ในยุคสมัย New Normal ที่รูปแบบการเรียน การทำงานเป็นแบบ work form home ซะส่วนใหญ่ทำให้ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการนั่งเรียน นั่งทำงานไว้ที่บ้านกันสักชุดสองชุด ซึ่งในการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ควรมีทั้ง เก้าอี้สำนักงาน , ตัวกระจายสัญญาณ WIFI , ชั้นวางหนังสือ , โคมไฟอ่านหนังสือ , เมาส์ไร้สาย , พรมปูพื้น สำหรับรองโต๊ะทำงานให้มั่นคง ซึ่งแทบจะทุกบ้านต่างต้องจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการเรียนการทำงานนี้กันอย่างแน่นอน
แต่การนั่งทำงานนาน ๆ ก็จะเป็นปัญหาต่อสุขภาพได้เช่นกัน อย่างโรคออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อยในคนที่ต้องนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน การนั่งเรียนออนไลน์ โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ก็จะทำให้เกิดปัญหาปวดหลัง คอบ่าไหล่ได้
ว่าแล้ววันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องเก้าอี้ Ergonomicกันว่าคืออะไร รวมถึงเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยว่าคืออะไร สาเหตุและอาการการรักษากัน และแน่นอนต้องไม่ลืมเรื่องของการเลือกเก้าอี้นี้ มาใช้กันว่าต้องเลือกอย่างไรอย่างละเอียดในบทความนี้
โรคออฟฟิศซินโดรม คืออะไร
เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด เนื่องจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานานต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะบริเวณ คอ บ่า หลัง ไหล่ แขน ข้อมือ ซึ่งเกิดจากบุคคลที่มีลักษณะการทำงานที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำ ๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
จนส่งผลให้เกิดโรคและความผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุหลัก ๆ คือ การใช้งานกล้ามเนื้อและข้อต่อที่ผิดไปจากภาวะปกติ เกิดจากการทำงานในพื้นที่จำกัดและขาดการเคลื่อนไหวร่างกายในส่วนของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ซึ่งได้แก่ การนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานาน การนั่งหลังงอ หลังค่อม การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่ต้มก้น การยืนแอ่นพุง ยืนหลังค่อม และสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว
อาการของออฟฟิศซินโดรม
- อาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง มีอาการปวดแบบว้าง ๆ ไม่สามารถชี้จุดหรือระบุตำแหน่งที่ปวดได้
- อาการปวดตา ตาพร่า เนื่องจากการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ใช้สายตาอย่างหนักนาน ๆ
- อาการปวดศีรษะเรื้อรัง บางครั้งมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย มีสาเหตุจากความเครียด การใช้สายตาเป็นเวลานาน
- อาการปวดหลังเรื้อรัง พอบ่อยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม จากการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมง หรือนั่งหลังค่อม อาจทำให้กล้ามเนื้อต้นคอเมื่อย และเกร็งอยู่ตลอดเวลา
- อาการปวดตึงที่ขา หรือเหน็บชา เกิดจากการนั่งนาน ๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
- มือชา นิ้วล็อค ปวดข้อมือ เพราะต้องใช้คอมพิวเตอร์ จับเมาส์ในท่าเดิม ๆ นาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาท และเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืด ทำให้ปวดปลายประสาทได้
การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม
มีด้วยกันหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยา การปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน การทำภายภาพบำบัด การออกไปยืดเส้นยืดสาย ได้ลุกออกไปเดินเล่นบ้าง พักหน้าจอ 10 นาที การออกกำลังกายเพื่อรักษาอาการปวด
รวมถึงการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย เป็นต้น ถึงอย่างไรก็ตาม หากใครที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมมาเป็นเวลานาน รักษาเบื้องต้นไม่หาย ก็ควรมาปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการว่าเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ จะมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่ เพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาอย่างถูกต้อง
ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
1.ศีรษะ
ศีรษะควรตั้งตรงเสมอ ไม่ยื่นไปข้างหน้าหรือเงยไปด้านหลัง ปรับโต๊ะที่เราทำงานควรอยู่ในระดับพอดีกับตัว หากต่ำเกินไปจะทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อในการก้มคอมากกว่าปกติ โดยทั่วไปคนเรามักจะติดก้มคอในการมองจอคอมพิวเตอร์
หรือมองโทรศัพท์มือถือ ในทุก ๆ 15 องศาของการก้มคอน้ำหนักของศีรษะจะตกลงตามแนวกระดูกสันหลังคอแบบก้าวกระโดด หากเราก้มคอเป็นเวลานาน อาจเกิดอาการบาดเจ็บต่อโครงสร้างบริเวณคอได้ ส่งผลให้เกิดอาการปวดคอ ปวดหลังตามมาได้
2.หัวไหล่
วางหัวไหล่ตรงพนักแขนต้องพอดีกับโต๊ะทำงาน หากเก้าอี้สูงไม่พอดีกับโต๊ะ บนโต๊ะควรมีพื้นที่พอให้วางแขน หากมีที่พักแขนเตี้ยกว่าทำให้ต้องยกไหล่ ส่งผลให้เกิดอาการเกร็งกล้ามเนื้อไหล่ กล้ามเนื้อคอ หลังส่วนบนได้
3.ข้อมือ และแขน
ควรวางแขน ข้อมือให้อยู่ในประเภทเดียวกับแป้นพิมพ์ และเม้าส์ เพราะปกติมุมของข้อศอกควรอยู่ในมุมเปิด 100 องศา ระดับข้อมือต่ำกว่าแขนเล็กน้อย จะสามารถป้องกันการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือหรือแขนได้ ป้องกันการเกร็งกล้ามเนื้อไหล่ได้
4.หลัง
ควรนั่งหลังตรง ไม่ควรโน้มตัวมาข้างหน้าหรือเอนไปข้างหลัง หรือจะนั่งพิงหลังกับพนักพิงของเก้าอี้ที่มุม 90 องศาหากรู้สึกว่าหลังไม่ได้รับการรองรับที่ดีจากพนักพิง ท่านั่งจะไม่อยู่ในท่าที่ถูกต้อง จึงควรหา เบาะรองหลัง มาเพื่อช่วยปรับหลังให้ตั้งอยู่ในแนวปกติ เพื่อลดการกดทับของหมอนรองกระดูกสันหลัง
5.เข่า และสะโพก
การนั่งที่ถูกต้องสะโพกควรอยู่ที่ 90 องศา หรือ ระดับเข่าพอดีกับสะโพก หรือต่ำกว่าสะโพกเล็กน้อย ควรนั่งออกมาจากเก้าอี้ 2-3 นิ้ว เพื่อลดการกดทับใต้ข้อพับเข่า การนั่งนาน ๆ จะรู้สึกปวดขาหรือขาชาได้ เพราะใต้ข้อพับเข่ามีหลอดเลือดและเส้นประสาทอยู่ หากโดนกดทับนาน ๆ จะเกิดอาการปวดได้
6.บริเวณก้น
การนั่งทำงานมักจะเกิดแรงกดทับลงที่กระดูกก้นกบเสมอ เนื่องจากการนั่งไม่เต็มก้น นั่งแค่ครึ่งก้น บริเวณนั้นจะป็นปุ่มกระดูกของร่างกาย ทำให้มีอาการปวดที่บริเวณนั้นได้ หากร้ายแรงอาจะทำให้เกิดอาการชาร้าวลงมาได้ จึงควรมีเบาะรองนั่งเพื่อกระจายน้ำหนักตัวให้พอดี ไม่ให้เกิดการกดทับที่ปุ่มกระดูกเพียงอย่างเดียว
7.ข้อเท้า
ควรวางเท้าราบไปกับพื้น กรณีที่เราปรับเก้าอี้ให้สูงการทำงานแต่ดันขาลอยขึ้น ก็ควรหาที่วางเท้าเพื่อป้องกันการกดทับบริเวณใต้ข้อพับเข่าได้
อุปกรณ์ที่จะช่วยป้องกันออฟฟิศซินโดรม
การนั่งทำงานนาน ๆ ย่อมเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมขึ้นได้ หากไม่มีการหยุดพักให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวเลย แต่เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ต้องทนเจ็บปวดกับกล้ามเนื้อ การใช้อุปกรณ์เสริมในการทำงานมาช่วยบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว ซึ่งมีอะไรบ้าง
- โต๊ะทำงานปรับระดับไฟฟ้า – เป็นโต๊ะปรับความสูงแบบใช้ไฟฟ้าที่เหมาะกับการทำงาน WFH ในยุคนี้ เนื่องจากการนั่งทำงานในท่าที่ไม่ถูกต้องนาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ แต่ถ้ามีโต๊ะทำงานปรับระดับไฟฟ้า ปรับความสูงต่ำของโต๊ะได้ตามสรีระและท่าทางการนั่งทำงาน จะทำให้สะดวกสบายมากขึ้น สามารถนั่งทำงานได้ในท่าที่ถูกต้องได้เป็นเวลานาน ๆ
- ที่วางโน๊ตบุ๊ค – หากจอคอมพิวเตอร์ หรือโน๊ตบุ๊ค dell , โน๊ตบุ๊ค Lenovo ของใครอยู่ในระดับเดียวกับสายตา ควรมีฐานรองจอคอมหรือรองโน๊ตบุ๊คด้วย ต้องทำให้จอสูงในระดับเดียวกับสายตา จะได้ไม่ต้องก้มดูจนปวดคอบ่าไหล่
- เก้าอี้ ergonomic – เก้าอี้เป็นไอเท็มที่สำคัญสำหรับคนทำงานนั่งหน้าจอมากเลยทีเดียว ควรเลือกเก้าอี้ เพื่อสุขภาพ ที่พอดีกับสรีระของคนนั่ง ความสูงต้องพอดีกับโต๊ะที่เราใช้ ในเบื้องต้นเก้าอี้สำหรับทำงานควรมีล้อเลื่อนได้ เวลาเอี่ยวตัวจะได้ไม่เจ็บหลัง ที่สำคัญควรมีที่วางแขน ปรับระดับความสูงได้ สำหรับเบาะที่นั่งควรไปลองนั่งด้วยตัวเองก่อนตัดสินใจซื้อ หรือหากจะสั่งทางออนไลน์ควรดูรีวิวให้มากสักหน่อย เพื่อไม่ต้องผิดหวังและเลือกได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
- คีย์บอร์ดไร้สาย – หากใครที่พิมพ์งานเยอะ ๆ ควรเลือกคีย์บอร์ดที่ออกแบบมาเพื่อรองรับสรีระของข้อมือ มีลักษณะกึ่งกลางโค้งเข้าหากัน จะทำให้ข้อมือไม่ต้องหักฝืนธรรมชาติมากเกินไป จะช่วยเซฟสุขภาพข้อมือได้เหมือนกัน
- เบาะรองนั่ง รองหลัง – การนั่งทำงานนาน ๆ ย่อมเกิดอาการปวดหลังได้ หากไม่หาเบาะรองนั่งมารอง อาจมีผลต่อกระดูกสันหลังได้ ยิ่งใครก้นกบแหลมจะรู้สึกเจ็บได้เมื่อต้องนั่งนาน ๆ ส่วนเบาะรองหลังจะช่วยซัพพอร์ตหลังให้นั่งได้ตรงตลอดเวลา ไม่ทำให้ปวดหลังเวลานั่งทำงาน
- ที่วางเท้า – สำหรับโต๊ะทำงานทรงสูงอาจต้องปรับเก้าอี้ให้สูงตาม ทำให้บางคนอาจมีเท้าลอยได้ ดังนั้นไม่ควรให้เท้าลอยนะ ควรหาที่วางเท้าเล็ก ๆ มารองใต้โต๊ะเพื่อปรับท่านั่งให้สมดุลกัน จะได้ไม่ต้องปวดเมื่อยร่างกายแต่อย่างใด
เก้าอี้ ergonomic คืออะไร
คือเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่ถูกออกแบบมาตามหลักสรีระศาสตร์ ที่จะช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งผิดท่า เช่น นั่งหลังค่อม นั่งไม่เต็มก้น ไม่กระจายน้ำหนัก ทำให้น้ำหนักลงที่ส่วนใดส่วนหนึ่งนานเกินไป
อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ เป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้ รวมถึงปัญหากระดูกสันหลังเสื่อมสภาพ โดยเก้าอี้ ergonomic จะช่วยจัดสรีระตอนนั่งทำงานให้ถูกต้อง ทำให้สุขภาพหลังสามารถนั่งสบายได้อย่างต่อเนื่อง รู้สึกสบายตัวเวลานั่งทำงานเป็นเวลานาน
คุณสมบัติของเก้าอี้ ergonomic ที่ดี
อุปกรณ์ที่ถูกดัดแปลงมาเพื่อช่วยปรับและซัพพอร์ตสรีระร่างกายให้เหมาะกับการทำงาน เพื่อความสะดวกสบาย ลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บ จึงเป็นเก้าอี้เพื่อสุขภาพของคนทำงานที่ถูกเพิ่มเติมฟังก์ชันการทำงานให้เก้าอี้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
รองรับสรีระอย่างถูกต้อง – การเลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพมานั่งทำงานที่มีพนักพิงศีรษะในการช่วยซัพพอร์ตกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อได้ให้ไม่เกร็ง และลดอาการปวดที่อาจเกิดตามมาได้
นั่งสบาย ได้ยาวนาน ไม่ปวดหลัง
ต้องมีการออกแบบมาให้ปรับมุมองศาได้เพื่อช่วยซัพพอร์ตหลังให้ได้มุมที่เหมาะกับช่วงเวลาการทำงานที่ควรปรับให้หลังตั้งตรง หรือให้อยู่ในแนวที่เหมาะสมประมาณองศาที่ 90-100 เป็นท่าที่ทำให้หลังตรงได้ ลดการเกิดหลังค่อมได้ ช่วยทำให้เราได้นั่งสบายได้ยาวนานไม่ปวดหลัง
ทนทาน
ควรเป็นเก้าอี้ที่มีโครงสร้างแข็งแรง ทำจากเหล็กคุณภาพดี รองรับน้ำหนักได้มาก
ฟังก์ชั่นการใช้งานต่าง ๆ การปรับระดับต่าง ๆ – ต้องถูกออกแบบมาให้มีการปรับขึ้นลงของเก้าอี้ได้ เพื่อการปรับที่นั่งสูงต่ำให้เข้ากับสรีระร่างกายของเรา ช่วยลดอาการการเกร็งบ่าไหล่ได้ ปรับให้เท้าวางราบกับพื้นได้ แต่หากเท้าลอยจะเป็นการกดทับข้อพับเข่า เป็นสาเหตุของอาการปวดขา ขาชา และเป็นตะคริวได้
ปรับเอนนอน – ควรปรับเอนพนักพิงหลังให้สามารถเอนนอนได้ที่สามารถเป็นช่วงเวลาผ่อนคลายของกล้ามเนื้อหลังไปได้ในตัว
ปรับที่เท้าแขน
การมีที่วางแขนจะช่วยให้แขนและมือไม่ต้องยกเกร็งเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้บ่าและไหล่ต้องเกร็งตลอดเวลา เก้าอี้ ergonomic มีฟังก์ชันที่เพิ่มขึ้นมาคือการปรับระดับความสูงต่ำของที่วางแขนได้ ยังปรับความกว้าง หรือเฉียงได้ เพื่อรองรับแขนได้หลากหลายมุม ระดับที่เหมาะสมของแขนและมือคือ มุมข้อศอกควรอยู่ที่ 90-120 องศา ควรวางให้เสมอเท่ากับเมาส์และแป้นพิมพ์
รีวิวเก้าอี้ทำงาน Bewell Ergonomic Chair นั่งสบาย ไม่ปวดหลัง หมดปัญหาออฟฟิศซินโดรม
สรุป
สุดท้าย การจะเลือกซื้อเก้าอี้ดี ๆ สักตัวควรพิจารณาจากคุณสมบัติที่สามารถช่วยรองรับสรีระของเราขณะนั่งทำงานได้อย่างดี ช่วยอำนวยความสะดวก ช่วยลดอาการปวดเมื่อย ปวดหลัง คอบ่าไหล่ได้
เพราะการทำงานที่ยาวนาน บางทีอาจจะลืมที่จะลุกเดินไปไหนต่อไหนได้เหมือนกัน ที่สำคัญคุณควรเลือกดูเก้าอี้ ergonomic ที่ผลิตจากวัสดุของแท้จากบริษัทชั้นนำที่มีการรับประกันให้ด้วย และเลือกเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระร่างกายของเรา
เพื่อลดอาการปวดหลัง ปวดเมื่อย อาการออฟฟิศซินโดรม ได้อย่างดีเยี่ยมเพื่อที่จะได้นั่งทำงานได้เป็นเวลานาน แต่คุณก็ควรที่จะหาเวลาพักเบรคสัก 5-10 นาทีเพื่อผ่อนคลายความเครียดลงบ้าง ออกไปเดินเล่นบ้าง ดื่มชากาแฟเพื่อให้ร่างกายได้กระปรี่กระเปร่าพร้อมที่จะกลับเข้ามาทำงานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
อ้างอิง
Preventing Office Syndrome While Working From Home : BangkokHospital
ออฟฟิศซินโดรม ดูแล ป้องกัน รักษา อย่างไร ? : โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
ควบคุมและดูแลการผลิตคอนเท้นส์ ชื่นชอบที่จะนำเสนอคอนเท้นส์ที่ดีๆ มีประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่าน
เก้าอี้ ergonomic Siam Steel รุ่น Viper High Back
-เบาะนั่งฟองน้ำโพลียูรีเทนหุ้มด้วยผ้าอย่างดีนั่งนุ่มสบาย
-แข็งแรงด้วยขาNylon5แฉกรองรับน้ำหนัก136กิโลกรัม
เก้าอี้ ergonomic Bewell รุ่น Embrace
-ที่รองศรีษะและช่วงคอปรับระดับให้เข้ากับสรีระได้
-ที่รองแขนแบบ4Dปรับไดทั้งสูง-ต่ำ,กว้าง-แคบ,หน้า-หลัง
เก้าอี้ ergonomic Elife
-โช๊คระบบแก๊สไฮดรอลิก ที่ได้รับการรองรับปลอดภัย
-ล้อเลื่อนหมุนได้360องศาวัสดุNylonแข็งแรง
เก้าอี้ ergonomic PANDO รุ่น Extreme
-พนักพิงศรีษะปรับได้ตามความสูงของผู้ใช้งาน
-รองรับน้ำหนักสูงสุดได้ 150 กิโลกรัม
เก้าอี้ ergonomic Fennix
-พนักพิงสามารถปรับเอนได้ถึง135องศา
-ที่พักแขนโค้งรับสรีระตามพนักพิงปรับเอน
เก้าอี้ ergonomic Xiaomi
-รองรับแรงกดทับที่กระดูกสันหลังส่วนเอวได้อย่างมีดี
-ขาตังผลิตจากโลหะผสมอลูมิเนียม5ล้อ รองรับน้ำหนักได้ดี
เก้าอี้ ergonomic OKAMURA
-ปรับความสูงของเบาะได้130มม.ปรับความลึกได้50มม.
-ปรับเก้าอี้ให้โน้มหน้าได้10องศาสำหรับเวลาเขียนหนังสือ
เก้าอี้ ergonomic ERGONOMATE รุ่น Jefferson
-ที่พักแขนพลาสติก PU สามารถปรับได้ 4 ทิศทาง
-มี LumbarSupport แผ่นหลังลดอการออฟฟิศซินโดรม
เก้าอี้ Ergonomic InnHome รุ่น Iconic
-มาพร้อมแผ่นรองหลังรองรับส่วนล่างช่วยลดการปวดเมื่อย
-เก้าอี้ปรับเอนได้135องศาและปรับความได้35-45ซม.
เก้าอี้ Ergonomic Work Station Office รุ่น B008
-โครงสร้างเสริมFiberGlassแข้งแรงกว่าเก้าอี้ทั่วไป3เท่า
-นั่งสบายด้วยพรักพิงแบบตาข่ายระบายอากาศดีไม่อับชื้น