กลูโคส คืออะไร
กลูโคส (Glucose) เป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กมากๆ จัดเป็นโมเลกุลเดี่ยว โดยมีสูตรทางเคมีคือ C6H12O6 ซึ่งสามารถผ่านไปถึงเยื่อหุ้มเซลล์ทางช่องเปิดบนเยื่อหุ้มเซลล์ได้ง่าย และด้วยเหตุนี้จึงทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้งาน รวมถึงเผาผลาญเพื่อสร้างพลังงานให้แก่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นน้ำตาลที่มีขนาดเล็กมากๆ การนำไปใช้งานจึงไม่ได้มีกระบวนการที่ซับซ้อนมากนัก
กรณีที่กลูโคสละลายอยู่ในกระแสเลือด จะส่งผลให้เลือดมีลักษณะคล้ายกับน้ำเชื่อม และถ้ายิ่งปริมาณกลูโคสมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลให้เลือดมีความหนืดมากขึ้นเท่านั้น จึงกล่าวได้ว่าน้ำตาลกลูโคสนั้นมีผลต่อร่างกาย ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลเสียและเป็นโรคเบาหวานได้
โดยเฉพาะผู้ที่ชอบทานอาหารจำพวกแป้ง ไม่ว่าจะเป็นข้าว ขนมปัง แป้งข้าวเจ้า แป้งสาลี ขนมจีน หรือแม้กระทั่งผักบางประเภท รวมไปถึงอาหารที่มีรสหวานต่างๆ ก็จะได้รับน้ำตาลกลูโคสในปริมาณที่มากกว่าคนทั่วไป
เมื่อร่างกายของคนเรามีปริมาณกลูโคสที่สูงหรือต่ำมากเกินไปก็จะทำให้เกิดการเสียสมดุลได้ ในกรณีที่มีการสะสมกลูโคสในกระแสเลือดมากเกินไปก็จะทำให้เป็นโรคเบาหวานได้ ซึ่งจะทำให้เลือดมีลักษณะคล้ายน้ำเชื่อมดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดเป็นไปอย่างช้าๆ เพราะเลือดมีความหนืดนั่นเอง ซึ่งจะทำให้เลือดเข้าสู่เส้นเลือดฝอยได้ยากขึ้น จนส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเกิดภาวะขาดเลือดในที่สุด
เครื่องวัดน้ำตาล คืออะไร
เครื่องตรวจน้ำตาล หรือบางคนอาจเรียกว่าเครื่องเจาะน้ำตาล เครื่องตรวจเลือดเบาหวาน และเครื่องวัดน้ำตาลในเลือด โดยจัดเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการออกแบบมาให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถใช้ในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพื่อให้ทราบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยนั้นอยู่ในระดับใดปกติหรือไม่ ในกรณีที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเกินไปก็อาจส่งผลให้ร่างกายทำงานผิดปกติ จนทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความสำคัญมากเลยทีเดียว และแพทย์ส่วนใหญ่ก็แนะนำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานหมั่นวัดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เป็นประจำ เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดจึงเป็นอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนจำเป็นที่จะต้องมี เพราะจะช่วยให้การตรวจวัดค่าน้ำตาลในเลือดเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น และค่าของระดับน้ำตาลในเลือดจะช่วยให้ผู้ป่วยระมัดระวังเกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันด้วย
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ควรมีไว้ติดบ้านอีกมากมาย จำเป็นและมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะบ้านไหนที่มีผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่จะต้องได้รับการตรวจและติดตามอาการอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ปรอทวัดไข้ดิจิตอล , เครื่องวัดอุณหภูมิ , แผ่นลดไข้ , เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล , เครื่องวัดความดัน รวมไปถึงยาสามัญประจำบ้านที่จะต้องเตรียมไว้เพื่อยามฉุกเฉิน เช่น ยาแก้ปวดหัว , ยาบำรุงเลือด , ยาแก้ท้องอืด , ยาทาแผลในปาก , ยาละลายเสมหะ , ยาอมแก้ไอ และ ยาทาแผลสด เป็นต้น
ทำไมต้องวัดระดับน้ำตาลในเลือด
หลายคนอาจคิดว่าการวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ผู้ที่ทานน้ำตาลในปริมาณมากเท่านั้นที่ควรจะวัดระดับน้ำตาลในเลือด และความคิดนี้จึงทำให้หลายคนละเลยและไม่ให้ความสำคัญในการวัดค่าน้ำตาลในเลือด ซึ่งส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ ได้มากขึ้น
โดยเฉพาะโรคเบาหวานที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงมากทีเดียว ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ทานน้ำตาลในปริมาณมากก็ตาม แต่การวัดระดับน้ำตาลในเลือดนั้นมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้เราทราบว่าค่าน้ำตาลในเลือดปกติหรือไม่
ไม่ว่าใครก็ตามควรจะตรวจวัดค่าน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ เพราะการตรวจวัดค่าน้ำตาลในเลือดนั้นจะช่วยให้ทุกคนทราบว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับใด และเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากน้อยเพียงใด ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่ทุกคนพึงจะทราบ
เพราะถ้าหากทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานก็จะสามารถหาวิธีป้องกันได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที ซึ่งโรคเบาหวานนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะส่วนใหญ่แล้วเกิดจากพฤติกรรมการกินในชีวิตประจำวัน
ค่าน้ำตาลปกติในร่างกาย
ค่าน้ำตาลปกติจะต้องอยู่ที่ประมาณ 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตรแต่ถ้าหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน
อาการเตือนของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
1. เหนื่อยง่าย
เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้ จึงทำให้มีอาการอ่อนเพลียหรือเหนื่อยง่าย แม้ว่าจะกินอิ่มนอนหลับดีแค่ไหน อาการดังกล่าวก็ยังไม่หาย ซึ่งถือเป็นสัญญาณเตือนของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูง
2. กระหายน้ำ
ผู้ที่อยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมักจะปัสสาวะบ่อยผิดปกติจนทำให้เสียน้ำออกจากร่างกายปริมาณมาก ซึ่งนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเกิดความกระหายน้ำขึ้นมา เรียกได้ว่าเป็นอาการแทรกซ้อนที่ต้องรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อทำการตรวจและรักษาอาการเบื้องต้น
3. ปัสสาวะบ่อย
4. ปวดศีรษะ
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้ ส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย และมักจะปวดศีรษะร่วมด้วย ไม่ว่าจะทานยาหรือพักผ่อนให้เพียงพอ แต่อาการดังกล่าวก็จะไม่หายง่ายๆ เหมือนคนปกติทั่วไป
5. มองเห็นไม่ชัด
เมื่ออินซูลินหรือฮอร์โมนที่ผลิตจากตับอ่อนมีการผลิตน้อยลงหรือไม่มีการผลิตเลย รวมทั้งเซลล์ต่างๆ ในร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ หรือเรียกว่าเซลล์ดื้อต่ออินซูลิน จะส่งผลให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูงผิดปกติจนทำให้เส้นเลือดตีบและแข็งขึ้น ทำให้อวัยวะต่างๆ รวมถึงตาก็จะมีประสิทธิภาพเสื่อมลง
วิธีเช็คเบาหวานด้วยตัวเอง
- สังเกตจากอาการ อาการที่บ่งบอกว่าเรากำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงหรือเป็นเบาหวาน ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะ ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ หิวบ่อย ตาพร่ามัว มีอาการชาตามปลายมือและปลายเท้า ติดเชื้อและเป็นแผลได้ง่าย เป็นต้น หากใครที่มีอาการดังกล่าวนี้จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน
- ใช้ชุดตรวจน้ำตาลในเลือด การเช็คเบาหวานด้วยตัวเองให้เตรียมเครื่องวัดน้ำตาล เข็มเจาะเลือด และกลูโคส แผ่นตรวจน้ำตาล โดยนำอุปกรณ์ดังกล่าวมาทำการตรวจวัดค่าน้ำตาลในเลือดว่าอยู่ในระดับที่ปกติหรือไม่ ซึ่งทุกคนสามารถซื้อและนำอุปกรณ์ดังกล่าวมาเช็คเบาหวานด้วยตัวเองที่บ้านได้อย่างง่ายดาย
เครื่องวัดน้ำตาล วิธีใช้
- ขั้นตอนแรกของการวัดค่าน้ำตาลในเลือด จะต้องเจาะเลือดที่ปลายนิ้วหรือด้านข้างของนิ้วก่อน แต่ก่อนจะเจาะให้นวดคลึงนิ้วเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก และเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ หลังจากเช็ดด้วยแอลกอฮอล์อย่าเพิ่งรีบเจาะ เพราะแอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ก็ต่อเมื่อแอลกอฮอล์นั้นแห้ง
- เตรียมเครื่องวัดน้ำตาล วิธีการใส่แถบให้สังเกตจากสัญลักษณ์ และสอดแถบเข้าไป ในบางรุ่นถ้าหากสอดแถบไว้นานเกินไปอาจทำให้เครื่องตรวจน้ำตาลทำงานผิดพลาดได้ ดังนั้นต้องทำอย่างรวดเร็ว เมื่อสัญลักษณ์ให้หยดเลือดขึ้นแล้วก็ทำการเจาะเลือด
- ขั้นตอนเจาะเลือด ควรเจาะเลือดที่นิ้วชี้และนิ้วนาง เพราะเป็นนิ้วที่ใช้งานน้อย ส่วนนิ้วที่ไม่ควรเจาะอย่างยิ่งก็คือนิ้วโป้งและนิ้วก้อย สามารถเจาะที่ปลายนิ้วหรือด้านข้างของนิ้ว แต่ถ้าจะให้ดีควรหลีกเลี่ยงการเจาะเลือดบริเวณปลายนิ้ว เพราะเป็นจุดที่มีเส้นประสาทค่อนข้างเยอะ และทำให้เจ็บได้ง่าย
- เมื่อเจาะเลือดแล้วจะมีหยดเลือด โดยเลือดหยดแรกนั้นให้ใช้สำลีแห้งเช็ดออก เพราะหยดเลือดจะเลอะแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจทำให้ค่าน้ำตาลคลาดเคลื่อนได้ หลังจากนั้นนำตัวแถบมาจุ่มที่เลือด แถบก็จะดูดเลือดเข้าไป และจับเวลาสักครู่
- หลังจากจับเวลาแล้ว เครื่องตรวจน้ำตาลก็จะแสดงผล และเมื่อได้ค่าน้ำตาลในเลือดแล้วก็จดบันทึกลงในสมุด จากนั้นกดห้ามเลือด ค่าที่ได้จะเป็นหน่วยมิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ส่วนแถบที่ใช้ก็ให้ดึงออกจากเครื่องตรวจน้ำตาลและทิ้งลงในถุงพลาสติก
ชุดตรวจน้ำตาลในเลือด มีอะไรบ้าง
1. แผ่นตรวจน้ำตาล
แผ่นตรวจน้ำตาล จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากในการตรวจน้ำตาลในเลือด เพราะเสมือนเป็นตัวกลางที่จะช่วยให้เครื่องวัดน้ำตาลนำเลือดเข้าไปตรวจได้ โดยจะมีลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบตรวจที่เอาไว้รองรับเลือดที่เจาะออกมา จากนั้นนำไปสอดเข้ากับเครื่องตรวจวัดน้ำตาลเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
2. เข็มเจาะเลือด
เข็มเจาะเลือด เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่อยู่ในชุดตรวจน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน เพราะก่อนที่จะทราบระดับน้ำตาลในเลือดได้นั้นจะต้องใช้เข็มเจาะเลือดก่อน โดยจะนำเลือดที่ผ่านการเจาะมาใช้ในการตรวจด้วยแผ่นตรวจและสอดเข้าไปในเครื่องตรวจน้ำตาลอีกที
3. เครื่องตรวจน้ำตาล
เครื่องตรวจน้ำตาล เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภทหนึ่งที่คนทั่วไปและผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถใช้ตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะผลิตมาให้สามารถใช้งานได้ง่าย และถือเป็นอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนควรจะมี เนื่องจากเป็นอุปกรณ์สามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานทราบว่าน้ำตาลอยู่ในระดับปกติหรือไม่
วิธีอ่านค่าเครื่องวัดน้ำตาล
1. ระดับน้ำตาลในเลือด
ก่อนที่จะทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด จะต้องทราบก่อนว่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ถือเป็นปกตินั้นจะอยู่ที่ประมาณ 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในกรณีที่ตรวจพบว่าระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพและอายุของแต่ละบุคคลด้วย
2. การอ่านค่าระดับน้ำตาลในเลือดจากเครื่อง
การอ่านค่าเครื่องตรวจน้ำตาลกลูโคส แผ่นตรวจน้ำตาลจะทำหน้าที่รับเลือดเข้าไปยังตัวเครื่อง และจะแสดงผลของระดับน้ำตาลในเลือดออกมา ทำให้ทราบว่าค่าน้ำตาลปกติหรือไม่ โดยพิจารณาจากข้อมูลในข้อที่ 1 ว่าผลที่แสดงของระดับน้ำตาลในเลือดนั้นอยู่ในระดับใด
3. ประเมินผลของระดับน้ำตาลในเลือด
เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดจะบอกค่าเป็นมิลลิกรัม/เดซิลิตร ถ้าหากวัดระดับน้ำตาลในเลือดและผลออกมาอยู่ในระดับที่น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก็ถือว่าปกติ แต่ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจมีอาการภาวะก่อนเบาหวานหรืออยู่ในระยะความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน และหากมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก็แสดงว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว
ข้อดีของเครื่องวัดน้ำตาล
1. ช่วยบอกระดับน้ำตาลในเลือดว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือไม่
เครื่องตรวจน้ำตาล เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ออกแบบและผลิตมาให้ทุกคนสามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดหรือเช็คเบาหวานด้วยตัวเอง เพื่อให้ทราบว่าระดับน้ำตาลในเลือดนั้นอยู่ในระดับใด มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะช่วยให้เราควบคุมและป้องกันได้ทันเวลา
2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตัวเอง
เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด จัดเป็นอุปกรณ์ที่แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีติดตัว เพราะจะช่วยให้ทราบระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองว่าอยู่ในระดับมากน้อยเพียงใด ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทราบข้อมูลเหล่านี้ เพราะการที่จะรักษาโรคเบาหวานนั้นจะต้องควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
3. ช่วยให้แพทย์ติดตามอาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ง่ายขึ้น
แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอุปกรณ์อย่างเครื่องวัดน้ำตาลในเลือด เพราะการรักษาโรคเบาหวานให้มีอาการดีขึ้นนั้นจะต้องติดตามระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ เพื่อให้ทราบว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งจะทำให้แพทย์ที่รักษาผู้ป่วยโรคดังกล่าวสามารถประเมินอาการและใช้แนวทางในการรักษาได้อย่างเหมาะสม
4. ใช้งานได้ง่าย และพกพาสะดวก
เครื่องตรวจน้ำตาลออกแบบมาให้ใช้งานง่ายและสามารถพกพาได้สะดวก ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือบุคคลทั่วไปก็สามารถเช็คเบาหวานด้วยตัวเองจากเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าค่าน้ำตาลปกติหรือไม่ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีความจำเป็นจะต้องตรวจอยู่เป็นประจำ
วิธีเลือกซื้อเครื่องวัดน้ำตาล
1. เลือกเครื่องตรวจวัดน้ำตาลที่เหมาะสม
เครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือดจะมีหลากหลายชนิด เพราะฉะนั้นการจะนำมาใช้งานก็ต้องพิจารณาด้วยว่าเครื่องดังกล่าวเหมาะสมต่อการใช้งานแบบไหน ซึ่งเครื่องตรวจวัดน้ำตาลนั้นจะมีทั้งแบบใช้ตรวจด้วยตัวเอง และแบบที่ใช้ในสถานพยาบาลโดยเฉพาะ
2. เลือกเครื่องตรวจวัดน้ำตาลที่แข็งแรงและทนทาน
ความแข็งแรงและทนทานล้วนเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ใดๆ ก็แล้วแต่ สำหรับการซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือดที่มีความแข็งแรงและทนทานนั้นจะลดช่วยโอกาสที่จะเกิดความเสียหายได้ง่าย ซึ่งจะทำให้เราใช้งานได้นานมากขึ้นด้วย
3. เลือกเครื่องตรวจวัดน้ำตาลยี่ห้อและรุ่นเดียวกับแผ่นตรวจน้ำตาล
การจะนำชุดตรวจน้ำตาลในเลือดมาใช้งานนั้นจะต้องเลือกอุปกรณ์ที่เป็นยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน โดยเฉพาะกลูโคส แผ่นตรวจน้ำตาลและเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือดจะต้องเป็นรุ่นเดียวกัน ซึ่งถ้าหากนำแผ่นตรวจและเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือดคนละรุ่นก็อาจใช้ไม่ได้
4. เลือกซื้อเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในร้านที่น่าเชื่อถือ
การซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือดนั้นควรจะซื้อในร้านจำหน่ายที่ดูน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความรู้หรือไม่ทราบว่าจะเลือกเครื่องตรวจวัดน้ำตาลแบบไหน ก็ควรที่จะไปซื้อในร้านที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ผู้จำหน่ายสามารถแนะนำและให้คำปรึกษาได้
วิธีการเจาะน้ำตาลปลายนิ้วด้วยเครื่อง accu-check performa
สรุป
เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีขนาดเล็กและพกพาง่าย ผลิตขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถติดตามระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองได้ง่ายขึ้น
รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการทราบว่าร่างกายของตนเองมีค่าน้ำตาลปกติหรือไม่ ก็สามารถใช้เครื่องตรวจวัดน้ำตาลได้เช่นกัน ซึ่งการทราบค่าน้ำตาลในเลือดนั้นก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย เพราจะทำให้เราสามารถควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ ทั้งนี้ควรเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ให้เหมาะสม
อ้างอิง
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยเอง ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้อย่างเหมาะสม : โรงพยาบาลพญาไท
คู่มือการใช้งานเครื่องวัดน้ำตาลในเลือด : allwelllifegroup.com
เจ้าของร้านขายยาโดยเภสัชกรชั้นนำหลายสาขา ขายดีจ่ายยาแล้วคนไข้หายจนเป็นที่ยอมรับ การศึกษาปริญญาตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทจากประเทศออสเตรเลีย มีความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับ สุขภาพ อาหารเสริม ตลอดจนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 10 ปี
เครื่องวัดน้ำตาล WN
-มีรูปบอกึงระดับการตรวจน้ำตาลในเลือดแสดงขึ้นที่หน้าจอ
-ผ่านการรับรองมาตราฐาน MDSS จากประเทศเยอรมัน
-แผ่นตรวจ Strips 25 แผ่น และชุดปากกาพร้อมใช้งาน
เครื่องวัดน้ำตาล Glucose Sinocare รุ่น Safe-Accu2
-ใช้ถ่าน AAA ระบบปิดอัตโนมัติเมื่อไม่มีการใช้งาน
-สามารถใช้งานได้แบบง่ายๆ มีคู่มือวิธีการใช้งาน
-รู้ผลไว ใช้เวลาในการทดสอบเพียงแค่ 10 วินาที
เครื่องวัดน้ำตาล Accu Chek
-รูปทรงทันสมัย หยิบจับถนัดมือ ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก
-ใช้เลือดน้อยเพียง 1-2 ไมโครลิตร รู้ผลไวเพียง 5 วินาที
-ดูค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดได้ 7,14,30,90 วัน
เครื่องวัดน้ำตาล Cofoe
-จอแสดงผลดิจิตอล LCD ความระเอียดสูง
-การวัดแม่นยำ กินไฟน้อยสามารถใช้งานได้ยาวนาน
-ขนาดเล็ก รูปทรงบาง จัดเก็บง่าย ประหยัดพื้นที่การใช้งาน
เครื่องวัดน้ำตาล Allwell รุ่น G-426
-น้ำหนักของสินค้า 63 กรัม รวมแบตเตอรี่
-สามารถชาร์จ Power bank หรือไฟบ้านก็ได้
-มีระบบปิดการใช้งานอัตโนมัติ เมื่อไม่มีการใช้งาน
เครื่องวัดน้ำตาล Sinocare
-สามารถเก็บข้อมมูลได้มากถึง 200 ครั้ง
-ใช้ถ่านกระดุม ระบบปิดอัตโนมัติเมื่อใช้งานเสร็จ
-มีคู่มือในการใช้งาน สามารถอ่านค่าและใช้งานง่าย
เครื่องวัดน้ำตาล JP Smart
-หน้าจอใหญ่ แสดงค่าชัดเจน ผู้สูงอายุอ่านค่าได้ง่าย
-สามารถคำนวณผลได้เร็วใช้เวลาเพียง 5 วินาที
-สามารถเก็บข้อมมูลได้มากถึง 30 ครั้ง
เครื่องวัดน้ำตาล EXACTIVE EQ Impulse
-ช่วงการวัดของตัวเครื่อง 20 – 600 mg / dL
-ปากกาเจาะสามารถปรับระดับได้ถึง 5 ระดับ
-สามารถเก็บข้อมมูลได้มากถึง 30 ครั้ง
เครื่องวัดน้ำตาล SZKIA
-ขนาดกะทัดรัด พกพาสะดวก ประหยัดพื้นที่การใช้งาน
-สามารถเก็บข้อมมูลทั้งวันที่และเวลาได้มากถึง 200 ครั้ง
-มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอ่านเข้าใจง่าย
เครื่องวัดน้ำตาล Yuwell
-สามารถเก็บข้อมมูลได้มากถึง 200 ครั้ง
-ใช้เลือดเพียงนิดเดียว ปากกาเจาะปรับระดับได้ 5 ระดับ
-ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา แข็งแรง ทนทาน ไม่แตกหักง่าย