ยาสามัญประจำบ้าน คืออะไร
ชุดยาที่มีไว้ใช้รักษา บรรเทาอาการ ป้องกันอาการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยในเบื้องต้นได้ เช่นอาการปวดหัว ปวดท้อง ท้องผูก น้ำมูกไหล ไอจาม คัน ขึ้นผื่น ลมพิษ ที่ทุกคนสามารถหยิบยาสามัญประจำบ้านมารักษาตัวเองหรือคนในครอบครัวได้ทันที
เนื่องจากเป็นยาสามัญที่ควรติดบ้านไว้ ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยที่ไม่ได้ป่วยรุนแรง เพื่อบรรเทาอาการก่อนได้เบื้องต้น หรือหากไม่ดีขึ้นก็สามารถไปโรงพยาบาลได้ ก็จะช่วยให้ไม่ได้ป่วยรุนแรงได้
ซึ่งยาสามัญประจำบ้านถือว่ามีความสำคัญมาก ๆ ที่ทุกบ้าน ทุกสำนักงาน ทุกโรงเรียน ควรมีติดไว้ เพราะอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาหากเราไม่ดูแลสุขภาพให้ดี
ลักษณะยาสามัญประจำบ้าน มีอะไรบ้าง มีกี่ประเภท
ยาสามัญประจำบ้าน มีไว้สำหรับรักษาอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ลักษณะอาการไม่รุนแรง ซึ่งผู้ป่วยสามารถใช้ยาสามัญประจำบ้านรักษาด้วยตัวเองเบื้องต้นก่อนได้ ซึ่งยาสามัญประจำบ้าน แบ่งกลุ่มได้กี่ประเภท มีอะไรบ้าง
1.กลุ่มยาบรรเทาปวด ลดไข้
ช่วยบรรเทาอาการปวดลดไข้ โดยรับประทานหลังอาหารทันที หรือ รับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ
- ยาพาราเซตตามอล ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้
- แผ่นบรรเทาปวดลดไข้
- พลาสเตอร์บรรเทาปวด
2.กลุ่มยาแก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ยาที่ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก ลดกรดในกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ภาวะกรดไหลย้อน
- ยาน้ำแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต
- ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงค์
- ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง
- ยาขับลม
3.กลุ่มยาระบาย
ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก กระตุ้นการขับถ่าย
- ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารสำหรับผู้ใหญ่ และเด็ก
- ยาระบายแมกนีเซีย มะขามแขก
4.กลุ่มยาแก้ท้องเสีย
- ผงน้ำตาลเกลือแร่ โออาร์เอส
5.กลุ่มยาถ่ายพยาธิลำไส้
- ยาถ่ายพยาธิตัวกลม มีเบนดาโซล ใช้สำหรับถ่ายพยาธิตัวกลม ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน และพยาธิเส้นด้าย
6.กลุ่มยาแก้ไอ ขับเสมหะ
ช่วยบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง และอย่าลืมเขย่าขวดทุกครั้งก่อนการใช้ยา
- ยาแก้ไอน้ำดำ
- ยาอมแก้ไอ
7.กลุ่มยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก
ช่วยบรรเทาอาการจากหวัด จาม น้ำมูกไหล อาการคัน ลมพิษ ภูมิแพ้ โดยรับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ
- ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก แก้แด้ แก้คัน คลอร์เฟนิรามีน
8.กลุ่มยาแก้เมารถ เมาเรือ
ช่วยบรรเทาและป้องกันอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้
- ยาแก้เมารถ เมาเรือ ยาไดเมนไฮดริเนท
9.กลุ่มยาดม ยาทาแก้วิงเวียน หน้ามืด
ชวยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คัดจมูก และหายใจไม่ออก
- ยาดมแก้วิงเวียน แก้คัดจมูก
- ยาดมแก้วิงเวียน เหล้าแอมโมเนียหอม
- ยาทาระเหย บรรเทาอาการคัดจมูกชนิดขึ้ผึ้ง
10.กลุ่มยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงสัตว์กัดต่อย
- ยาหม่อง ชนิดขี้ผึ้ง
11.กลุ่มยาสำหรับโรคปากและลำคอ
- ยารักษาลิ้นเป็นฝ้า เยนเชี่ยนไวโอเลต
- ยากวาดคอ บรรเทาอาการอักเสบและเจ็บในลำคอ
- ยาแก้ปวดฟัน
- ยาดมบรรเทาอาการระคายคอ
12.กลุ่มยาสำหรับโรคผิวหนัง
ช่วยรักษาโรคผิวหนัง หิด เหา และโลน
- ยารักษาหิด ขี้ผึ่งกำมะถัน
- ยารักษาหิด เหา โลน ยา เบนซิล เบนโซเอต
- ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า
- ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง
- ยาทาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมน์
- ยารักษาเกลื้อน โซเดียมไทโอซัลเฟต
13.กลุ่มยาสำหรับโรคตา
ช่วยรักษาอาการตาแดง ตาอักเสบ ระคายเคืองตา จากฝุ่น ผง ควัน สิ่งสกปรกเข้าตา
- ยาล้างตา ใช้ล้างตาเพื่อบรรเทาอาการแสบตา ระคายเคือง
- ยาหยอดตา ซัลฟาเซตาไมด์ รักษาอาการตาแดง ตาอักเสบ
14.กลุ่มยาล้างแผล ใส่แผล
ช่วยรักษาแผลสด ทำความสะอาดบาดแผล
- น้ำเกลือล้างแผล ทำความสะอาดบาดแผล
- ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไอโอดีน รักษาแผลสด
- ยาไอโซโบรฟิล แอลกอฮอล์ ทำความสะอาดบาดแผล
15.กลุ่มยารักษาแผลติดเชื้อไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
- ยารักษาแผลติดเชื้อซิลเวอร์ ซัลฟาไดอาซีน ครีม
- ยารักษาแผลน้ำร้อนลวกฟีนอล
ความปลอดภัยในการใช้ยาได้ถูกต้อง
ควรอ่านฉลากยาก่อนทุกครั้ง
ก่อนใช้ยาควรทำความเข้าใจรายละเอียดตัวยาจากฉลากยา อ่านให้ละเอียดก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพื่อมั่นใจได้ว่ารับประทานยาอย่างถูกต้อง ตรงกับอาการที่เป็นอยู่ และเพื่อการรักษาได้อย่างถูกวิธี
เก็บยาในที่เหมาะสมตามที่ระบุไว้บนฉลาก ที่สำคัญไม่ให้โดนแสงแดด
ห้ามเก็บยาต่างชนิดกันในภาชนะเดียวกัน ไม่ควรเก็บยาสำหรับใช้ภายใน ใช้ภายนอกไว้ใกล้เคียงกัน
สังเกตอาการข้างเคียงจากการใช้ยา
ควรสังเกตว่าผลของยาให้ผลลัพธ์ตามที่ระบุไว้บนฉลากหรือไม่ หากไม่ใช่ ให้ปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร เพื่อประเมินและปรับการรักษาต่อไป
หากมีอาการข้างเคียงผิดปกติจากการใช้ยา ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเกิดอาการข้างเคียงความปลอดภัยในการใช้ยาได้ถูกต้อง
ตู้ยา คือ
คือตู้ยาที่มีไว้สำหรับจัดเก็บยาสามัญประจำบ้านได้อย่างปลอดภัย ควรเป็นตู้ทึบแสง ประตูบานหน้าควรเป็นกระจกเพื่อมองเห็นยาด้านในได้อย่างชัดเจน ตู้ยาควรทำจากวัสดุไม้ เหล็ก และ PVC
ที่มีคุณสมบัติในเรื่องของน้ำหนักที่เบาสามารถเป็นได้ทั้งตู้ยาติดผนัง แบบแขวน และออกแบบมาเป็นสไตล์โมเดิร์น วินเทจ หรือแบบปกติทั่วไปได้เช่นกัน ซึ่งตู้ยาควรมีติดไว้กันทุกครัวเรือนเพื่อใช้ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน จะสามารถหยิบยาสามัญประจำบ้านจากในตู้ยามารักษาได้ก่อนเบื้องต้น
คุณสมบัติของตู้ยาที่ดี
1.ควรเป็นตู้ทึบแบบกันแสง
เนื่องจาก ตัวยาทุกชนิด ไม่ควรโดนแสงแดด โดยด้านหน้าของตู้ยาอาจเป็นกระจกบานเลื่อน เพื่อให้มองเห็นว่าข้างในมียาอะไรบ้าง
2.มีชั้นแยกยา
การมีชั้นวางจะช่วยให้จัดวางยา หรือแยกประเภทของยา ได้อย่างชัดเจน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของยาใช้สำหรับภายใน กลุ่มยาใช้ภายนอก และอุปกรณ์เวชภัณฑ์ที่จำเป็น เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ , แผ่นลดไข้ , แอลกอฮอล์
3.ขนาดตู้ยาที่เหมาะสม
ควรเป็นขนาดตู้ยาที่ไม่ใหญ่ หรือ เล็กเกินไป ที่เหมาะสมควรบรรจุได้เพียงพอกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว
การเลือกซื้อตู้ยา
1.ควรเลือกจากวัสดุในการผลิต
วัสดุที่ใช้ในการผลิตตู้ยา ควรใช้วัสดุพลาสติก ABS คุณภาพดี ที่มีความคงทน ทนทาน ด้วยเนื้อพลาสติก ABS มีคุณสมบัติเด่นที่แข็งแรง และยืดหยุ่น ทนอุณหภูมิได้ดี มีจุดหลอมเหลวที่สูงถึง 200 องศาเซลเซียส ทนความร้อนได้สูงกว่าพลาสติกชนิดอื่น มีความนุ่ม ไม่โปร่งใส
2.ขนาดตู้ยา
ก่อนซื้อตู้ยา ควรเช็คขนาดพื้นที่ที่คุณจะไปติดตั้งไว้ก่อน วัดจากความกว้าง ความยาว ความสูง เท่าไหร่ จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับจุดที่จะติดตั้งว่าขนาดตู้ยาไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป เพื่อการติดตั้งตู้ยาที่ลงตัวกับพื้นที่ที่จะนำไปวาง
3.ประเภทของตู้ยา
ตู้ยาสามัญประจำบ้านมีด้วยกัน 2 ประเภทคือตู้ยาตั้งพื้น กับ ตู้ยาแขวนผนัง ที่สามารถเก็บรักษายาสามัญประจำบ้านได้อย่างดี
ตู้ยาแขวนผนัง
ส่วนใหญ่ขนาดของตู้ยาแขวนผนังจะมีขนาดที่พอเหมาะ เพื่อการติดตั้งแขวนได้อย่างมั่นคง โดยหูที่สำหรับเกี่ยวกับผนังจะมีความแข็งแรงทนทาน เพราะเมื่อเราใส่ตัวยาลงไป อาจจะมาด้วยน้ำหนักของยา หรือ น้ำหนักของแอลกอฮอล์ น้ำเกลือ จะเพิ่มน้ำหนักของตู้ยามากขึ้น การยึดเหนี่ยวก็ต้องแข็งแรง ขณะเดียวกันควรติดตั้งตู้ยาแขวนผนังในระดับที่ผู้ใหญ่สามารถหยิบยาได้ง่ายสะดวก เพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก ๆ หยิบยาไปเล่น
ตู้ยาตั้งพื้น
เป็นตู้ยาที่มีขนาดใหญ่พอสมควร เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรม คลินิก บริษัทห้างร้านที่มีพนักงานทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะขนาดของตู้ยาที่สามารถจัดเก็บยาได้หลายชนิด เช่น ยาแก้ท้องผูก ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้แพ้ ยาละลายเสมหะ
รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น อุปกรณ์ทำแผลสด แมสเกาหลี แอลกอฮอล์ ปรอทวัดไข้ดิจิตอล , แผ่นลดไข้ เนื่องจากมีพื้นที่ขนาดใหญ่ สามารถเก็บจัดเก็บยาได้จำนวนมาก
วิธีจัดตู้ยาที่ถูกต้อง
1.ติดตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน ในตำแหน่งที่เหมาะสม
ก่อนจัดตู้ยา มาเริ่มกันที่ตำแหน่งการติดตั้งตู้ยากันก่อน ซึ่งยาจะมีทั้งกล่อง ภาชนะต่าง ๆ ที่สำหรับเก็บรวบรวมยา โดยตำแหน่งที่เหมาะสมต้องอยู่ในตำแหน่งที่มีความสูงประมาณ 150 เซนติเมตร หลีกเลี่ยงมุมที่เด็กจะหยิบถึงเพื่อป้องกันการหยิบยามากินเล่นจนทำให้เกิดอันตรายได้
นอกจากนี้ควรติดตั้งในมุมที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ให้โดนแสงแดด อากาศร้อน หรือชื้นจนเกินไป อย่างบริเวณหน้าห้องน้ำ ห้องครัว เพราะความชื้น และแสงแดด จะเป็นตัวทำลายยาในตู้ให้เสื่อมคุณภาพลง
2.จัดเตรียมยาสามัญประจำบ้านให้พร้อม
การมีตู้ยาสามัญประจำบ้านติดบ้านไว้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการเจ็บไข้ได้ป่วยคงไม่มีใครคาดคิดมาก่อนและไม่รู้ได้เลยว่าจะเกิดขึ้นวันไหนเมื่อไหร่ ดังนั้นควรเตรียมยาสามัญประจำบ้านให้พร้อม เช่น ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย อุปกรณ์ทำแผล เป็นต้น
3.จัดฉลากยาให้เห็นอย่างชัดเจน
ฉลากยาบนบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญมาก ๆ ซึ่งจะต้องมีทั้งชื่อ สรรพคุณ ขนาด วิธีใช้ วันหมดอายุระบุให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดจนทำให้เกิดอันตราย หากพบว่าตัวยาไหนฉลากเริ่มจางลงก็ให้นำกระดาษมาแปะเขียนวันหมดอายุ
เขียนชื่อยา สรรพคุณสั้น ๆ ลงไปเพื่อการหยิบยาทานได้ถูกต้อง และที่สำคัญหากบรรจุภัณฑ์ยาอยู่ในสภาพดีแล้วก็ไม่ควรแกะออกจากซองแล้วเก็บในตลับยาเป็นเวลานาน เพราะตลับยาเหล่านี้อาจไม่ได้มาตรฐาน ส่วนยาน้ำก็ควรอยู่ในขวดสีชาที่ทึบแสงเพื่อคงคุณภาพยาได้ยาวนาน
4.คัดแยกยาออกเป็นกลุ่ม ๆ
ยามีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ทำให้คุณต้องจัดยาออกเป็นกลุ่ม ๆ ให้ชัดเจน คือ การแยกกลุ่มของยาออกเป็นกลุ่มง่าย ๆ แยกหมวดหมู่ตามการใช้งาน จัดหากล่องมาใส่แยกกลุ่มแยกกล่องให้ชัดเจน เช่น กล่องยา First Aid
และทั้งยาภายในและยาภายนอก รวมถึงอุปกรณ์เสริม เวชภัณฑ์ เช่น อุปกรณ์ทำแผล แอลกอฮอล์ น้ำเกลือ สำลี เครื่องวัดอุณหภูมิ ยาหม่อง ยาดม
5.ทำความสะอาดให้พร้อมใช้งาน
ควรหมั่นทำความสะอาดตู้ยา ด้วยการเช็ดทำความสะอาด ตรวจสอบยาสามัญประจำบ้าน เติมยาที่ใช้ไปแล้ว คัดแยกยาตัวที่หมดอายุออกจากตู้ยา แม้ว่ายาหมดอายุแล้วแต่ยังคงสภาพดีอยู่ก็ตาม ก็ไม่ควรเก็บไว้ให้สับสน
ตู้ยาควรติดตั้งไว้ตรงไหนของบ้าน
ควรหาที่ติดตั้งตู้ยาที่สูง ที่ที่เด็กเอื้อมไม่ถึง และไม่ควรติดตั้งตู้ยาในที่ที่ถูกแสงแดดโดยตรง ไม่สัมผัสกับความชื้นได้ง่าย เพราะอาจทำให้ยาเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
รีวิว ติดตู้ยาสามัญประจำบ้าน
สรุป
เมื่อคุณจัดเตรียมยาสามัญประจำบ้านไว้แล้ว อย่าลืมตรวจสอบวันหมดอายุ เพื่อการหยิบยาไปกินจะได้ไม่ต้องกินยาหมดอายุ เพราะอาจส่งผลเสียตามมาได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมตัว ดูแลรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ เพราะหากร่างกายคุณแข็งแรง ก็จะหนีห่างไกลจากยา ไม่ต้องกินยาบ่อย การกินยาบ่อยช่วยรักษาในเบื้องต้นแต่หากกินเป็นประจำก็อาจส่งผลทำร้ายร่างกายได้เช่นกัน
อ้างอิง
- รายการยาสามัญประจำบ้าน : หาหมอ
- ยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีติดบ้านไว้ : พบแพทย์
เจ้าของร้านขายยาโดยเภสัชกรชั้นนำหลายสาขา ขายดีจ่ายยาแล้วคนไข้หายจนเป็นที่ยอมรับ การศึกษาปริญญาตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทจากประเทศออสเตรเลีย มีความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับ สุขภาพ อาหารเสริม ตลอดจนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 10 ปี
ตู้ยา SandSukHome
-บานเปิดมีแม่เหล็กดูด บานสไลด์เป็นกระจก
-สามารถยึดติดผนังได้ แข็งแรง รองรับน้ำหรักได้ดี
ตู้ยา Queen
-สามารถกันน้ำได้ 100 % มีชั้นวางของถึง 3 ชั้น
-ขนาดของสินค้า 31.5 ซม. x 64 ซม. x 12 ซม.
ตู้ยา Brownfurniture
-สามารถเลือกสีสินค้าได้ถึง 5 สี บานเปิด-ปิดเป็นกระจกใส
-วัสดุทำมาจากไม้ Particle Boardคุณภาพดี หนา1.5 ซม.
ตู้ยา GYP
-ขนาดของสินค้า 30 ซม. x 14.5 ซม. x 38 ซม.
-สามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 15 กิโลกรัม
ตู้ยา Splice
-น้ำหนักของสินค้าเบา กะทัดรัด แขวนง่าย
-ขนาดของสินค้า กว้าง 50 ซม. x สูง 50.5 ซม.
ตู้ยา Hafele
-ระบบล็อกแม่เหล็กและมีกุญแจล็อค ประตูกระจกขุ่น
-ขนาดของสินค้า 30 ซม. x 12 ซม. x 45 ซม.
ตู้ยา Besta
-ขนาดของสินค้า 43 ซม. x 15 ซม. x 44 ซม.
-สามารถปรับระดับชั้นวางได้ บานเป็นกระจก
ตู้ยา Fasttect
-สามารถวางของได้ 2 ชั้น บานเปิดแบบบานเลื่อน ใช้ง่าย
-ขนาดของสินค้า 15 ซม. x 34.5 ซม. x 42.5 ซม.
ตู้ยา Baanwoodman
-มีหูแขวนสำหรับติดผนัง สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี
-ขนาดของสินค้า 47 ซม. x 45 ซม. x 12 ซม.
ตู้ยา THE PIIXY
-ดีไซน์สินค้าสวยงาม รูปทรงกะทัดรัด สไตล์มินิมอล
-ขนาดของสินค้า 47 ซม. x 45 ซม. x 12 ซม.