภายนอก ที่เรียบ ลื่น เช็ดทำความสะอาดได้ง่าย
3.ค่าของแสงสว่าง
การให้ความสว่างของหลอดไฟที่ติดมากับตัวเครื่องนั้น ส่วนใหญ่จะมีค่ามาตรฐานที่ 400 ลูเมน ที่สามารถให้แสงสว่างได้ในพื้นที่บ้าน หรือในบริเวณที่ไม่ได้กว้างมาก แต่หากเป็นในกรณีของโรงงาน หรือคลังสินค้าที่มีเนื้อที่กว้าง ควรเลือกใช้ค่าความสว่างอยู่ที่ 1200 ลูเมนที่ถือว่าเป็นค่าที่ให้ความสว่างในระดับที่สูง
คำถามที่พบบ่อยสำหรับไฟฉุกเฉิน
ไฟฉุกเฉินไม่ติด
ปัญหาในเรื่องนี้เราในฐานะผู้ใช้งาน สามารถที่จะตรวจสอบได้ในระดับเบื้องต้น ซึ่งมีหลายปัจจัยที่เกิดให้เมื่อเกิดไฟดับแล้ว ตัวเครื่องสำรองไฟไม่ทำงาน หรือแม้กระทั่งหลอดไฟสว่างเปิดทำงานได้ไม่ถึงชั่วโมงก็ดับลง เราอาจจะลองดูสิ่งเหล่านี้ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่เรามองข้ามกันไป
1.ในช่วงเสียบชาร์ทประจุได้เข้าตัวแบตเตอรี่หรือไม่ สามารถดูได้จากสัญญาณไฟ ac ขึ้นสว่างเป็นสีแดงหรือไม่
2.ตรวจสอบที่ฟิวส์ของหลอดไฟว่า มีการใช้งานได้ปกติ หรือหมดอายุ อย่างเช่นฟิวส์ขาด เป็นต้น
3.ตัวเครื่องได้ใช้ปลั๊กตรงกับกำลังไฟที่ระบุไว้กับเครื่องรุ่นนั้นๆ หรือไม่
4.ผู้ใช้เผลอปิดสวิตซ์ตัวหลอดไฟค้างจากครั้งก่อน ในกรณีที่มีการใช้แบตเตอรี่จนหมด และมีการดับของหลอดไฟ
5.ตัวไฟฉุกเฉินได้มีการชาร์ทประจุเข้าเต็มแบตเตอรี่หรือไม่ อย่างเช่น ในกรณีบางพื้นที่มีการไฟดับซ้ำซ้อน หรือเกิดไฟดับติดๆ กันภายในชั่วโมง เครื่องที่มีการใช้แบตเตอรี่จนหมดแล้ว และยังไม่สามารถที่จะชาร์ทแบตเตอรี่ได้เต็มที่ เพียงพอกับการใช้งานครั้งต่อไป
ไฟฉุกเฉินเปิดอยู่ได้กี่ชั่วโมง
เวลาในการเปิดของไฟสำรองของไฟฉุกเฉินนั้น มีตั้งแต่ในระดับเริ่มต้นอย่าง 1 ชั่วโมงครึ่งถึง 2 ชั่วโมง หรือในระดับที่มากกว่านั้นคือ 6-10 ชั่วโมงเลยทีเดียว ทั้งนี้ในการพิจารณาเลือกซื้อ การรองรับในการสำรองไฟได้นานหลายชั่วโมงนั้น ก็ขึ้นอยู่กับราคาของตัวเครื่อง ที่ต้องมากตามไปด้วย
ไฟฉุกเฉินค้าง ไม่ยอมดับ
ปัญหาตรงนี้อาจมาจากสาเหตุที่เกิดจาก การที่เราไปควบคุมการทำงานของเครื่องสำรองไฟ ไม่ว่าจะเป็นการไปปิดสวิตซ์ไฟ เมื่อมีการเกิดไฟดับขึ้นมา และต้องการประหยัดการใช้งานของหลอดไฟ การไปปิดสวิตซ์ในที่นี่หากเป็นการทำไม่กี่ครั้ง อาจไม่ส่งผลอะไรมากมาย แต่หากเป็นการทำประจำ จะทำให้เครื่องสำรองไฟ มีการทำงานที่รวน และค้างได้
อีกทางหนึ่งคือ ในกรณีที่ตัวเครื่องมีการเปิดการใช้งาน ของตัวแบตเตอรี่ที่นานเกินขีดจำกัดของตัวแบตเตอรี่ หรือเกินชั่วโมงการเปิดของหลอดไฟนั้น เครื่องจะเกิดการตัดจ่ายไฟไปยังตัวหลอดไฟอัตโนมัติ
และจะมีการวนไปสู่การชาร์ทประจุเข้าแบตเตอรี่ใหม่จนเต็ม ในช่วงการทำงานนี้ของตัวเครื่อง หากเราไปกดสวิตซ์ปิดหลอดไฟ อาจทำให้การกลับมาทำงานอีกครั้งของตัวหลอดไฟ อาจค้างและไม่ดับเมื่อไฟฟ้ากลับมาใช้ได้อย่างปกติ
ทั้งหมดนี้เลยเป็นข้อห้ามที่ว่า หากไม่จำเป็นเราไม่ควรที่จะเปิด หรือปิดสวิตซ์ใดๆ ในการขั้นตอนการทำงานของตัวเครื่อง ซี่งหากเพียงต้องการจะทดสอบในการทำงานของไฟฉุกเฉินนั้น ก็เพียงแค่กดปุ่มทดสอบ หรือปุ่ม Test
ซึ่งในแต่ละยี่ห้อจะมีปุ่มนี้อยู่แล้ว เพื่อทำการตรวจเช็คทั้งในระบบหลอดไฟ ac ว่ามีทั้งการาชาร์ทไฟ และเปิดใช้ได้อย่างปกติหรือไม่ รวมถึงการส่งจ่ายกระแสไฟจากตัวแบตเตอรี่ไปยัง หลอดไฟว่าเปิดใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ตรงตามที่ระบุไว้ในแต่ละรุ่นเครื่อง
แนะนำ ไฟฉุกเฉิน 9Wx2 ระบบ MCU LeKise Emergency light
สรุป
หากเรามองว่าเหตุการณ์ไฟดับ ไม่ได้เกิดขึ้นเรื่อยๆ และรอให้ความจำเป็นเข้ามาก่อนค่อยคิดแก้ปัญหากัน อาจจะทำให้เกิดความไม่สะดวกในเวลาที่ไฟดับก็เป็นได้ และไฟฉุกเฉินถือว่าเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ช่วยในเรื่องความปลอดภัย ซึ่งหากไม่กันไว้ก่อน การแก้ไขปัญหาภายหลังอาจก่อให้เกิดความเสียหายที่มากยิ่งขึ้นได้
รวมถึงในอีกทางหนึ่งนั้น หากเราได้มีการติดตั้งเครื่องสำรองไฟแล้ว มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการอ่าน และศึกษาการใช้งานของตัวเครื่องอย่างละเอียด เพราะเครื่องใช้ที่มีการทำงาน ในเวลาที่เกิดเหตุการณ์กระทันหันนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นจริงๆ แล้ว หากไม่มีการตรวจสอบ และเรียนรู้วิธีการใช้งานอย่างถูกต้องดีพอ
รวมถึงมีความเข้าใจในการทำงานของตัวเครื่องที่ผิดไปจากความเป็นจริง อาจทำให้เกิดการใช้งานที่ผิด โดยเฉพาะเครื่องที่มีการผลิตขึ้นมา เพื่อให้มีการทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ แต่ในการใช้งานจริงเรากลับเน้นที่จะตั้งค่าคุมการทำงานของตัวเครื่องเอง และอาจเป็นสาหตุที่ทำให้เครื่องชำรุด หรือใช้งานไม่ได้ในแบบที่เราคาดไม่ถึงก็เป็นได้
จบการศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาเอกประชาสัมพันธ์และวารสารศาสตร์ ปัจจุบันทำงานเป็นนักเขียนคอนเท้นท์ครีเอเตอร์ฟรีแลนซ์ ประสบการณ์มากกว่า 5 ปี ถนัดด้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์ด้านอื่นๆ
ไฟฉุกเฉิน Bunny
– ต้นกำเนิดแสง LED ส่องสว่างได้กว้างขวาง
– ให้แสงสว่างยาวนาน
– แบบแขวนผนัง
ไฟฉุกเฉิน MAX BRIGHT รุ่น CP366-S
– สามารถปรับ หมุนหัวโคมได้ 180 องศา
– ตัวเครื่องเป็นวัสดุแบบ ABS. ชนิดพิเศษ ทนต่อความร้อนสูง และไม่ติดไฟ
– สำรองไฟได้นานกว่า 2 ชั่วโมง
ไฟฉุกเฉิน SUNNY SMART รุ่น SG303-04
– สำรองไฟนาน 4 ชม. เวลาไปดับ
– ตัวกล่องพลาสติก ABS UL-94 V-0 ทนความร้อน
– สามารถสั่งงานโดยใช้รีโมทได้
ไฟฉุกเฉิน IWACHI
– แบตเตอรี่แห้งขนาด 4v 5ah 1 ลูก
– สามารถสำรองไฟเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้นาน 6-10 ชม.
– ติดตั้งง่ายเพียงแขวนกับฝาผนัง
ไฟเฉิน เรเซอร์
– ไฟ 2×6 W Daylight
– โคมไฟฉุกเฉินจะติดสว่างขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อกระแสไฟฟ้าดับ
– น้ำหนักสินค้า 0.93
– ให้แสงสว่างคงที่ยาวนานกว่า 10 ชั่วโมง
ไฟฉุกเฉิน POWER BRIGHT
– ระยะเวลาในการให้แสงสว่าง 3 ชั่วโมง
– จ่ายแสงสว่างเมื่อแหล่งจ่ายหลักล้มเหลว
– ติดตั้งแบบแขวนฝาผนัง
ไฟฉุกเฉิน STL
– แบตเตอรี่ลิเธียมขนาด 3.2v 6ah
– สามารถสำรองไฟเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้นาน 3-6 ชม
– สามารถใช้ร่วมกับระบบกันขโมยหรือกล้องวงจรปิดได้
ไฟฉุกเฉิน FSL
– ระยะพื้นที่แสงสว่างไม่เกิน 6 x 6 เมตร
– ปรับทิศทางได้ 360 องศา แสงไฟกระจายได้มุมที่กว้าง
– สามารถสำรองไฟเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้นาน 6 ชม.
ไฟฉุกเฉิน Delight
– วัสดุเหล็กเคลือบสี แข็งแรง ทนทาน ไม่เป็นสนิม
– ระบบสำรองไฟนานสูงสุด 3 ชั่วโมง
– ปลอดภัย ด้วยระบบอัตโนมัติทำงานทันทีเมื่อไฟดับ
ไฟฉุกเฉิน IWACHI
– ใช้หลอดไฟ LED x 2 ดวง แสงไฟสีขาว LED 20w
– สามารถสำรองไฟเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้นาน 4-6 ชม.
– ขนาด 14.5 x 31 x 8.5 cm
– น้ำหนัก 1 kg