เตียงผู้ป่วย คือ
ปัจจุบันอุปกรณ์ทางการแพทย์นั้นมีมากมาย ที่เราจะพบเห็นกันได้บ่อยๆ ก็มีทั้ง เครื่องวัดอุณหภูมิ , เครื่องวัดน้ำตาล , ปรอทวัดไข้ดิจิตอล , เครื่องวัดอุณหภูมิ , เครื่องวัดความดัน , ที่วัดไข้ , เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล , ถุงมือยาง , เจลหล่อลื่น , เจลล้างมือ , แอลกอฮอล์ , ที่ดูดน้ำมูกทารก และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือเตียงคนไข้
เตียงผู้ป่วยหรือเตียงคนไข้เป็นเตียงที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับผู้ป่วยที่อยู่โรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็สามารถนำมาใช้ที่บ้านได้ หากจำเป็นหรือต้องการที่จะรักษาผู้ป่วยที่ต้องดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีข้อจำกัดทางร่างกาย ซึ่งต้องนอนพักรักษาตัวอยู่บนเตียง เตียงคนไข้จะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยง่ายขึ้น
เนื่องจากเป็นเตียงที่ถูกออกแบบสำหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะจึงมีความปลอดภัยมีที่กั้นซึ่งสามารถปรับระดับได้ เพื่อป้องกันผู้ป่วยตกจากเตียง มีที่นอนที่ช่วยให้นอนได้อย่างสบายสามารถปรับระดับของเตียงได้ ทำให้ผู้ป่วยสามารถนั่ง หรือพิงได้แบบสบายโดยที่ผู้ที่คอยดูแลไม่ต้องออกแรงยกผู้ป่วย ซึ่งการยกผู้ป่วยนั้นอาจจะทำให้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลได้รับบาดเจ็บได้
เตียงคนไข้จะมีฟังก์ชั่นต่างๆ ซึ่งเรียกได้ว่ามีความพิเศษมากกว่าเตียงนอนทั่วไป เพื่อตอบโจทย์การรักษาสำหรับผู้ป่วยและคนดูแล ซึ่งปัจจุบันมีเตียงคนไข้ให้ได้เลือกซื้อมากมาย ทั้งที่เป็นเตียงคนไข้แบบมือหมุน ที่ต้องใช้แรงในการหมุนเพื่อปรับระดับของเตียง และเตียงคนไข้แบบไฟฟ้า ซึ่งปรับระดับได้ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าทำให้เตียงปรับระดับแบบอัตโนมัติโดยที่คนดูแลไม่ต้องออกแรง
นอกจากนี้เตียงคนไข้ยังสามารถช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อไปห้องตรวจ ไปรักษาตัวในที่ต่างๆ หรือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้สะดวก รวดเร็วทันต่อการรักษา และล้อยังสามารถล็อกได้เมื่อต้องการใช้เตียงเพื่อให้ผู้ป่วยได้นอนพักรักษาที่โรงพยาบาล หรือที่บ้าน ทำให้เตียงไม่เคลื่อนย้ายได้เอง และนี่คือความพิเศษของเตียงคนไข้
เตียงผู้ป่วย ประเภท ทำมาจากอะไร
1. เตียงแบบมือหมุน
เป็นเตียงนอนที่มีการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ รวมไปถึงผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้ป่วยสามารถปรับท่าทางต่างๆ ได้ในขณะที่อยู่บนเตียง เพราะเตียงคนไข้แบบมือหมุนนั้น สามารถปรับความสูงต่ำของเตียง ปรับให้สามารถพิงหลังได้ สามารถปรับได้ทั้งส่วนหัวและส่วนท้ายของเตียง ซึ่งการปรับระดับนั้นต้องใช้มือหมุนหรือออกแรงเพื่อช่วยในการปรับเตียง
2. เตียงระบบไฟฟ้า
เป็นเตียงที่ใช้กับผู้ป่วย ซึ่งสามารถปรับระดับได้ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นที่นิยมในการใช้กับผู้สูงอายุ เนื่องจากว่ามีฟังก์ชั่นการทำงานที่ง่าย สะดวกสบาย มีรีโมทคอนโทรล สามารถปรับระดับเตียงได้ว่าจะเอียงกี่องศา หรือจะตั้งเพื่อนั่ง สามารถปรับได้ทั้งส่วนหัวและส่วนท้าย ทำให้ง่ายในการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากมีระบบที่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถปรับเตียงตามความต้องการเองได้
3. เตียงแบบที่สามารถใช้ได้ทั้งมือหมุนและไฟฟ้า
เตียงผู้ป่วยประเภทนี้สามารถใช้งานได้ทั้ง 2 แบบ โดยใช้ได้ทั้งแบบมือหมุนและแบบไฟฟ้า ก็คือจะปรับระดับต่างๆ ของเตียงด้วยการออกแรงหมุนปรับเตียง หรือจะปรับด้วยระบบไฟฟ้าก็ได้ จะมี 2 ฟังก์ชั่นให้ได้เลือกใช้แล้วแต่ความถนัดของผู้ใช้ สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยหลายรูปแบบ ซึ่งหากผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับตัวได้มากก็จะสะดวกใช้แบบไฟฟ้า ซึ่งเมื่อไฟฟ้ามีปัญหาก็สามารถปรับโดยใช้มือหมุนได้
4. เตียงคนไข้ระบบกึ่งอิเล็กทรอนิกส์
เตียงคนไข้ระบบกึ่งอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะคล้ายกับเตียงแบบที่สามารถใช้ได้ทั้งมือหมุนและไฟฟ้า สามารถปรับเตียงส่วนหัวและท้ายโดยใช้รีโมทในการควบคุมระดับของเตียง แต่หากต้องการปรับความสูงของเตียงแล้วนั้น จะต้องใช้มือในการช่วยเพื่อหมุนปรับระดับของเตียง ซึ่งจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงหว่าเตียงคนไข้โดยทั่วไป
5. เตียงคนไข้ระบบอิเล็กทรอนิกส์
เป็นเตียงคนไข้ที่เรียกว่าสะดวกสบายเป็นอย่างมาก เนื่องจากระบบการทำงานของเตียงคนไข้ระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น สามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับความสูง ปรับเตียงส่วนหัวสามารถปรับได้ว่าจะนอน จะนั่ง หรือพักพิงหลังแบบสบาย สามารถปรับระดับส่วนปลายเตียง ทำให้ปรับระดับของเท้าได้อีกด้วย โดยระบบการทำงานต่างๆ จะเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด
เตียงผู้ป่วย กับวิธีการใช้
1. ล็อกล้อของเตียงคนไข้ตลอดเวลา
เนื่องจากการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเองโดยที่ไม่มีเตียงคนไข้นั้นเป็นเรื่องที่ยากลำบากและอันตราย ดังนั้นเตียงคนไข้จึงมีล้อไว้เพื่อช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ซึ่งเมื่อไม่ต้องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือใช้เตียงสำหรับให้ผู้ป่วยใช้นอนพัก นอนรักษาตัวต้องล็อกล้อของเตียงคนไข้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันเตียงเคลื่อนที่เองทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายได้
2. วางหรือแขวนรีโมทปรับเตียงไว้ให้ถูกจุด
ปัจจุบันนี้มีเตียงผู้ป่วยที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยและคนดูแล โดยจะมีรีโมทไว้ใช้สำหรับปรับเตียง ซึ่งคนดูแลหรือผู้ป่วยเองก็สามารถปรับเตียงได้ ซึ่งการวางหรือแขวนรีโมทสำหรับปรับเตียงต้องวางให้ใกล้มือ สะดวกต่อการใช้งาน โดยผู้ป่วยสามารถหยิบรีโมทเพื่อปรับเตียงเองได้ แต่ไม่ควรวางไว้บนเตียงที่ผู้ป่วยนอนเลยเพราะอาจจะเผลอนอนทับและโดนปุ่มปรับขนาดเตียงได้เอง
3. ดึงรั้วกันข้างเตียงไว้ตลอดเวลา
เตียงคนไข้จะออกแบบมาเพื่อให้สามารถนอนสบาย ปรับการนั่งการนอนได้ และยังมีระบบความปลอดภัยให้กับผู้ป่วยอีกด้วย โดยจะมีรั้วกันตกไว้รอบเตียง ซึ่งให้ดึงรั้วกันข้างเตียงขึ้นไว้ตลอดเวลา เพื่อป้องกันผู้ป่วยกลิ้งหรือผลัดตกจากเตียง เนื่องจากบางครั้งอาจจะไม่มีใครอยู่กับผู้ป่วยได้ตลอดเวลา จึงต้องดึงรั้วกันไว้ทุกครั้ง และวิธีนี้ยังจะทำให้ผู้ป่วยอุ่นใจและหลับได้อย่างคลายกังวล
4. ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต
เนื่องจากเตียงคนไข้นั้นจะถูกออกแบบและผลิตมาเพื่อใช้งานไม่เหมือนกับเตียงโดยทั่วไป และในปัจจุบันก็มีระบบการใช้งานต่างๆ ที่ทันสมัย ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกอย่างมากมาย และแตกต่างกันออกไป ดังนั้นก่อนการใช้งาน จะต้องศึกษาวิธีการใช้ ข้อปฏิบัติต่างๆ และทำความเข้าใจ การใช้งานให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
5. ควรที่จะสามารถปรับได้อย่างอิสระ
เตียงคนไข้ที่ดีนั้นควรจะสามารถปรับการใช้งานให้ตรงตามความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างอิสระ เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนนั้นมีร่างกายที่แตกต่างกัน รวมไปถึงอาการเจ็บป่วย และการรักษาก็ต่างกันด้วยเช่นกัน เตียงสำหรับผู้ป่วยจึงต้องสามารถปรับระดับการใช้งานได้เอง ไม่ว่าจะการปรับระดับการนั่งการนอน และท่าต่างๆ
ขั้นตอนการปรับเตียง
1. ศึกษาวิธีการใช้เตียง
เนื่องจากเตียงผู้ป่วยในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ได้ตามความต้องการซึ่งเตียงแต่ละแบบนั้นจะมีคู่มือที่อธิบายวิธีการใช้งานรวมไปถึงฟังก์ชั่นต่างๆ ของเตียงคนไข้แจ้งไว้ ก่อนที่จะปรับเตียงคุณต้องศึกษาวิธีการ ตรวจสอบดูจุดที่จะปรับและทำความเข้าใจเสียก่อนที่จะเริ่มทำการปรับเตียง จะได้ไม่เสียเวลาและปลอดภัยต่อผู้ป่วย
2. แจ้งผู้ป่วยให้ทราบก่อน
ก่อนจะทำการปรับระดับต่างๆ ของเตียง ต้องแจ้งให้ผู้ป่วยทราบเสียก่อน เพราะหากผู้ป่วยหลับอยู่หรือไม่ทราบมาก่อนว่าจะทำการปรับเตียง อาจจะทำให้ผู้ป่วยตกใจ หรือรุนแรงถึงขั้นช็อคได้ ขึ้นอยู่กับอาการป่วย โดยอาจจะพูดบอกผู้ป่วย หรือกระซิปบอกข้างหูว่า คุณจะปรับระดับเตียงให้สูง หรือลดระดับเตียงลง เพื่อที่ขั้นตอนต่อไปคุณจะทำอะไร ผู้ป่วยจะได้ทราบล่วงหน้า
3. เริ่มปรับเตียง
เมื่อแจ้งให้ผู้ป่วยทราบแล้ว ก่อนที่จะเริ่มปรับเตียงต้องดูอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเตียง หรือบริเวณรอบๆ จากนั้นค่อยๆ ปรับขนาดของเตียงให้ตรงตามความต้องการของผู้ป่วย โดยหากเป็นแบบใช้มือหมุนให้ค่อยๆ หมุนปรับไปเรื่อยๆ จนปรับได้ตามต้องการ หากเป็นแบบรีโมทก็เลือกระดับได้เองแบบง่ายๆ ไม่ควรปรับเตียงเล่นขึ้นลงไปมา เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเวียนศีรษะ และระบบการทำงานของเตียงอาจเสียได้
4. สอบถามผู้ป่วย
เมื่อปรับเตียงให้ได้ตามความต้องการแล้ว ให้สอบถามผู้ป่วยว่าการปรับในระดับนี้พอดีแล้วหรือไม่ นอนแล้วรู้สึกสบาย หรืออึดอัดตรงส่วนใดไหม เพราะควรปรับเตียงให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่รู้สึกสบาย หากผู้ป่วยรู้สึกว่าการปรับในระดับนี้ยังไม่พอดี ให้ค่อยๆ ปรับพร้อมกับสอบถามผู้ป่วยด้วยว่าระดับที่ปรับอยู่นั้นพอดีแล้วหรือไม่
วิธีเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย แบบไหนดี
1. เลือกซื้อจากประเภทของเตียงคนไข้
ก่อนอื่นเลยต้องดูก่อนว่าจะเลือกซื้อเตียงคนไข้เพื่อวัตถุอะไร เช่น ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้พิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จากนั้นก็เลือกซื้อจากประเภทของเตียงคนไข้และฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตรงตามความต้องการ เพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีสรีระร่างกายแตกต่างกัน เมื่อรู้ว่าผู้ป่วยตรงตามกับลักษณะของเตียงคนไข้แบบไหนแล้วจึงง่ายต่อการเลือกซื้อ
2. ฟังก์ชั่นการทำงานของเตียงคนไข้
เตียงคนไข้นั้นมีฟังก์ชั่นต่างๆ มากมายที่ตอบโจทย์ตามความต้องการในการใช้งาน จะมีฟังก์ชั่นอะไรบ้างนั้นมาดูกัน
- เตียงแบบ 1 ไกร์
- เป็นเตียงคนไข้ในยุคแรกๆ และยังมีฟังก์ชั่นในการใช้งานได้ไม่มากนัก ลักษณะของเตียงคนไข้ประเภทนี้จะสามารถปรับได้แค่บริเวณส่วนที่เป็นหัวเตียงเพื่อพิงหลังได้เท่านั้น ส่วนอื่นๆ จะไม่สามารถปรับได้เลย เหมาะกับคนที่ใช้พักฟื้นเพียงไม่นานมากนัก หรือเป็นการผ่าตัดที่ไม่ใหญ่ และไม่ต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน
- เตียงแบบ 2 ไกร์ เตียงประเภทนี้พัฒนามาอีกขั้นต่อจากเตียงแบบ 1 ไกร์ โดยสามารถปรับระดับได้ 2 ส่วนคือ บริเวณส่วนหัวเตียง ปรับสำหรับนั่งหรือพิงหลังให้ผู้ป่วยสามารถนั่งได้แบบไม่เมื่อย และสามารถปรับบริเวณส่วนท้ายเตียงได้ สำหรับผู้ป่วยที่ต้องนอนยกขา หรือต้องการเปลี่ยนท่านอนให้ผ่อนคลายยิ่งขึ้น แต่จะไม่สามารถปรับระดับสูงต่ำของเตียงได้
- เตียงแบบ 3 ไกร์
- เตียงคนไข้ประเภทนี้สามารถปรับระดับต่างๆ ของเตียงได้เพิ่มมากขึ้น โดยพัฒนาให้สามารถปรับระดับความสูงต่ำของเตียงผู้ป่วยได้ ทำให้สามารถปรับระดับเตียงได้ตามต้องการ และยังสามารถปรับส่วนหัวเตียงให้สามารถนั่งพิง นั่งเล่นได้ และก็ยังสามารถปรับท้ายเตียงให้ผู้ป่วยสามารถยกขา ยกเข่า ทำให้ไม่เมื่อยเมื่อต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานานๆ
- เตียงแบบ 4 ไกร์ เป็นเตียงคนไข้ที่สามารถปรับหัวเตียงให้อยู่ในระดับต่างๆ ได้ตามความต้องการเพื่อความสบายของผู้ป่วย สามารถปรับระดับเตียงให้มีความสูงต่ำได้ตามต้องการ รวมไปถึงยังสามารถปรับส่วนท้ายเตียงให้สามารถขันเข่า ยกขา ได้อีกด้วย ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายยิ่งขึ้น และไม่เบื่อเมื่อต้องอยู่บนเตียงนานๆ เนื่องจากสามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้เวลาพักฟื้นอยู่บนเตียงเป็นระยะเวลานาน
- เตียงแบบ 5 ไกร์
- ถือว่าเป็นเตียงคนไข้ที่มีฟังก์ชั่นครบมากกว่ารุ่นอื่น ๆ จึงทำให้มีราคาแพงกว่ารุ่นอื่นๆ เช่นกัน เนื่องจากสามารถปรับได้ทุกส่วนของเตียง ทั้งส่วนหัวเตียงก็สามารถปรับระดับต่างๆ ให้สามารถนั่งพิงนั่งพักได้ สามารถปรับส่วนท้ายได้เหมือนกับรุ่นอื่นๆ ได้เช่นกัน และสามารถปรับระดับความสูงต่ำของเตียงได้ตามความต้องการของผู้ดูแล หรือผู้ป่วยเอง
3. ความแข็งแรงทนทานของเตียง
ผู้ป่วยบางคนมีน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างมาก ดังนั้นเตียงจึงต้องมีความแข็งแรง นอนพักได้อย่างสบาย ไม่รู้สึกปวดหลังหรืออึดอัดสามารถรับน้ำหนักตัวผู้ป่วยได้ดี อุปกรณ์ต่างๆ มีความแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นที่กั้นต้องแข็งแรงและป้องกันผู้ป่วยตกเตียงได้ดี ล้อสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างแข็งแรงไม่หลุดง่าย ซึ่งเมื่อต้องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะได้สามรถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็ว
4. ตรวจสอบระบบความปลอดภัย
เนื่องจากเตียงผู้ป่วยถือเป็นสิ่งที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้ป่วย ดังนั้นการเลือกซื้อเตียงให้ผู้ป่วยจึงต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก เตียงควรมีระบบการทำงานที่ได้มาตรฐาน รั้วกันของเตียงต้องมีความแข็งแรงทนทาน ล้อสามารถล็อกได้อย่างดี รีโมทที่ใช้ปรับระดับต่างๆ ต้องมีคุณภาพ ไม่รวนจนทำให้กับปรับเตียงให้ผู้ป่วยไม่ได้ตามที่ต้องการ และอาจเป็นอันตรายได้
5. เลือกซื้อจากแหล่งที่ได้มาตรฐาน
การเลือกซื้อเตียงให้กับผู้ป่วยนั้นต้องเลือกเตียงที่ได้รับการรับรองและได้มาตรฐาน โดยควรเลือกซื้อจากบริษัทหรือตัวแทนที่เป็นที่ยอมรับ เป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยมในวงการแพทย์ ซึ่งการเลือกซื้อเตียงจากแหล่งที่ได้มาตรฐานนั้นจะช่วยให้มั่นใจ และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยเมื่อนอนพักรักษาตัวอยู่บนเตียงนั้นเป็นระยะเวลานาน
6. ซื้อตามงบประมาณที่มี
การเลือกซื้อเตียงคนไข้นั้นบางครั้งอาจจะมีข้อจำกัดอยู่ที่งบประมาณในการซื้อ เพราะเตียงคนไข้นั้นค่อนข้างมีราคาสูง ซึ่งหากเลือกเตียงที่มีฟังก์ชั่นเยอะ หรือมีครบทุกอย่าง ก็จะมีราคาที่แพงมาก แต่ถ้าหากไม่ได้มีงบประมาณที่มากขนาดนั้น ก็เลือกเตียงคนไข้ที่มีฟังก์ชั่นที่พอใช้งานได้ และตรงตามความต้องการของผู้ป่วย จะได้ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณมากนัก
7. รองรับน้ำหนักผู้ป่วยได้มากแค่ไหน
ผู้ป่วยส่วนมากมีน้ำหนักตัวมากน้อยไม่เท่ากัน ดังนั้นสำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างมาก จึงต้องเลือกเตียงคนไข้ที่สามารถรองรับน้ำหนักตัวได้ดี เมื่อต้องนอนพักรักษาตัวเป็นระยะเวลานานจะได้ไม่รู้สึกอึดอัด หรือปวดเมื่อตามร่างกาย และหากเตียงคนไข้ไม่รองรับน้ำหนัก อาจจะใช้งานได้ไม่นาน และพังง่าย ทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ และทำให้ต้องสิ้นเปลืองในการซื้อเตียงคนไข้ใหม่
8. ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนที่ได้หรือไม่
เตียงผู้ป่วยจะสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยจะมีล้ออยู่ด้านล่าง เพื่อให้การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยสะดวก และรวดเร็ว เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้ไม่ล่าช้าจนเกิดอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย ดังนั้นจึงควรเลือกเตียงที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้จริง ล้อมีความแข็งแรงคงทน เมื่อเคลื่อนย้ายสามารถใช้งานได้ดี สามารถพับเก็บได้ง่าย และล้อสามารถล็อกได้จริง เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
เทคนิคการเลือก เตียงผู้ป่วย
สรุป
เตียงผู้ป่วย ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยและคนดูแลเป็นอย่างมาก ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับอิริยาบถต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ปวดเมื่อยกับการนอนอยู่บนเตียงท่าเดียวเป็นเวลานานๆ ซึ่งเตียงสำหรับผู้ป่วยต้องมีความแข็งแรง สามารถใช้งานได้ดี ปรับได้หลายระดับ ในปัจจุบันก็มีให้เลือกซื้อหลากหลายรูปแบบ มีทั้งแบบราคาถูกไปจนถึงราคาแพง อย่างไรก็ตามควรเลือกตามความเหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน
อ้างอิง
เตียงปรับระดับไฟฟ้า และฟังก์ชันในการจัดท่าผู้ป่วย มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด : allwellhealthcare.com
การเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย : healthathome.in.th
เจ้าของร้านขายยาโดยเภสัชกรชั้นนำหลายสาขา ขายดีจ่ายยาแล้วคนไข้หายจนเป็นที่ยอมรับ การศึกษาปริญญาตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทจากประเทศออสเตรเลีย มีความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับ สุขภาพ อาหารเสริม ตลอดจนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 10 ปี
เตียงผู้ป่วย 1
– ขนาดสินค้ากว้าง 90 ซม.ยาว 200 ซม. สูง 50 ซม.
– รับน้ำหนักได้ถึง 200 Kg.
– มีล้อ 4 ล้อ สามารถล๊อคล้อได้ทั้ง 4 ล้อ
– สามารถเคลื่อนย้ายสะดวกสบาย
เตียงผู้ป่วย Fasicare รุ่น FB-301A
– ปรับตะแคงซ้าย ขวา ขึ้น ลง
– นั่งถ่ายและสระผมได้
– ไกร์มือหมุน สำหรับกรณีไฟดับ
– แถมเสาน้ำเกลือ ถาดใส่อาหาร ถังรองถ่าย
เตียงผู้ป่วย 3
– ขนาดเตียง กว้าง 115 ซม. ยาว 208 ซม. สูง 50 ซม.
– รับน้ำหนักได้ถึง 400 Kg.
– หัวเตียงและปลายเตียงทำจากเหล็กหุ้มพลาสติก ABS
– พร้อมเบาะรองนอน ถาดอาหาร เสาน้ำเกลือ
เตียงผู้ป่วย EAZYCARE รุ่น Eco
– ขนาดเตียงกว้าง 96 ซม. ยาว 204 ซม. สูง 50 ซม.
– สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 240 กก.
– โครงสร้างผลิตจากเหล็กคุณภาพสูง เคลือบสีป้องกันสนิม
เตียงผู้ป่วย BMED รุ่น BM001
– ขนาดเตียง กว้าง90*200*60 ซม.
– โครงสร้างทำจากเหล็กระแนง พน่สีฝุ่นอีบล็อกซี่อย่างดี
เตียงผู้ป่วย PDK รุ่น A2K
– ขนาดเตียง 90 x 205 x 50 เซนติเมตร (กxยxส)
– รับน้ำหรักสูงสุด 200 กก.
– หัว-ท้ายเตียงทำจากพลาสติก ABS
เตียงผู้ป่วย Bcosmo
– ขนาดเตียง กว้างxยาวxสูง =105x220x55-80ซม.
– ปรับระดับสูง-ต่ำได้ประมาณ 50-82 ซม.
– ล้อมีขนาด 5 นิ้ว ระบบล็อคล้อแบบล็อคทีละล้อ
– น้ำหนักเตียง 120 กก.
เตียงผู้ป่วย NS 3 ไกร์ SP3
– พร้อมเบาะรองนอน โต๊ะอาหาร ถาดรองอาหาร
– ขนาดเตียง ยาว 2080 กว้าง 930 สูง 70 ซม.
– รับน้ำหนักได้ถึง 160 กิโลกรัม
– ปรับระดับหลังได้ไม่น้อย 75 องศา
เตียงผู้ป่วย WN รุ่น MK-D-04
– ขนาดเตียง 210*97*48 (กว้าง*ยาว*สูง)
– รับน้ำหนักสูงสุด 200 กก.
– พื้นเตียงเป็นโครงปั๊ม พื้นเรียบ มีรูระบายอากาศ
– ระบบล้อ เป็นล้ออย่างดี ชนิด ABS แข็งแรง
เตียงผู้ป่วย รุ่น PP0017-1
– พร้อมที่รองสระผม, ถาดรองขับถ่าย, เบาะรองนอน, ถาดวางอาหารและเสาน้ำเกลือ
– ขนาดของเตียง ( 205x96x50cm )
– รับน้ำหนักสูงสุดได้ 220 กก.