ซีอิ๊วขาว คืออะไร
คือ ซอสที่เราใช้ในการทำอาหาร หรือสามารถเรียกได้อีกอย่างว่า Soy Sauce ซึ่งถือว่าเป็นซอสที่สำคัญเทียบเท่ากับเครื่องปรุงรสหลายๆ ชนิด ที่จำเป็นต้องมีติดไว้ทุกครัวเรือน ซึ่งการจะได้ซอสชนิดนี้มาได้นั้น ต้องผ่านการหมักจากเมล็ดถั่วเหลือง
โดยขั้นตอนแรกนั้นนอกจากการเลือกเมล็ดถั่วเหลือง ที่สมบูรณ์ ไม่ฟีบ ไม่ฝ่อจากนั้นนำมาต้มให้สุก เพื่อเตรียมขั้นตอนต่อไป การต้มให้สุกนั้นเพื่อช่วยให้โปรตีนและกรดอะมิโน ที่อยู่ภายในถั่วเหลืองนั้นเกิดการสลายตัว
การหมักถั่วเหลืองนั้นจะไม่ได้ซอส ที่มีทั้งความใสและช่วยให้รสชาติความหวาน และความหอมออกมาจากถั่วเหลืองได้เลย หากขาดวัตถุดิบสำคัญอีกอย่างคือ แป้งสาลี และหรือแป้งข้าวเจ้า ซึ่งในแต่ละยี่ห้อนั้นจะมีสูตรเฉพาะของตัวเอง
ซึ่งอาจจะเลือกเฉพาะเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแป้งทั้ง 2 ชนิดเลยก็ได้ เพื่อผสมรวมกับถั่วเหลือง จากนั้นเติมเชื้อจุลินทรีย์เพิ่มเข้าไป พร้อมกับการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นให้เหมาะสม เพื่อที่จะให้เชื้อราเจริญเติบโตขึ้น
เมื่อเราพูดมาถึงเรื่องเชื้อรามีความจำเป็น ต้องให้เจริญเติบโตขึ้นในขณะอยู่ในกระบวนการหมักของ Soy Sauce นี้ หลายคนคงมีคำถามว่า แล้วเชื้อราจะมีอันตรายต่อร่างกายของคนเราหรือไม่นั้น ซึ่งเชื้อราชนิดนี้คือ Aspergillus Oryzae นี้นั้นมีประโยชน์อย่างมากในขั้นตอนการหมักอาหาร โดยเฉพาะกับอาหารของคนญี่ปุ่น หรือคนจีน ที่จำเป็นต้องอาศัยเชื้อราที่เป็นเส้นใยชนิดนี้ สลายโปรตีนของถั่วเหลือง
การหมักถั่วเหลืองนี้จะเป็นการเปลี่ยนแป้ง คือแป้งที่เรานำมาผ่านขั้นตอนในช่วงแรกนั้น ให้กลายเป็นน้ำตาล และนี่คือที่มาของทำไมเราจึงได้รสชาติของความหวานจางๆ จากซอสชนิดนี้ ทั้งที่ไม่ได้มีการเติมส่วนประกอบของน้ำตาล หรือสิ่งที่ให้ความหวานลงเลย รวมถึงการได้มาซึ่งหัวเชื้อ หรือที่เราได้ยินกันว่า โคจิ หรือ Koji
โคจิ หรือหัวเชื้อที่ได้จากการหมักผ่านกระบวนการขั้นตอนช่วงแรกนั้น เป็นส่วนประกอบที่สำคัญแล้วนั้น ยังสามารถนำมาผลิตเป็นเหล่าในรูปแบบต่างๆ อีกด้วย เช่น มิโซะ, เต้าเจี๊ยว, ซีอิ๊วหมักแบบคุณภาพดี, สาเก, โชจู, เหล้าหวาน และเหล้าอาวาโมริ ซึ่งเมื่อเราได้โคจิ หรือหัวเชื้อมาแล้วนั้น เราจะนำมาหมักกับน้ำเกลือ เรียกกระบวนการขั้นตอนนี้ว่า โมโรมิ หรือ Moromi
ขั้นตอนโมโรมินั้นถือว่าเป็นขั้นตอน ของการผลิตตัวซอสในส่วนสุดท้าย ที่นำเอาทุกอย่างมารวมกันไม่ว่าจะเป็นตัว หัวเชื้อโคจิ, ยีสต์, แบคทีเรีย รวมถึงถั่วเหลืองที่เป็นส่วนประกอบหลักในการทำซอสซีอิ๊วขาว หรือจะเป็นข้าว ที่เป็นส่วนประกอบหลักในการผลิตเหล้า หรือสาเกก็ตาม ขั้นตอนโมโรมินี้จะทำให้เกิดน้ำซอส ที่ออกมาเป็นSoy Sauce นั่นเอง
ซึ่งเราอาจจะเห็นจากที่เคยยืนเลือกซื้อตามชั้นวางสินค้าว่า ซอสชนิดนี้ถึงแม้จะมีเฉดสีที่เหมือนกันก็ตามในแต่ละยี่ห้อ แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของความใส ทำให้เกิดการแยกประเภท หรือการแบ่งเกรดของตัวซอส โดยยิ่งมีการหมักซ้ำๆ กันหลายรอบเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้ซอสถั่วเหลืองที่มีความใสน้อยลงเท่านั้น
โดยกล่าวคือซอสที่ได้จากการหมักรอบแรก จะเรียกว่าเป็นสูตร 1 ซึ่งจะมีสีดำ แต่มีระดับความใสมาก ซี่งเราสามารถสังเกตเมื่อนำไปส่องเทียบกับความสว่างของหลอดไฟได้ รวมถึง สูตร 1 ก็เป็นการบอกถึงคุณภาพที่อยู่ในระดับดี และมีราคาสูงกว่าซอสในสูตรอื่นๆ รวมถึงยังมีอีกหลายสูตร ไม่ว่าจะเป็นสูตรลดโซเดียม หรือสูตรไม่มีโซเดียม ที่นอกจากให้ความอร่อยแล้ว ยังช่วยในเรื่องสุขภาพ เพื่อลดการบริโภคโซเดียมอีกทางหนึ่ง
ประโยชน์ของซีอิ๊วขาว
เนื่องจากซอสชนิดนี้ หรือ Soy Sauce นั้นมีส่วนประกอบหลักมาจาก ถั่วเหลือง ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าถั่วเหลืองนั้น มีคุณค่าทางสารอาหารที่หลากหลาย อีกทั้งเมื่อนำมาผลิตเป็นซอสชนิดนี้แล้ว ยังช่วยให้อาหารมีรสชาติที่ละมุน และถูกปากมากขึ้น เรามาดูกันว่าประโยชน์ของซอสชนิดนี้มีอะไรกับบ้าง
1.แหล่งโปรตีน
เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี หรือเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ได้เลยทีเดียว เราจะเห็นได้ว่าในช่วงเทศกาลกินเจนั้น วัตถุดิบหลักที่นำมาใช้แทนเนื้อสัตว์ก็คือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลือง อย่างเช่นเต้าหู้ เป็นต้น รวมถึงยังมีกรดอะมิโนอีก 10 ชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะในเมล็ดถั่วเหลือง 1 ถ้วยนั้น ให้โปรตีนมากถึง 22 กรัมเลยทีเดียว
2.เสริมสร้างกล้ามเนื้อโดยรวม
ช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อ ผ่านสารอาหารโปรตีนภายในถั่วเหลือง
3.อุดมไปด้วยแคลเซียม
ตัวถั่วเหลืองที่เป็นส่วนประกอบหลักของซอสตัวนี้นั้น ยังอุดมไปด้วยแคลเซียม ที่ช่วยในเรื่องการป้องกันโรคกระดูกพรุน และเพิ่มความหนาแน่นให้กับมวลกระดูกโดยรวมอีกด้วย
4.ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ
ลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง หรือเนื้องอก ด้วยตัวของถั่วเหลืองนั้น มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ หรือสารที่ก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งนั่นเอง
5.ลดคอเลสเตอรอล
ด้วยถั่วเหลืองจะมีกรดไขมันแบบไม่อิ่มตัว ดังนั้นจึงเป็นไขมันที่ไม่อุดตันในเส้นเลือด และเป็นกรดไขมันที่แตกต่างไปจากไขมันที่มากเนื้อสัตว์ ที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัว
ข้อมูลโภชนาการของซิอิ๊วขาว
หลายครั้งที่เราเลือกซื้อสินค้าโดยเฉพาะในหมวดของอาหาร และเครื่องปรุง ที่ต้องกินเข้าร่างกายโดยตรงนั้น จึงต้องมีการพิจารณามากเป็นพิเศษ ผ่านฉลากติดข้างบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะ Soy Sauce นี้ที่มีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบหลัก เหมือนอย่าง นมถั่วเหลือง , มิโซะ รวมถึงหากใครที่ต้องการควบคุมปริมาณความเค็มใน Soy Sauce ด้วยแล้ว อาจจะต้องดูรายละเอียดว่า เป็นสูตรลดโซเดียม หรือไม่มีโซเดียมร่วมด้วยอีกทาง
หนึ่งหน่วยบริโภค : 1 ช้อนโต๊ะ (15 มิลลิลิตร)
จำนวนหน่วยบริโภคต่อขวด : 47
พลังงานทั้งหมด : 5 กิโลแคลอรี่
สารอาหาร | ปริมาณ (กรัม) | ร้อยละแนะนำต่อวัน (%) |
ไขมันทั้งหมด | 0 | 0 |
คอเลสเตอรอล | 0 | 0 |
โซเดียม | 1360 มิลลิกรัม | 57 |
โพแทสเซียม | 0 มิลลิกรัม | 0 |
คาร์โบไฮเดรต | 0.9 | 1 |
โปรตีน | 0.9 | 2 |
น้ำตาล | 0 | 0 |
สิ่งที่เราควรจะสังเกตก็คือ ระดับสารอาหารตัวโปรตีน และโซเดียมนั้น ควรที่จะสวนทางกันก็คือ ปริมาณโปรตีนที่ควรจะมีมาก ตรงกันข้ามระดับปริมาณโซเดียมที่ควรจะลดให้มากที่สุด
โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือรักษาระดับความเค็มในร่างกาย ไม่ให้อยู่ในระดับที่สูงจนเกินไป ซึ่งหากเราสามารถที่จะเลือกในระดับปริมาณโซเดียมที่น้อยกว่าตามตารางได้อย่างเช่น ปริมาณโซเดียมที่ลดลงอยู่ที่ 1140 หรือน้อยกว่านั้น ก็จะเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ
โดยซอสซีอิ๊วขาวนี้นั้น นอกจากจะเป็นเครื่องปรุงที่ใช้ในการประกอบอาหาร ที่ทุกบ้านจำเป็นต้องมีแล้วนั้น ยังมีหลายสูตรที่ผลิตออกมาให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นสูตรดั้งเดิม, สูตร 1, สูตรลดโซเดียม และสูตรไม่มีโซเดียม เป็นต้น ที่เป็นเครื่องปรุงอาหารเหมือนกับ โซยุ , ซอสเทอริยากิ , ซอสพริก , หม่าล่า , ก้อนแกงกะหรี่ , น้ำมันคาโนล่า , วาซาบิ บน ชั้นวางเครื่องปรุง ที่สามารถเลือกใช้ได้ตามประเภทของอาหาร
สูตรของซีอิ๊วขาว มีกี่สูตร อะไรบ้าง
ส่วนใหญ่แล้วในแต่ละยี่ห้อจะมีเพียงแค่ สูตร 1, สูตร 2 และสูตร 3 แต่บางยี่ห้อก็จะทำออกมาถึงสูตร 4 โดยหลักๆ สิ่งที่จะแตกต่างกันในแต่ละสูตร คือคุณภาพของตัวซอส และความใสที่จะได้ ซึ่งสูตร 1 จะถือว่าเป็นซอสที่มีคุณภาพที่ดี และมีรสละมุนมากที่สุด
สูตร 1
เป็นระดับคุณภาพของตัวซอส ที่ได้จากการหมักด้วยหัวเชื้อรอบแรก ดังนั้นจะได้รสชาติที่มีความอ่อนละมุน, มีความใสมาก รวมถึงช่วยในการปรุงรสอาหารให้มีรสชาติที่อร่อยอีกด้วย เราจึงมักจะเห็นสูตร 1 ที่มีทั้งความใสของตัวซอสมากกว่าสูตรอื่นๆ รวมถึงราคาและคุณภาพของตัวซอสที่สูงกว่า สูตร 2 และสูตร 3 อีกด้วย
สูตร 2
การนำเอาสูตร 1 มารวมกับน้ำเกลือ, กากที่เหลือจากการหมักรอบแรก, น้ำตาลและเกลือ ดังนั้นเราจะเห็นว่า ความใสของสูตร 2 นี้จะลดน้อยลงจากสูตร 1 และรวมถึงมีรสเค็มเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการนำมาประกอบอาหาร ปริมาณที่ใช้ก็จะต้องลดลงเมื่อเทียบกับสูตร 1
สูตร 3
จะเป็นการนำเอาซอสจากทั้งสูตร 1 และสูตร 2 มารวมกับน้ำเกลือ และผสมด้วยกากที่เหลือ, น้ำตาล และเกลือ หมักต่อไปอีกที ดังนั้นหากเราเปรียบเทียบระหว่างซอสสูตร 1 กับสูตร 3 สิ่งที่เราจะเห็นความต่างมากที่สุดคือ กลิ่นหอมของถั่วเหลืองของสูตร 3 จะน้อยลง และมีความเค็มที่เพิ่มมากกว่า 2 สูตรแรก รวมถึงมีความใสน้อยลงร่วมด้วย
ซีอิ๊วขาว กับ ซอสถั่วเหลือง
หากเรามองโดยรวมในตัวส่วนประกอบของ ซอสทั้ง 2 ชนิดนี้แล้วนั้น ต่างก็มีส่วนประกอบหลักที่มาจากถั่วเหลืองเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ขั้นตอนการผลิต หรือกระบวนการผลิตนั่นเอง ซึ่งก็จะมีผลมาถึงคุณภาพ, สี และรสชาติของซอสทั้ง 2 ชนิดนี้ด้วย
1.ขั้นตอนการผลิต
หากเป็นซีอิ๊วขาวนั้นจะมีกระบวนการผลิตที่ยาวนานกว่า ซอสถั่วเหลือง หรือซอสปรุงรส ซึ่ง Soy Sauce นั้นต้องผ่านขั้นตอนการหมักถั่วเหลืองเป็นเวลา 3-6 เดือน รวมถึงใช้ส่วนผสมแป้งข้าวเจ้า หรือแป้งสาลีมาช่วยในการย่อยสลายโปรตีนในถั่วเหลืองร่วมด้วย แต่หากเป็นซอสถั่วเหลืองนั้น จะใช้การหมักด้วยกรดไฮโดรคลอริกที่เข้มข้น เพื่อเร่งกระบวนการผลิตให้เร็วกว่า ซึ่งใช้เวลาเฉลี่ยโดยประมาณ 7 วันเพียงเท่านั้น
2.รสชาติ
รสชาติของ Soy Sauce นั้นจะมีความอ่อน และมีรสละมุมมากกว่าซอสถั่วเหลือง หรือซอสปรุงรส โดยเฉพาะในสูตร 1 ที่ได้จากการหมักรอบแรก รวมถึง Soy Sauce นั้นจะมีรสที่บางเบากว่า เพราะนอกจากซอสถั่วเหลืองจะมีความเข้มข้นของรสชาติที่มากกว่า ด้วยการเติมเครื่องปรุงต่างๆ เพิ่มเติม อย่างเช่น น้ำตาล, เกลือ และสารปรุงรสอื่นๆ แล้วนั้น ยังมีวัตถุในการปรุงแต่งสี และรสมากกว่าอีกด้วย
3.สีและความใส
ทั้งสีและความใสนั้นในส่วนของซอสถั่วเหลือง จะมีน้อยกว่าซีอิ๊วขาว เนื่องจากมีการเติมแต่งสีและรสชาติเพื่อให้มีความเข้มข้น ส่วนใหญ่จะเน้นในการใช้เป็นเครื่องปรุงรส ในการประกอบอาหารมากกว่า การจิ้มกับตัวอาหารเพราะจะมีรสชาติที่เข้มข้นเกินไป
ซีอิ๊วขาว กับ ซีอิ๊วดำ ต่างกันอย่างไร
เราจะได้มองเห็นภาพโดยรวมของ Soy Sauce จากข้างต้นแล้วว่า มีขั้นตอนในการผลิตที่ต้องอาศัยระยะเวลา และมีรายละเอียดขั้นตอนการผลิตที่มากกว่า ซอสถั่วเหลืองหรือซอสปรุงรส แต่สำหรับซอสอีกชนิดคือ ซีอิ๊วดำนั้น ถึงแม้จะมีส่วนประกอบเดียวกันกับ Soy Sauce และซอสถั่วเหลืองนั้นคือ ตัวถั่วเหลืองก็ตาม แต่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยในขั้นตอนสุดท้าย
ซีอิ๊วดำได้มากจากซีอิ๊วขาว ที่มีการเติมส่วนผสมที่ให้รสหวาน และรสเค็มในสัดส่วนตามสูตรของแต่ละยี่ห้อ ซึ่งจะได้มาจากเกรดของ Soy Sauce ที่อยู่ในการหมักหลายรอบแล้ว หรือเรียกว่า มีเกรดคุณภาพที่ไม่ได้ดีมาก แต่หากเป็นส่วนผสมที่ได้มาจาก Soy Sauce ในปริมาณที่เล็กน้อย และนำมาผสมให้เกิดรสชาติหวาน และรสเค็มนั้น จะเรียกว่า ซีอิ๊วหวาน
วิธีเลือกซื้อซีอิ๊วขาว
1.สูตร
หากเราต้องการรสชาติที่ไม่เค็มจนเกินไป เราควรที่จะเลือกสูตร 1 ที่มีการหมักซอสออกมาในรอบแรก และหรือใครที่ต้องการควบคุมความเค็ม ก็สามารถเลือกสูตรลดโซเดียม หรือไม่มีโซเดียมได้อีกทาง
2.ยี่ห้อ
ในแต่ละยี่ห้อก็จะมีสูตรลับเฉพาะ ที่จะมีกลิ่นหอมของถั่วเหลือง รวมถึงความใสและรสชาติที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นเรายังสามารถเลือกซื้อทดลองใช้ดู หากต้องการแปลี่ยนยี่ห้อซอสใช้สลับกัน หรือสามารถแยกใช้ในแต่ละยี่ห้อ สำหรับเมนูอาหารที่แตกต่างกัน
3.ข้อมูลโภชนาการ
เป็นส่วนสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการ ควบคุมระดับปริมาณความเค็ม เป็นส่วนที่จะบอกอยู่บนฉลากติดข้างบรรจุภัณฑ์ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วย ในการพิจารณาเลือกได้เป็นอย่างดี เพราะจะมีการบอกให้เราได้รู้ว่า Soy Sauce ขวดนั้นๆ มีปริมาณโซเดียม, โปรตีน
4.บรรจุภัณฑ์
วัสดุที่เป็นขวดกระจกนั้น ในแต่ละยี่ห้อก็จะมีการออกแบบ ให้มีส่วนโค้ง หรือรูปทรงที่แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับการหยิบจับใช้งานในการปรุงอาหาร ถือว่าเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่ง ในการพิจารณาเลือกซื้อร่วม
5.ขนาด
เราสามารถเลือกขนาดได้ตามการใช้งานมากน้อย หรือตามตำแหน่งที่วางใช้งานได้ อย่างเช่น หากเราเป็นครอบครัวที่เน้นทำอาหารกินเอง ก็ควรเลือกในขนาดขวดที่ใหญ่ เพื่อที่จะได้ราคาที่คุ้มค่า
หรือหากต้องการวางใช้งานแยกนอกจากส่วนครัวแล้ว การวางบนโต๊ะกินข้าว เพื่อเติมรสชาติเพิ่มนั้น ก็สามารถเลือกซื้อเป็นขวดที่มีขนาดเล็กลงมาได้ เพื่อให้เหมาะสม และสะดวกกับการใช้งาน
ซีอิ๊วขาวเอาไปทำอะไรได้บ้าง
หมวดอาหารนึ่ง
อันดับหนึ่งเลยเราอาจจะต้องยกให้กับ การนำมาทำอาหารที่ใช้การนึ่ง เลยเฉพาะอาหารทะเลอย่างเนื้อปลา รวมถึงจานผักนึ่ง เพราะด้วยรสชาติความหอมของถั่วเหลือง และรสชาติเค็มน้อย
จะช่วยทั้งกลบกลิ่นคาวอาหารทะเล และดึงความหวานจากเนื้อปลา และผักให้ออกมา ดังนั้นเมื่อนึ่งจนสุกแล้ว เราจะได้น้ำที่มาจากการนึ่ง ที่มีความหวานจากทั้งเนื้อปลา, ผัก, ตัวซอส ที่ลงตัวกันอย่างพอดี อย่างเช่น ปลากะพงนึ่งซีอิ๊วขาว, หัวปลาจีนนึ่งขิง หรือผักกาดขาวนึ่ง
หมวดอาหารน้ำซุป
นอกจากเคล็ดลับในการทำน้ำซุป หรือแกงจืดด้วยการเติมเกลือลงไปแล้วนั้น เพื่อให้ความเค็มจากเกลือดึงรสชาติของวัตถุดิบออกมา การใส่ Soy Sauce ลงไปเพิ่มยังช่วยเพิ่มความหอมให้กับเมนูอาหารที่เป็นแกงจืด หรือน้ำซุปอีกด้วย จะช่วยให้เราได้น้ำซุปที่มีความเชงเชง หรือน้ำซุปที่มีความใส และมีความหอมจากถั่วเหลืองร่วมด้วย
หมวดอาหารผัด
สำหรับบางครอบครัวที่เน้นจานอาหารผัด ให้มีน้ำของอาหารที่ออกมาจากการผัด มีความใสไม่เข้มข้นจนเกินไปนั้น เราสามารถที่จะสลับหรือปรับเปลี่ยนซอสเครื่องปรุงจาก ซอสน้ำมันหอย เป็น Soy Sauce ในบางครั้ง จะช่วยให้อาหารจานผัดนั้นมีลักษณะน้ำที่ใส และเน้นรสชาติของวัตถุดิบในจานเมนูนั้นให้เด่นมากขึ้น
หมวดอาหารปิ้งย่างและการหมักเนื้อสัตว์
การใช้ในการหมักเนื้อสัตว์ต่างๆ เพื่อใช้ในการปิ้งหรือย่างนั้น จะช่วยให้เนื้อสัตว์ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู, เนื้อไก่ หรือเนื้อวัวก็ตาม มีความหอมพร้อมกับรสชาติที่ไม่เค็มจนเกินไป หลังการย่างเสร็จแล้วเราจะได้ความหอมซึมเข้าไปด้านในของเนื้อสัตว์อีกด้วย หรืออาจจะเป็นการหมักเนื้อสัตว์ต่างๆ เพื่อนำไปประกอบอาหารอย่างเช่น หมักเนื้อหมูที่จะนำไปทำราดหน้า, หมักเนื้อสะโพกไก่ที่จะนำไปทอดกระเทียม เป็นต้น
ซีอิ๊วขาว ทำไมสีดำ?
สรุป
เครื่องปรุงรสที่ให้ความเค็มนั้น มีหลากหลายชนิดด้วยกัน แต่หากเราพูดถึง ซีอิ๊วขาว หรือ Soy Sauce นั้นจะมีลักษณะเด่นคือ เป็นซอสที่มีรสชาติที่ไม่จัดจ้าน ไม่เค็มจัดเหมือนน้ำปลาหรือซอสปรุงรส, มีกลิ่นหอมของถั่วเหลืองที่เด่นชัด รวมถึงเราสามารถเลือกได้หลากหลายสูตร อย่างเช่น สูตร 1, สูตร 2, สูตร 3, สูตรลดโซเดียม หรือสูตรไม่มีโซเดียม เป็นต้น
เชพขวัญ ขวัญเรือน ผู้ชำนาญการด้านการทำอาหารและเครื่องครัว ประสบการณ์ด้านการทำอาหารมากกว่า 20 ปี เคยอยู่ร้านอาหารชื่อดังหลายแห่ง มีความรู้และเชี่ยวชาญ เป็นนักเขียนและวิจารณ์รีวิวอาหาร และแนะนำเครื่องใช้ในครัวเรือน
ซีอิ๊วขาว โรซ่า สูตรลดโซเดียม 40%
– ลดปริมาณโซเดียมลง 40% เทียบกับซีอิ๊วขาวสูตรปกติ
– บรรจุภัณฑ์ตกไม่แตก น้ำหนักเบา
– หลังเปิดขวด ควรใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน
ซีอิ๊วขาว สูตร1 ตราเด็กสมบูรณ์
– หมักนานกว่า 6 เดือน
– เหมาะสำหรับอาหารจานโปรดที่ต้องการรสชาติกลมกล่อม
ซีอิ๊วขาว 101 Plus
– ลดปริมาณโซเดียมลง 70% เมื่อเทียบกับสูตรมาตรฐาน
– มีกลิ่นหอม
– มีรสชาติกลมกล่อม
– บรรจุในขวดแก้วที่สะอาด ปลอดภัย
ซีอิ๊วขาว ง่วนสูน ฮาเดย์
– ปริมาณบรรจุ 500 กรัม/ขวด
– ยกระดับอาหารทำเองที่บ้านให้อร่อยล้ำไปอีกขั้น
ซีอิ๊วขาว เซิงโชวหวัง สูตรทอง
– เหมาะสำหรับการปรุงอาหารคีโต
– ปริมาณบรรจุ 700 มล.
ซีอิ๊วขาว สูตร1 ตรากวางดาวทอง เจ
– ผลิตจากถั่วเหลืองพันธ์ดีของไทย
– กลิ่นหอมอ่อนๆ รสชาติเข้มข้น
– มีสีน้ำตาลแดงอ่อน ใช้แทนน้ำปลาได้
ซีอิ๊วขาว ฉลากทอง PRB
– ซีอิ๊ว “พีอาร์บี” ตราสะพาน ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1954
– ผลิตจากประเทศจีน
– ปัจจุบันเป็นผู้ส่งออกซีอิ๊วรายใหญ่อันดับ 1 ของประเทศจีน
ซีอิ๊วขาว เมกาเชฟ
– ผลิตจากวัตถุดิบ ที่หมักด้วยวิธีธรรมชาติ
– ผลิตจากกรรมวิธีที่สะอาด ภายใต้ระบบ HACCP และ GMP
– ขวดจับถนัดมือ พกพาง่าย
– ปริมาณบรรจุ 200 มล.
ซีอิ๊วขาว ง่วนเชียง ธัญพืช สูตรลดโซเดียม 40% (คีโต+คลีน)
– ไม่มีกลูเตน
– ไม่ใส่น้ำตาล
– หมักธรรมชาติ
– ไม่ใส่สี
– ไม่ใส่ผงชูรส
ซีอิ๊วขาว ซีซั่น
– ไม่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองและแป้งสาลี
– ลดโซเดียม 20%
– ใช้ความหวานจากเกสรดอกมะพร้าวแทนน้ำตาล